พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4889/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเบี้ยกิโลเมตรเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง คำนวณค่าชดเชยได้
ค่าเบี้ยกิโลเมตรที่จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจ่ายให้โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานขับรถทุกวันตามระยะทางที่ขับรถได้ เป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันที่ทำงาน หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่พนักงานทำงานได้เป็น "เงินเดือนค่าจ้าง" ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานฯ ข้อ 3 ต้องนำไปรวมคำนวณค่าชดเชยที่จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตามข้อ 45 แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯฉบับดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2948/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล: การคำนวณรายได้ รายจ่าย และดอกเบี้ยกู้
เงินส่วนที่นำเข้าฝากในบัญชีสมทบทุนนี้เป็นเงินที่หักจากเงินเดือนของพนักงานแต่ละคนซึ่งโจทก์ได้จ่ายให้พนักงานแล้ว เพียงแต่ให้สิทธิโจทก์หักเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามระเบียบที่กำหนดไว้ เพื่อประโยชน์แก่พนักงานเมื่อออกจากงานเท่านั้น ตามระเบียบของโจทก์ เมื่อพนักงานของโจทก์ออกจากงานก็มีสิทธิที่จะได้รับเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยจากบัญชีสมทบทุนทั้งหมดโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆโจทก์เพียงแต่มีสิทธิยึดหน่วงไว้เพื่อชำระหนี้ที่พนักงานยังคงค้างชำระแก่ตนเท่านั้นแม้ในระหว่างที่ยังทำงานอยู่พนักงานไม่มีสิทธิถอนเงินดังกล่าว และอำนาจจัดการเงินกองทุนจะตกเป็นเด็ดขาดของผู้ควบคุม 3 คน โดยตำแหน่ง คือ กรรมการผู้จัดการ สมุห์บัญชี และผู้จัดการบุคคลของโจทก์ แต่ต้องเป็นการจัดการตามระเบียบที่กำหนดไว้ อันเป็นประโยชน์ในการสะสมทรัพย์ให้พนักงาน ผู้ควบคุมโดยตำแหน่งทั้ง 3 คนดังกล่าวแม้เป็นผู้บริหารระดับสูงของโจทก์ แต่ก็เป็นพนักงานของโจทก์และเป็นสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพด้วย การเป็นผู้ควบคุมของบุคคลทั้งสามมิให้ทำในนามโจทก์ แต่เป็นการทำแทนสมาชิกทุกคนรวมทั้งบริษัทโจทก์ด้วย เงินเดือนที่โจทก์จ่ายให้พนักงานแต่ละคนรวมทั้งเงินที่ถูกหักเข้ากองทุนในบัญชีสมทบทุนนี้เป็นรายจ่ายในหมวดเงินเดือนของโจทก์ซึ่งนำมาหักเพื่อการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ได้ โดยโจทก์ต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินเดือนทั้งหมดของพนักงานไว้ตามมาตรา 50 แล้วนำส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอตามมาตรา 52 จึงเป็นเงินที่จ่ายขาดจากโจทก์แล้ว เงินส่วนที่หักจากเงินเดือนนำเข้าฝากในบัญชีสมทบทุนนี้จึงเป็นเงินได้ของพนักงานนับแต่นั้น ดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินฝากนี้จึงเป็นเงินได้ของพนักงาน หาใช่เงินได้ของโจทก์ไม่
การกำหนดราคาสินค้าคงเหลือในแต่ละปีของโจทก์ได้กระทำโดยประเมินราคาสินค้าให้เหมาะสมกับราคาตลาด คำนึงถึงประเภทของสินค้าอายุการใช้งาน เป็นสินค้าที่ลูกค้าส่งคืนเพราะชำรุดหรือไม่ ล้าสมัยหรือไม่ แล้วนำหลักเกณฑ์การตัดค่าเสื่อมราคาและการตัดบัญชี มาประกอบในการกำหนดราคา ซึ่งมีแนวปฏิบัติตามข้อ 7 เช่น สินค้าที่เสียง่าย หากคงเหลือถึง 18 เดือน จะตัดค่าเสื่อม-ราคาลงร้อยละ 50 หากคงเหลือถึง 2 ปี จะตัดออกจากบัญชีหมด จะเห็นได้ว่าหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นการตัดค่าเสื่อมราคาสินค้าคงเหลือมิใช่เป็นการคำนวณราคาสินค้าคงเหลือตามราคาตลาดที่แท้จริงตาม ป.รัษฎากรมาตรา 65 ทวิ (6)
โจทก์มีรายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริงและมีรายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9) (18)ในปี 2514 จำนวน 557,106.50 บาท ในปี 2515 จำนวน 1,256,529.49 บาทอันเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามมิให้นำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี จึงต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้ที่จะต้องเสียภาษี
โจทก์กู้เงินมาจากเจ้าหนี้หลายราย บางรายระบุอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 ก็มี ร้อยละ 10.5 ก็มี ร้อยละ 11 ก็มี ไม่ระบุอัตราดอกเบี้ยก็มี มีแต่การระบุจำนวนดอกเบี้ยที่ต้องชำระตอนสิ้นปีเท่านั้น ซึ่งดอกเบี้ยที่ต้องชำระให้แก่เจ้าหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เท่ากัน ส่วนเงินที่โจทก์ให้บริษัทในเครือกู้ มีการระบุวันเดือนปีที่ให้กู้ ยอดเงินที่ให้กู้ บางรายก็ระบุอัตราดอกเบี้ยว่า ร้อยละ 10 บ้างร้อยละ 10.5 บ้าง ร้อยละ 11 บ้าง ไม่ระบุอัตราดอกเบี้ยบ้าง แต่ไม่ปรากฏว่ามีเงินรายใดบ้างที่โจทก์กู้มาแล้วนำเงินดังกล่าวไปให้บริษัทในเครือกู้โดยไม่คิดดอกเบี้ยอันจะเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่ามิได้นำมาใช้ในกิจการของโจทก์โดยเฉพาะแม้โจทก์ซึ่งมีภาระพิสูจน์จะนำสืบไม่ได้ว่าเงินที่กู้มามิได้นำไปให้บริษัทในเครือกู้โดยไม่คิดดอกเบี้ย ต้องถือว่าเงินส่วนที่ให้บริษัทในเครือดังกล่าวกู้โดยไม่คิดดอกเบี้ยเป็นเงินที่โจทก์กู้มา ดอกเบี้ยที่โจทก์จ่ายไปในส่วนนี้จึงเป็นรายจ่าย ที่มิใช่เพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะก็ตาม แต่ดอกเบี้ยที่ได้จากบริษัทในเครือหรือที่อ้างว่าสมควรจะได้จากบริษัทในเครืออาจมีอัตรามากหรือน้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์กู้มา จำนวนดอกเบี้ยจึงไม่เท่ากันพอที่จะนำไปหักทดแทนกันได้ ข้อสำคัญก็คือยอดดอกเบี้ยที่โจทก์อ้างว่าลงบัญชีผิดพลาดดังกล่าวมิใช่ตัวเลขของรายจ่ายดอกเบี้ยที่โจทก์จ่ายไป หรือเท่ากับดอกเบี้ยที่โจทก์จ่ายไปสำหรับเงินต้นในจำนวนเดียวกันทั้งไม่มีกฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะนำไปหักทดแทนกันได้ รายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2514 จำนวน 1,801,323.35 บาท และปี 2515จำนวน 3,551,560.01 บาท ที่เจ้าพนักงานประเมินนำไปหักออกจากรายจ่ายค่าดอกเบี้ยเงินกู้ที่โจทก์จ่ายไปในปี 2514 และ 2515 จึงเป็นรายจ่ายที่ไม่ต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (13)
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจสอบไต่สวนพยานหลักฐานตามที่โจทก์นำมอบให้ แล้วแจ้งประเมินภายในเวลาสองปีนับแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8 ใช้บังคับแล้ว จึงเป็นการประเมินที่ชอบ หากโจทก์มีข้อโต้แย้งในรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารอย่างไร ชอบที่โจทก์จะชี้แจงให้เจ้าพนักงานประเมินทราบหรืออุทธรณ์การประเมินไปยังคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือนำสืบในชั้นศาลได้
การคำนวณราคาสินค้าคงเหลือโจทก์คำนวณโดยการกำหนดกฎเกณฑ์เอาเองตามหลักเกณฑ์การตัดค่าเสื่อมราคาและการตัดบัญชีอันมิใช่ราคาตลาด เพื่อให้ต่ำกว่าราคาทุน ทำให้มีรายรับน้อยลงและเสียภาษีเงินได้น้อยลงไปด้วยแสดงว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีในตัว ส่วนรายจ่ายต้องห้ามในแผนกท่องเที่ยว โจทก์ทำใบสำคัญการจ่ายขึ้นเองแล้วเอาอากรแสตมป์มาปิด โดยไม่มีรายละเอียดถึงเหตุที่ต้องจ่ายเงินว่าเป็นการจ่ายเพื่อกิจการอย่างไร ชื่อที่อยู่ของผู้รับเงินก็ไม่ชัดแจ้ง มีพฤติการณ์ว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษี คดีไม่มีเหตุสมควรงดหรือลดเงินเพิ่ม
การกำหนดราคาสินค้าคงเหลือในแต่ละปีของโจทก์ได้กระทำโดยประเมินราคาสินค้าให้เหมาะสมกับราคาตลาด คำนึงถึงประเภทของสินค้าอายุการใช้งาน เป็นสินค้าที่ลูกค้าส่งคืนเพราะชำรุดหรือไม่ ล้าสมัยหรือไม่ แล้วนำหลักเกณฑ์การตัดค่าเสื่อมราคาและการตัดบัญชี มาประกอบในการกำหนดราคา ซึ่งมีแนวปฏิบัติตามข้อ 7 เช่น สินค้าที่เสียง่าย หากคงเหลือถึง 18 เดือน จะตัดค่าเสื่อม-ราคาลงร้อยละ 50 หากคงเหลือถึง 2 ปี จะตัดออกจากบัญชีหมด จะเห็นได้ว่าหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นการตัดค่าเสื่อมราคาสินค้าคงเหลือมิใช่เป็นการคำนวณราคาสินค้าคงเหลือตามราคาตลาดที่แท้จริงตาม ป.รัษฎากรมาตรา 65 ทวิ (6)
โจทก์มีรายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริงและมีรายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9) (18)ในปี 2514 จำนวน 557,106.50 บาท ในปี 2515 จำนวน 1,256,529.49 บาทอันเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามมิให้นำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี จึงต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้ที่จะต้องเสียภาษี
โจทก์กู้เงินมาจากเจ้าหนี้หลายราย บางรายระบุอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 ก็มี ร้อยละ 10.5 ก็มี ร้อยละ 11 ก็มี ไม่ระบุอัตราดอกเบี้ยก็มี มีแต่การระบุจำนวนดอกเบี้ยที่ต้องชำระตอนสิ้นปีเท่านั้น ซึ่งดอกเบี้ยที่ต้องชำระให้แก่เจ้าหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เท่ากัน ส่วนเงินที่โจทก์ให้บริษัทในเครือกู้ มีการระบุวันเดือนปีที่ให้กู้ ยอดเงินที่ให้กู้ บางรายก็ระบุอัตราดอกเบี้ยว่า ร้อยละ 10 บ้างร้อยละ 10.5 บ้าง ร้อยละ 11 บ้าง ไม่ระบุอัตราดอกเบี้ยบ้าง แต่ไม่ปรากฏว่ามีเงินรายใดบ้างที่โจทก์กู้มาแล้วนำเงินดังกล่าวไปให้บริษัทในเครือกู้โดยไม่คิดดอกเบี้ยอันจะเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่ามิได้นำมาใช้ในกิจการของโจทก์โดยเฉพาะแม้โจทก์ซึ่งมีภาระพิสูจน์จะนำสืบไม่ได้ว่าเงินที่กู้มามิได้นำไปให้บริษัทในเครือกู้โดยไม่คิดดอกเบี้ย ต้องถือว่าเงินส่วนที่ให้บริษัทในเครือดังกล่าวกู้โดยไม่คิดดอกเบี้ยเป็นเงินที่โจทก์กู้มา ดอกเบี้ยที่โจทก์จ่ายไปในส่วนนี้จึงเป็นรายจ่าย ที่มิใช่เพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะก็ตาม แต่ดอกเบี้ยที่ได้จากบริษัทในเครือหรือที่อ้างว่าสมควรจะได้จากบริษัทในเครืออาจมีอัตรามากหรือน้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์กู้มา จำนวนดอกเบี้ยจึงไม่เท่ากันพอที่จะนำไปหักทดแทนกันได้ ข้อสำคัญก็คือยอดดอกเบี้ยที่โจทก์อ้างว่าลงบัญชีผิดพลาดดังกล่าวมิใช่ตัวเลขของรายจ่ายดอกเบี้ยที่โจทก์จ่ายไป หรือเท่ากับดอกเบี้ยที่โจทก์จ่ายไปสำหรับเงินต้นในจำนวนเดียวกันทั้งไม่มีกฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะนำไปหักทดแทนกันได้ รายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2514 จำนวน 1,801,323.35 บาท และปี 2515จำนวน 3,551,560.01 บาท ที่เจ้าพนักงานประเมินนำไปหักออกจากรายจ่ายค่าดอกเบี้ยเงินกู้ที่โจทก์จ่ายไปในปี 2514 และ 2515 จึงเป็นรายจ่ายที่ไม่ต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (13)
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจสอบไต่สวนพยานหลักฐานตามที่โจทก์นำมอบให้ แล้วแจ้งประเมินภายในเวลาสองปีนับแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8 ใช้บังคับแล้ว จึงเป็นการประเมินที่ชอบ หากโจทก์มีข้อโต้แย้งในรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารอย่างไร ชอบที่โจทก์จะชี้แจงให้เจ้าพนักงานประเมินทราบหรืออุทธรณ์การประเมินไปยังคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือนำสืบในชั้นศาลได้
การคำนวณราคาสินค้าคงเหลือโจทก์คำนวณโดยการกำหนดกฎเกณฑ์เอาเองตามหลักเกณฑ์การตัดค่าเสื่อมราคาและการตัดบัญชีอันมิใช่ราคาตลาด เพื่อให้ต่ำกว่าราคาทุน ทำให้มีรายรับน้อยลงและเสียภาษีเงินได้น้อยลงไปด้วยแสดงว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีในตัว ส่วนรายจ่ายต้องห้ามในแผนกท่องเที่ยว โจทก์ทำใบสำคัญการจ่ายขึ้นเองแล้วเอาอากรแสตมป์มาปิด โดยไม่มีรายละเอียดถึงเหตุที่ต้องจ่ายเงินว่าเป็นการจ่ายเพื่อกิจการอย่างไร ชื่อที่อยู่ของผู้รับเงินก็ไม่ชัดแจ้ง มีพฤติการณ์ว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษี คดีไม่มีเหตุสมควรงดหรือลดเงินเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณดอกเบี้ยในคดีล้มละลาย: การใช้จำนวนวันในปีที่มีกุมภาพันธ์ 366 วัน
การคำนวณระยะเวลาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/5 บัญญัติให้คำนวณตามปีปฏิทิน ปรากฏว่าในปี พ.ศ. 2531 เดือนกุมภาพันธ์ มี 29 วัน ดังนั้น ปีพ.ศ. 2531 จึงมี 366 วัน การคิดคำนวณดอกเบี้ยเฉพาะในปี พ.ศ. 2531 จึงต้อง ใช้ระยะเวลา 366 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าปรับทางศุลกากร ต้องคำนวณจากราคาสินค้าและค่าอากร รวมกันเป็นเกณฑ์
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ บัญญัติให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วจึงต้อปรับเป็นสี่เท่าของราคาของและค่าอากรรวมกัน มิใช่ปรับสี่เท่าเฉพาะราคาของอย่างเดียวแล้วบวกค่าอากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ต้องนำมาคำนวณค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุด
นายจ้างจ่ายเงินค่าครองชีพให้ลูกจ้างทุกคนเป็นจำนวนแน่นอนและจ่ายเป็นประจำทุกเดือน มีลักษณะเป็นการจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานตามปกติของลูกจ้างทุกคนเช่นเดียวกับเงินเดือน ถือได้ว่าค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน จึงต้องนำค่าครองชีพมาเป็นฐานคำนวณค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5701/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 196: การคิดคำนวณหนี้เงินตราต่างประเทศ
ข้อกฎหมายเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่าการเปลี่ยนเงินให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน อัตราแลกเปลี่ยนเงินตามมาตรานี้ ย่อมต้องหมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรี ซึ่งตามปกติจะคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ทำการขายเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราของประเทศในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ และเพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดี จึงให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนโดยธนาคารพาณิชย์ในวันที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกา ถ้าไม่มีอัตราการขายในวันนั้นให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการขายเช่นว่านั้นก่อนวันพิพากษา การที่โจทก์ขอใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศขณะยื่นฟ้องเป็นเกณฑ์คำนวณในการมีคำขอท้ายฟ้อง และโจทก์ไม่อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยคิดเป็นเงินไทย โจทก์จึงไม่อาจรับชำระหนี้จากจำเลยเกินกว่าจำนวนเงินไทยดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4688/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทภาษีโรงเรือน การคำนวณค่ารายปีที่ถูกต้อง และการคืนเงินที่เรียกเก็บเกิน
โจทก์จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของภาษีที่ประเมินเป็นเงิน 14,782.50 บาท รวมเป็นค่าภาษีโรงเรือน ส่วนที่พิพาทเป็นเงิน 162,607.50 บาท โจทก์ได้ชำระภาษีโรงเรือนและเงินเพิ่มส่วนที่พิพาทกันไว้แล้วเป็นเงิน 191,250 บาท จำเลยที่ 1 จะต้องคืนส่วนที่เรียกเก็บเกินไปจำนวน 28,642.50 บาท ให้แก่โจทก์ภายในกำหนดสามเดือนโดยไม่คิดค่าอย่างใดตามที่บัญญ้ติไว้ในมาตรา 39 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ ถ้าจำเลยไม่คืนหลังจากนั้นก็ตกเป็นผู้ผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1426/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีต้องใช้ค่าจ้างขณะเลิกจ้าง รวมค่าครองชีพ
ตาม ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45สิทธิของลูกจ้างที่จะได้ รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเกิดขึ้นเมื่อถูก เลิกจ้าง ฉะนั้นการคำนวณค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี จึงต้อง คิดจากอัตราค่าจ้างขณะเลิกจ้าง ดังนี้การนำค่าครองชีพรวมกับเงินเดือนของลูกจ้างมาคำนวณค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี จึงชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 817/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บัญชีเดินสะพัดเป็นหลักฐานทางบัญชีได้ แม้ไม่มีลายมือชื่อรับรอง หากคำนวณโดยสุจริตและตรงกับความจริง
จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ แม้บัญชีเดินสะพัดและบัญชีหนี้ค้างนาน โจทก์เป็นฝ่ายทำขึ้นเองโดย จำเลยมิได้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง แต่ โจทก์เป็นธนาคารมีหน้าที่จะต้องจัดทำบัญชีและหลักฐานต่าง ๆ ขึ้นสำหรับลูกค้าของโจทก์ทุกรายเพื่อแสดงยอด เงินฝากและเงินถอน ระหว่างโจทก์กับลูกค้าแต่ละรายว่าเป็นหนี้ต่อกันหรือไม่เพียงใด เมื่อมีเหตุผลทำให้เชื่อ ว่ายอดหนี้ตาม บัญชีเดินสะพัดและบัญชีหนี้ค้างนาน โจทก์คิดคำนวณโดยสุจริตในการดำเนิน ธุรกิจของตน ถูกต้อง ตรง กับความจริง ศาลก็รับฟังบัญชีดังกล่าวนั้นได้ แม้โจทก์มิได้อ้างเช็ค ที่จำเลยสั่งจ่ายเบิกเงินไปจากบัญชีรวมทั้งใบแจ้งยอดหนี้ประจำเดือน มาเป็นพยานก็ไม่ถึงกับทำให้รับฟังบัญชีดังกล่าวไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803-807/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณบำเหน็จที่ถูกต้องตามข้อบังคับของนายจ้าง และการวินิจฉัยคดีโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่ไม่มีในสำนวน
จำเลยได้ จ่ายบำเหน็จให้แก่โจทก์รับไปแล้วบางส่วน ซึ่ง เป็นการจ่ายตาม ข้อบังคับของจำเลยที่มีอยู่ และจำเลยทราบถึง ข้อบังคับดังกล่าวดี แล้ว เพียงแต่ จำเลยไม่นำค่าครองชีพมารวมคำนวณบำเหน็จให้โจทก์เท่านั้น โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยจ่ายบำเหน็จ เฉพาะ ส่วนที่ขาดโดย ตาม ฟ้องได้ ระบุจำนวนค่าครองชีพที่โจทก์ได้รับในแต่ละเดือนและจำนวนเงินที่จำเลยจ่ายขาดไป เป็นการบรรยายโดย แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับในส่วนนี้พอที่จำเลยจะเข้าใจได้แล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ไม่เคลือบคลุม
ในสำนวนไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณบำเหน็จที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างต้อง นำมารวมกับค่าจ้างเพื่อคำนวณบำเหน็จ เมื่อจำเลยไม่นำมารวมคำนวณจำเลยจึงจ่ายบำเหน็จให้โจทก์ขาดไปเท่ากับค่าครองชีพที่โจทก์ได้รับแต่ละเดือน คูณด้วย จำนวนปีที่โจทก์ทำงาน จึงเป็นการวินิจฉัยคดีโดย อาศัยข้อเท็จจริงที่ไม่มีในสำนวน ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๔๓(๒)ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓๑ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางสืบพยานและวินิจฉัยข้อเท็จจริงต่อไปว่า ตาม ข้อบังคับของจำเลยได้ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณบำเหน็จว่าอย่างไร และโจทก์จะได้รับบำเหน็จเพียงใด.
ในสำนวนไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณบำเหน็จที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างต้อง นำมารวมกับค่าจ้างเพื่อคำนวณบำเหน็จ เมื่อจำเลยไม่นำมารวมคำนวณจำเลยจึงจ่ายบำเหน็จให้โจทก์ขาดไปเท่ากับค่าครองชีพที่โจทก์ได้รับแต่ละเดือน คูณด้วย จำนวนปีที่โจทก์ทำงาน จึงเป็นการวินิจฉัยคดีโดย อาศัยข้อเท็จจริงที่ไม่มีในสำนวน ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๔๓(๒)ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓๑ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางสืบพยานและวินิจฉัยข้อเท็จจริงต่อไปว่า ตาม ข้อบังคับของจำเลยได้ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณบำเหน็จว่าอย่างไร และโจทก์จะได้รับบำเหน็จเพียงใด.