พบผลลัพธ์ทั้งหมด 304 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5238/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาสื้อซื้อขายที่ดิน: ศาลพิพากษาคืนเงินมัดจำและราคาที่ดิน พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยทั้งสามไม่ไปโอนที่ดินพิพาทที่สำนักงานที่ดินตามนัดในตอนเช้า แต่เมื่อโจทก์ให้คนไปตาม จำเลยทั้งสามก็ไปสำนักงานที่ดินพร้อม ๆ กัน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามไม่ไปโอนที่ดินตามนัด เหตุที่โอนที่ดินไม่ได้เนื่องจากหาต้นฉบับน.ส.3ที่สำนักงานที่ดินไม่พบ และแจ้งเหตุขัดข้องให้คู่กรณีทราบแล้ว แม้จำเลยจะมาตอนบ่ายเจ้าพนักงานที่ดินก็ไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่พิพาทได้อยู่ดี จำเลยทั้งสามจึงมิได้ผิดสัญญาต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาขอให้คืนเงินมัดจำ ราคาที่ดินที่โจทก์จ่ายไปแล้วบางส่วนและค่าเสียหาย เมื่อปรากฏว่ามีการเลิกสัญญากันแล้ว และโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเงินส่วนหนึ่งในจำนวนที่เรียกร้องทั้งหมดจากจำเลยทั้งสาม ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้คืนเงินในส่วนที่มีสิทธิดังกล่าวได้ เพื่อให้โจทก์กลับคืนสู่ฐานะเดิมไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและไม่เป็นพิพากษาเกินคำขอ และจำเลยทั้งสามต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่รับเงินแต่ละจำนวนแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนค่าขึ้นศาลเกินจำนวนที่ต้องชำระในคดีแพ่ง
ราคาที่ดินพิพาทคำนวณตามราคาประเมินเป็นเงิน 13,833.75บาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นมาในทุนทรัพย์ 60,000 บาท จึงเสียเกินมา1,155 บาท ส่วนในชั้นฎีกาโจทก์ฎีกาว่า ทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์เกิน 50,000 บาทขอให้ยกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายกอุทธรณ์โจทก์ และย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้ายป.วิ.พ.แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาในทุนทรัพย์ตามคำฟ้องและฟ้องแย้งรวม1,845 บาท จึงเสียค่าขึ้นศาลเกินมา 1,645 บาท ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้น 1,155 บาท ในชั้นฎีกา 1,645 บาท แก่โจทก์ทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีซ้ำและการคืนเงินเกินสิทธิ ทำให้การประเมินภาษีและการวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในครั้งแรกเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีการค้า โจทก์สำหรับรายรับในเดือนธันวาคม 2539 โดยอ้างว่าโจทก์ มีรายรับต้องเสียภาษีการค้าจำนวน 3,876,591.69 บาทและโจทก์ได้ชำระภาษีการค้า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นเงิน336,449.37 บาท ตามการประเมินแล้ว แต่รายรับตามจำนวนคำพิพากษาฎีกาให้หักออกจากการประเมินมีจำนวน3,454,107.77 บาท โจทก์จึงมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้า อยู่อีกจำนวน 422,483.92 บาท ซึ่งตามคำพิพากษาศาลฎีกา ในคดีดังกล่าวให้นำรายรับ จำนวน 3,454,107.77 บาทมาหักออกจากยอดรายรับตามการประเมินจำนวน3,876,591.69 บาท เหลือรายรับเท่าใดแล้วจึงคำนวณภาษีการค้าหากมีภาษีการค้าที่จะต้องคืนแก่โจทก์ให้จำเลยคืนภาษีการค้าพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีแม้จะได้ความว่าต่อมาโจทก์ได้ขอคืนเงินภาษีและจำเลยได้คืนเงินที่โจทก์ได้ชำระภาษีการค้า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยคืนภาษีการค้า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ไปเกินกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับคืนตามคำพิพากษาก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องเรียกเงินที่ชำระแก่โจทก์เกินไปคืน การที่จำเลยกลับมาทำการประเมินและปรากฏว่ารายรับพิพาทจำนวน 422,483.92 บาท ตามหนังสือแจ้งภาษีการค้าเป็นรายรับที่รวมอยู่ในจำนวนเดียวกันกับรายรับจำนวน3,876,591.69 บาท ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินได้เคยทำการประเมินแล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งภาษีการค้าสำหรับรายรับพิพาทจำนวน 422,483.92 บาท จึงเป็น การประเมินซ้ำกับการประเมินครั้งแรก ทำให้โจทก์เสียหาย โดยต้องชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีหน้าที่ต้อง ชำระเพียงภาษีการค้าที่จำเลยคืนให้โจทก์เกินไปเท่านั้น ไม่มีหน้าที่ต้องชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแต่อย่างใดทำให้หนังสือแจ้งภาษีการค้าดังกล่าวเป็นหนังสือแจ้งการประเมินที่ออกโดยไม่มีอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นเหตุให้คำวินิจฉัย อุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ชอบตามไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีซ้ำ และการคืนเงินภาษีเกินสิทธิ ทำให้การประเมินภาษีครั้งหลังไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในครั้งแรกเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีการค้าโจทก์สำหรับรายรับในเดือนธันวาคม 2529 โดยอ้างว่าโจทก์ มีรายรับต้องเสียภาษีการค้าจำนวน 3,876,591.69 บาท และโจทก์ได้ชำระภาษีการค้า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มรวมเป็นเงิน 336,449.37 บาท ตามการประเมินแล้ว แต่รายรับตาม จำนวนที่ศาลภาษีอากรกลางและตามคำพิพากษาฎีกาที่ 1768/2536 ให้หักออกจากการประเมินมีจำนวน 3,454,107.77 บาท โจทก์จึงมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าอยู่อีกจำนวน 422,483.92 บาท ตามคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางและ คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวได้พิพากษาให้นำรายรับ จำนวน 3,454,107.77 บาท มาหักออกจากยอดรายรับตาม การประเมินจำนวน 3,876,591.69 บาท เหลือรายรับเท่าใด แล้วจึงคำนวณภาษีการค้า หากมีภาษีการค้าที่จะต้องคืนแก่โจทก์ให้จำเลยคืนภาษีการค้าพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่ง ต่อปี แม้จะได้ความว่า ต่อมาโจทก์ได้ขอคืนเงินภาษีและจำเลย ได้คืนเงินที่โจทก์ได้ชำระภาษีการค้าเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ให้แก่โจทก์ทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยคืนภาษีการค้า เบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม ให้แก่โจทก์ไปเกินกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับคืนตามคำพิพากษา ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องเรียกเงินที่ชำระแก่โจทก์ เกินไปคืน การที่จำเลยกลับมาทำการประเมินและปรากฏว่า รายรับพิพาทจำนวน 422,483.92 บาท เป็นรายรับที่รวมอยู่ ในจำนวนเดียวกันกับรายรับจำนวน 3,876,591.69 บาท ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินได้เคยทำการประเมินแล้ว การที่ เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งภาษีการค้าสำหรับรายรับพิพาท จำนวน 422,483.92 บาท จึงเป็นการประเมินซ้ำกับการประเมินครั้งแรก ทำให้โจทก์เสียหายโดยต้องชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระเพียงภาษีการค้าที่ จำเลยคืนให้โจทก์เกินไปเท่านั้น ไม่มีหน้าที่ต้องชำระเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มแต่อย่างใด ทำให้หนังสือแจ้งภาษีการค้าดังกล่าว เป็นหนังสือแจ้งการประเมินที่ออกโดยไม่มีอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นเหตุให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ชอบตามไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1877/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่คืนเงินตัวแทน - ทายาทรับผิด - อายุความ 10 ปี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ป. ผู้ตายขณะเป็นกรรมการผู้จัดการโจทก์และจำเลยร่วมซึ่งเป็นรองผู้จัดการโจทก์ในฐานะตัวแทนโจทก์ ได้นำสมุดคู่ฝากเงินธนาคารของบริษัทโจทก์ไปเบิกและรับเงิน ของกองทุนไฟป่าของ ป่าจากธนาคาร แล้วไม่นำเงินเข้าบัญชีรายรับ ของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยในฐานะทายาทผู้ตายร่วมกันรับผิด ชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่ง เป็นตัวการฟ้องเรียกเงินที่ผู้ตายในฐานะตัวแทนรับไว้ เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 แม้เงินดังกล่าวจะมิใช่เงินของโจทก์ ผู้ตาย ก็ต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวเพราะเป็นเงินที่ผู้ตายรับไว้ เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย ในฐานะทายาทของผู้ตายให้รับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่โจทก์ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของป.ผู้ตายให้ส่งมอบเงินจากกองทุนไฟป่าที่ผู้ตายเบิกและรับไว้แทนให้แก่โจทก์เป็นการฟ้องให้จำเลยในฐานะ ทายาทรับผิดกรณีที่ผู้ตายซึ่งเป็นตัวแทนต้องรับผิดต่อโจทก์ มิใช่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของป.ในกรณีละเมิดและกรณีตัวการฟ้องเรียกเงินที่ตัวแทนรับไว้เกี่ยวกับ การเป็นตัวแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 กฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่) นับแต่วันที่ป. ผู้ตายรับเงินจากกองทุนไฟป่าไว้แทนโจทก์ไป เมื่อนับถึง วันที่โจทก์ยื่นฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: กำหนดเวลาส่งมอบทรัพย์เป็นสาระสำคัญ, สิทธิบอกเลิกสัญญาและการคืนเงินค่าเช่าซื้อ
สัญญาเช่าซื้อที่ดินพิพาทเป็นสัญญาที่จำเลยผู้ให้เช่าซื้อตกลงให้โจทก์เช่าซื้อที่ดินและบ้านพักอาศัย จำเลยผู้ให้เช่าซื้อมีหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อที่จะต้องสร้างบ้านให้เสร็จและโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว ฉะนั้น กำหนดเวลาที่จำเลยจะต้องสร้างบ้านให้แล้วเสร็จเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์จึงเป็นสาระสำคัญที่โจทก์และจำเลยต้องตกลงกัน การที่โจทก์กับจำเลยตกลงเวลากันไว้แล้วว่าจำเลยต้องสร้างบ้านให้แล้วเสร็จเมื่อใด เพียงแต่ไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อให้ชัดแจ้งฉะนั้นโจทก์จึงมีสิทธินำสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงการส่งมอบที่ดินและบ้านดังกล่าวได้ว่าจำเลยจะต้องสร้างบ้านให้แล้วเสร็จภายในเวลาเท่าใด ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาให้เช่าซื้อ ไม่สามารถสร้างบ้านให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา โจทก์ผู้เช่าซื้อจึงไม่ต้องชำระค่างวดต่อไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 369 และมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ตามมาตรา 388โดยโจทก์ไม่ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดพอสมควรตามมาตรา 387 ก่อน และเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระแล้วพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ตามมาตรา 391
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาให้เช่าซื้อ ไม่สามารถสร้างบ้านให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา โจทก์ผู้เช่าซื้อจึงไม่ต้องชำระค่างวดต่อไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 369 และมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ตามมาตรา 388โดยโจทก์ไม่ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดพอสมควรตามมาตรา 387 ก่อน และเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระแล้วพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ตามมาตรา 391
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อสร้างบ้าน: การกำหนดเวลาส่งมอบเป็นสาระสำคัญ การบอกเลิกสัญญาและการคืนเงิน
สัญญาเช่าซื้อที่ดินพิพาทเป็นสัญญาที่จำเลยผู้ให้เช่าซื้อตกลงให้โจทก์เช่าซื้อที่ดินและบ้านพักอาศัยจำเลยผู้ให้เช่าซื้อมีหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อจะต้อง สร้างบ้านให้เสร็จและโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว ฉะนั้น กำหนดเวลาที่จำเลยจะต้องสร้างบ้านให้แล้วเสร็จเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์จึงเป็นสาระสำคัญที่โจทก์และจำเลยต้องตกลงกัน การที่โจทก์กับจำเลยตกลงเวลากันไว้แล้วว่าจำเลยต้องสร้างบ้านให้แล้วเสร็จเมื่อใดเพียงแต่ไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อให้ชัดแจ้งฉะนั้นโจทก์จึงมีสิทธินำสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงการส่งมอบที่ดินและบ้านดังกล่าวได้ว่าจำเลยจะต้องสร้างบ้านให้แล้วเสร็จภายในเวลาเท่าใด ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ ไม่สามารถสร้างบ้านให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา โจทก์ผู้เช่าซื้อจึงไม่ต้องชำระค่างวดต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 และมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ตามมาตรา 388 โดยโจทก์ไม่ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดพอสมควรตามมาตรา 387 ก่อน และเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้วจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องค้นเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระแล้วพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ตามมาตรา 391
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนอากรขาเข้าเกินและดอกเบี้ย: กรณีศุลกากรประเมินราคาผิดพลาด ผู้เสียภาษีมีสิทธิขอคืน
กรณีของโจทก์เป็นเรื่องพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจำเลยไม่พอใจราคาสินค้าที่โจทก์สำแดง จึงให้โจทก์ชำระอากรตามสำแดงและให้วางเงินประกันค่าอากรอีกส่วนหนึ่ง ได้มีการส่งมอบสินค้าให้โจทก์รับไปแล้วต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มโจทก์ได้ชำระอากรเพิ่มตามที่ได้รับแบบแจ้งการประเมินการชำระเงินค่าอากรเพิ่มกรณีเป็นการชำระหลังจากได้รับมอบสินค้าแล้ว จึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า การที่โจทก์ได้ชำระอากรขาเข้าให้แก่จำเลยตามที่จำเลยเรียกเก็บโดยอาศัยอำนาจตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แม้โจทก์มิได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสงวนสิทธิในการฟ้องร้องหรือเรียกร้องเงินจำนวนนี้คืน และมิได้บอกกล่าวให้จำเลยคืนเงินตามฟ้องก่อนนั้น ก็มิได้ตัดสิทธิในการฟ้องคดี เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดในเงินอากรขาเข้าที่เรียกเก็บตามฟ้องนั้น จำเลยก็ย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนเงินจำนวนเท่ากับที่โจทก์ได้ชำระไปให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคท้าย คดีนี้โจทก์ขอเรียกดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของจำนวนเงินที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้เรียกไว้เกินจำนวนอันจะพึงต้องเสียนับแต่วันที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยแต่ละครั้งจนกว่าจะชำระเสร็จ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอคืนอากรและดอกเบี้ยจากจำเลยได้
ราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้านั้น โจทก์มีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารมานำสืบว่าเป็นราคาที่โจทก์ได้ตกลงซื้อขายกับบริษัทผู้จำหน่ายในต่างประเทศจริง และได้มีการชำระเงินกันโดยผ่านทางธนาคาร จำเลยมิได้นำสืบให้เห็นว่าราคาของที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้านั้นโจทก์และบริษัทผู้จำหน่ายในต่างประเทศได้สมยอมกันกำหนดราคาให้ต่ำกว่าที่เป็นจริง อีกทั้งจำเลยก็มิได้มีพยานหลักฐานใดมาแสดงให้เห็นว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาทเป็นราคาเท่าใด คงเพียงแต่อาศัยราคาที่จำเลยอ้างว่าโจทก์เคยนำเข้าสินค้ามาเป็นเกณฑ์ประเมินราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเพียงอย่างเดียว ซึ่งราคาดังกล่าวเป็นราคาที่ผู้จำหน่ายในต่างประเทศได้พิมพ์ผิดพลาดและการประเมินเพิ่มอาศัยหลักการตามที่จำเลยวางระเบียบและคำสั่งราชการให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดครั้งก่อนรายที่พิจารณาเป็นเกณฑ์ในการประเมินราคานั้นระเบียบและคำสั่งของจำเลยเป็นเพียงแนวทางให้เจ้าพนักงานของจำเลยใช้สำหรับพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยการเปรียบเทียบกับผู้นำเข้าครั้งก่อนเท่านั้นจะถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดยังไม่ได้ อีกทั้งปรากฏว่าราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าครั้งก่อนมีการพิมพ์ผิดพลาดไม่อาจนำมาเปรียบเทียบได้ ดังนั้น ราคาของที่เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินเพิ่มขึ้นจึงไม่อาจถือว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
ราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้านั้น โจทก์มีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารมานำสืบว่าเป็นราคาที่โจทก์ได้ตกลงซื้อขายกับบริษัทผู้จำหน่ายในต่างประเทศจริง และได้มีการชำระเงินกันโดยผ่านทางธนาคาร จำเลยมิได้นำสืบให้เห็นว่าราคาของที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้านั้นโจทก์และบริษัทผู้จำหน่ายในต่างประเทศได้สมยอมกันกำหนดราคาให้ต่ำกว่าที่เป็นจริง อีกทั้งจำเลยก็มิได้มีพยานหลักฐานใดมาแสดงให้เห็นว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาทเป็นราคาเท่าใด คงเพียงแต่อาศัยราคาที่จำเลยอ้างว่าโจทก์เคยนำเข้าสินค้ามาเป็นเกณฑ์ประเมินราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเพียงอย่างเดียว ซึ่งราคาดังกล่าวเป็นราคาที่ผู้จำหน่ายในต่างประเทศได้พิมพ์ผิดพลาดและการประเมินเพิ่มอาศัยหลักการตามที่จำเลยวางระเบียบและคำสั่งราชการให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดครั้งก่อนรายที่พิจารณาเป็นเกณฑ์ในการประเมินราคานั้นระเบียบและคำสั่งของจำเลยเป็นเพียงแนวทางให้เจ้าพนักงานของจำเลยใช้สำหรับพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยการเปรียบเทียบกับผู้นำเข้าครั้งก่อนเท่านั้นจะถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดยังไม่ได้ อีกทั้งปรากฏว่าราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าครั้งก่อนมีการพิมพ์ผิดพลาดไม่อาจนำมาเปรียบเทียบได้ ดังนั้น ราคาของที่เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินเพิ่มขึ้นจึงไม่อาจถือว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5176/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินที่ได้รับเกินจากการโอนเงินซ้ำซ้อน และอายุความลาภมิควรได้เริ่มต้นเมื่อตรวจพบข้อผิดพลาด
จำเลยเปิดบัญชีกับโจทก์สองบัญชี เป็นบัญชีกระแสรายวันและบัญชีออมทรัพย์ที่สาขาย่อยสะพานปลาระนอง เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 ลูกค้าของจำเลยนำเช็คธนาคารแห่งประเทศไทย จำนวนเงิน 1,000,000 บาท พร้อมเงินสด59,518 บาท มาฝากเข้าบัญชีออมทรัพย์ของจำเลยโดยวิธีโอนเงินจากสาขาระนองมายังสาขาย่อยสะพานปลาระนอง สาขาระนองดำเนินการโอนเงินแล้ว ปรากฏที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ว่าการสื่อสารปลายทางขัดข้อง ลูกค้าของโจทก์จึงนำเช็คพร้อมเงินสดจำนวนดังกล่าวกลับไป แล้วนำไปฝากเข้าบัญชีออมทรัพย์ของจำเลยที่สาขาย่อยสะพานปลาระนองในวันเดียวกัน ต่อมาโจทก์ตรวจสอบบัญชีของโจทก์พบว่าเกิดการผิดพลาดเพราะสาขาระนองสามารถโอนเงินจำนวนดังกล่าวเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยในวันที่ 28 ธันวาคม 2537 ได้ บัญชีของจำเลยจึงมีรายการซ้ำซ้อน ทำให้เงินในบัญชีของจำเลยเพิ่มขึ้น 1,059,518 บาท ดังนี้ เมื่อลูกค้าของจำเลยรับเช็คและเงินสดคืนไปจากโจทก์สาขาระนองและนำมาเข้าบัญชีออมทรัพย์ของจำเลยที่สาขาย่อยสะพานปลาระนองแล้ว สาขาระนองของโจทก์จึงไม่ต้องโอนเงินมาเข้าบัญชีของจำเลยที่สาขาย่อยสะพานปลาระนองอีก การที่เกิดการผิดพลาดโดยสาขาระนองของโจทก์โอนเงินมาเข้าบัญชีของจำเลยที่สาขาย่อยสะพานปลาระนองอีกและจำเลยรับเงินจำนวนที่โอนมาไว้โดยที่จำเลยได้รับเงินจำนวนเดียวกันจากลูกค้าของจำเลยแล้ว ถือไม่ได้ว่าจำเลยรับเงินจากโจทก์ไว้โดยสุจริต จำเลยจึงต้องคืนเงินที่รับเกินมาทั้งหมดให้โจทก์ และอายุความเรื่องลาภมิควรได้ในกรณีเช่นนี้ ย่อมเริ่มนับตั้งแต่วันที่ฝ่ายตรวจสอบบัญชีของโจทก์ตรวจพบในวันที่ 24 มีนาคม 2538โจทก์ฟ้องคดีในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2539 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามป.พ.พ.มาตรา 419
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5176/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนเงินผิดพลาดและอายุความลาภมิควรได้ จำเลยต้องคืนเงินที่รับเกินมาทั้งหมด
จำเลยเปิดบัญชีกับโจทก์สองบัญชี เป็นบัญชีกระแสรายวันและบัญชีออมทรัพย์ที่สาขาย่อยสะพานปลาระนอง เมื่อวันที่ 28ธันวาคม 2537 ลูกค้าของจำเลยนำเช็คธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวนเงิน 1,000,000 บาท พร้อมเงินสด 59,518 บาท มาฝากเข้า บัญชีออมทรัพย์ของจำเลยโดยวิธีโอนเงินจากสาขาระนอง มายังสาขาย่อยสะพานปลาระนอง สาขาระนอง ดำเนินการโอนเงินแล้วปรากฏที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ว่าการสื่อสารปลายทางขัดข้อง ลูกค้าของโจทก์จึงนำเช็คพร้อมเงินสดจำนวนดังกล่าวกลับไป แล้วนำไปฝากเข้าบัญชีออมทรัพย์ของจำเลยที่สาขาย่อย สะพานปลาระนอง ในวันเดียวกัน ต่อมาโจทก์ตรวจสอบบัญชีของโจทก์พบว่าเกิดการผิดพลาดเพราะสาขาระนองสามารถโอนเงินจำนวนดังกล่าวเข้า บัญชีเงินฝากของจำเลยในวันที่ 28 ธันวาคม 2537 ได้บัญชีของจำเลยจึงมีรายการซ้ำซ้อน ทำให้เงินในบัญชีของจำเลย เพิ่มขึ้น 1,059,518 บาท ดังนี้ เมื่อลูกค้าของจำเลยรับเช็ค และเงินสดคืนไปจากโจทก์สาขาระนองและนำมาเข้าบัญชีออมทรัพย์ของจำเลยที่สาขาย่อยสะพานปลาระนองแล้ว สาขาระนอง ของโจทก์จึงไม่ต้องโอนเงินมาเข้าบัญชีของจำเลยที่สาขาย่อย สะพานปลาระนองอีก การที่เกิดการผิดพลาดโดยสาขาระนอง ของโจทก์โอนเงินมาเข้าบัญชีของจำเลยที่สาขาย่อยสะพานปลาระนองอีกและจำเลยรับเงินจำนวนที่โอนมาไว้โดยที่จำเลยได้รับเงิน จำนวนเดียวกันจากลูกค้าของจำเลยแล้ว ถือไม่ได้ว่าจำเลยรับ เงินจากโจทก์ไว้โดยสุจริต จำเลยจึงต้องคืนเงินที่รับเกินมา ทั้งหมดให้โจทก์ และอายุความเรื่องลาภมิควรได้ในกรณีเช่นนี้ ย่อมเริ่มนับตั้งแต่วันที่ฝ่ายตรวจสอบบัญชีของโจทก์ตรวจพบ ในวันที่ 24 มีนาคม 2538 โจทก์ฟ้องคดีในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2539 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419