พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเวนคืน: กำหนด 1 ปีนับจากวันพ้นกำหนด 60 วัน หรือวันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า ในการพิจารณาอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมาย และผู้มีความรู้ความสามารถในการตีราคาอสังหาริมทรัพย์ มีจำนวนทั้งหมดไม่น้อยกว่าห้าคนเป็นผู้พิจารณาเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ และตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่าในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วแต่กรณีดังนี้เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ขอเพิ่มค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวันที่ 4 มิถุนายน 2533และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับคำอุทธรณ์ในวันเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน คือวันที่ 3สิงหาคม 2533 แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 3 สิงหาคม 2533 โจทก์ก็ต้องฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา 60 วัน คือต้องฟ้องคดีภายในวันที่ 3 สิงหาคม 2534 การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2535 ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลาแล้ว โจทก์จึงสิ้นสิทธิฟ้องร้อง
สิทธิของผู้ได้รับเงินค่าทดแทนที่จะฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง มีได้เพียงกรณีใดกรณีหนึ่งคือ กรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ ดังนี้ เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์หามีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีที่วินิจฉัยเกินกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ไม่
กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิ มิใช่อายุความ การที่มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ให้แก้ไขการกำหนดราคาเบื้องต้นและโจทก์ได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ไม่ทำให้กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นใหม่
สิทธิของผู้ได้รับเงินค่าทดแทนที่จะฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง มีได้เพียงกรณีใดกรณีหนึ่งคือ กรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ ดังนี้ เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์หามีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีที่วินิจฉัยเกินกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ไม่
กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิ มิใช่อายุความ การที่มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ให้แก้ไขการกำหนดราคาเบื้องต้นและโจทก์ได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ไม่ทำให้กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเวนคืน: การนับระยะเวลาจากคำวินิจฉัยรัฐมนตรีหรือพ้นกำหนดเวลา
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคหนึ่งโจทก์จะต้องยื่นคำฟ้องภายใน1ปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีซึ่งตามมาตรา25วรรคสองให้รัฐมนตรีวินิจฉัยให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์แต่หากรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาดังกล่าวก็ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเสียภายใน1ปีนับแต่วันพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์คดีนี้รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยคำอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา25วรรคสองโจทก์ต้องยื่นคำฟ้องภายใน1ปีนับแต่วันที่6ตุลาคม2533อันเป็นวันพ้นกำหนดเวลาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา25วรรคสองโจทก์ยื่นคำฟ้องคดีนี้วันที่24มกราคม2535อำนาจในการฟ้องคดีของโจทก์จึงเป็นอันสิ้นไปตามมาตรา26แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5196/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำวินิจฉัย คชก.จังหวัด และผลผูกพันทางกฎหมาย หากไม่ฟ้องคัดค้านคำวินิจฉัยย่อมมีผลบังคับใช้
ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 57 คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่เห็นด้วยหรือไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด จะต้องฟ้องเพื่อให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด เพราะตราบใดคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดยังไม่ถูกเพิกถอน ต้องถือว่าคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดยังมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย และหากไม่ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดภายในกำหนดเวลา คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 57 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 56 วรรคสอง การฟ้องขอให้เพิกถอนมติของ คชก.จังหวัดจึงต้องฟ้องผู้ออกมติก็คือ คชก.จังหวัดนั้นเอง เพื่อให้ คชก.จังหวัดได้มีโอกาสเข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของผู้ฟ้องขอให้เพิกถอนมติ นอกจากนี้ มาตรา 58 วรรคสอง กำหนดให้คชก.จังหวัดมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้บังคับตามคำวินิจฉัยหรือคำสั่งอันเป็นที่สุดของ คชก.จังหวัดได้ ดังนั้น คชก.จังหวัดจึงเป็นองค์กรฝ่ายปกครองที่กฎหมายกำหนดให้ดำเนินคดีในศาลได้ คชก.จังหวัดจึงอยู่ในฐานะที่ถูกฟ้องได้ เมื่อโจทก์ไม่ฟ้อง คชก.จังหวัดเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด คำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดจึงยังคงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินที่จำเลยที่ 1 ให้โจทก์เช่าทำนา ให้ขายที่ดินแก่โจทก์อันแตกต่างไปจากคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5196/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องซื้อขายที่ดินต้องเพิกถอนคำวินิจฉัยคชก.จังหวัดก่อน หากไม่ฟ้องคชก.คำวินิจฉัยมีผลผูกพัน
คชก.จังหวัดเป็นองค์กรฝ่ายปกครองซึ่งตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา7และมีอำนาจหน้าที่ต่างๆตามที่กำหนดไว้ในมาตรา8และมาตรา57ซึ่งบัญญัติให้คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่เห็นด้วยหรือไม่พอใจคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดจะต้องฟ้องเพื่อให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดเพราะตราบใดที่คำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดยังไม่ถูกเพิกถอนต้องถือว่าคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดยังมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายและหากไม่ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวภายในกำหนดเวลาคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา57วรรคสองประกอบด้วยมาตรา56วรรคสองการฟ้องขอให้เพิกถอนมติของคชก.จังหวัดจึงต้องฟ้องผู้ออกมติก็คือคชก.จังหวัดนั้นเองทั้งนี้เพื่อให้คชก.จังหวัดได้มีโอกาสเข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของผู้ฟ้องขอให้เพิกถอนมตินอกจากนี้ตามมาตรา58วรรคสองกำหนดให้คชก.จังหวัดมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้บังคับตามคำวินิจฉัยหรือคำสั่งอันเป็นที่สุดของคชก.จังหวัดได้ดังนั้นคชก.จังหวัดจึงเป็นองค์กรฝ่ายปกครองที่กฎหมายกำหนดให้ดำเนินคดีในศาลจึงอยู่ในฐานะที่ถูกฟ้องได้เมื่อโจทก์ไม่ฟ้องคชก.จังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดสุพรรณบุรีคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดสุพรรณบุรีจึงยังคงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายโจทก์จึงฟ้องเฉพาะจำเลยที่2ให้ขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์อันแตกต่างไปจากคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดสุพรรณบุรีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำวินิจฉัย คชก.ตำบล: ศาลมีอำนาจพิจารณาราคาตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้
คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลที่มิได้อุทธรณ์จะเป็นที่สุด แต่เมื่อผู้มีส่วนได้เสียร้องต่อศาลในการพิจารณาว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าว กฎหมายให้นำ ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา221 บัญญัติให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ซึ่งในกรณีที่ศาลเห็นว่าคำชี้ขาดใดไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีความบกพร่องอันมิใช่สาระสำคัญและอาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดนั้นหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้
การนำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของ คชก.ตำบล จะต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับเพียงเท่าที่ไม่ขัดต่อสภาพความชอบด้วยกฎหมายของคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของ คชก.ตำบล โดยเฉพาะในข้อที่ว่าราคาที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายนาให้แก่ผู้เช่านาเป็นราคาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง หรือไม่ มิใช่ข้อที่เป็นดุลพินิจเด็ดขาดของ คชก.ตำบลในการพิจารณาว่าจะบังคับตามคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลหรือไม่ ศาลต้องพิจารณาว่าราคาที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยเป็นราคาตามบทบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ ถ้ามิใช่ศาลย่อมพิจารณาจากพยานหลักฐานและกำหนดราคาให้ถูกต้อง แล้วพิพากษาให้บังคับให้ขายตามราคาที่กำหนดไปได้
การนำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของ คชก.ตำบล จะต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับเพียงเท่าที่ไม่ขัดต่อสภาพความชอบด้วยกฎหมายของคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของ คชก.ตำบล โดยเฉพาะในข้อที่ว่าราคาที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายนาให้แก่ผู้เช่านาเป็นราคาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง หรือไม่ มิใช่ข้อที่เป็นดุลพินิจเด็ดขาดของ คชก.ตำบลในการพิจารณาว่าจะบังคับตามคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลหรือไม่ ศาลต้องพิจารณาว่าราคาที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยเป็นราคาตามบทบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ ถ้ามิใช่ศาลย่อมพิจารณาจากพยานหลักฐานและกำหนดราคาให้ถูกต้อง แล้วพิพากษาให้บังคับให้ขายตามราคาที่กำหนดไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4556/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องซ้ำหนี้ที่เคยมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดแล้ว ถือเป็นการขัดขวางกระบวนการยุติธรรม
หนี้ที่ผู้ร้องเรียกให้ผู้คัดค้านชำระเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1ในคดีนี้ กับหนี้ที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้คัดค้านไม่ได้เป็นหนี้ลูกหนี้ที่ 1ในอีกคดีหนึ่งนั้น เป็นหนี้รายเดียวกัน คือ เป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่ผู้คัดค้านออกให้ลูกหนี้ที่ 1 ในการกู้ยืมเงินและคดีมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยเป็นอย่างเดียวกันว่าผู้คัดค้านจะต้องชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับดังกล่าวหรือไม่ เมื่อปรากฏว่าคดีที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้คัดค้านไม่ได้เป็นลูกหนี้ที่ 1 ถึงที่สุดแล้วโดยศาลฎีกาได้วินิจฉัยเกี่ยวกับหนี้รายนี้ว่า ลูกหนี้ที่ 1 ได้ตกลงไม่เรียกร้องให้ผู้คัดค้านชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแล้วไม่ว่ากรณีใด ๆ การที่ผู้ร้องมาร้องเป็นคดีนี้จึงเป็นการรื้อร้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นการร้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 ประกอบกับ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำวินิจฉัย คชก.ตำบล: ศาลมีอำนาจตรวจสอบและแก้ไขราคาซื้อขายที่ดินตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ
ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 9(1) เพียงแต่กำหนดว่า ในการพิจารณาเรื่องอันเกี่ยวกับการเช่าในเขตหมู่บ้านใด ให้ผู้ใหญ่บ้านแห่งหมู่บ้านนั้นเป็นกรรมการด้วยเท่านั้น ฉะนั้นหากการประชุมมีกรรมการประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง การประชุมก็ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำวินิจฉัยของคชก.ตำบลที่ให้โจทก์ซื้อที่นาพิพาทจากจำเลยในราคาที่ ล.ขายให้ ส.ไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง เพราะโจทก์มีสิทธิซื้อที่นาพิพาทจากจำเลยในราคาที่จำเลยซื้อไว้จาก ส.หรือตามราคาตลาดในขณะที่มีการซื้อขายกัน
แม้ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2525จะบัญญัติในมาตรา 56 วรรคสอง ว่า คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลที่มิได้อุทธรณ์ตามมาตรา 56 วรรคหนึ่งให้เป็นที่สุด และในมาตรา 58 วรรคหนึ่ง ว่า ในกรณีมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าว เมื่อผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาลในการพิจารณาของศาลให้ถือว่า คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโต-ตุลาการโดยให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโต-ตุลาการใน ป.วิ.พ.มาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาตามคำวินิจฉัยดังกล่าวในกรณีนี้โดยอนุโลม ซึ่งการพิจารณาพิพากษาดังกล่าวนี้ ป.วิ.พ.มาตรา 221บัญญัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ คือ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530 โดยมีบทบัญญัติในมาตรา 24 วรรคหนึ่งว่า "ในกรณีที่ศาลเห็นว่าคำชี้ขาดใดไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับแก่ข้อพิพาทนั้น หรือเป็นคำชี้ขาดที่เกิดจากการกระทำหรือวิธีการอันมิชอบอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมิได้อยู่ในขอบเขตแห่งสัญญาอนุญาโตตุลาการที่มีผลผูกพันตามกฎหมายหรือคำขอของคู่กรณีให้ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดนั้น" และในมาตรา 24วรรคสอง ว่า "ในกรณีที่คำชี้ขาดใดมีความบกพร่องอันมิใช่สาระสำคัญและอาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เช่น การคำนวณตัวเลขหรือการกล่าวอ้างถึงบุคคลหรือทรัพย์สิ่งใดผิดพลาดไป ศาลอาจแก้ไขให้ถูกต้องและมีคำพิพากษาให้บังคับตามคำชี้ขาดที่ได้แก้ไขแล้วนั้นได้" แต่ก็เห็นได้ว่า การนำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของ คชก.ตำบล จะต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับเพียงเท่าที่ไม่ขัดต่อสภาพความชอบด้วยกฎหมายของคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของคชก.ตำบล โดยเฉพาะในข้อที่ว่า ราคาที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายนาให้แก่ผู้เช่านาเป็นราคาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 54 วรรคหนึ่งหรือไม่ มิใช่ข้อที่เป็นดุลพินิจเด็ดขาดของ คชก.ตำบลในการพิจารณาว่าจะบังคับตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลหรือไม่ ศาลต้องพิจารณาว่า ราคาที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยเป็นราคาตามบทบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ถ้ามิใช่ ศาลย่อมพิจารณาจากพยานหลักฐานและกำหนดราคาให้ถูกต้องแล้วพิพากษาให้บังคับให้ขายตามราคาที่กำหนดไปได้ แม้การพิพากษาดังกล่าวจะเป็นการแก้ไขคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของ คชก.ตำบล ซึ่งมิใช่เป็นการแก้ไขตามมาตรา24 วรรคสอง ของ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ก็ตาม
คำวินิจฉัยของคชก.ตำบลที่ให้โจทก์ซื้อที่นาพิพาทจากจำเลยในราคาที่ ล.ขายให้ ส.ไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง เพราะโจทก์มีสิทธิซื้อที่นาพิพาทจากจำเลยในราคาที่จำเลยซื้อไว้จาก ส.หรือตามราคาตลาดในขณะที่มีการซื้อขายกัน
แม้ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2525จะบัญญัติในมาตรา 56 วรรคสอง ว่า คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลที่มิได้อุทธรณ์ตามมาตรา 56 วรรคหนึ่งให้เป็นที่สุด และในมาตรา 58 วรรคหนึ่ง ว่า ในกรณีมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าว เมื่อผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาลในการพิจารณาของศาลให้ถือว่า คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโต-ตุลาการโดยให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโต-ตุลาการใน ป.วิ.พ.มาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาตามคำวินิจฉัยดังกล่าวในกรณีนี้โดยอนุโลม ซึ่งการพิจารณาพิพากษาดังกล่าวนี้ ป.วิ.พ.มาตรา 221บัญญัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ คือ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530 โดยมีบทบัญญัติในมาตรา 24 วรรคหนึ่งว่า "ในกรณีที่ศาลเห็นว่าคำชี้ขาดใดไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับแก่ข้อพิพาทนั้น หรือเป็นคำชี้ขาดที่เกิดจากการกระทำหรือวิธีการอันมิชอบอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมิได้อยู่ในขอบเขตแห่งสัญญาอนุญาโตตุลาการที่มีผลผูกพันตามกฎหมายหรือคำขอของคู่กรณีให้ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดนั้น" และในมาตรา 24วรรคสอง ว่า "ในกรณีที่คำชี้ขาดใดมีความบกพร่องอันมิใช่สาระสำคัญและอาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เช่น การคำนวณตัวเลขหรือการกล่าวอ้างถึงบุคคลหรือทรัพย์สิ่งใดผิดพลาดไป ศาลอาจแก้ไขให้ถูกต้องและมีคำพิพากษาให้บังคับตามคำชี้ขาดที่ได้แก้ไขแล้วนั้นได้" แต่ก็เห็นได้ว่า การนำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของ คชก.ตำบล จะต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับเพียงเท่าที่ไม่ขัดต่อสภาพความชอบด้วยกฎหมายของคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของคชก.ตำบล โดยเฉพาะในข้อที่ว่า ราคาที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายนาให้แก่ผู้เช่านาเป็นราคาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 54 วรรคหนึ่งหรือไม่ มิใช่ข้อที่เป็นดุลพินิจเด็ดขาดของ คชก.ตำบลในการพิจารณาว่าจะบังคับตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลหรือไม่ ศาลต้องพิจารณาว่า ราคาที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยเป็นราคาตามบทบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ถ้ามิใช่ ศาลย่อมพิจารณาจากพยานหลักฐานและกำหนดราคาให้ถูกต้องแล้วพิพากษาให้บังคับให้ขายตามราคาที่กำหนดไปได้ แม้การพิพากษาดังกล่าวจะเป็นการแก้ไขคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของ คชก.ตำบล ซึ่งมิใช่เป็นการแก้ไขตามมาตรา24 วรรคสอง ของ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้เช่าที่ดินทำนาในการซื้อที่ดินจากเจ้าของ หลังมีคำวินิจฉัย คชก. และการประชุม คชก. ที่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยให้การและยื่นคำแก้อุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เช่านาไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยแม้ศาลอุทธรณ์จะมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจำเลยก็มีสิทธิฎีกาได้ ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา9(1)เพียงแต่กำหนดว่าในการพิจารณาเรื่องอันเกี่ยวกับการเช่าในเขตหมู่บ้านใดให้ผู้ใหญ่บ้านแห่งเขตหมู่บ้านนั้นเป็นกรรมการด้วยเท่านั้นหากการประชุมมีกรรมการประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดตามมาตรา18วรรคหนึ่งการประชุมก็ชอบกฎหมายแล้วแม้ผู้ใหญ่บ้านจะมิได้เข้าประชุมก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1607/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาอุทธรณ์คำวินิจฉัย คชก.จังหวัด เกินกำหนด สิทธิฟ้องสิ้นสุด
หากโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด แต่จะต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วัน คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัยตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 57 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเกินหกสิบวันนับแต่วันที่ คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัย คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 56 วรรคสอง แม้โจทก์จะฟ้องต่อศาลภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่หลังมติคณะกรรมการเช่าที่ดิน: ต้องรอคำวินิจฉัยจังหวัดก่อน
คณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลมีมติว่าการบอกเลิกการเช่านาของโจทก์ทั้งสองเป็นไปโดยชอบ ให้โจทก์ทั้งสองบอกเลิกการเช่านาก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาการเช่าได้ แม้จำเลยที่ 1 จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลต่อคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดเกิน 60 วัน นับแต่วันที่คณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลได้มีคำวินิจฉัย ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2525 มาตรา 56 ก็ตาม โจทก์ทั้งสองก็ยังไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามกับพวก ต้องรอให้คณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดมีคำวินิจฉัยเสียก่อน โจทก์ทั้งสองจึงจะฟ้องต่อศาลได้ตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว