คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าชดเชย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,092 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8661/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการหยุดพักผ่อนประจำปีและการจ่ายค่าชดเชยเมื่อนายจ้างไม่ได้จัดให้ลูกจ้างหยุดงานตามสิทธิ
โจทก์มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ปีละ 30 วัน โดยถือตามปีปฏิทิน พนักงานสะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปีไม่ได้ และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้จัดให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้หยุดในวันหยุดพักผ่อนประจำปีของแต่ละปีที่โจทก์ทำงานกับจำเลย แสดงว่าจำเลยมิได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 30 ที่กำหนดให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างต้องกำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้หยุดพักผ่อนประจำปีในแต่ละปีที่ทำงานหรือต้องตกลงกับโจทก์เพื่อกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์มิได้หยุดพักผ่อนประจำปีตามสิทธิ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ตามมาตรา 64
สิทธิเรียกร้องค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปีมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 569/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างใหม่เพื่อเลี่ยงค่าชดเชยเป็นโมฆะ ระยะเวลาทำงานเดิมนับรวมได้
โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2538 นับถึงวันที่ 17 มีนาคม 2544 ที่มีการทำสัญญาจ้างงานใหม่ โจทก์ทำงานติดต่อกันมาถึง 5 ปีเศษ สัญญาจ้างใหม่ระหว่างโจทก์กับจำเลยกำหนดว่าเมื่อสัญญาสิ้นสุดลง โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ทั้งที่ก่อนหน้านั้นโจทก์เป็นลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยอยู่แล้ว สัญญาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่จะหลีกเลี่ยงไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 อันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ดังนั้น ระยะเวลาการทำงานของโจทก์กับจำเลยตามสัญญาจ้างเดิมจึงต้องนับรวมเข้ามาด้วย โจทก์มีอายุงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5320-5325/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณากำหนดค่าเสียหาย แม้คำฟ้องใช้คำว่า 'ค่าชดเชยพิเศษ'
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและบรรยายว่าโจทก์อายุมากแล้ว ทำงานมานาน ต้องเดือดร้อนเพราะมีภาระและการหางานใหม่ เพื่อให้ศาลใช้ประกอบการพิจารณากำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์ และมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยพิเศษ ไม่ได้ใช้คำว่าค่าเสียหาย เมื่ออ่านคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโดยตลอดแล้ว ย่อมชัดเจนพอที่จะตีความได้ว่าหมายถึงขอให้พิจารณาความเสียหายและกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ การที่ศาลแรงงานกลางตีความว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นการตีความโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรตาม ป.พ.พ. มาตรา 171 ไม่ใช่กรณีมีข้อสงสัยจนต้องนำมาตรา 11 มาตีความ ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3808/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกรับประโยชน์จากคำสั่งเยียวยาการเลิกจ้าง: ลูกจ้างเลือกรับค่าชดเชยจากพนักงานตรวจแรงงาน สละสิทธิจากคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
แม้บทบัญญัติของ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ จะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเยียวยาแก่ลูกจ้างไว้แตกต่างกัน และเป็นกฎหมายคนละฉบับแต่ก็เป็นเรื่องที่มีวัตถุประสงค์จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างไม่ให้ถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำความผิดเช่นเดียวกัน ในกรณีที่การเลิกจ้างนั้นเป็นทั้งการกระทำอันไม่เป็นธรรมและการเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิด แม้ลูกจ้างจะมีสิทธิยื่นคำร้องได้ทั้งต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และพนักงานตรวจแรงงานก็ตาม แต่ลูกจ้างจะถือเอาประโยชน์จากคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานซึ่งมาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างเดียวกันทั้งสองทางมิได้ เพราะจะเป็นการซ้ำซ้อนกันไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ลูกจ้างจะต้องเลือกรับเอาประโยชน์ตามคำสั่งดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว
โจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างจึงยื่นคำร้องทั้งต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และพนักงานตรวจแรงงาน เมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย และโจทก์ได้รับค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานไปครบถ้วนแล้ว อันเป็นการเลือกเข้าถือเอาประโยชน์ตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานแล้วย่อมถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิไม่ถือเอาประโยชน์ตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ซึ่งมาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างเดียวกันไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งในส่วนให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือให้จ่ายค่าเสียหายนับแต่วันถูกเลิกจ้างจนถึงวันที่รับกลับเข้าทำงาน โจทก์จึงไม่สิทธิฟ้องร้องบังคับจำเลยตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753-3756/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งย้ายงานชอบด้วยกฎหมาย การเลิกจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อลูกจ้างละทิ้งหน้าที่
ก่อนที่จำเลยจะออกคำสั่งให้โจทก์ทั้งสี่ไปปฏิบัติงานที่สาขาโพนพิสัย จำเลยได้เสนอทางเลือกให้โจทก์ทั้งสี่ก่อนแล้วคือให้ไปทำงานกับบริษัทที่รับซื้อกิจการและรับโอนพนักงานของจำเลยที่กรุงเทพมหานครทั้งหมดโดยให้โจทก์ได้รับตำแหน่งเดิม รายได้เท่าเดิม และปฏิบัติงานอยู่สถานที่เดิม หรือย้ายไปประจำที่สาขาโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นกิจการเพียงแห่งเดียวของจำเลยที่เหลืออยู่ หรือลาออกจากบริษัทจำเลย แต่โจทก์ทั้งสี่ไม่เลือกทางใดทางหนึ่ง จำเลยจึงมีความจำเป็นต้องสั่งให้โจทก์ทั้งสี่ไปทำงานที่สาขาอำเภอโพนพิสัยในตำแหน่งเดิม อัตราเงินเดือนเดิม คำสั่งของจำเลยดังกล่าวมิได้เป็นการเลือกปฏิบัติหรือแกล้งโจทก์ทั้งสี่ เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม เมื่อโจทก์ทั้งสี่ไม่ยอมไปทำงานตามคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (5) และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3300/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจากนายจ้าง และการฟ้องร้องบังคับจ่ายเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่โจทก์และพนักงานโจทก์จัดให้มี ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพบริษัทหลักทรัพย์ อ. ตามกฎหมายแล้ว กองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวย่อมมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแยกต่างหากจากโจทก์ และจะเป็นผู้ดำเนินกิจการของกองทุนเอง มิใช่เป็นเพียงตัวแทนของโจทก์หรือพนักงานโจทก์ โจทก์จึงไม่มีหน้าที่จ่ายเงินสมทบใดๆ จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่จำเลยร่วม หากจำเลยร่วมมีสิทธิที่จะได้รับเงินสมทบส่วนของโจทก์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามข้อบังคับแล้ว จำเลยร่วมก็ชอบที่จะฟ้องร้องบังคับให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพบริษัทหลักทรัพย์ อ. จ่ายเงินสมทบ ส่วนของโจทก์แก่จำเลยร่วม จำเลยร่วมหามีอำนาจที่จะฟ้องโจทก์จ่ายเงินสมทบส่วนของโจทก์แก่จำเลยร่วมไม่
เมื่อจำเลยร่วมซึ่งเป็นลูกจ้างยื่นคำร้องต่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานเพื่อให้ดำเนินการในกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ยอมจ่ายค่าชดเชยแก่จำเลยร่วมอันเป็นกรณีที่โจทก์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามสิทธิที่จะได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 ย่อมเป็นสิทธิของจำเลยร่วมที่จะให้จำเลยซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานดำเนินการต่อไปหรือไม่ก็ได้ แม้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ จะเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่หาได้มีบทบัญญัติใดที่จำกัดห้ามมิให้จำเลยร่วมถอนคำร้องที่ยื่นต่อจำเลยแล้วยื่นคำร้องใหม่เพื่อให้จำเลยดำเนินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 อีกแต่อย่างใด การที่จำเลยร่วมถอนคำร้องฉบับลงวันที่ 26 มิถุนายน 2544 คำร้องฉบับดังกล่าวย่อมสิ้นผลไป เมื่อจำเลยร่วมยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 เพื่อให้จำเลยดำเนินการใหม่ จำเลยทำการสอบสวนและมีคำสั่งเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2544 ย่อมเป็นการดำเนินการภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 124 วรรคหนึ่ง ระยะเวลานับแต่วันที่ยื่นคำร้องฉบับแรกหาได้นับต่อเนื่องนำมารวมกับระยะเวลา 60 วัน ที่จำเลยจะต้องดำเนินการตามคำร้องฉบับที่สองไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการมีอำนาจกระทำการแทนลูกหนี้และร่วมรับผิดในค่าชดเชยแรงงาน แต่ไม่เป็นการส่วนตัว
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/25 จึงเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในค่าชดเชยต่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างแต่ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน & ความรับผิดนายจ้างในคดีค่าชดเชย
ความในมาตรา 125 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541ที่บัญญัติว่าในกรณีที่นายจ้างหรือลูกจ้างไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนดให้คำสั่งนั้นเป็นที่สุดนั้นต่อเนื่องมาจากความในวรรคหนึ่งที่ว่าเมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งตามมาตรา 124 แล้ว ถ้านายจ้างหรือลูกจ้างไม่พอใจคำสั่งนั้นให้นำคดีไปสู่ศาลได้ภายใน 30วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสหรือให้สิทธิแก่นายจ้างหรือลูกจ้างที่ไม่เห็นชอบด้วยกับคำสั่งนำคดีไปฟ้องศาลเพื่อให้ตรวจสอบคำสั่งดังกล่าวอีกชั้นหนึ่ง แต่หากนายจ้างหรือลูกจ้างไม่ประสงค์จะใช้สิทธิดังกล่าวแสดงว่านายจ้างหรือลูกจ้างไม่มีข้อโต้แย้งคำสั่งดังกล่าว ความในวรรคสองจึงบัญญัติให้เป็นที่สุด ซึ่งหมายถึงเป็นที่สุดสำหรับนายจ้างหรือลูกจ้างด้วย มิใช่เป็นที่สุดเฉพาะในทางบริหาร
เมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุดจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม จึงเป็นปริยายว่าจำเลยที่ 1 ไม่อาจโต้แย้งหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้อีกได้ กรณีมิใช่เรื่องการนำบทบัญญัติมาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตัดสิทธิในการต่อสู้คดีของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการบังคับใช้หรือตีความกฎหมายโดยไม่ชอบ
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการของจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/25 จึงเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นนายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 5 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในค่าชดเชยต่อโจทก์แต่ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์โดยไม่ได้ระบุว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ศาลฎีกาจึงแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่ออายุสัญญาจ้างหลังเกษียณอายุและการจ่ายค่าชดเชย นายจ้างตกลงขยายเวลาเกษียณอายุไม่ใช่สละสิทธิ
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง กำหนดให้พนักงานพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานเมื่อเกษียณอายุเมื่อพนักงานมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ ยกเว้นกรณีนายจ้างอนุมัติต่ออายุการจ้างแรงงานก่อนการเกษียณอายุ และพนักงานที่เกษียณอายุมีสิทธิได้รับค่าชดเชย การที่นายจ้างอนุมัติให้ลูกจ้างทำงานภายหลังจากมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้ว โดยมิได้จ่ายค่าชดเชยตามสิทธิให้แก่ลูกจ้างในขณะนั้น นอกจากจะเป็นการต่ออายุสัญญาจ้างแรงงานแล้ว ยังเป็นการตกลงขยายระยะเวลาการเกษียณอายุสำหรับลูกจ้างต่อไปด้วย มิใช่เป็นการสละสิทธิการเกษียณอายุ ต่อมาเมื่อ ลูกจ้างขอใช้สิทธิเกษียณอายุและนายจ้างอนุมัติ นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9096/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม, ค่าจ้าง, และการเปิดเผยข้อมูลในใบสมัครงาน: ศาลฎีกาพิพากษาให้จ่ายค่าชดเชย
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 นิยามศัพท์คำว่า ค่าจ้าง หมายความว่า เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ ฯลฯ เมื่อตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน วัตถุประสงค์ของการที่จำเลยจ่ายค่าเช่าบ้านแก่ลูกจ้างเพื่อเป็นการช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัย ค่าเช่าบ้านจึงเป็นเพียงสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้าง มิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาทำงานปกติ แม้จะมีการจ่ายเงินจำนวนนี้แน่นอนทุกเดือนก็มิใช่ค่าจ้าง
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหมวด 10 ว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัย ข้อ 3.3 ความซื่อสัตย์สุจริต ข้อ 3.3.2 พนักงานต้องแจ้งข้อมูลส่วนตัวของตนตามที่บริษัท ฯ ต้องการแก่บริษัท ฯ ตามความเป็นจริง และถ้าข้อมูลที่ได้แจ้งแล้วไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงไม่ว่าด้วยเหตุผลใด พนักงานต้องรายงานข้อมูลที่ถูกต้องให้บริษัท ฯ ทราบโดยเร็วที่สุดนั้น ย่อมมีผลใช้บังคับแก่บุคคลที่เป็นลูกจ้างของจำเลยแล้วเท่านั้น ไม่มีผลผูกพันไปถึงบุคคลภายนอกด้วย ขณะที่โจทก์กรอกข้อความลงในใบสมัครงานโจทก์ยังไม่ได้เป็นลูกจ้างของจำเลย และเป็นบุคคลภายนอกซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ส่วนที่ตอนท้ายของใบสมัครงานมีข้อความว่า ข้าพเจ้าขอรับรองว่ารายละเอียดดังกล่าวข้างต้นนี้ เป็นความสัตย์จริงทุกประการ หากภายหลังที่ได้เข้ามาทำงานแล้วปรากฏว่ามีข้อความที่ไม่ตรงกับความจริงหรือเป็นความเท็จ บริษัท ฯ มีสิทธิที่จะลงโทษและ/หรือเลิกจ้างโดยให้ข้าพเจ้าออกจากงานได้ทันทีตามแต่กรณีนั้น อาจเป็นเงื่อนไขข้อตกลงในสัญญาว่าจ้างที่ให้สิทธิแก่นายจ้างลงโทษลูกจ้างหรือเลิกสัญญาจ้างได้เป็นการเฉพาะราย แต่ก็มิใช่ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่นายจ้างต้องจัดให้มีตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ดังนั้น แม้จะได้ความว่าโจทก์กรอกข้อความในใบสมัครงานเป็นเท็จ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยเหตุดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย ทั้งไม่สูญเสียสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ต่าง ๆ อันพึงมีพึงได้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
นับตั้งแต่ที่จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานเป็นพนักงานควบคุมเครื่องจักร โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์และขยันหมั่นเพียร จนได้รับเบี้ยขยันและได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกอันเป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะเป็นพนักงานของจำเลย แม้โจทก์จะเคยถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญามาก่อน แต่ก็เป็นความผิดต่อส่วนตัว ซึ่งผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์และคดีระงับสิ้นลงแล้วก่อนที่จะมาเป็นพนักงานของจำเลยประมาณ 2 ปี ทั้งเป็นความผิดที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ควบคุมเครื่องจักรให้แก่จำเลย จึงมิใช่เรื่องร้ายแรง การที่จำเลยอาศัยเหตุดังกล่าวเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เหตุผลอันสมควร จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
of 110