คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คุณสมบัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วัตถุระเบิดตามกฎหมาย: การพิจารณาจากคุณสมบัติการส่งกำลังดันและแรงทำลาย
วัตถุของกลางไม่มีสะเก็ดระเบิด มีแต่ทำให้เกิดไฟไหม้มากน้อยแล้วแต่การกระจายของน้ำมันเบนซิน ทั้งโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นว่าวัตถุของกลางเมื่อจุดไฟแล้วจะทำให้เกิดการระเบิดส่งกำลังดันอย่างแรงต่อ สิ่งห้อมล้อมหรือไม่ และกำลังดันนั้นมีแรงทำลายหรือแรงประหารอย่างไร จึงไม่ถือว่าเป็นวัตถุระเบิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. กรณีไม่ใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ว. หลักฐานขัดแย้ง ฟังไม่ได้ว่าขาดคุณสมบัติ
++ เรื่อง ขอให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้ง ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ ตามหลักฐานการใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาตามแบบ ส.ว.11 ปรากฏว่าผู้ร้องได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้ร้องจึงรับสมัครผู้คัดค้านให้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง แต่ต่อมามีผู้ร้องเรียนว่าในวันลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 29 เมษายน2543 นั้น ผู้คัดค้านไม่อยู่ในราชอาณาจักร จึงได้ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายสอบสวนทำการสอบสวนได้ความว่า มีหลักฐานการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรของผู้คัดค้านในระหว่างที่มีการลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งให้การต่อกรรมการสอบสวนว่า ในวันลงคะแนนดังกล่าวพยานอยู่ที่หน่วยเลือกตั้งตลอดเวลาไม่พบผู้คัดค้านไปที่หน่วยเลือกตั้ง ส่วนบัญชีรายชื่อผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งซึ่งปรากฏว่ามีการจ่ายบัตรให้กับผู้คัดค้านและมีลายมือชื่อของผู้คัดค้านในบัญชีรายชื่อผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งนั้นไม่สามารถยืนยันได้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
++ เมื่อผู้ร้องคงมีแต่หลักฐานตามเอกสารหมาย ร.3และ ร.4 แสดงว่าผู้คัดค้านได้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรและรับกันว่าการเข้าออกนอกราชอาณาจักรตามระเบียบพิธีการของการตรวจคนเข้าเมือง ผู้เดินทางเข้าและออกนอกราชอาณาจักรจะต้องผ่านพิธีการประทับตราจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนทางปฏิบัตินั้น จะต้องมีการประทับตราทุกครั้งหรือไม่ ผู้ร้องไม่มีพยานยืนยันได้
++ ส่วนผู้คัดค้านก็มีกรรมการในหน่วยเดียวกัน ยืนยันว่าเห็นผู้คัดค้านไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 จึงเป็นการยันกันของพยานบุคคลแต่ละฝ่ายซึ่งเป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งหน่วยเดียวกัน ฟังยุติไม่ได้ว่าผู้คัดค้านไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 ประกอบกับพยานหลักฐานเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในวันที่ 29 เมษายน2543 ตามแบบ ส.ว.11 อยู่ในความครอบครองของผู้ร้องระบุชัดว่าผู้คัดค้านได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศว่าผู้คัดค้านไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543ซึ่งขัดแย้งกับเอกสารหมาย ร.2 ซึ่งมีข้อความระบุโดยแจ้งชัดว่าผู้คัดค้านได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 และผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานยืนยันได้ว่า ข้อความที่แสดงว่าผู้คัดค้านได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 เกิดขึ้นโดยไม่ถูกต้องหรือมีการกระทำโดยทุจริต พยานหลักฐานผู้ร้องจึงฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งวุฒิสมาชิกในวันที่ 29 เมษายน 2543 ผู้คัดค้านจึงไม่ขาดคุณสมบัติเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8786/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้ง: การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเดียวตลอดระยะเวลาสมัคร
การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดเพียงพรรคการเมืองเดียวตลอดระยะเวลาที่เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งของผู้สมัครรับเลือกตั้ง เมื่อ ช. ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองในขณะที่มีรายชื่อปรากฏเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแล้วช. จึงขาดคุณสมบัติเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งตามกฎหมาย
(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8240/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี - วันที่อนุมัติผลการศึกษา vs วันที่อนุมัติปริญญา
พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 29 บัญญัติว่า บุคคลซึ่งจะมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ดังนั้น การพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งจึงต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฯ ซึ่งตามมาตรา 107 (3) กำหนดไว้ว่า ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า แสดงว่ามุ่งประสงค์ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้มีความรู้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าเป็นสำคัญ ตามหลักฐานแสดงผลการศึกษาที่ผู้ร้องอ้างส่งประกอบการสมัครรับเลือกตั้ง ผู้ร้องสอบได้ครบถ้วนทุกลักษณะวิชาตามหลักสูตรสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานีแล้ว ซึ่งตามระเบียบคณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏว่าด้วยการออกหลักฐานแสดงผลการศึกษา พ.ศ. 2538 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ในข้อ 8 ว่า "วันที่สำเร็จการศึกษาในหลักฐานแสดงผลการศึกษา ให้ถือเอาวันที่คณะกรรมการอนุมัติผลการศึกษา" ส่วนการออกปริญญาบัตรซึ่งจะต้องดำเนินการต่อไปได้กำหนดไว้ในข้อ 9 เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งแยกจากกัน และตามหนังสือตอบข้อหารือของอธิการบดีสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานีก็ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า คณะกรรมการวิชาการซึ่งสภาประจำสถาบันมอบหมายได้ประชุมอนุมัติผลการศึกษาเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2543 สถาบันราชภัฏถือว่าวันที่ 24 พฤศจิกายน 2543 คือวันที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้ง เป็นวันสำเร็จการศึกษา และวันที่ 29 พฤศจิกายน 2543 เป็นวันอนุมัติปริญญา อันเป็นไปตามลำดับขั้นตอนในระเบียบคณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏดังกล่าว กรณีจึงต้องถือว่า ผู้ร้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าแล้วในวันสมัคร มีคุณสมบัติในเรื่องความรู้ครบถ้วนตามที่กฎหมายต้องการแล้ว การที่ผู้คัดค้านไม่ประกาศชื่อผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยถือว่าผู้ร้องขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฯ มาตรา 107 (3) เป็นการไม่ชอบ
พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 มาตรา 34 บัญญัติให้ผู้สมัครยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นรับค่าธรรมเนียมศาลไว้จึงไม่ถูกต้อง
(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8211/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. กรณีถูกไล่ออกจากราชการเนื่องจากทุจริต - ผลของคำสั่งทางวินัยระหว่างอุทธรณ์
ขณะที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ร้องได้ถูกลงโทษไล่ออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ แม้ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่งลงโทษดังกล่าวต่อคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ อันเป็นเหตุให้คำสั่งลงโทษยังไม่ถึงที่สุดก็ตาม แต่เมื่ออุทธรณ์ของผู้ร้องยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ และคณะกรรมการชุดดังกล่าวยังมิได้มีมติเปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษทางวินัยแก่ผู้ร้อง ต้องถือว่าคำสั่งที่ลงโทษไล่ผู้ร้องออกจากราชการยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ร้องจึงเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 109 (6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8211/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. กรณีถูกไล่ออกราชการฐานทุจริต แม้ยังอยู่ในขั้นตอนอุทธรณ์
ขณะที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ร้องได้ถูกลงโทษไล่ออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ แม้ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการข้าราชการตำรวจอันเป็นเหตุให้คำสั่งลงโทษยังไม่ถึงที่สุดก็ตาม แต่เมื่ออุทธรณ์ของผู้ร้องยังอยู่ระหว่างการพิจารณา ก็ต้องถือว่าคำสั่งที่ลงโทษไล่ผู้ร้องออกจากราชการยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งผู้ร้องจึงเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8210/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมัครรับเลือกตั้งต้องมีหนังสือรับรองจากพรรคการเมืองตลอดระยะเวลาการตรวจสอบคุณสมบัติ
ผู้ที่จะสมัครรับเลือกตั้งต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 107 (4) และการสมัครต้องสมัครในนามของพรรคการเมือง การยื่นใบสมัครต้องมีหนังสือรับรองของหัวหน้าพรรคการเมืองว่าส่งสมาชิกผู้นั้นเข้าสมัครรับเลือกตั้งตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 เมื่อยื่นใบสมัครแล้ว ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งต้องตรวจสอบหลักฐานการสมัคร คุณสมบัติของผู้สมัคร และสอบสวนว่าผู้สมัครมีสิทธิที่จะสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันปิดการรับสมัคร ตามความในมาตรา 32 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว ดังนั้น แม้จะฟังได้ว่าผู้ร้องยื่นใบสมัครพร้อมหนังสือรับรองของหัวหน้าพรรคถิ่นไทยโดยถูกต้อง แต่การที่หัวหน้าพรรคถิ่นไทยมีหนังสือยืนยันไม่รับรองว่าพรรคถิ่นไทยส่งผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 4 จังหวัดตรัง ในระหว่างระยะเวลาการตรวจสอบหลักฐานของผู้คัดค้าน ต้องถือว่าการสมัครรับเลือกตั้งของผู้ร้องขาดหลักฐานหนังสือรับรองของหัวหน้าพรรคการเมืองว่าส่งผู้ร้องเข้าสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งมีผลเท่ากับผู้ร้องไม่อาจสมัครในนามพรรคถิ่นไทยได้ ผู้คัดค้านไม่รับสมัครและไม่ประกาศชื่อผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นการชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสมาชิกภาพ ส.ส. จากการลาออกและคุณสมบัติผู้สมัคร
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้คัดค้านที่ 2ใช้วุฒิการศึกษาปลอมเข้าศึกษาต่อในชั้นปริญญาตรี จึงไม่มีสิทธิตามวุฒิการศึกษาชั้นปริญญาตรี ขอให้ศาลมีคำสั่งว่า การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายกของผู้คัดค้านที่ 2 เป็นการกระทำผิดตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 และให้มีการเลือกตั้งใหม่เฉพาะส่วนที่ผู้คัดค้านที่ 2 ได้รับเลือกตั้งในระหว่างการพิจารณาของศาล ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผลจากการลาออกของผู้คัดค้านที่ 2 ทำให้สมาชิกภาพของผู้คัดค้านที่ 2 สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 118(3)นับตั้งแต่วันลาออก ดังนี้ จึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับสมาชิกภาพของผู้คัดค้านที่ 2 ตามคำร้องของผู้ร้องอีกต่อไป จึงให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7906/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติสมาชิก/กรรมการสหภาพแรงงาน: ลูกจ้างนายจ้างเดียวกัน
คุณสมบัติที่สำคัญในการเป็นสมาชิกหรือกรรมการหรืออนุกรรมการของสหภาพแรงงานซึ่งดำเนินการขอจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 100, 101(1) คือการเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานนั้น ๆ เพราะสหภาพแรงงานต้องมีวัตุประสงค์เพื่อการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้าง และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างและระหว่างลูกจ้างด้วยกัน นอกจากนี้สหภาพแรงงานยังมีอำนาจหน้าที่ในการเรียกร้อง เจรจาทำความตกลงกับนายจ้างแทนสมาชิกเพื่อประโยชน์ของสมาชิกอีกด้วย โจทก์ที่ 2 พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างไปแล้ว จึงขาดคุณสมบัติในข้อที่เป็นสาระสำคัญในการเป็นสมาชิกหรือกรรมการของสหภาพแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7906/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติสมาชิก/กรรมการสหภาพแรงงาน: ต้องเป็นลูกจ้างของนายจ้างเดียวกัน
คุณสมบัติที่สำคัญในการเป็นสมาชิกหรือกรรมการหรืออนุกรรมการของสหภาพแรงงานซึ่งดำเนินการขอจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 100,101(1) คือการเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานนั้น ๆ เพราะสหภาพแรงงานต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้าง และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างและระหว่างลูกจ้างด้วยกัน นอกจากนี้สหภาพแรงงานยังมีอำนาจหน้าที่ในการเรียกร้องเจรจาทำความตกลงกับนายจ้างแทนสมาชิกเพื่อประโยชน์ของสมาชิกอีกด้วย โจทก์ที่ 2 พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างไปแล้วจึงขาดคุณสมบัติในข้อที่เป็นสาระสำคัญในการเป็นสมาชิกหรือกรรมการของสหภาพแรงงาน
of 21