พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1426/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจของรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ให้สั่งการในงานราชการของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานและการออกคำสั่งตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้มีคำสั่งมอบหมายให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ มีอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ หรือดำเนินการอื่นเกี่ยวกับราชการของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และสำนักงานประกันสังคม ซึ่งเป็นการมอบหมายที่ชอบด้วยมาตรา 20 และ มาตรา 38 (2) แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จึงมีผลใช้บังคับจนกว่าจะถูกยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง แม้ต่อมาภายหลังรัฐมนตรีฯ เดิมจะลาออก และมีการแต่งตั้งรัฐมนตรีฯ คนใหม่แทน ก็หาทำให้คำสั่งดังกล่าวสิ้นผลบังคับไปไม่
----------------------------------------
(รุ่งโรจน์ รื่นเริงวงศ์ - กมล เพียรพิทักษ์ - จรัส พวงมณี)
ศาลแรงงานกลาง - นายสุพจน์ ธำรงเวียงผึ้ง
ศาลอุทธรณ์ -
นางสาวศุภมาส ชินวินิจกุล นิติกร/ย่อสั้น/ย่อยาว
นายชลิต จั่นประดับ ผู้ช่วยฯ/ตรวจ
นายไมตรี ศรีอรุณ ผู้ช่วยฯ/ตรวจ
นายไพโรจน์ โรจน์อภิรักษ์กุล ตรวจย่อยาว
----------------------------------------
(รุ่งโรจน์ รื่นเริงวงศ์ - กมล เพียรพิทักษ์ - จรัส พวงมณี)
ศาลแรงงานกลาง - นายสุพจน์ ธำรงเวียงผึ้ง
ศาลอุทธรณ์ -
นางสาวศุภมาส ชินวินิจกุล นิติกร/ย่อสั้น/ย่อยาว
นายชลิต จั่นประดับ ผู้ช่วยฯ/ตรวจ
นายไมตรี ศรีอรุณ ผู้ช่วยฯ/ตรวจ
นายไพโรจน์ โรจน์อภิรักษ์กุล ตรวจย่อยาว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางค่าฤชาธรรมเนียมเพื่ออุทธรณ์: ศาลมีอำนาจสั่งให้แก้ไขก่อนพิจารณาอุทธรณ์ และคำสั่งนี้ไม่อุทธรณ์ได้
จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยนำเพียงค่าขึ้นศาลและค่าทนายความใช้แทนมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229ซึ่งศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที แต่เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยมิได้จงใจที่จะไม่ปฏิบัติตามบทกฎหมายนั้น และมีคำสั่งกำหนดเวลาให้จำเลยปฏิบัติเสียให้ถูกต้องครบถ้วน เท่ากับเปิดโอกาสให้จำเลยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้ให้โจทก์มาวางศาลให้ถูกต้องอีกครั้งหนึ่งก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยว่าจะให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ อันเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามมาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะ มิใช่เป็นคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ซึ่งผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งศาลนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 234 ได้ ดังนั้น จำเลยจึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยมาก็เป็นการไม่ชอบ การที่จำเลยฎีกาต่อมา ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8738/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานมีผลเพียงชี้แนะ ไม่เป็นคำสั่ง นายจ้างมีสิทธิไม่ปฏิบัติตาม และไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนคำเตือน
พนักงานตรวจแรงงานมีคำเตือนให้นายจ้างจัดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างโดยอาศัยอำนาจตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 77 ซึ่งคำเตือน ดังกล่าวไม่ขัดแย้งกับ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จึงมีผลเป็นคำเตือนตามประกาศดังกล่าว ข้อ 77 และใช้บังคับได้ต่อไปตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 166 ทั้งคำเตือนดังกล่าวมิใช่คำสั่งหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดของพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่บัญญัติให้นายจ้างต้องปฏิบัติตาม แต่มีผลเพียงเป็นการชี้แนะเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเท่านั้น ถ้านายจ้างเห็นว่าไม่ถูกต้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้โดยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 146 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 8 การที่พนักงานตรวจแรงงานมีคำเตือนและลูกจ้างขอหยุดพักผ่อนประจำปีตามคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงาน ยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของนายจ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ทั้งนายจ้างมิได้ฟ้องพนักงานตรวจแรงงานหรืออธิบดีกรมสวัสดิการและ คุ้มครองแรงงานเป็นจำเลย นายจ้างจึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานและขอให้ สั่งว่าจำเลยไม่มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8149/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่มรณะ และผลของการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ว. ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยผู้มรณะ โจทก์ไม่คัดค้าน ศาลอุทธรณ์จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ต่อเมื่อมีบุคคลเข้าแทนที่ผู้มรณะก่อน และจะต้องมีคำสั่งในการที่จะเข้ามาเป็นคู่ความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 , 44 การที่ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งเรื่องการขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่และพิพากษาคดีไปจึงไม่ชอบ แต่เนื่องจากคดีนี้ได้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรสั่งคำร้องขอเข้าเป็นผู้แทนจำเลยไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์สั่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7201/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ค่าขึ้นศาล: จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งเรื่องค่าขึ้นศาลแยกต่างหากจากคำสั่งอื่นได้
อุทธรณ์ของจำเลยฉบับแรกเป็นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลย และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าให้วางค่าธรรมเนียมศาลให้ครบถ้วนภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ จำเลยย่อมเข้าใจว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลจำนวนดังกล่าวเมื่อจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว จำเลยก็ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลจำนวน 200 บาท ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยฉบับแรกก่อนเพราะเป็นคนละกรณีกันกับอุทธรณ์ฉบับหลังซึ่งเป็นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งเรื่องค่าขึ้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6374/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การวางเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นเงื่อนไขสำคัญ
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 กำหนดให้นายจ้างที่ไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานสามารถนำคดีไปสู่ศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง โดยนายจ้างต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงจะฟ้องคดีได้ ดังนั้นเมื่อโจทก์เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทนายจ้าง ซึ่งถือว่าเป็นนายจ้างไม่พอใจคำสั่งของจำเลยซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งตามมาตรา 124 แล้วเป็นฝ่ายนำคดีมาฟ้องจำเลยเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว ก็จะต้องนำเงินที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งของจำเลยมาวางศาล แต่โจทก์ไม่นำเงินมาวางต่อศาลแรงงานภายในเวลาที่ศาลแรงงานกำหนดโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5676-5677/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง การพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการยกเหตุขัดคำสั่งเพื่อไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
แม้ศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงสองข้อ คือ ข้อ 1. โจทก์ทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่ และข้อ 2. โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ เพียงใด แต่คำให้การของจำเลยนอกจากจะทำให้การต่อสู้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่แล้ว จำเลยยังให้การว่าโจทก์ยังฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงอีกด้วย ดังนั้นในประเด็นข้อ 2. นอกจากจะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่แล้วยังต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้องบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของจำเลยหรือไม่ด้วยเมื่อศาลแรงงานพิพากษาคดีโดยมิได้วินิจฉัยในประเด็นหลัง จึงเป็นการพิพากษาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง แต่ข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานฟังเป็นยุติธรรมมาแล้วเพียงพอที่จะวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวได้ ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยประเด็นนี้เสียเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยอีก
ตามคำสั่งที่จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์อ้างเหตุเลิกจ้างเพียงเหตุเดียวว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยยกเหตุอื่นเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม และมาตรา 119 ข้อห้ามดังกล่าวจำกัดอยู่เฉพาะไม่ให้นายจ้างยกขึ้นต่อสู้เพื่อให้พ้นความรับผิดไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเท่านั้น ไม่รวมถึงสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ในคำสั่งที่จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์จะอ้างเหตุเลิกจ้างเพียงเหตุเดียวว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยก็สามารถยกเหตุว่าโจทก์จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยขึ้นต่อสู้ในภายหลังเพื่อไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ได้
การที่โจทก์ทำการตรวจซ่อมรถให้แก่ผู้อื่นในเต็นท์หลังศูนย์บริการของจำเลย ย่อมมีเหตุอันควรที่จำเลยจะไม่ไว้วางใจให้โจทก์ทำงานอยู่ในศูนย์บริการของจำเลยแห่งเดิมอีกต่อไป การที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปทำงานที่สาขาอื่นไม่ปรากฏว่ามีการลดตำแหน่งและเงินเดือนของโจทก์ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583
ตามคำสั่งที่จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์อ้างเหตุเลิกจ้างเพียงเหตุเดียวว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยยกเหตุอื่นเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม และมาตรา 119 ข้อห้ามดังกล่าวจำกัดอยู่เฉพาะไม่ให้นายจ้างยกขึ้นต่อสู้เพื่อให้พ้นความรับผิดไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเท่านั้น ไม่รวมถึงสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ในคำสั่งที่จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์จะอ้างเหตุเลิกจ้างเพียงเหตุเดียวว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยก็สามารถยกเหตุว่าโจทก์จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยขึ้นต่อสู้ในภายหลังเพื่อไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ได้
การที่โจทก์ทำการตรวจซ่อมรถให้แก่ผู้อื่นในเต็นท์หลังศูนย์บริการของจำเลย ย่อมมีเหตุอันควรที่จำเลยจะไม่ไว้วางใจให้โจทก์ทำงานอยู่ในศูนย์บริการของจำเลยแห่งเดิมอีกต่อไป การที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปทำงานที่สาขาอื่นไม่ปรากฏว่ามีการลดตำแหน่งและเงินเดือนของโจทก์ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องวางค่าธรรมเนียมเช่นเดียวกับการอุทธรณ์คำพิพากษา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ซึ่งบัญญัติให้ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นมิได้บังคับเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นเท่านั้น จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่งดสืบพยานจำเลย เนื่องจากจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง เป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้นจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาขัดขั้นตอนตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบ
คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขอรับรองฎีกาของจำเลยว่ากรณีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ให้ยกคำร้องและมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยเป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการดังกล่าวของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบเสียได้และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาออกคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์: นับจากวันที่ได้รับคำร้อง ไม่ใช่วันที่ส่งถึงผู้ถูกกล่าวหา
ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 125 ได้บัญญัติให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยชี้ขาดคำร้องกล่าวหาตามมาตรา 124 และออกคำสั่งภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องกล่าวหา การที่ลูกจ้างได้ยื่นคำร้องกล่าวหาโจทก์ต่อจำเลยทั้งสิบสามซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2542 และจำเลยทั้งสิบสามได้มีคำสั่งลงวันที่ 9 เมษายน 2542 ซึ่งไม่เกิน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องกล่าวหาของลูกจ้าง คำสั่งของจำเลยทั้งสิบสามจึงออกภายในกำหนดเวลา และชอบด้วย มาตรา 125 แห่งบทบัญญัติดังกล่าว แม้จะส่งคำสั่งให้โจทก์ในวันที่ 28 เมษายน 2542 ซึ่งเป็นระยะเวลาเกิน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องกล่าวหาก็ไม่ถือว่าออกคำสั่งเกินกำหนด