พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5532/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำพิพากษาตามยอมและสิทธิในการขอแก้ไขการบังคับคดี
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 คำพิพากษานั้นกฎหมายห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้ในสิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง แต่กรณีที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งกระทำต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาตามยอม มิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอย่างคดีธรรมดาที่ต้องพิจารณาสืบพยานกัน ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงอาจมีผลไม่ตรงหรือเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องก็ได้ ส่วนที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมไปแล้วมีข้อความผิดพลาดไม่ถูกต้องนั้น เมื่อโจทก์บังคับคดีจำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะร้องขอให้ศาลบังคับคดีโดยถูกต้อง โดยอ้างว่าการคิดต้นเงินหรือดอกเบี้ยไม่ถูกต้องตามคำขอท้ายฟ้องอย่างใด ที่ถูกต้องควรเป็นจำนวนเท่าใดแล้วขอให้บังคับคดีไปตามนั้นได้ เพราะคำพิพากษาตามยอมต้องบังคับไปตามสัญญาประนี-ประนอมยอมความที่แท้จริง ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะต้องดำเนินการตามลำดับชั้นศาล ในชั้นนี้ศาลฎีกายังวินิจฉัยบังคับให้ไม่ได้เพราะไม่ใช่เรื่องที่ได้ว่ากล่าวกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การไม่อุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมทำให้สิทธิในการเพิกถอนสัญญาหมดไป
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาล และศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ถ้าโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมดังกล่าวได้หากเข้ากรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์จนคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันตามคำพิพากษาตามยอม ผู้ค้ำประกันมีหน้าที่ชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ผิดนัด
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมแล้วจำเลยตกลงจะนำบริษัท ค. เข้ามาเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้โดยยินยอมผูกพันตนรับผิดกับจำเลยอย่างลูกหนี้ร่วม และบริษัท ค.ได้ทำสัญญาดังกล่าวแล้ว ดังนั้นจึงถือว่าบริษัท ค. เข้าเป็นผู้ค้ำประกันในศาล โดยทำหนังสือประกันเพื่อการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 274 แล้ว เมื่อจำเลยยังค้างชำระหนี้โจทก์อยู่ โจทก์ย่อมบังคับชำระหนี้เอากับบริษัท ค.ผู้ค้ำประกันได้ โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องหนี้เดิมหลังมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว เป็นฟ้องซ้ำที่ต้องห้าม
ที่จำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์คดีนี้ก็เนื่องมาจากจำเลยทั้งสามรับสภาพหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมที่พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีเดิมนั่นเอง โดยมีการหักจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งสามชำระให้โจทก์บ้างแล้วออกไปและรวมดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่ค้างชำระเข้าไปด้วยเท่านั้นแต่การรับสภาพหนี้ไม่ก่อให้เกิดหนี้ใหม่ขึ้นแต่ประการใดคงมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเท่านั้นประเด็นที่จะต้องพิจารณาวินิจฉัยในคดีนี้จึงเนื่องมาจากมูลฐานที่จำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งในคดีเดิมได้วินิจฉัยมาแล้ว การที่โจทก์นำมูลหนี้เดียวกันมาฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้อีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) โดยไม่จำต้องมีคู่ความฝ่ายใดยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาอ้างอิงแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 693/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินตามคำพิพากษาตามยอม การซื้อขายที่ดินส่วนของผู้อื่นเป็นโมฆะ
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1ที่ 2 และ ร. สามีโจทก์ที่ 3 ที่ตายไปแล้วกับจำเลยที่ 1 ให้แบ่งที่ดินมรดกระหว่างกัน ได้มีการตกลงแบ่งเขตที่ดินกันเป็นส่วนสัดแล้ว จึงตกเป็นของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ร. และจำเลยที่ 1ตามส่วนที่ได้รับแบ่งมา แม้จำเลยที่ 1 จะได้นำที่ดินพิพาททั้งหมดไปออกโฉนดเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวเต็มทั้งแปลงก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในส่วนของโจทก์ที่ 1 ที่ 2และ ร. จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิที่จะยกที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ร.ให้แก่พ. คงมีสิทธิที่จะยกส่วนของตนให้ พ.เท่านั้นเมื่อพ. ตาย จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภรรยาผู้รับมรดกของ พ.จึงไม่มีสิทธิดีไปกว่าพ. การที่จำเลยที่ 2 ขายที่ดินพิพาททั้งหมดให้แก่จำเลยที่ 3 แต่จำเลยที่ 2มีสิทธิขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนที่ได้รับมาให้แก่จำเลยที่ 3เท่านั้น ไม่มีสิทธิขายที่ดินพิพาททั้งหมดซึ่งเป็นส่วนของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ร. รวมอยู่ด้วยให้แก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทเพียงเฉพาะส่วนที่จำเลยที่ 1 ได้รับแบ่งมรดกและต่อมาตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 เท่านั้น แต่ศาลพิพากษาเพิกถอนการซื้อขายที่ดินพิพาททั้งแปลงไม่ได้ คงเพิกถอนได้เฉพาะการซื้อขายที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ร.เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3706/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีตามคำพิพากษาตามยอม: นับจากวันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด
จำเลยที่ 2 ดำเนินการจดทะเบียนแบ่งแยกที่พิพาทไม่เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำพิพากษาตามยอมที่ถึงที่สุดซึ่งบังคับให้จำเลยที่ 2จำต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงมีอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168 โดยนับตั้งแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3706/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องบังคับตามคำพิพากษาตามยอม: 10 ปีนับจากวันมีคำพิพากษาถึงที่สุด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168 บัญญัติว่าสิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นโดยคำพิพากษาชั้นที่สุดของศาลก็ดีโดยคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการก็ดี โดยประนีประนอมยอมความก็ดีท่านให้มีกำหนดอายุความสิบปี แม้ทั้งที่เป็นประเภทอันอยู่ในบังคับอายุความกำหนดน้อยกว่านั้นดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำพิพากษาตามยอมที่ถึงที่สุดซึ่งบังคับให้จำเลยที่ 2 จำต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความจึงมีอายุความสิบปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอทุเลาการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม การฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ยกคำร้อง
ตามคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองถูกบังคับให้ต้องชำระราคาค่าที่ดินและบ้านให้แก่โจทก์ ถ้าจำเลยทั้งสองไม่ชำระภายในเวลาที่กำหนด จำเลยทั้งสองต้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินและบ้านของโจทก์ทันที การที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องที่ขอให้ไต่สวนเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม หากจำเลยทั้งสองไม่ยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับ จำเลยทั้งสองก็ต้องถูกบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 231 ดังนั้นคำร้องที่จำเลยทั้งสองยื่นมาพร้อมกับอุทธรณ์ จึงเป็นคำร้องขอทุเลาการบังคับตรงตามคำร้องแล้ว มิใช่เป็นการขอคุ้มครองประโยชน์ตามมาตรา 264 ตามที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่ง เมื่อเป็นคำร้องขอทุเลาการบังคับและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องอันเป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะซึ่งเป็นวิธีการที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจของศาลเป็นชั้น ๆ ไป จำเลยทั้งสองจึงฎีกาคำสั่งนั้นต่อศาลฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอทุเลาการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์
ตามคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองถูกบังคับให้ต้องชำระราคาค่าที่ดินให้แก่โจทก์ ถ้าจำเลยทั้งสองไม่ชำระเงินดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนด จำเลยทั้งสองต้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินและบ้านของโจทก์ทันที การที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องที่ขอให้ไต่สวนเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าว หากจำเลยทั้งสองไม่ยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับ จำเลยทั้งสองก็ต้องถูกบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 231 คำร้องที่จำเลยทั้งสองยื่นมาพร้อมกับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นคำร้องขอทุเลาการบังคับตรงตามคำร้องแล้วมิใช่เป็นการขอคุ้มครองประโยชน์ตามมาตรา 264 ตามที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งแต่อย่างใด เมื่อคำร้องของจำเลยทั้งสองเป็นคำร้องขอทุเลาการบังคับและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้อง อันเป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะซึ่งเป็นวิธีการที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจของศาลเป็นชั้น ๆ ไป จำเลยทั้งสองจะฎีกาคำสั่งนั้นต่อศาลฎีกาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมต้องมีเหตุฉ้อฉลที่ชัดเจน หากไม่มีเหตุ ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาตามยอมที่คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์นั้นต้องเป็นไปตามป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง เมื่อข้ออ้างในอุทธรณ์ของจำเลยไม่มีข้อความใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่า ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยตามที่จำเลยอุทธรณ์จึงไม่ชอบและจำเลยไม่อาจฎีกาได้ตามมาตรา 249 วรรคแรก.