พบผลลัพธ์ทั้งหมด 886 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7269/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำฟ้อง: เอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง ศาลไม่ถือว่าพิพากษาเกินเลยหากคำพิพากษาอ้างอิงถึงรายละเอียดในเอกสารดังกล่าว
เอกสารท้ายฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง แม้คำฟ้องของโจทก์จะระบุเพียงว่าจำเลยค้างค่าน้ำประปาเป็นเงิน 660 บาท และค่าโทรศัพท์เป็นเงิน 1,100 บาท แต่ในตารางการคำนวณอัตราดอกเบี้ยและทุนทรัพย์เอกสารท้ายฟ้องระบุว่า ค่าน้ำประปารวมถึงค่ารักษามาตร และค่าโทรศัพท์รวมถึงค่ารักษาคู่สายโทรศัพท์ภายใน ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระค่ารักษามาตรวัดน้ำประปาและค่ารักษาคู่สายโทรศัพท์ภายในจึงมิได้เป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7269/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำฟ้อง: เอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง ศาลไม่ถือว่าพิพากษาเกินเลย
เอกสารท้ายฟ้องถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง แม้คำฟ้องของโจทก์จะระบุเพียงว่า จำเลยค้างชำระค่าน้ำประปาเป็นเงิน 660 บาท และค่าโทรศัพท์เป็นเงิน 1,100 บาท แต่ในตารางการคำนวณอัตราดอกเบี้ยและทุนทรัพย์เอกสารท้ายฟ้องระบุว่า ค่าน้ำประปารวมถึงค่ารักษามาตร และค่าโทรศัพท์รวมถึงค่ารักษาคู่สายโทรศัพท์ภายใน การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระค่ารักษามาตรวัดน้ำประปา และค่ารักษาคู่สายโทรศัพท์ภายใน จึงมิได้เป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7256/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุมแม้ไม่มีเอกสารตรวจพิสูจน์หลักฐาน หากจำเลยเข้าใจข้อหาและให้การรับสารภาพ
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) (6) แล้ว ซึ่งจำเลยก็เข้าใจข้อหาและให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณา ดังนั้น แม้คำฟ้องของโจทก์จะไม่แนบเอกสารผลการตรวจพิสูจน์หลักฐานมาท้ายฟ้อง ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่เคลือบคลุมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7104/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้ไม่ได้ระบุรายละเอียดค่าเสียหายทั้งหมด การระบุค่าซ่อมโดยรวมเพียงพอแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องในส่วนค่าเสียหายว่า เหตุที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยประมาทเฉี่ยวชนรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน ผ-9034 เชียงราย แล้ว รถยนต์คันหมายเลขทะเบียน ผ-9034 เชียงราย กระเด็นมาเฉี่ยวชนกับรถยนต์คันหมายเลขเครื่อง เจ.ที 172 เอส.ซี 1100066869 หมายเลขเครื่องยนต์ 3 เอส-1996985 ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ เป็นเหตุให้รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย โจทก์ได้ซ่อมแซมรถยนต์คันที่โจทก์ได้รับประกันภัยไว้จนอยู่ในสภาพใช้การได้ดีดังเดิมโดยเสียค่าซ่อมแซมและค่าอะไหล่เป็นเงิน 116,343 บาท คำบรรยายฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและอ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วว่า จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเฉี่ยวชนรถยนต์บุคคลอื่นแล้วทำให้กระเด็นมาเฉี่ยวชนกับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 แล้วทำให้รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย โจทก์ดำเนินการซ่อมแซมรถยนต์คันที่ได้รับประกันภัยไว้จนใช้การได้ดังเดิม โดยเสียค่าซ่อมแซมและค่าอะไหล่เป็นเงิน 116,343 บาท ส่วนการที่รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันไว้จะได้รับความเสียหายในส่วนไหน เสียหายอย่างไร โจทก์ต้องเสียค่าซ่อมรายการใดบ้างนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้หาใช่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาซึ่งจะต้องบรรยายมาในคำฟ้องไม่ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7064/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากประกันภัยค้ำจุน จำเป็นต้องระบุผู้เอาประกันภัยและความสัมพันธ์กับผู้ขับขี่
สัญญาประกันภัยค้ำจุนตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 กำหนดให้ผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดต่อเมื่อเป็นวินาศภัยซึ่งผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบ ดังนั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจะใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่อ ฉ. ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบอันเป็นองค์ประกอบสำคัญของบทบัญญัติดังกล่าว การที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 9 จ-กรุงเทพมหานคร ขอให้ร่วมรับผิดในผลละเมิดที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ค้นที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยโดยประมาทชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหาย แต่โจทก์หาได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าใครเป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยและมิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถยนต์คันนี้มีนิติสัมพันธ์อย่างไรกับ ฉ. ผู้เอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 ด้วย คำฟ้องของโจทก์จึงขาดสาระสำคัญอันเป็นประเด็นแห่งคดีที่จะทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 2 โดยไม่อาศัยคำฟ้องหาได้ไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12551/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาขัดแย้งคำฟ้อง: โจทก์ยกเหตุหลายกรรมหลังฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามคำฟ้องของโจทก์ โจทก์บรรยายถึงการกระทำความผิดของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวตาม ป.อ. มาตรา 80, 288 แต่ฎีกาของโจทก์กลับโต้เถียงข้อเท็จจริงว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรม เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง จึงมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฎีกาดังกล่าว นอกจากโจทก์มิได้บรรยายไว้ในคำฟ้องแล้ว ยังขัดแย้งกับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องอีกด้วย จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9296/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของคำฟ้องคดียาเสพติด และการปรับแก้บทลงโทษตามกฎหมายใหม่
โจทก์บรรยายฟ้องถึงประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และจำเลยกับพวกได้ทราบข้อความดังกล่าวแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้แนบประกาศมาท้ายฟ้องก็ไม่ใช่สาระสำคัญ คำฟ้องของโจทก์สมบูรณ์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
การที่จำเลยอ้างว่าประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวไม่ใช่กฎหมาย โจทก์จึงต้องมีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยได้ทราบประกาศฉบับนี้แล้วหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แก้ไขบทลงโทษและโทษจำคุก แต่เป็นการปรับบทลงโทษบทเดิมตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ และยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยอ้างว่าประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวไม่ใช่กฎหมาย โจทก์จึงต้องมีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยได้ทราบประกาศฉบับนี้แล้วหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แก้ไขบทลงโทษและโทษจำคุก แต่เป็นการปรับบทลงโทษบทเดิมตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ และยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัยรถยนต์ ความสมบูรณ์ของคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ขับรถยนต์กระบะ ซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองจำเลยที่ 3 มีวัตถุประสงค์รับประกันวินาศภัยและเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์กระบะคันดังกล่าว จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์กระบะด้วยความประมาทเฉี่ยวชนรถยนต์ของโจทก์ ทำให้สินค้าของโจทก์เสียหาย จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์กระบะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ต่อจำเลยที่ 3 แล้ว โจทก์หาจำต้องบรรยายฟ้องอีกว่าจำเลยที่ 3 รับประกันภัยไว้จากใคร ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4011/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดทางสัญญา: ศาลพิพากษาเกินขอบเขตคำฟ้องและข้อเท็จจริงที่รับฟัง
คำฟ้องของโจทก์แสดงซึ่งสภาพแห่งข้อหาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 เพียง 2 ข้อว่า ข้อหนึ่งจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ อันเป็นความรับผิดตามสัญญาซื้อขาย และข้อสองจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดชำระหนี้ค่าสินค้ากับจำเลยที่ 1 เพราะเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (3) เท่านั้น ไม่มีข้อหาว่าหนี้รายนี้เป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาเพราะเป็นหนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว อุปการะเลี้ยงดู ตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพตามมาตรา 1490 (1) เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมด้วยในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์หรือร่วมด้วยในการประกอบกิจการของร้านธีระพร การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อใช้ในกิจการค้าขายของร้านธีระพรซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในครอบครัวของจำเลยทั้งสองเพื่อนำรายได้มาใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตร ตลอดถึงการรักษาพยาบาลด้วย อันเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันตามมาตรา 1490 (1) แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 นั้น จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาในเรื่องที่นอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามมาตรา 249 ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ยกขึ้นฎีกา เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติแล้วว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์และในการประกอบกิจการของร้านธีระพร จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4011/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของสามีภริยาต่อหนี้ร่วม กรณีศาลพิพากษาเกินกรอบคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นสามีภริยากันเป็นเจ้าของร้านค้าและจำเลยทั้งสองร่วมกันสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ ตามคำฟ้องเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 ไม่มีข้อหาว่าเป็นหนี้ร่วมเพราะเป็นหนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดู ตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(1) เมื่อศาลชั้นต้นมิได้ฟังว่าจำเลยที่ 2 ร่วมด้วยในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์หรือร่วมด้วยในการประกอบกิจการของร้านค้า ก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อใช้ในกิจการค้าขายของร้านค้าซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในครอบครัวของจำเลยทั้งสองเพื่อนำรายได้มาใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตลอดถึงการรักษาพยาบาลด้วย อันเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(1)แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นการพิพากษาในเรื่องนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง อันเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142