พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1322/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขาดไร้อุปการะเด็กผู้เยาว์: ไม่ต้องพิจารณาความสามารถหารายได้หรือการอุปการะเลี้ยงดูก่อน
มารดาของผู้เยาว์ถึงแก่ความตายเพราะการกระทำละเมิดของจำเลย ทำให้ผู้เยาว์ต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตายตามกฎหมายผู้เยาว์จึงชอบที่จะได้รับค่าขาดไร้อุปการะทั้งในปัจจุบันและอนาคตโดยไม่จำต้องคำนึงถึงว่าผู้ตายได้เคยอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์นั้นมาจริงหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411-1412/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขาดไร้อุปการะ: ศาลลดค่าเสียหาย, ชำระครั้งเดียว, หนี้ร่วมจากละเมิด
การกำหนดค่าขาดอุปการะให้ชำระเป็นรายเดือน เป็นเวลา 10 ปี ย่อมเป็นการยุ่งยาก ควรกำหนดให้ชำระคราวเดียว และเป็นหนี้ร่วมจากมูลละเมิดไม่อาจแบ่งแยกการชำระหนี้ได้ ศาลพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดใช้จากการเสียชีวิตโดยประมาท แม้ผู้ตายไม่มีรายได้ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะและค่าใช้จ่ายศพ
เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย อันทำให้โจทก์ขาดไร้อุปการะตามกฎหมายจำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะให้แก่โจทก์แม้ในขณะผู้ตายถึงแก่ความตายผู้ตายจะไม่มีรายได้อย่างใด และโจทก์ประกอบอาชีพมีรายได้อยู่ก็ตามและแม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบว่าค่าสินไหมทดแทนสำหรับรายการนี้และสำหรับการฌาปนกิจศพผู้ตายมีจำนวนเท่าใดศาลก็มีอำนาจกำหนดให้ตามที่เห็นสมควร
จำเลยถูกฟ้องคดีอาญาในเรื่องเดียวกันนี้ และศาลพิพากษาลงโทษจำเลยจนคดีเด็ดขาดไปแล้ว คดีนี้จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา168
จำเลยถูกฟ้องคดีอาญาในเรื่องเดียวกันนี้ และศาลพิพากษาลงโทษจำเลยจนคดีเด็ดขาดไปแล้ว คดีนี้จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา168
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2794-2795/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องรับผิดต่อละเมิดของลูกจ้างที่เกิดจากการปฏิบัติงานตามหน้าที่ และสิทธิค่าขาดไร้อุปการะแม้มีผู้เลี้ยงดู
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถยนต์ประจำทางให้กับบริษัทจำเลยที่ 2 ตอนเกิดเหตุรถชนกันจำเลยที่ 1 ได้ขับรถไปส่งพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 2 ตามบ้านแม้มีระเบียบของบริษัทว่าเมื่อพนักงานขับรถนำรถเข้ามาในบริษัทนำลูกกุญแจไปแขวนไว้แล้วจะนำรถออกไปอีกต้องรับอนุญาตจากผู้จัดการก่อน ระเบียบดังกล่าวเป็นระเบียบปฏิบัติภายใน จะนำมาใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้ ทั้งระเบียบที่ว่านี้ก็มิได้ปฏิบัติเคร่งครัดถือได้ว่าการนำรถออกไปส่งพนักงานของบริษัทฯ อยู่ในระหว่างปฏิบัติงานทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2
เรื่องค่าขาดไร้อุปการะ แม้จะมีคนอื่นอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ หรือโจทก์มีฐานะดีไม่ได้รับความเดือนร้อน โจทก์ก็มีสิทธิจะได้รับค่าสินไหมทดแทน
เรื่องค่าขาดไร้อุปการะ แม้จะมีคนอื่นอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ หรือโจทก์มีฐานะดีไม่ได้รับความเดือนร้อน โจทก์ก็มีสิทธิจะได้รับค่าสินไหมทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 143-144/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง, ค่าเสียหายจากการเสียชีวิต, ค่าขาดไร้อุปการะ, และหนี้ร่วมจากมูลละเมิด
ผู้เสียหายย่อมฟ้องนายจ้างของผู้ทำละเมิดให้ร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ผู้ทำละเมิดกระทำไปในทางการที่จ้างได้ โดยไม่จำต้องบอกกล่าวทวงถามก่อน เพราะถือว่าได้ผิดนัดมาตั้งแต่วันทำละเมิดแล้ว
เมื่อเหตุที่รถชนกันเกิดเพราะความประมาทของคนขับรถทั้งสองฝ่าย และพฤติการณ์แห่งละเมิดมีความร้ายแรงพอๆ กันความเสียหายย่อมเป็นพับกันไป
ผู้ตายเนื่องจากการทำละเมิดเป็นบุตรโจทก์ แม้โจทก์ไม่ได้ออกค่าใช้จ่ายในการจัดการศพ โดยภรรยาผู้ตายเป็นผู้ออกก็ตาม แต่ค่าใช้จ่ายในการนี้เป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ จำเลยจะยกเอาข้อที่ภรรยาผู้ตายเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายมายกเป็นข้อปัดความรับผิดของจำเลยหาได้ไม่และแม้โจทก์จะยังไม่ได้จ่ายเงินค่าฌาปนกิจศพผู้ตายก็ตามโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องได้
ส่วนค่าขาดไร้อุปการะนั้น บุตรมีหน้าที่ต้องอุปการะบิดามารดาตามกฎหมายการที่บุตรโจทก์ตาย ถือได้ว่าโจทก์ต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมายแล้ว มิต้องคำนึงว่าโจทก์ผู้เป็นบิดามารดาจะเป็นผู้มีทรัพย์สินมากน้อยเพียงใดยังสามารถเลี้ยงตนเองได้หรือไม่ โจทก์จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนในการที่ต้องขาดไร้อุปการะนั้น และค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากขาดไร้อุปการะที่ศาลกำหนดให้นี้เป็นหนี้ซึ่งเกิดจากมูลละเมิดอันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อศาลฎีกากำหนดให้ลดน้อยลงมาอีก ย่อมพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาขึ้นมาได้
เมื่อเหตุที่รถชนกันเกิดเพราะความประมาทของคนขับรถทั้งสองฝ่าย และพฤติการณ์แห่งละเมิดมีความร้ายแรงพอๆ กันความเสียหายย่อมเป็นพับกันไป
ผู้ตายเนื่องจากการทำละเมิดเป็นบุตรโจทก์ แม้โจทก์ไม่ได้ออกค่าใช้จ่ายในการจัดการศพ โดยภรรยาผู้ตายเป็นผู้ออกก็ตาม แต่ค่าใช้จ่ายในการนี้เป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ จำเลยจะยกเอาข้อที่ภรรยาผู้ตายเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายมายกเป็นข้อปัดความรับผิดของจำเลยหาได้ไม่และแม้โจทก์จะยังไม่ได้จ่ายเงินค่าฌาปนกิจศพผู้ตายก็ตามโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องได้
ส่วนค่าขาดไร้อุปการะนั้น บุตรมีหน้าที่ต้องอุปการะบิดามารดาตามกฎหมายการที่บุตรโจทก์ตาย ถือได้ว่าโจทก์ต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมายแล้ว มิต้องคำนึงว่าโจทก์ผู้เป็นบิดามารดาจะเป็นผู้มีทรัพย์สินมากน้อยเพียงใดยังสามารถเลี้ยงตนเองได้หรือไม่ โจทก์จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนในการที่ต้องขาดไร้อุปการะนั้น และค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากขาดไร้อุปการะที่ศาลกำหนดให้นี้เป็นหนี้ซึ่งเกิดจากมูลละเมิดอันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อศาลฎีกากำหนดให้ลดน้อยลงมาอีก ย่อมพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาขึ้นมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อลูกจ้างและค่าขาดไร้อุปการะจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรถบรรทุกนำมาร่วมกิจการขนส่งกับจำเลยที่ 4 ลูกจ้างผู้ขับรถคันนี้ย่อมถือได้ว่าเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 และที่ 4
เมื่อได้ความว่าห้างจำเลยที่ 4 ยังประกอบการขนส่งสาธารณะอยู่ แม้ใบอนุญาตขนส่งจะหมดอายุแล้ว ห้างจำเลยที่ 4 ก็ยังไม่พ้นความรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ลูกจ้างกระทำลงในการขนส่งนั้น
แม้ผู้ตายจะมีอายุ 64 ปี แต่ร่างกายยังแข็งแรงไม่เจ็บป่วยยังสามารถประกอบอาชีพได้ ถ้าหากผู้ตายไม่ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตายเสียก่อนย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าผู้ตายจะมีชีวิตต่อไปอีกมากกว่า 2 ปี โจทก์ซึ่งเป็นภริยาไม่มีรายได้อย่างอื่นนอกจากเงินเดือนที่ผู้ตายมอบให้เดือนละ 5,000 บาท ตามพฤติการณ์ดังกล่าวที่ศาลล่างกำหนดค่าขาดไร้อุปการะเดือนละ 2,000 บาท เป็นเวลา 4 ปี เป็นเงิน 96,000 บาท จึงเป็นการเหมาะสมแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่าทำละเมิดและฟ้องจำเลยที่ 3 ที่ 4 ในฐานะนายจ้างให้ร่วมรับผิดด้วย กรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรลดค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 จะพึงชดใช้แก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วย
เมื่อได้ความว่าห้างจำเลยที่ 4 ยังประกอบการขนส่งสาธารณะอยู่ แม้ใบอนุญาตขนส่งจะหมดอายุแล้ว ห้างจำเลยที่ 4 ก็ยังไม่พ้นความรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ลูกจ้างกระทำลงในการขนส่งนั้น
แม้ผู้ตายจะมีอายุ 64 ปี แต่ร่างกายยังแข็งแรงไม่เจ็บป่วยยังสามารถประกอบอาชีพได้ ถ้าหากผู้ตายไม่ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตายเสียก่อนย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าผู้ตายจะมีชีวิตต่อไปอีกมากกว่า 2 ปี โจทก์ซึ่งเป็นภริยาไม่มีรายได้อย่างอื่นนอกจากเงินเดือนที่ผู้ตายมอบให้เดือนละ 5,000 บาท ตามพฤติการณ์ดังกล่าวที่ศาลล่างกำหนดค่าขาดไร้อุปการะเดือนละ 2,000 บาท เป็นเวลา 4 ปี เป็นเงิน 96,000 บาท จึงเป็นการเหมาะสมแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่าทำละเมิดและฟ้องจำเลยที่ 3 ที่ 4 ในฐานะนายจ้างให้ร่วมรับผิดด้วย กรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรลดค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 จะพึงชดใช้แก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และการคำนวณค่าขาดไร้อุปการะที่เหมาะสม
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรถบรรทุกนำมาร่วมกิจการขนส่งกับห้างจำเลยที่ 4 ลูกจ้างผู้ขับรถคันนี้ย่อมถือได้ว่าเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 และที่ 4
เมื่อได้ความว่าห้างจำเลยที่ 4 ยังประกอบการขนส่งสาธารณะอยู่ แม้ใบอนุญาตขนส่งจะหมดอายุแล้ว ห้างจำเลยที่ 4 ก็ยังไม่พ้นความรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ลูกจ้างกระทำลงในการขนส่งนั้น
แม้ผู้ตายจะมีอายุ 64 ปี แต่ร่างกายยังแข็งแรงไม่เจ็บป่วยยังสามารถประกอบอาชีพได้ ถ้าหากผู้ตายไม่ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตายเสียก่อนย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าผู้ตายจะมีชีวิตต่อไปอีกมากกว่า 2 ปี โจทก์ซึ่งเป็นภริยาไม่มีรายได้อย่างอื่นนอกจากเงินเดือนที่ผู้ตายมอบให้เดือนละ 5,000 บาทตามพฤติการณ์ดังกล่าวที่ศาลล่างกำหนดค่าขาดไร้อุปการะเดือนละ 2,000 บาทเป็นเวลา 4 ปี เป็นเงิน 96,000 บาท จึงเป็นการเหมาะสมแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่าทำละเมิดและฟ้องจำเลยที่ 3 ที่ 4 ในฐานะนายจ้างให้ร่วมรับผิดด้วยกรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรลดค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 จะพึงชดใช้แก่โจทก์ลง แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วย
เมื่อได้ความว่าห้างจำเลยที่ 4 ยังประกอบการขนส่งสาธารณะอยู่ แม้ใบอนุญาตขนส่งจะหมดอายุแล้ว ห้างจำเลยที่ 4 ก็ยังไม่พ้นความรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ลูกจ้างกระทำลงในการขนส่งนั้น
แม้ผู้ตายจะมีอายุ 64 ปี แต่ร่างกายยังแข็งแรงไม่เจ็บป่วยยังสามารถประกอบอาชีพได้ ถ้าหากผู้ตายไม่ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตายเสียก่อนย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าผู้ตายจะมีชีวิตต่อไปอีกมากกว่า 2 ปี โจทก์ซึ่งเป็นภริยาไม่มีรายได้อย่างอื่นนอกจากเงินเดือนที่ผู้ตายมอบให้เดือนละ 5,000 บาทตามพฤติการณ์ดังกล่าวที่ศาลล่างกำหนดค่าขาดไร้อุปการะเดือนละ 2,000 บาทเป็นเวลา 4 ปี เป็นเงิน 96,000 บาท จึงเป็นการเหมาะสมแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่าทำละเมิดและฟ้องจำเลยที่ 3 ที่ 4 ในฐานะนายจ้างให้ร่วมรับผิดด้วยกรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรลดค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 จะพึงชดใช้แก่โจทก์ลง แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1943/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องคดีแพ่งและการเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของผู้เป็นมารดา
เดิมโจทก์บรรยายฟ้องว่า รถประจำทางของบริษัทจำเลยคันที่ชนบุตรโจทก์มี ด. เป็นคนขับ ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งหลังจากวันชี้สองถานแล้ว โจทก์ขอแก้ฟ้องว่า คนขับรถของบริษัทจำเลยชื่อ จ. อ้างเหตุว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจบอกชื่อสับกันไป เพราะมีรถชนกันสองสายในเวลาใกล้เคียงกัน ดังนี้ เมื่อตามคำให้การจำเลยมิได้ปฏิเสธว่า ด.มิใช่ลูกจ้างจำเลย คงอ้างแต่เพียงว่าคนขับรถของจำเลยมิได้เป็นฝ่ายประมาท การที่โจทก์ระบุชื่อคนขับรถของจำเลยผิดพลาดไปด้วยเหตุดังกล่าว แล้วมาแก้ไขให้ถูกต้องภายหลังเป็นเรื่องแก้ไขความผิดพลาดเล็กน้อย แม้จะเป็นภายหลังกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ศาลก็มีอำนาจอนุญาตให้โจทก์แก้ไขให้ถูกต้องได้
บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายเพราะการกระทำละเมิด โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าขาดไร้อุปการะทั้งในปัจจุบันและในอนาคตโดยผลแห่งกฎหมาย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 443 วรรค 3 ประกอบด้วยมาตรา 1535 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ต้องพิจารณาขณะเกิดเหตุผู้ตายได้อุปการะโจทก์จริงหรือไม่ และในอนาคตผู้ตายจะอุปการะโจทก์หรือไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1648/2509)
บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายเพราะการกระทำละเมิด โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าขาดไร้อุปการะทั้งในปัจจุบันและในอนาคตโดยผลแห่งกฎหมาย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 443 วรรค 3 ประกอบด้วยมาตรา 1535 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ต้องพิจารณาขณะเกิดเหตุผู้ตายได้อุปการะโจทก์จริงหรือไม่ และในอนาคตผู้ตายจะอุปการะโจทก์หรือไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1648/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1943/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องผิดพลาดเกี่ยวกับชื่อคนขับ และสิทธิค่าขาดไร้อุปการะของผู้เสียหาย
เดิมโจทก์บรรยายฟ้องว่า รถประจำทางของบริษัทจำเลยคันที่ชนบุตรโจทก์มี ด.เป็นคนขับ ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งหลังจากวันชี้สองสถานแล้ว โจทก์ขอแก้ฟ้องว่า คนขับรถของบริษัทจำเลยชื่อ จ. อ้างเหตุว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจบอกชื่อสับกันไป เพราะมีรถชนกันสองสายในเวลาใกล้เคียงกันดังนี้ เมื่อตามคำให้การจำเลยมิได้ปฏิเสธว่า ด.มิใช่ลูกจ้างจำเลย คงอ้างแต่เพียงว่าคนขับรถของจำเลยมิได้เป็นฝ่ายประมาท การที่โจทก์ระบุชื่อคนขับรถของจำเลยผิดพลาดไปด้วยเหตุดังกล่าว แล้วมาแก้ไขให้ถูกต้องภายหลังเป็นเรื่องแก้ไขความผิดพลาดเล็กน้อย แม้จะเป็นภายหลังกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180ศาลก็มีอำนาจอนุญาตให้โจทก์แก้ไขให้ถูกต้องได้
บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายเพราะการกระทำละเมิด โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าขาดไร้อุปการะทั้งในปัจจุบันและในอนาคตโดยผลแห่งกฎหมาย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 443 วรรค 3 ประกอบด้วยมาตรา 1535 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ต้องพิจารณาว่าขณะเกิดเหตุผู้ตายได้อุปการะโจทก์จริงหรือไม่ และในอนาคตผู้ตาย จะอุปการะโจทก์หรือไม่(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1648/2509)
บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายเพราะการกระทำละเมิด โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าขาดไร้อุปการะทั้งในปัจจุบันและในอนาคตโดยผลแห่งกฎหมาย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 443 วรรค 3 ประกอบด้วยมาตรา 1535 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ต้องพิจารณาว่าขณะเกิดเหตุผู้ตายได้อุปการะโจทก์จริงหรือไม่ และในอนาคตผู้ตาย จะอุปการะโจทก์หรือไม่(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1648/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1553-1555/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการละเมิด: การประเมินค่าใช้จ่ายทำศพและค่าขาดไร้อุปการะ
กรณีละเมิดทำให้ถึงตาย โจทก์นำสืบค่าใช้จ่ายในการทำศพได้ไม่แน่นอน ศาลกำหนดให้ได้ตามสมควร ส่วนค่าขาดไร้อุปการะนั้นเป็นสิทธิที่จะได้รับเป็นค่าเสียหาย ไม่ต้องคำนึงถึงว่าโจทก์ยากไร้อย่างการเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยตรง
คดีซึ่งโจทก์เรียกค่าเสียหายฐานละเมิดจากจำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1420,000 บาท แก่โจทก์ที่ 2,3 204,000 บาท แก่โจทก์ที่ 4 ผู้รับประกันภัยที่ได้รับช่วงสิทธิ 48,375 บาทกับดอกเบี้ยนั้น เฉพาะโจทก์ที่ 4 ทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
คดีซึ่งโจทก์เรียกค่าเสียหายฐานละเมิดจากจำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1420,000 บาท แก่โจทก์ที่ 2,3 204,000 บาท แก่โจทก์ที่ 4 ผู้รับประกันภัยที่ได้รับช่วงสิทธิ 48,375 บาทกับดอกเบี้ยนั้น เฉพาะโจทก์ที่ 4 ทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง