พบผลลัพธ์ทั้งหมด 297 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย: การสมรสซ้อนและการคุ้มครองภริยาเดิม
ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียอนุญาตให้ชายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายได้หลายคนในเวลาเดียวกัน ทั้งได้จัดลำดับชั้นของภริยาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่เมียกลางเมือง เมียกลางนอกหรืออนุภรรยา และเมียกลางทาษีหรือทาษภรรยา สำหรับเมียกลางเมืองนั้นหมายถึง หญิงอันบิดามารดากุมมือยกให้เป็นภริยาของชายซึ่งถือเป็นภริยาหลวง ส่วนภริยาอีก 2 ประเภท ก็มีฐานะลดหลั่นกันลงมาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาหรือตามลักษณะที่ชายเลี้ยงดูเชิดชูหญิงว่าเป็นภริยา แต่ไม่ว่าจะเป็นภริยาในลำดับชั้นใดก็ตาม ต่างก็ถือว่าเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะไม่ปรากฏชัดแจ้งว่า บิดามารดาของโจทก์จะได้กุมมือยกโจทก์ให้เป็นภริยาของผู้ตาย ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย
ผู้ตายกับโจทก์ได้อยู่กินกันฉันสามีภริยามาตั้งแต่ปี 2462 ก่อนป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มีผลบังคับใช้ และมีบุตรด้วยกันถึง 6 คน และตามพ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519มาตรา 5 บัญญัติไว้ว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพ.ร.บ.นี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้น การสมรส ฯลฯ ที่ได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพ.ร.บ. นี้ เมื่อมีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าผู้ตายกับโจทก์อยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยเปิดเผย เป็นที่รู้กันทั่วไปและมิได้ทิ้งร้างกันแต่อย่างใด ผู้ตายกับโจทก์จึงยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ตลอดมา ส่วนจำเลยนั้นเพิ่งอยู่กินกับผู้ตายเมื่อปี 2491 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม ใช้บังคับแล้วแม้จำเลยกับผู้ตายจะมีบุตรด้วยกัน 4 คน แต่เมื่อรับฟังได้ว่าผู้ตายกับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว การที่ผู้ตายได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกเช่นนี้ การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. บรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 1452 และมาตรา 1496 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น
ผู้ตายกับโจทก์ได้อยู่กินกันฉันสามีภริยามาตั้งแต่ปี 2462 ก่อนป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มีผลบังคับใช้ และมีบุตรด้วยกันถึง 6 คน และตามพ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519มาตรา 5 บัญญัติไว้ว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพ.ร.บ.นี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้น การสมรส ฯลฯ ที่ได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพ.ร.บ. นี้ เมื่อมีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าผู้ตายกับโจทก์อยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยเปิดเผย เป็นที่รู้กันทั่วไปและมิได้ทิ้งร้างกันแต่อย่างใด ผู้ตายกับโจทก์จึงยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ตลอดมา ส่วนจำเลยนั้นเพิ่งอยู่กินกับผู้ตายเมื่อปี 2491 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม ใช้บังคับแล้วแม้จำเลยกับผู้ตายจะมีบุตรด้วยกัน 4 คน แต่เมื่อรับฟังได้ว่าผู้ตายกับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว การที่ผู้ตายได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกเช่นนี้ การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. บรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 1452 และมาตรา 1496 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5586/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างทดลองงานได้รับการคุ้มครองตามพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ สิทธิในการยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
แม้จำเลยที่1และที่2เป็นลูกจ้างทดลองงานก็มีฐานะเป็นลูกจ้างที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518จำเลยที่1และที่2จึงมีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กล่าวหาว่านายจ้างกระทำการอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา123และจำเลยที่3ถึงที่14ในฐานะคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจวินิจฉัยคำร้องดังกล่าวของจำเลยที่1และที่2ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5445/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีขายทอดตลาดต้องเป็นธรรมและคุ้มครองลูกหนี้ มิให้เกิดความเสียหาย
การขายทอดตลาดทรัพย์มีความมุ่งหมายที่จะนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในขณะเดียวกันเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องให้ความคุ้มครองลูกหนี้ไม่ให้เกิดความเสียหายด้วยโดยต้องไม่ขายทรัพย์สินเกินความจำเป็นและเมื่อได้เงินมาพอจำนวนที่จะชำระหนี้แล้วก็ห้ามไม่ให้เอาทรัพย์สินอื่นที่ยึดหรืออายัดไว้ออกขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นอีกถ้าเห็นว่าราคาซึ่งมีผู้สู้สูงสุดในการขายทอดตลาดนั้นยังไม่เพียงพอเช่นราคาต่ำไปเจ้าพนักงานบังคับคดีอาจถอนทรัพย์สินจากการทอดตลาดได้หากฝ่าฝืนก็อาจถือได้ว่าเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสองเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีซึ่งต้องเสียหายโดยการฝ่าฝืนนั้นอาจร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดไปต่ำกว่าราคาประเมินของทางราชการถึงไร่ละ40,000บาทที่ดินทั้งสองแปลงมีเนื้อที่รวม104ไร่จึงได้ราคาต่ำกว่าราคาประเมินถึง4,160,000บาทอีกทั้งโจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดีก็รู้ดีว่าหากโจทก์ยอมรับชำระหนี้จากจำเลยที่1ในวันขายทอดตลาดครั้งที่6จำนวน40,000บาทแล้วจำเลยที่1ก็จะเป็นหนี้โจทก์เพียงประมาณ40,000บาทเท่านั้นการขายทอดตลาดที่ดินแปลงหลังเพียงแปลงเดียวก็น่าจะเพียงพอแก่การชำระหนี้โจทก์ได้อยู่แล้วแม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้กระทำการโดยสุจริตแต่ไม่รักษาผลประโยชน์ให้แก่ลูกหนี้เท่าที่ควรจึงมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาดอันเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา513ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา308เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า: การลวงสาธารณชนด้วยเครื่องหมายที่คล้ายคลึงกัน และสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่แข็งแกร่งกว่า
โจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าจำเลยได้ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า Mark&Spencer โจทก์เพิ่งทราบเมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าปฎิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์หลังจากนั้นโจทก์ขอให้จำเลยโอนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์หรือให้จำเลยถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแต่จำเลยปฎิเสธการกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ขอจดทะเบียนโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง เครื่องหมายการค้าของโจทก์คืออักษรโรมันคำว่าMARKS&SPENCER ส่วนของจำเลยคือคำว่า Mark&Spencerต่างประกอบด้วยอักษรโรมันตัวเดียวกันคงแตกต่างกันเฉพาะเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันแบบตัวพิมพ์ใหญ่และมีตัว"S"ท้ายคำว่า MARK ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันแบบตัวเขียนและไม่มีตัว"S"ท้ายคำว่า Mark แม้แบบของตัวอักษรโรมันที่โจทก์และจำเลยนำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของฝ่ายตนจะแตกต่างกันดังกล่าวก็ตามแต่ตัวอักษรโรมันที่แต่ละฝ่ายนำมาเรียบเรียงเป็นเครื่องหมายการค้าของฝ่ายตนเป็นตัวเดียวกันทั้งเมื่ออ่านออกเสียงรวมกันทั้งคำหรือเรียกขานเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก็อ่านออกเสียงหรือเรียกขานเหมือนกันคือ มาร์คส์หรือ มาร์คแอนด์สเปนเซอร์ อีกทั้งสินค้าของโจทก์มีจำหน่ายในประเทศไทยก่อนที่จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้วพฤติการณ์เช่นนี้ย่อมบ่งบอกเจตนาของจำเลยผู้ประกอบธุรกิจการค้าได้ว่าจำเลยต้องการให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ใช้กับสินค้าจำพวกเครื่องหนังอันเป็นสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ที่ต่างประเทศก่อนแล้วอ่านหรือเรียกขานให้เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าหรือชื่อในทางการค้าของโจทก์โดยมุ่งประสงค์จะลวงให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยดังกล่าวเป็นสินค้าของโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า MARKS&SPENCERของโจทก์ดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2820/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ผู้จัดการมรดก: การคุ้มครองประโยชน์ทรัพย์สินมรดกเฉพาะผู้จัดการเท่านั้น
ในคดีขอตั้งผู้จัดการมรดกที่มีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่า ผู้ร้องหรือผู้คัดค้านสมควรเป็นผู้จัดการมรดกนั้น ประโยชน์ของผู้ร้องและผู้คัดค้านอยู่ที่การจะได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่เท่านั้น ไม่ได้อยู่ที่การจะได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกของผู้ตาย การที่ผู้คัดค้านขอคุ้มครองชั่วคราวในเรื่องเกี่ยวกับการรักษาประโยชน์ในทรัพย์มรดกจึงไม่อยู่ในกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าที่ดินเกษตรก่อนการซื้อขาย: คุ้มครองตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ มาตรา 53-54
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินนาจากจำเลยและวางเงินมัดจำไว้โดยโจทก์ทราบอยู่แล้วว่ามีผู้เช่าที่ดินพิพาททำนาในขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายเมื่อผู้เช่านาทราบว่าจำเลยจะขายที่ดินพิพาท จึงแสดงความจำนงจะซื้อที่ดินพิพาทเป็นหนังสือยื่นต่อประธาน คชก. ตำบล และทำเรื่องคัดค้านขอเช่าและซื้อที่ดินต่อทางอำเภอ จำเลยเพียงแต่แจ้งแก่ผู้เช่านาว่าจะขายที่ดินพิพาท มิได้ทำเป็นหนังสือดังนี้ ผู้เช่านาย่อมได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524 มาตรา 53 โดยมีสิทธิจะซื้อที่ดินพิพาทก่อนโจทก์ การที่จำเลยไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามกำหนดเวลาให้โจทก์ ก็เนื่องจากผู้เช่านาจะขอซื้อที่ดินพิพาท โดยดำเนินการถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา 53 ทุกประการและโจทก์รู้ดีว่าที่ดินพิพาทมีผู้เช่าทำนา หากจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ไปเพราะเหตุมิได้ปฏิบัติตามมาตารา 53 ผู้เช่านาก็มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ได้ตามมาตรา 54 และในกรณีกลับกัน หากจำเลยแจ้งให้ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา 53 ผู้เช่านาก็มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทก่อนโจทก์เช่นกัน การกระทำของจำเลยจึงไม่ผิดสัญญาต่อโจทก์ โจทก์ก็มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาแต่อย่างใด จำเลยจึงต้องคืนมัดจำแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5915/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยขยายไปถึงผู้ขับขี่ที่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย
ตามกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งจำเลยที่ 3 ออกให้จำเลยที่ 2ระบุว่า การคุ้มครองผู้ขับขี่ บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง ซึ่งหมายความว่านอกจากรับผิดในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยทำละเมิดต่อผู้อื่นแล้ว จำเลยที่ 3 ยอมรับผิดในกรณีที่จำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยมิได้เป็นผู้ทำละเมิดเองแต่ผู้อื่นเป็นผู้ทำละเมิด โดยผู้นั้นได้ขับขี่รถยนต์คันที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยไว้โดยความยินยอมของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยยินยอมให้จำเลยที่ 1 ขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุ จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5721/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประกันภัยกรณีตาบอดจากอุบัติเหตุ การบาดเจ็บโดยตรงและเอกเทศ
โจทก์ทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยประเภทการคุ้มครองชีวิตและทุพพลภาพโดยสิ้นเชิงถาวร การที่ตาข้างซ้ายของโจทก์บอดสนิทเกิดจากผงแกลบปลิวเข้าตาโจทก์ แล้วโจทก์ไปตรวจรักษาที่คลินิก แต่อาการไม่ดีขึ้น จึงไปรักษาที่โรงพยาบาล แต่ปรากฎว่าตาข้างซ้ายของโจทก์มองไม่เห็นและบอดสนิทในเวลาต่อมาอันเนื่องมาจากผงแกลบเข้าไปในตาดำ และเกิดมีโรคแทรกซ้อน ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้รับบาดเจ็บทางร่างกายอันเกิดขึ้นโดยตรงจากอุบัติเหตุและโดยเอกเทศจากเหตุอื่นทำให้ตาข้างซ้ายของโจทก์บอดสนิทไม่มีทางรักษาให้หายได้ โจทก์จึงได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ทำไว้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5721/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประกันภัยอุบัติเหตุ: การบาดเจ็บจากผงแกลบเข้าตาทำให้สูญเสียดวงตา ถือเป็นอุบัติเหตุโดยตรง
โจทก์ทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยประเภทการคุ้มครองชีวิตและทุพพลภาพโดยสิ้นเชิงถาวรการที่ตาข้างซ้ายของโจทก์บอดสนิทเกิดจากผงแกลบปลิวเข้าตาโจทก์แล้วโจทก์ไปตรวจรักษาที่คลินิกแต่อาการไม่ดีขึ้นจึงไปรักษาที่โรงพยาบาลแต่ปรากฎว่าตาข้างซ้ายของโจทก์มองไม่เห็นและบอดสนิทในเวลาต่อมาอันเนื่องมาจากผงแกลบเข้าไปในตาดำและเกิดมีโรคแทรกซ้อนดังนี้ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้รับบาดเจ็บทางร่างกายอันเกิดขึ้นโดยตรงจากอุบัติเหตุและโดยเอกเทศจากเหตุอื่นทำให้ตาข้างซ้ายของโจทก์บอดสนิทไม่มีทางรักษาให้หายได้โจทก์จึงได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ทำไว้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5571/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน: การเพิกถอนทะเบียนและการเลียนแบบเครื่องหมาย
รูปเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นรูปคนในเรือ2คนอยู่ตรงกลางคนหนึ่งเป็นผู้หญิงกำลังพายเรืออยู่กลางลำน้ำซึ่งอยู่ด้านขวาของรูปส่วนอีกคนหนึ่งเป็นเด็กผู้ชายถือถ่อช่วยอยู่ท้ายเรือลำเดียวกันที่ด้านซ้ายของรูปกลางลำเรือมีรูปดอกไม้ที่ด้านหัวและท้ายเรือก็มีรูปดอกไม้มีภาพทิวทัศน์ภูเขาและเรือใบ2ลำภาพดังกล่าวอยู่ในกรอบวงรีด้านบนกรอบวงรีมีอักษรภาษาจีนอ่านว่า ลีคุมกี และด้านล่างมีวงกลมอยู่ด้านซ้ายและขวาข้างละ1วงภายในวงกลมมีอักษรภาษาจีนตรงกลางด้านล่างกรอบวงรีมีถ้อยคำว่าOYSTERFLAVOREDSAUCEอยู่ในกรอบประดิษฐ์รูปสี่เหลี่ยมและที่มุมด้านในของกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีรูปดอกไม้อยู่ทั้งสี่มุมส่วนเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยเป็นรูปชายกับหญิงพายเรือสวนกันกลางน้ำซึ่งมีภาพภูเขา3ลูกและเมฆเป็นทิวทัศน์อยู่ภายในวงกลมและมีกรอบสี่เหลี่ยมล้อมวงกลมนั้นไว้อีกชั้นหนึ่งส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตามคำขอจดทะเบียนก็เป็นรูปคน2คนพายเรือสวนกันกลางน้ำมีภูเขา3ลูกเป็นทิวทัศน์อยู่ภายในวงกลมด้านข้างซ้ายและขวาของวงกลมมีดอกไม้วางเรียงกันลงมาด้านละ3ดอกและมีกรอบสี่เหลี่ยมล้อมวงกลมไว้อีกชั้นหนึ่งภาพเรือ2ลำแล่นสวนกันในเครื่องหมายการค้าของจำเลยซ้อนกันหากไม่สังเกตให้ดีจะดูคล้ายคน2คนนั่งอยู่ในเรือลำเดียวกันตำแหน่งของคนทั้งสองอยู่ในตำแหน่งเดียวกับคนทั้งสองในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งเมื่อจำเลยนำเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวมาใช้กับสินค้าซอสหอยนางรมจะเห็นได้ชัดเจนว่าฉลากเครื่องหมายการค้าที่ปิดข้างขวดคล้ายกับฉลากเครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างมากเครื่องหมายการค้าของจำเลยและสลากเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ภาพถ่ายสินค้าและสลากเครื่องหมายการค้าเมื่อโจทก์ได้ส่งซอสน้ำมันหอยมาจำหน่ายในประเทศไทย40ปีเศษแล้วและโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในต่างประเทศหลายประเทศการที่จำเลยเพิ่งยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อปี2529และได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้อย่างหนึ่งแต่เวลานำไปใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันกับของโจทก์จำเลยได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมรายละเอียดอื่นลงไปให้เหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาไม่สุจริตของจำเลยที่จะเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในแหล่งกำเนิดของสินค้าเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของและใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยแม้โจทก์จะยังมิได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือโจทก์ก็เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นและในเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของโจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือของจำเลยและให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ เมื่อเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่42รายการสินค้าซอสน้ำมันหอยโจทก์จึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในการล่วงละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา29วรรคแรกและโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฎว่าจำเลยทำการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ตามมาตรา29วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติเดียวกันอันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทโจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายรายเดือนนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะเลิกกระทำละเมิดตามฟ้องได้