คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คู่สมรส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 194 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6077/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ฝ่าฝืนกฎหมาย: โมฆะและสิทธิในการฟ้อง
ขณะจำเลยจดทะเบียนสมรสกับ น. เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน2522 น. จดทะเบียนสมรสกับโจทก์อยู่ก่อนแล้ว ฉะนั้นการสมรสระหว่างจำเลยกับ น. จึงฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1452 ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1496เดิม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การตกเป็นโมฆะดังกล่าวมีผลเท่ากับว่าจำเลยและ น.มิได้ทำการสมรสกัน ดังนั้นการจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์และ น. ในครั้งหลังจึงกระทำในขณะที่จำเลยไม่มีฐานะเป็นคู่สมรสของ น. การสมรสระหว่างโจทก์และ น. จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 133เดิม และมาตรา 1497 เดิม มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างจำเลยกับ น. เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1496 เดิมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2356/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของคู่สมรสในสัญญาจ้างเหมาที่ทำร่วมกัน โดยอ้างอิงสินสมรส
ย. กับโจทก์เป็นสามีภริยาและร่วมกันประกอบอาชีพรับจ้างขุดดิน แม้ชื่อคู่สัญญาฝ่ายผู้รับจ้างจะทำในนามของ ย. เพียงคนเดียว แต่โจทก์กับ ย. ก็มีอำนาจจัดกิจการร่วมกันทั้งเงินค่าจ้างที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องจ่ายก็เป็นสินสมรสระหว่าง ย.กับโจทก์เมื่อย. ทำหนังสือยินยอมให้โจทก์ฟ้องคดี โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ชำระเงินค่าจ้างเพื่อประโยชน์แก่สินสมรสนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4945/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดกของคู่สมรสที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และคุณสมบัติของผู้จัดการมรดก
ที่ดินทรัพย์มรดกที่ผู้ตายได้มาระหว่างอยู่กินกับผู้คัดค้านและทำมาหาได้ร่วมกัน หลังจากผู้ตายหย่ากับภริยาคนเดิมแล้วผู้คัดค้านจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย เมื่อผู้ร้องมีพฤติการณ์เป็นปรปักษ์ต่อผู้คัดค้านและ ส. ซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายที่ได้รับรองแล้ว และปฏิเสธบุคคลทั้งสองว่าไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกซึ่งขัดกับพยานหลักฐานที่มีอยู่ ผู้คัดค้านแสดงความตั้งใจที่จะแบ่งปันทรัพย์มรดกด้วยความชอบธรรม หากผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกแต่ผู้เดียวหรือเป็นผู้จัดการมรดกร่วมด้วยก็จะมีข้อขัดแย้ง และเป็นอุปสรรคในการจัดการมรดกให้สำเร็จลุล่วงไปได้ ผู้ร้องจึงไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก สมควรให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4433/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอม และการแบ่งสินสมรสเมื่อคู่สมรสถึงแก่ความตาย
การที่ ง.จัดการสินสมรสโดยยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสี่โดยเสน่หาและมิใช่การให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ง.ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1473 (เดิม) เมื่อไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ การให้ดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกที่ดินพิพาทอันเป็นสินสมรสส่วนของตนคืนได้
โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ง. ตั้งแต่พ.ศ.2465 ก่อนใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 พ.ศ.2477 ซึ่งตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ.พุทธศักราช 2477 ดังนั้น การแบ่งสินสมรสของโจทก์กับ ง.จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 หาใช่แบ่งคนละส่วนเท่ากันตามมาตรา 1533 ไม่ปรากฏว่าโจทก์กับ ง.ต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน เมื่อ ง.ถึงแก่ความตาย สินสมรสต้องแบ่งเป็นสามส่วน เป็นของ ง.สองส่วน อีกส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์
การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งนั้น เป็นการพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งในสินสมรสมากกว่าส่วนที่โจทก์ควรจะได้รับตามกฎหมาย เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็เห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3602/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวของคู่สมรสต่างสัญชาติ และการครอบครองปรปักษ์
ว.ได้มาซึ่งที่ดินและตึกแถวพิพาทหลังจากที่ว. และจำเลยเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ที่ดินและตึกแถวพิพาทย่อมตกเป็นสินสมรสของ ว.และจำเลยเมื่อว. เป็นคนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินมิได้เพราะเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 ที่ดินและตึกแถวพิพาทจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยซึ่งมีสัญชาติไทยแต่เพียงผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3520/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งร้างและการฟ้องหย่า: สิทธิฟ้องหย่าของผู้ที่ละทิ้งคู่สมรสก่อน
การที่โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยเป็นคดีแรกในปี 2529 แล้วโจทก์ย้ายออกจากบ้านของจำเลยที่เคยอยู่กินร่วมกันมาแต่แรกนานถึง8 ปีเศษ จึงเป็นการที่โจทก์ละทิ้งร้างจำเลยไปเอง เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายละทิ้งร้างจำเลยไปเช่นนี้ โจทก์จะอาศัยเหตุที่จำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่โจทก์จะให้จำเลยย้ายไปอยู่กับโจทก์ที่บ้านซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่เคยอยู่ร่วมกันมาก่อนมาเป็นเหตุฟ้องหย่า โดยอ้างว่าจำเลยกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภรรยาไม่ได้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1612/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินหลังการสมรส และผลกระทบต่อสิทธิในการอ้างเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกยึดในคดีล้มละลายของคู่สมรส
การยื่นคำร้องต่อศาลคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด ไม่ใช่เป็นการร้องต่อศาลเพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งไม่ให้ถอนยึดทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯมาตรา 158 แต่เป็นกรณีที่ร้องต่อศาลตามมาตรา 146 ว่า คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ให้ถอนการยึดไม่ชอบ ขอให้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดทรัพย์ต่อไป เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 เดิม ผู้ร้องร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปล่อยทรัพย์ที่ยึดจำนวน 20 รายการ เป็นเครื่องปรับอากาศและเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งผู้ร้องนำมาติดตั้งและประดับบ้านของผู้ร้อง และผู้ร้องได้ให้จำเลยทั้งสองอยู่อาศัยกับใช้สอยทรัพย์ 20 รายการนั้น โดยมิได้ยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยทั้งสอง แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้ร้องได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านดังกล่าวให้แก่บุตรสาวโดยมิได้แยกทรัพย์ที่ยึดทั้ง 20 รายการมาเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยเฉพาะจึงฟังว่า ผู้ร้องได้ยกกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ยึดทั้ง 20 รายการให้บุตรสาวไปแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์ที่ยึดทั้ง20 รายการ ไม่มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปล่อยทรัพย์ที่ยึดทั้ง 20 รายการ นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คู่สมรสตามพรบ.ประกันสังคม ต้องเป็นการจดทะเบียนสมรส การอยู่กินฉันสามีภริยาไม่ถือเป็นคู่สมรส
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 ไม่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "คู่สมรส" ว่า มีความหมายอย่างไร จึงต้องแปลความหมายโดยเทียบเคียงกับคำว่า "คู่สมรส" ในกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามมาตรา 4แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งก็คือบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่ง-และพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว บทบัญญัติดังกล่าวให้ความหมายคู่สมรสว่าหมายถึงชายหญิงที่ทำการสมรสกันและการสมรสจะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น คำว่าคู่สมรสตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 65วรรคแรก จึงหมายถึงสามีภริยาที่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายด้วย ขณะภริยาโจทก์คลอดบุตร โจทก์และภริยายังมิได้จดทะเบียนสมรสกัน จึงมิใช่คู่สมรสของโจทก์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีภริยาคลอดบุตร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคมกรณีคลอดบุตร: คู่สมรสต้องจดทะเบียนสมรส
แม้ พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 จะไม่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "คู่สมรส" ว่ามีความหมายว่าอย่างไร แต่เนื่องจากเป็นถ้อยคำในจดหมาย จึงต้องแปลความหมายโดยเทียบเคียงกับคำว่า"คู่สมรส" ในกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามบทบัญญัติ มาตรา 4แห่ง ป.พ.พ. คือ มาตรา 1552,1553 และ 1559 ซึ่งหมายถึงสามีภริยาที่จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายเท่านั้น คำว่า คู่สมรสตามพ.ร.บ. ประกันสังคม มาตรา 65 วรรคแรก จึงต้องหมายถึงสามีภริยาที่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายด้วยเช่นกัน ขณะที่น.ภริยาโจทก์คลอดบุตรโจทก์และ น. ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันน. จึงไม่ใช่คู่สมรสของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีที่ น. คลอดบุตร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนสมรสเป็นเงื่อนไขการเป็นคู่สมรสตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม เพื่อสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร
คำว่า คู่สมรสตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533มาตรา 65 วรรคแรก หมายถึงสามีภริยาที่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายเท่านั้น
of 20