พบผลลัพธ์ทั้งหมด 497 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1161/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา และผลของการไม่ชำระค่าธรรมเนียมตามกำหนด
จำเลยยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถามาพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์และศาลชั้นต้นเห็นว่า คดีของจำเลยไม่มีเหตุสมควรอุทธรณ์และมีคำสั่งยกคำร้อง หากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์ต่อไปก็ให้นำเงินค่าธรรมเนียมศาลมาชำระภายในเวลาที่กำหนดจึงเท่ากับศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งเกี่ยวกับเนื้อหาของคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยแล้ว และมีผลเป็นคำสั่งให้ยกคำขอนั้นเสียทีเดียว ซึ่งอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ.มาตรา 156 วรรคท้าย ที่ให้สิทธิแก่ผู้ขออาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันมีคำสั่ง
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเมื่อพ้นกำหนดเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 156 วรรคท้าย จึงต้องห้ามอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องของจำเลยชอบแล้ว แต่การที่ศาลอุทธรณ์มิได้กำหนดเวลาให้จำเลยนำค่าธรรมเนียมมาชำระภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟัง ทั้งกำหนดเวลาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยนำค่าธรรมเนียมมาชำระได้ล่วงพ้นไปแล้ว เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลฎีกาชอบที่จะกำหนดเวลาให้จำเลยนำค่าธรรมเนียมมาชำระภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาแล้วได้
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเมื่อพ้นกำหนดเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 156 วรรคท้าย จึงต้องห้ามอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องของจำเลยชอบแล้ว แต่การที่ศาลอุทธรณ์มิได้กำหนดเวลาให้จำเลยนำค่าธรรมเนียมมาชำระภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟัง ทั้งกำหนดเวลาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยนำค่าธรรมเนียมมาชำระได้ล่วงพ้นไปแล้ว เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลฎีกาชอบที่จะกำหนดเวลาให้จำเลยนำค่าธรรมเนียมมาชำระภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาแล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9691/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน การยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ และการเสียเงินเพิ่ม
หนังสือที่จำเลยมีถึงผู้อำนวยการเขตจตุจักรชี้แจงว่าจำเลยเช่าที่ดินจากการรถไฟแห่งประเทศไทยมีกำหนดระยะเวลา 3 ปี โรงเรือนหรืออาคารที่ก่อสร้างขึ้นเป็นลักษณะชั่วคราว จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ทั้งมีสิทธิที่จะขอคืนภาษีโรงเรือนและทีดินที่ชำระไปแล้ว และหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีโรงเรือนและที่ดินและรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระหนี้สินของจำเลยภายหลังถูกรัฐบาลบอกเลิกสัญญาสัมปทานก่อสร้างทางรถไฟยกระดับ และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนกรรมสิทธิ์อาคารสำนักงานชั่วคราวที่พิพาทให้แก่บริษัทแล้ว จำเลยจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินนั้น มิใช่คำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 และมาตรา 26 แห่งพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9359/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ที่มิได้กล่าวรายละเอียดข้อคัดค้านชัดเจน และผลของการคำร้องถึงที่สุด
เดิมจำเลยยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 24 มีนาคม 2541 เพื่อขอพิจารณาคดีใหม่ต่อศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คำร้องของจำเลยไม่มีรายละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาล ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคสอง ให้ยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 และศาลฎีกาพิพากษายืน ผลของคดีที่ให้ยกคำร้องจึงเป็นที่สุด จำเลยไม่อาจขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องขอพิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 24 มีนาคม 2541 ซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว และไม่อาจถือเอารายละเอียดต่าง ๆของคำร้องฉบับดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งของคำร้องขอพิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2543 ซึ่งจำเลยได้ยื่นต่อศาลในภายหลังได้ เพราะพ้นกำหนดระยะเวลา 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยแล้ว
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 24 มีนาคม 2541 โดยไม่ได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคสองนั้น เป็นความผิดพลาดบกพร่องของจำเลยเอง ไม่อาจถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ที่จะขยายระยะเวลาให้จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ได้อีก ไม่ชอบที่ศาลจะรับคำร้องฉบับหลังไว้ไต่สวนต่อไป
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 24 มีนาคม 2541 โดยไม่ได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคสองนั้น เป็นความผิดพลาดบกพร่องของจำเลยเอง ไม่อาจถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ที่จะขยายระยะเวลาให้จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ได้อีก ไม่ชอบที่ศาลจะรับคำร้องฉบับหลังไว้ไต่สวนต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9107/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอให้เรียกบุคคลภายนอกเป็นจำเลยร่วมไม่ใช่คำคู่ความ ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 226
คำร้องขอของโจทก์ที่ให้เรียกธนาคาร ท. บุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความในคดีเพื่อเป็นจำเลยร่วมไม่มีลักษณะเป็นคำฟ้องหรือคำคู่ความ ไม่เหมือนกรณีที่บุคคลภายนอกร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีไม่ว่าโดยความสมัครใจ หรือถูกหมายเรียกของศาลให้เข้ามา เนื่องจากคำร้องสอดของบุคคลภายนอกที่ยื่นต่อศาลเป็นการตั้งประเด็นโต้แย้งกับคู่ความในคดีจึงมีลักษณะเป็นคำฟ้องและเป็นคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(3) และ (5) เมื่อศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ให้เรียกธนาคาร ท. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม จึงไม่ใช่คำสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความตามมาตรา 18 แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5720/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการยื่นอุทธรณ์ – การขยายเวลา และการยื่นคำร้องต่อศาลอื่น
จำเลยได้รับอนุญาตให้ขยายเวลายื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 28 กันยายน 2541 จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนี้ภายในวันที่ 28 กันยายน 2541 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 หากไม่อาจยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลชั้นต้นได้โดยเหตุสุดวิสัย จำเลยจะยื่นอุทธรณ์โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลซึ่งตนอยู่ในเขตศาลในขณะนั้นก็ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 10 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
ทนายจำเลยได้รับมอบหมายจากจำเลยให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดลพบุรี) และทนายจำเลยได้ ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไป 15 วัน ซึ่งจะครบกำหนดระยะเวลาขอขยายวันที่ 29 กันยายน 2541 แต่ศาลชั้นต้น ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีนี้ไปเพียงวันที่ 28 กันยายน 2541 ซึ่งในวันที่ 28 กันยายน 2541 ทนายจำเลยไปดูที่เกิดเหตุคดีอื่นภายในจังหวัดฉะเชิงเทรา เวลาประมาณ 8 นาฬิกา ปรากฏว่ารถยนต์ของทนายจำเลยขับไปชนก้อนหินขนาดใหญ่ เป็นเหตุให้ก้นถังน้ำมันเครื่องแตก ช่างไม่สามารถทำการซ่อมให้เสร็จในวันเดียวกันหรือหากเสร็จก็จะเป็นเวลาเย็น เป็นเหตุให้ทนายจำเลยกลับมายื่นอุทธรณ์ต่อศาลจังหวัดลพบุรีไม่ทัน ทนายจำเลยจึงยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทราซึ่งเป็นศาลที่ทนายจำเลยอยู่ภายในเขตศาล เนื่องจากทนายจำเลยไปคนเดียวและรถยนต์ ของทนายจำเลยมีราคาประมาณสองล้านบาทและไม่รู้จักกับเจ้าของอู่ซ่อมรถ จึงไม่อาจทิ้งรถยนต์ไว้ที่อู่ซ่อมรถ เมื่อมีเหตุที่ทนายจำเลยไม่อาจที่จะกลับไปยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดลพบุรี) ได้ทัน ถือว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อันเป็นเหตุสุดวิสัย ทนายจำเลยจึงยื่นคำร้องขอยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งทนายจำเลยอยู่ในเขตศาลในขณะนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 10 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
ทนายจำเลยได้รับมอบหมายจากจำเลยให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดลพบุรี) และทนายจำเลยได้ ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไป 15 วัน ซึ่งจะครบกำหนดระยะเวลาขอขยายวันที่ 29 กันยายน 2541 แต่ศาลชั้นต้น ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีนี้ไปเพียงวันที่ 28 กันยายน 2541 ซึ่งในวันที่ 28 กันยายน 2541 ทนายจำเลยไปดูที่เกิดเหตุคดีอื่นภายในจังหวัดฉะเชิงเทรา เวลาประมาณ 8 นาฬิกา ปรากฏว่ารถยนต์ของทนายจำเลยขับไปชนก้อนหินขนาดใหญ่ เป็นเหตุให้ก้นถังน้ำมันเครื่องแตก ช่างไม่สามารถทำการซ่อมให้เสร็จในวันเดียวกันหรือหากเสร็จก็จะเป็นเวลาเย็น เป็นเหตุให้ทนายจำเลยกลับมายื่นอุทธรณ์ต่อศาลจังหวัดลพบุรีไม่ทัน ทนายจำเลยจึงยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทราซึ่งเป็นศาลที่ทนายจำเลยอยู่ภายในเขตศาล เนื่องจากทนายจำเลยไปคนเดียวและรถยนต์ ของทนายจำเลยมีราคาประมาณสองล้านบาทและไม่รู้จักกับเจ้าของอู่ซ่อมรถ จึงไม่อาจทิ้งรถยนต์ไว้ที่อู่ซ่อมรถ เมื่อมีเหตุที่ทนายจำเลยไม่อาจที่จะกลับไปยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดลพบุรี) ได้ทัน ถือว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อันเป็นเหตุสุดวิสัย ทนายจำเลยจึงยื่นคำร้องขอยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งทนายจำเลยอยู่ในเขตศาลในขณะนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 10 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4461-4462/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช็คและการนับโทษต่อ ศาลอนุญาตตามคำร้องได้แม้ไม่ได้ระบุในคำฟ้อง
กฎหมายมิได้บัญญัติว่าการขอให้นับโทษต่อจะต้องกล่าวมาในคำฟ้องโจทก์จึงยื่นคำร้องขอให้นับโทษต่อในภายหลังได้ คดีทั้งสองเรื่องโจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยทั้งสองสำนวนเป็นบุคคลเดียวกันกระทำผิดข้อหาเดียวกัน แม้จำเลยจะเพียงแต่ไม่คัดค้านคำร้องไม่เคยรับไว้ในที่ใดว่าเป็นความจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้าง แต่คดีสองเรื่องนี้เป็นเรื่องโจทก์คนเดียวกันฟ้องจำเลยที่ศาลชั้นต้นแห่งเดียวกัน ในเวลาใกล้เคียงกัน และต่อมาศาลสั่งให้รวมการพิจารณาเข้าด้วยกัน เมื่อโจทก์ได้แสดงความประสงค์ขอให้นับโทษต่อมาชัดเจนและจำเลยทั้งสองคดีเป็นบุคคลคนเดียวกันแน่นอน การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งอย่างใดจนกระทั่งพิพากษา ต้องถือว่าศาลชั้นต้นอนุญาตตามคำร้องขอให้นับโทษต่อโดยปริยายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4298/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งริบรถยนต์ของกลางในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด โดยไม่ต้องมีคำร้องตาม พ.ร.บ. มาตรการฯ
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยรถยนต์ของกลาง ซึ่งจำเลยกับพวกใช้เป็น ยานพาหนะขนส่งและซุกซ่อนยาเสพติดให้โทษอันเป็นยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และมีคำขอท้ายคำฟ้องให้ริบของกลางตามมาตรา 102 และ ป.อ. มาตรา 32, 33 คำขอให้ริบของกลางในลักษณะเช่นนี้ต่างจากคำขอให้ริบทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับ ยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 ซึ่งกำหนดให้พนักงานอัยการต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีนั้นเพื่อขอให้สั่ง ริบทรัพย์สิน เมื่อโจทก์มิได้ขอให้ศาลสั่งริบของกลางตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 โจทก์จึงไม่จำต้องยื่นคำร้องต่อศาลและศาลมีอำนาจสั่งริบของกลางได้ตามที่โจทก์ขอมาในคำขอท้ายคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4298/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางที่เป็นยานพาหนะใช้ในการกระทำผิดยาเสพติด ไม่จำเป็นต้องมีคำร้องเฉพาะตาม พ.ร.บ. มาตรการปราบปรามยาเสพติด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้รถยนต์ขนส่งและซุกซ่อนยาเสพติดให้โทษ อันเป็นยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดและมีคำขอให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 102 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32,33ซึ่งคำขอในลักษณะเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายกำหนดให้พนักงานอัยการต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีนั้นให้สั่งริบทรัพย์สิน ต่างจากพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 ซึ่งกำหนดให้พนักงานอัยการต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีนั้นให้สั่งริบทรัพย์สินฉะนั้น เมื่อโจทก์มิได้ขอให้ศาลสั่งริบของกลางตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 จึงไม่จำต้องยื่นคำร้องต่อศาล และศาลมีอำนาจสั่งริบของกลางได้ตามที่โจทก์ขอมาในคำขอท้ายคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาออกคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์: นับจากวันที่ได้รับคำร้อง ไม่ใช่วันที่ส่งถึงผู้ถูกกล่าวหา
ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 125 ได้บัญญัติให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยชี้ขาดคำร้องกล่าวหาตามมาตรา 124 และออกคำสั่งภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องกล่าวหา การที่ลูกจ้างได้ยื่นคำร้องกล่าวหาโจทก์ต่อจำเลยทั้งสิบสามซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2542 และจำเลยทั้งสิบสามได้มีคำสั่งลงวันที่ 9 เมษายน 2542 ซึ่งไม่เกิน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องกล่าวหาของลูกจ้าง คำสั่งของจำเลยทั้งสิบสามจึงออกภายในกำหนดเวลา และชอบด้วย มาตรา 125 แห่งบทบัญญัติดังกล่าว แม้จะส่งคำสั่งให้โจทก์ในวันที่ 28 เมษายน 2542 ซึ่งเป็นระยะเวลาเกิน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องกล่าวหาก็ไม่ถือว่าออกคำสั่งเกินกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 832/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุผลที่ชัดเจนว่าคำพิพากษาเดิมไม่ถูกต้องและมีพยานหลักฐานสนับสนุน
จำเลยยื่นคำร้องว่า หากทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องก็ต้องต่อสู้คดีแน่นอน เพราะจำเลยไม่เคยทำสัญญากู้เงิน สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี และสัญญาค้ำประกันตามฟ้องโจทก์ หากจำเลยได้มีโอกาสต่อสู้คดีและนำพยานหลักฐานเข้าสืบแล้วจะทำให้คำพิพากษาของศาลเปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอน คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยเป็นเพียงข้ออ้างลอย ๆ ไม่ได้ยกเหตุผลขึ้นประกอบโดยละเอียดและชัดแจ้งว่า หากจำเลยได้ต่อสู้คดีและนำพยานหลักฐานเข้าสืบแล้วจะทำให้คำพิพากษาของศาลเปลี่ยนแปลงอย่างไร ทั้งไม่ได้อ้างเหตุว่าคำพิพากษาไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนตรงไหน ส่วนใด นอกจากนั้นก็ไม่ได้แสดงเหตุผลว่าหากมีการอนุญาตให้พิจารณาใหม่ คำพิพากษาจะเปลี่ยนแปลงเป็นผลดีแก่จำเลยอย่างไร จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นตรวจรับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยแล้วการสั่งรับคำร้องเป็นเพียงกระบวนการเบื้องต้นที่จะให้คำร้องนั้นเข้าสู่กระบวนพิจารณาของศาล มิได้ตัดอำนาจของศาลในการพิจารณาคำร้องนั้นต่อไปว่าชอบหรือไม่ ในชั้นตรวจรับคำร้อง แม้ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งยกคำร้องทันที แต่ได้นัดไต่สวนคำร้องไว้ก็ตาม เมื่อถึงวันนัด หากศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้ เมื่อเห็นว่าคำร้องดังกล่าวมิได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บทกฎหมายกำหนดไว้ หาจำต้องไต่สวนต่อไปไม่ เพราะเป็นการเปล่าประโยชน์
ศาลชั้นต้นตรวจรับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยแล้วการสั่งรับคำร้องเป็นเพียงกระบวนการเบื้องต้นที่จะให้คำร้องนั้นเข้าสู่กระบวนพิจารณาของศาล มิได้ตัดอำนาจของศาลในการพิจารณาคำร้องนั้นต่อไปว่าชอบหรือไม่ ในชั้นตรวจรับคำร้อง แม้ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งยกคำร้องทันที แต่ได้นัดไต่สวนคำร้องไว้ก็ตาม เมื่อถึงวันนัด หากศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้ เมื่อเห็นว่าคำร้องดังกล่าวมิได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บทกฎหมายกำหนดไว้ หาจำต้องไต่สวนต่อไปไม่ เพราะเป็นการเปล่าประโยชน์