คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คัดค้าน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5263/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาใหม่ในคดีแรงงานและการทุเลาการบังคับคดี: ศาลต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.แรงงาน และเปิดโอกาสคัดค้าน
การขอให้พิจารณาใหม่ในคดีแรงงาน พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ได้บัญญัติ เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ต่อศาลแรงงานว่ามิได้จงใจขาดนัด แต่เป็นเพราะจำเลยไม่ได้รับสำเนาคำฟ้องของโจทก์และจำเลยไม่คิดว่าโจทก์จะฟ้องจำเลย เนื่องจากก่อนมีการเลิกจ้างได้มีการตกลงเป็นที่เข้าใจกันแล้วถือได้ว่าจำเลยได้อ้างถึงความจำเป็นที่ไม่ได้มาศาลแล้วเมื่อคำร้องของจำเลยได้ยื่นต่อศาลแรงงานภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่จำเลยทราบคำบังคับ คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 41 แล้ว ศาลแรงงานต้องรับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไว้ดำเนินการไต่สวนต่อไป
คำร้องขอของจำเลยที่นำที่ดินมาวางเป็นประกันการทุเลาการบังคับคดีและให้ถอนการอายัดเงิน เป็นคำร้องที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมิได้บัญญัติไว้ว่าให้ทำได้แต่ฝ่ายเดียว ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 21(2) บัญญัติห้ามมิให้ศาลทำคำสั่งในเรื่องนั้น โดยมิได้ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีโอกาสคัดค้านก่อน การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งให้รับที่ดิน หลักประกันของจำเลยและให้ถอนการอายัดเงินตามคำร้องขอของจำเลย โดยมิได้ให้โอกาสแก่โจทก์โต้แย้งคัดค้านเสียก่อน จึงขัดต่อบทกฎหมาย ดังกล่าวประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4241/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาที่ไม่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: การจำเลยคัดลอกข้อความจากคำอุทธรณ์โดยไม่โต้แย้งเหตุผล
เนื้อหาของฎีกาจำเลยล้วนเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นทั้งสิ้น โดยจำเลยคัดข้อความมาจากคำอุทธรณ์ทั้งหมด แม้คำขอท้ายฎีกาจะเป็นการขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่ฎีกาของจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ชอบอย่างไร จำเลยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 216

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3633/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติสภาตำบลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีคัดค้านการใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์โดยไม่ถูกต้อง
การที่สภาตำบลเกาะยาวน้อยเข้าไปใช้ที่ดินทุ่ง สงวน เลี้ยงสัตว์เพื่อก่อสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แม้กระทำไปตามขั้นตอนระเบียบแบบแผนของทางราชการและเพื่อประโยชน์ของราษฎร ทั่วไป แต่เมื่อยังไม่มีพระราชกฤษฎีกา เพิกถอนสภาพที่ดินดังกล่าวก่อน เป็นเหตุให้โจทก์และราษฎรส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วยและโต้แย้งคัดค้านเพื่อประโยชน์ของราษฎรที่ใช้ที่ดินดังกล่าวตามวัตถุประสงค์ของการใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์นั้น โดย ไม่ปรากฏว่าโจทก์มีเจตนาให้เสื่อมเสียประโยชน์ของตำบล แต่อย่างใด การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่ถือว่าโจทก์มีความประพฤติในทางที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียประโยชน์ของตำบล อันจะเป็นเหตุให้สภาตำบลมีมติให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งสมาชิก ตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 ข้อ 8(4)ได้ ทั้ง ตามรายงานการประชุมสภาตำบลเกาะยาวน้อยก็ปรากฏเหตุให้โจทก์ พ้นจากตำแหน่งว่าโจทก์ขัดขวางการปฏิบัติงานของสภาตำบลทำให้ เสื่อมเสียชื่อเสียงของว. ประธานสภาตำบล และทำให้ราษฎรบางกลุ่มมองสภาตำบลไปในทางผิด เสื่อมเสียชื่อเสียงของสภาตำบล อย่างร้ายแรง ซึ่งไม่ตรงกับเหตุตามข้อ 8(4) แห่งประกาศของ คณะปฏิวัติดังกล่าว จึงถือว่ามติดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2426/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังสำเนาพินัยกรรม: โจทก์ไม่คัดค้านก่อนสืบพยาน ทำให้จำเลยไม่ต้องนำต้นฉบับมา
เมื่อโจทก์ได้รับสำเนาพินัยกรรมที่ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายพร้อมกับสำเนาคำให้การของจำเลยแล้ว โจทก์ก็มิได้คัดค้านการนำสืบสำเนาเอกสารดังกล่าว และบอกกล่าวไปยังจำเลยเสียก่อนวันสืบพยาน ดังนั้น โจทก์จึงต้องห้ามมิให้คัดค้านถึงการมีอยู่และความแท้จริง หรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 วรรคสาม และจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายอ้างเอกสารนั้นก็ไม่ต้องเอาต้นฉบับมาสืบ ศาลจึงมีอำนาจที่จะรับฟังสำเนาพินัยกรรมดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2173/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะศาลแรงงานไม่ถูกต้อง อุทธรณ์ต้องห้าม หากไม่คัดค้านภายใน 8 วัน
ตามคำพิพากษาศาลแรงงานในสำนวนมีผู้พิพากษาศาลแรงงานผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละหนึ่งคนได้ลงลายมือชื่อไว้ครบเป็นองค์คณะพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 17 แล้ว ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างไม่ได้ลงลายมือชื่อด้วย เป็นอุทธรณ์บิดเบือนข้อความในคำพิพากษา เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยการนั่งพิจารณาคดีแรงงาน ศาลแรงงานต้องมีผู้พิพากษา ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละเท่า ๆ กันเป็นองค์คณะพิจารณา หากศาลแรงงานมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการพิจารณาคดี โดยผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างซึ่งเป็นองค์คณะไม่ได้นั่งร่วมในการพิจารณาคดี แต่มีผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างคนอื่นมานั่งพิจารณาคดีแทน อันเป็นการผิดระเบียบคู่ความฝ่ายที่เสียหายจะต้องยื่นคัดค้านก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วันนับแต่วันที่จำเลยได้ทราบ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 จำเลยทราบในวันนัดพิจารณาแล้วว่าเป็นการผิดระเบียบ จำเลยก็ชอบที่จะคัดค้านเสียภายใน 8 วัน เมื่อจำเลยมิได้คัดค้านจนกระทั่งล่วงพ้นระยะเวลาดังกล่าวจนกระทั่งศาลแรงงานได้มีคำพิพากษาไปแล้ว จำเลยจะมาอุทธรณ์โต้แย้งว่าการพิจารณาคดีในวันดังกล่าวไม่ชอบหาได้ไม่ และกรณีถือได้ว่าการพิจารณาคดีของศาลแรงงานชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2173/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะผู้พิพากษาสมทบในคดีแรงงาน การไม่คัดค้านภายใน 8 วัน ถือเป็นการสละสิทธิ์โต้แย้ง
การนั่งพิจารณาคดีแรงงาน ศาลแรงงานต้องมีผู้พิพากษาผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละเท่า ๆ กันเป็นองค์คณะพิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 17 และมาตรา 31 ซึ่งให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังนั้น ถ้าจำเลยเห็นว่าศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการพิจารณาคดี โดยผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างซึ่งเป็นองค์คณะไม่ได้นั่งร่วมในการพิจารณาคดี แต่มีผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างคนอื่นมานั่งพิจารณาคดีแทนจำเลยซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่เสียหายจะต้องยื่นคำคัดค้านก่อนมี คำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่จำเลยทราบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 เมื่อจำเลย ทราบวันที่ที่ผู้พิพากษาสมทบซึ่งเป็นองค์คณะมิได้นั่งพิจารณาคดี จำเลยย่อมทราบในวันดังกล่าวว่าเป็นการผิดระเบียบ และควรจะคัดค้านเสียภายใน 8 วัน เมื่อจำเลยมิได้ คัดค้านจนศาลแรงงานกลางพิพากษาจำเลยจะมาอุทธรณ์ โต้แย้งว่า การพิจารณาคดีในวันนั้น ๆ ไม่ชอบหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2173/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะศาลแรงงาน, การพิจารณาคดีโดยองค์คณะที่ถูกต้อง, การไม่คัดค้านข้อผิดพลาดในการพิจารณา
ตามคำพิพากษาศาลแรงงานในสำนวนมีผู้พิพากษาศาลแรงงานผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละหนึ่งคนได้ลงลายมือชื่อไว้ครบเป็นองค์คณะพิพากษาคดีตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 17 แล้วที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างไม่ได้ลงลายมือชื่อด้วย เป็นอุทธรณ์บิดเบือนข้อความในคำพิพากษาเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง การนั่งพิจารณาคดีแรงงาน ศาลแรงงานต้องมีผู้พิพากษาผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละเท่า ๆ กันเป็นองค์คณะพิจารณา หากศาลแรงงานมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการพิจารณาคดีโดยผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างซึ่งเป็น องค์คณะไม่ได้นั่งร่วมในการพิจารณาคดี แต่มีผู้พิพากษาสมทบ ฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างคนอื่นมานั่งพิจารณาคดี แทน อันเป็นการผิดระเบียบ คู่ความฝ่ายที่เสียหายจะต้องยื่นคัดค้านก่อนมีคำพิพากษาแต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้ทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 จำเลยทราบในวันนัดพิจารณา แล้วว่าเป็นการผิดระเบียบ จำเลยก็ชอบที่จะคัดค้านเสียภายใน8 วันเมื่อจำเลยมิได้คัดค้านจนกระทั่งล่วงพ้นระยะเวลาดังกล่าวจนกระทั่งศาลแรงงานได้มีคำพิพากษาไปแล้ว จำเลยจะมาอุทธรณ์โต้แย้งว่าการพิจารณาคดีในวันดังกล่าวไม่ชอบหาได้ไม่ และกรณีถือได้ว่าการพิจารณาคดีของศาลแรงงานชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2173/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ต้องไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง และต้องดำเนินการคัดค้านการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบภายในระยะเวลาที่กำหนด
ตามคำพิพากษาศาลแรงงานในสำนวนมีผู้พิพากษาศาลแรงงาน ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้าง ฝ่ายละหนึ่งคนลงลายมือชื่อไว้ครบเป็นองค์คณะพิพากษาคดีตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 17 แล้ว ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ผู้พิพากษาสมทบ ฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างไม่ได้ ลงลายมือชื่อด้วย เป็นอุทธรณ์บิดเบือนข้อความในคำพิพากษา เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การนั่งพิจารณาคดีแรงงาน ศาลแรงงานต้องมีผู้พิพากษาผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้าง ฝ่ายละเท่า ๆ กันเป็นองค์คณะพิจารณา หากศาลแรงงาน มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการพิจารณาคดี โดยผู้พิพากษาสมทบ ฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างซึ่งเป็นองค์คณะ ไม่ได้นั่งร่วมในการพิจารณาคดี แต่มีผู้พิพากษาสมทบ ฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างคนอื่นมานั่งพิจารณา คดีแทน ย่อมเป็นการผิดระเบียบคู่ความฝ่ายที่เสียหาย จะต้องยื่นคัดค้านเสียก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 จำเลยทราบตั้งแต่ในวันนัดพิจารณาแล้วว่ามีการผิดระเบียบ จำเลยก็ชอบที่จะคัดค้านเสียภายใน 8 วัน เมื่อจำเลย มิได้คัดค้านจนกระทั่งล่วงพ้นระยะเวลาดังกล่าวจนกระทั่ง ศาลแรงงานได้มีคำพิพากษาไปแล้ว จำเลยจะมาอุทธรณ์โต้แย้งว่า การพิจารณาคดีในวันดังกล่าวไม่ชอบหาได้ไม่ และกรณีถือได้ว่าการพิจารณาคดีของศาลแรงงานชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งพยานหลักฐานข้ามเขตอำนาจศาล และข้อจำกัดระยะเวลาในการคัดค้าน
บัญชีระบุพยานโจทก์ได้ระบุอ้าง พ.เป็นพยานประเด็นไว้แล้วในการขออนุญาตส่งประเด็นไปสืบ พ.ที่ศาลแพ่ง ทนายโจทก์แถลงว่า หากพยานย้ายไปอยู่ในเขตอำนาจศาลอื่น ขอให้ศาลแพ่งช่วยส่งประเด็นต่อไปสืบให้ด้วย ทนายจำเลยแถลงไม่คัดค้าน การที่ศาลชั้นต้นตั้งให้ศาลแพ่งสืบพยานหลักฐานแทนนั้น ศาลแพ่งย่อมมีอำนาจที่จะตั้งศาลชั้นต้นอื่นให้ทำการสืบพยานหลักฐานแทนต่อไปได้ด้วย หากปรากฏว่าพ.ได้ย้ายไปประจำที่โรงพยาบาลในศาลชั้นต้นนั้นแล้ว ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 102วรรคสอง โดยโจทก์ไม่ต้องแก้ไขบัญชีระบุพยานให้เป็นที่ยุ่งยากเสียเวลาอีก
ข้อค้านเรื่องผิดระเบียบ คู่ความต้องยกขึ้นกล่าวไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่ได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น เมื่อปรากฎว่าจำเลยยื่นคำร้องคัดค้านเมื่อล่วงเลยเวลาที่จำเลยอาจจะยกขึ้นว่ากล่าวได้เสียแล้วศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการส่งประเด็นไปสืบต่างศาล และข้อจำกัดระยะเวลาคัดค้านการพิจารณาคดี
บัญชีระบุพยานโจทก์ได้ระบุอ้างพ. เป็นพยานประเด็นไว้แล้วในการขออนุญาตส่งประเด็นไปสืบพ.ที่ศาลแพ่งทนายโจทก์แถลงว่า หากพยานย้ายไปอยู่ในเขตอำนาจศาลอื่นขอให้ศาลแพ่งช่วยส่งประเด็นต่อไปสืบให้ด้วย ทนายจำเลยแถลงไม่คัดค้าน การที่ศาลชั้นต้นตั้งให้ศาลแพ่งสืบพยานหลักฐานแทนนั้น ศาลแพ่งย่อมมีอำนาจที่จะตั้งศาลชั้นต้นอื่นให้ทำการสืบพยานหลักฐานแทนต่อไปได้ด้วย หากปรากฏว่าพ.ได้ย้ายไปประจำที่โรงพยาบาลในศาลชั้นต้นนั้นแล้ว ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 102 วรรคสอง โดยโจทก์ไม่ต้องแก้ไขบัญชีระบุพยานให้เป็นที่ยุ่งยากเสียเวลาอีก ข้อค้านเรื่องผิดระเบียบ คู่ความต้องยกขึ้นกล่าว ไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่ได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์ อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยยื่นคำร้องคัดค้าน เมื่อล่วงเลยเวลาที่จำเลยอาจจะยกขึ้นว่ากล่าวได้เสียแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
of 37