พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งกำกวม ไม่ระบุรายละเอียดหน่วยปฏิบัติหน้าที่ผิด ศาลยกคำร้องตามวิ.แพ่ง ม.172
คัดค้านการเลือกตั้งโดยกล่าวบางหน่วยปฏิบัติไม่ถูกต้องแต่ไม่ระบุว่าหน่วยไหน ส่วนข้อที่ว่าอ่านบัตร์เลือกตั้งโดยวิธีเรียกชื่อแต่ไม่ระบุว่าไม่ถูกต้องอย่างไรข้อที่ว่าวินิจฉัยบัตร์ดีเป็นบัตร์เสียโดยไม่กล่าวว่าบัตร์ชนิดไหนวินิจฉัยเป็นบัตร์เสียดังนี้ ถือว่าเป็นคำร้องกำกวมทุกข้อ เป็นคำร้องไม่ถูกต้องตาม ป.ม.วิแพ่ง ฯ ม.172
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8780/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องคัดค้านทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ฟอกเงิน: ต้องพิสูจน์เหตุไม่สามารถยื่นก่อนศาลมีคำสั่ง
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 50 วรรคสอง บัญญัติว่า "ผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่พนักงานอัยการร้องขอให้ตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 49 อาจยื่นคำร้องขอคุ้มครองสิทธิของตนก่อนศาลมีคำสั่ง..." และตามมาตรา 53 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 51 หากปรากฏในภายหลังโดยคำร้องของเจ้าของ ผู้รับโอน หรือผู้รับประโยชน์ทรัพย์สินนั้น ถ้าศาลไต่สวนแล้วเห็นว่า กรณีต้องด้วยบทบัญญัติของมาตรา 50 ให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินนั้น..." และในวรรคสองบัญญัติว่า "คำร้องตามวรรคหนึ่งจะต้องยื่นภายในหนึ่งปีนับแต่คำสั่งศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินถึงที่สุด และผู้ร้องต้องพิสูจน์ให้เห็นว่า ไม่สามารถยื่นคำร้องคัดค้านตามมาตรา 50 ได้ เพราะไม่ทราบถึงประกาศหรือหนังสือแจ้งของเลขาธิการหรือมีเหตุขัดข้องอันสมควรประการอื่น" ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นว่า ผู้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอาจยื่นคำร้องขอคุ้มครองสิทธิของตนได้ 2 กรณี กล่าวคือ กรณีแรกต้องยื่นคำร้องก่อนศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 50 วรรคสอง และกรณีที่สองยื่นคำร้องภายหลังจากศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 53 โดยผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องภายใน 1 ปี นับแต่คำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินถึงที่สุด และพิสูจน์ให้เห็นว่า ไม่สามารถยื่นคำร้องคัดค้านได้ก่อนศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะไม่ทราบถึงประกาศหรือหนังสือแจ้งของเลขาธิการ หรือมีเหตุขัดข้องอันสมควรประการอื่น
ข้อเท็จจริงได้ความว่า มีการส่งหนังสือแจ้งประกาศของศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 18 ธันวาคม 2546 เรื่อง ประกาศศาลแพ่ง ขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ไปยังสำนักงานใหญ่ของผู้คัดค้านที่ 6 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2546 ซึ่งมีพนักงานของผู้คัดค้านที่ 6 เป็นผู้ลงลายมือชื่อรับเอกสารดังกล่าวไว้แทน ย่อมถือได้ว่าผู้คัดค้านที่ 6 ทราบถึงประกาศดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2546 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินในวันที่ 2 ธันวาคม 2547 ภายหลังจากที่ผู้คัดค้านที่ 6 ทราบประกาศดังกล่าวแล้วเกือบ 1 ปี ผู้คัดค้านที่ 6 ย่อมมีเวลาเพียงพอที่จะยื่นคำร้องขอคุ้มครองสิทธิของตนก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินได้ แต่ผู้คัดค้านที่ 6 กลับมิได้ดำเนินการยื่นคำร้องภายในระยะเวลาดังกล่าว การที่ผู้คัดค้านที่ 6 เพิ่งมายื่นคำร้องขอคุ้มครองสิทธิของตนเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2548 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน นานถึง 2 เดือน 16 วัน ผู้คัดค้านที่ 6 จะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าไม่สามารถยื่นคำร้องคัดค้านก่อนศาลมีคำสั่งได้เพราะไม่ทราบถึงประกาศหรือหนังสือแจ้งของเลขาธิการ หรือมีเหตุขัดข้องอันสมควรประการอื่น เมื่อไม่ปรากฏเหตุขัดข้องใด ๆ ในคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 6 ประกอบกับในวันนัดไต่สวน ทนายผู้คัดค้านที่ 6 แถลงรับว่าจะนำสืบเฉพาะประเด็นความสุจริตในการรับจำนองที่ดินพิพาทเท่านั้น ทั้งผู้คัดค้านที่ 6 ทราบถึงประกาศของศาลชั้นต้น ถือได้ว่าผู้คัดค้านที่ 6 ไม่อาจพิสูจน์ให้เห็นว่า เหตุใดจึงไม่สามารถยื่นคำร้องคัดค้านตามมาตรา 50 ได้ ดังนั้นกรณีจึงไม่เข้าเงื่อนไขที่จะรับไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 53 วรรคสอง ผู้คัดค้านที่ 6 ย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านดังกล่าว
ข้อเท็จจริงได้ความว่า มีการส่งหนังสือแจ้งประกาศของศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 18 ธันวาคม 2546 เรื่อง ประกาศศาลแพ่ง ขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ไปยังสำนักงานใหญ่ของผู้คัดค้านที่ 6 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2546 ซึ่งมีพนักงานของผู้คัดค้านที่ 6 เป็นผู้ลงลายมือชื่อรับเอกสารดังกล่าวไว้แทน ย่อมถือได้ว่าผู้คัดค้านที่ 6 ทราบถึงประกาศดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2546 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินในวันที่ 2 ธันวาคม 2547 ภายหลังจากที่ผู้คัดค้านที่ 6 ทราบประกาศดังกล่าวแล้วเกือบ 1 ปี ผู้คัดค้านที่ 6 ย่อมมีเวลาเพียงพอที่จะยื่นคำร้องขอคุ้มครองสิทธิของตนก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินได้ แต่ผู้คัดค้านที่ 6 กลับมิได้ดำเนินการยื่นคำร้องภายในระยะเวลาดังกล่าว การที่ผู้คัดค้านที่ 6 เพิ่งมายื่นคำร้องขอคุ้มครองสิทธิของตนเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2548 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน นานถึง 2 เดือน 16 วัน ผู้คัดค้านที่ 6 จะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าไม่สามารถยื่นคำร้องคัดค้านก่อนศาลมีคำสั่งได้เพราะไม่ทราบถึงประกาศหรือหนังสือแจ้งของเลขาธิการ หรือมีเหตุขัดข้องอันสมควรประการอื่น เมื่อไม่ปรากฏเหตุขัดข้องใด ๆ ในคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 6 ประกอบกับในวันนัดไต่สวน ทนายผู้คัดค้านที่ 6 แถลงรับว่าจะนำสืบเฉพาะประเด็นความสุจริตในการรับจำนองที่ดินพิพาทเท่านั้น ทั้งผู้คัดค้านที่ 6 ทราบถึงประกาศของศาลชั้นต้น ถือได้ว่าผู้คัดค้านที่ 6 ไม่อาจพิสูจน์ให้เห็นว่า เหตุใดจึงไม่สามารถยื่นคำร้องคัดค้านตามมาตรา 50 ได้ ดังนั้นกรณีจึงไม่เข้าเงื่อนไขที่จะรับไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 53 วรรคสอง ผู้คัดค้านที่ 6 ย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17522/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องคัดค้านคำสั่งบังคับคดีซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.ม.144 หากเป็นประเด็นเดิมที่เคยถูกวินิจฉัยแล้ว
คำร้องของโจทก์ฉบับลงวันที่ 18 มกราคม 2553 ซึ่งศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดไปแล้ว เป็นการคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไม่ดำเนินการยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 4692 ของจำเลยเช่นเดียวกับคำร้องนี้ แม้จะเป็นการคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีคนละคราวกัน แต่ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากโจทก์ยื่นคำแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินแปลงเดียวกันโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่าทรัพย์จำนองไม่เพียงพอชำระหนี้โจทก์ ซึ่งคำร้องฉบับหลังโจทก์อ้างเพียงว่ามีภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นเท่านั้นอันมีผลสืบเนื่องมาจากการที่โจทก์ไม่รีบดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์จำนอง โดยความรับผิดในส่วนดอกเบี้ยของจำเลยนี้มีมาแต่เดิมและมีอยู่แล้วในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 18 มกราคม 2553 คำร้องของโจทก์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4595/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น และผลของการมิได้แจ้งการมอบอำนาจในคำร้องคัดค้าน
ตามคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาด ผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องเป็นผู้เข้าประมูลซื้อทรัพย์จึงเป็นผู้มีสิทธิตามระเบียบการประมูลซื้อทรัพย์ โดยไม่ได้กล่าวอ้างเรื่องที่ผู้ร้องมอบอำนาจให้ ท. เข้าเป็นผู้ประมูลซื้อทรัพย์แทนผู้ร้องไว้ในคำร้องแต่อย่างใด ผู้ร้องเพิ่งยกเรื่องการมอบอำนาจดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ กรณีจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: คำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดต้องยื่นภายใน 15 วันนับแต่ทราบข้อเท็จจริง
จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างมาในคำร้องว่า หลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยที่ 1 ยังชำระหนี้แก่โจทก์ตลอดมา คงเหลือหนี้ที่ต้องชำระพร้อมดอกเบี้ยเพียง 12,000,000 บาท ซึ่งต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดที่ดินรวมเป็นเงิน 12,010,000 บาท พอจำนวนที่ชำระหนี้แล้ว แต่เจ้าพนักงานบังคับคดียังคงนำทรัพย์สินที่เหลือออกขายทอดตลาด คำร้องดังกล่าวเป็นการกล่าวอ้างว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมายเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต้องเสียหายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง จำเลยที่ 1 ต้องยื่นคำร้องก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลงแต่ต้องไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบข้อความหรือพฤติกรรมอันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น ตามมาตรา 296 วรรคสาม