พบผลลัพธ์ทั้งหมด 515 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8115/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โรงเรียนเอกชนเก็บค่าธรรมเนียมและรับเงินอุดหนุน ถือเป็นกิจการแสวงหากำไร ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ทรัพย์สินที่จะได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินนั้นได้แก่ทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 โรงเรียนของโจทก์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนจากนักเรียนตามอัตราที่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.โรงเรีอนเอกชน พ.ศ. 2525 และค่าธรรมเนียมอื่นได้แก่ ค่าอุปกรณ์ ค่าอาหาร ค่าซักฟอก ค่าบำรุงสมาชิกยุวกาชาด เนตรนารี หนังสือ สมุด ค่าประกันอุบัติเหตุ และค่าเรียนคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลในอัตราร้อยละ 40 ของจำนวนนักเรียน เงินที่ได้รับมาทั้งหมดนำไปใช้ในกิจการของโรงเรียนของโจทก์ จ้างครูมาสอน พัฒนาขยายโรงเรียน หากปีใดไม่ต้องซ่อมแซมหรือสร้างอาคารและมีเงินเหลือก็จะส่งให้โจทก์ ย่อมเป็นข้อชี้แสดงว่าโรงเรียนของโจทก์เป็นโรงเรียนเอกชนที่กระทำกิจการเพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล โรงเรือนและที่ดินจึงไม่ใช่ทรัพย์ของโรงเรียนสาธารณะซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล และใช้เฉพาะในการศึกษาอันไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 9 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810-811/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งแก้ไขคำฟ้อง และการยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในช่วงอุทธรณ์ ต้องยื่นก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา และต้องวางค่าธรรมเนียมตามกฎหมาย
การร้องขอเข้าเป็นคู่ความตามมาตรา 57 (1) ต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลที่คดีนั้นอยู่ระหว่างพิจารณา เว้นแต่สิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งก็ให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีนั้น ส่วนมาตรา 57 (2) ต้องยื่นคำร้องต่อศาลไม่ว่าเวลาใดๆ ก่อนมีคำพิพากษา ดังนั้น ทั้งสองกรณีดังกล่าวต้องยื่นก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาเท่านั้น จะยื่นในระหว่างอุทธรณ์ไม่ได้
การอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องนั้นแม้จะเป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา แต่ก็มีผลเท่ากับให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
การอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องนั้นแม้จะเป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา แต่ก็มีผลเท่ากับให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7664/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมค้ำประกันไม่ใช่ค่าบริการ แต่เป็นการทดรองจ่าย โจทก์ไม่สามารถนำมาถือเป็นภาษีซื้อได้
โจทก์ทำสัญญากู้ยืมเงินจากธนาคาร อ. โดยโจทก์ต้องหาผู้ค้ำประกันให้แก่ธนาคาร อ. ผู้ให้กู้ บริษัท ผ. ซึ่งเป็นผู้ร่วมทุนในกิจการร่วมค้าของโจทก์เป็นผู้ดำเนินการให้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เข้าค้ำประกันสัญญากู้ยืมเงินของโจทก์โดยบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมจากบริษัท ผ. 11,714,062.50 บาท ค่าธรรมเนียมดังกล่าวจึงเป็นค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปเพื่อให้บรรลุเงื่อนไขตามสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์ทำกับธนาคาร อ. อันเป็นกิจการของโจทก์และเพื่อประโยชน์แก่กิจการของโจทก์ บริษัท ผ. มีหน้าที่ต้องช่วยเหลือโจทก์ในการจัดหาผู้ค้ำประกัน และโจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมในการค้ำประกันคืนให้แก่ผู้ร่วมทุนตามที่ระบุใน สัญญาร่วมทุน ข้อ 4 เรื่องการเงิน เงินค่าธรรมเนียมที่บริษัท ผ. ชำระให้แก่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จึงเป็นเงินที่บริษัท ผ. ได้ออกทดรองไปแทนโจทก์ การที่บริษัท ผ. เรียกให้โจทก์ชำระเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าว จึงเป็นการเรียกคืนเงินทดรองที่ได้จ่ายแทนไปไม่ใช่เรียกค่าบริการ บริษัท ผ. จึงไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีขายและ เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 1,171,406.25 บาท จากโจทก์ โจทก์จึงนำมาถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7507/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์สินที่ไม่ชอบ ผู้ดำเนินกระบวนการต้องรับผิด
โจทก์เป็นผู้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินตาม น.ส.3 ก. โดยอ้างว่าเป็นของจำเลยที่ 3 เมื่อปรากฏว่าที่ดินแปลงดังกล่าวไม่ใช่ของจำเลยที่ 3 เนื่องจาก น.ส.3 ก. ดังกล่าวออกทับที่ดินของบุคคลอื่น และศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาส่วนนี้จึงต้องเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง และตาราง 5 ข้อ 3 ท้าย ป.วิ.พ. ทั้งไม่มีบทบัญญัติยกเว้นความรับผิดชำระค่าธรรมเนียมในกรณีที่ผู้ขอยึดทำการโดยสุจริต ซึ่งความรับผิดในค่าธรรมเนียมนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดเสียค่าฤชาธรรมเนียมได้ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดี เรื่องนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องระมัดระวังในการรับจำนองที่ดินและนำยึดที่ดินว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ เพราะโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีก็มีคำสั่งไปตามคำขอของโจทก์ ดังนั้น จึงสมควรให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีกรณียึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4015/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมซ้ำหลังศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว ถือเป็นการดำเนินกระบวนการซ้ำที่กฎหมายห้าม
ศาลฎีกาเคยมีคำพิพากษายกฎีกาของจำเลยที่ 5 ที่ขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งกลับคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลตามคำร้องของจำเลยที่ 5 มาครั้งหนึ่งแล้ว การที่จำเลยที่ 5 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลต่อศาลชั้นต้นใหม่อีกโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่า กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลแก่จำเลยที่ 5 ซึ่งได้มีคำสั่งและคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้ว ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3904/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: จำกัดวงตามจำนวนหนี้ที่ฟ้อง
แม้ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 155 บัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ มีหน้าที่ระวังประโยชน์ของเจ้าหนี้ทั้งหลาย ช่วยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการรวบรวมจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ และรับผิดในบรรดาค่าธรรมเนียม ค่าเสียหาย และค่าใช้จ่ายในคดีล้มละลาย แต่เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยแล้ว อำนาจในการจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 (1) แม้ไม่มีโจทก์นำยึด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็มีอำนาจทำการยึดทรัพย์ได้เองและยึดทรัพย์ของจำเลยได้ทั้งหมดโดยไม่ต้องพิจารณาถึงจำนวนหนี้ของโจทก์ ดังเช่นคดีแพ่งตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 284 บัญญัติไว้ เนื่องจากเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย สาเหตุที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถอนการยึดทรัพย์สินของจำเลยเนื่องมาจากศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง ไม่ใช่เพราะโจทก์ขอถอนฟ้องหรือขอถอนการยึดทรัพย์ การที่จะให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายในอัตราร้อยละ 3.5 ของราคาทรัพย์สินที่ยึดทั้งหมดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 179 (3) โดยไม่พิจารณายอดหนี้ที่โจทก์ฟ้อง ย่อมเห็นได้ว่าเป็นการไม่ยุติธรรมแก่โจทก์อาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14 ค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายดังกล่าวจึงควรอยู่ในขอบเขตไม่เกินยอดจำนวนหนี้ที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3377/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีและการอายัดทรัพย์สิน: ค่าธรรมเนียมการบังคับคดีผู้ใดต้องรับผิด
หลังจากที่มีคำพิพากษาศาลฎีกาให้ผู้คัดค้านชำระหนี้แก่ผู้ร้อง คดีนี้ไม่มีการทุเลาการบังคับคดีหรืองดการบังคับคดี และผู้คัดค้านยังมิได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจึงมีสิทธิบังคับคดีตามเงื่อนไขในหมายบังคับคดี การที่ผู้ร้องดำเนินการขออายัดบัญชีเงินฝากของผู้คัดค้านที่วางต่อศาลไว้โดยไม่มีการทำสัญญาค้ำประกัน จึงเป็นวิธีการหนึ่งของการบังคับคดีซึ่งชอบด้วยกฎหมาย ค่าธรรมเนียมการอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมิใช่เกิดจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่จำเป็นอันจะอยู่ในความรับผิดของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3204/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลและการดำเนินการคดีอย่างคนอนาถา ผลกระทบต่อการวางค่าธรรมเนียม
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกลับคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยแล้วให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยต่อไปเท่ากับให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้สืบพยานจำเลยต่อไปจำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งเรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่ให้เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยกับยื่นอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์คำพิพากษา แม้จำเลยจะยื่นอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลชั้นต้นไม่ให้เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยก่อนดังที่จำเลยฎีกาก็ตาม แต่หากศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์คำพิพากษา จำเลยจะไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์คำสั่งเรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่ให้เลื่อนคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เพราะได้รับการยกเว้นตามมาตรา 157 ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเรื่องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์คำพิพากษาก่อนศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาเรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี จึงชอบแล้ว
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งเรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่ให้เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยกับยื่นอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์คำพิพากษา แม้จำเลยจะยื่นอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลชั้นต้นไม่ให้เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยก่อนดังที่จำเลยฎีกาก็ตาม แต่หากศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์คำพิพากษา จำเลยจะไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์คำสั่งเรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่ให้เลื่อนคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เพราะได้รับการยกเว้นตามมาตรา 157 ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเรื่องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์คำพิพากษาก่อนศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาเรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2781/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ซื้อขายสินค้าและค่าธรรมเนียมการใช้ชื่อทางการค้า การวินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับอายุความและขอบเขตของสัญญา
คดีเรื่องใดจะอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน หากคดีเรื่องนี้เป็นคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่จะพิจารณาพิพากษาแล้ว ศาลชั้นต้นก็ย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเรื่องนี้ได้ ซึ่งการวินิจฉัยว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลใด ในกรณีเช่นนี้เป็นอำนาจของประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 9 แต่คดีนี้จำเลยมิได้ให้การโต้แย้งเรื่องเขตอำนาจศาลหรือยกปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาลขึ้นโต้แย้งในระหว่างศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาจนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา กรณีถือได้ว่าจำเลยยอมรับอำนาจศาลและไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาล เมื่อจำเลยเพิ่งยกปัญหานี้อุทธรณ์ขึ้นมาจึงเป็นการล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหานี้แล้ว และศาลฎีกาก็ไม่อาจส่งให้ประธานศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัยด้วย
การที่โจทก์ยอมให้จำเลยใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์เพื่อเปิดร้านดำเนินกิจการของจำเลย โดยจำเลยยอมจ่ายเงินเป็นค่าธรรมเนียมการใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าวให้แก่โจทก์นั้น ค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นเงินค่าตอบแทนในการที่โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์เพื่อดำเนินกิจการของจำเลยเท่านั้น มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยได้ชื่อทางการค้าของโจทก์ไปเป็นผู้อุปโภคในลักษณะเป็นเจ้าของเองเหมือนกับที่จำเลยซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ไปจากโจทก์ไปใช้ในกิจการของจำเลย ที่จำเลยมีฐานะเป็นเจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ซื้อไปจากโจทก์ แต่ชื่อทางการค้าของโจทก์ที่จำเลยมีสิทธิใช้ตามสัญญานั้นยังเป็นสิทธิของโจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์เรียกเอาค่าธรรมเนียมหรือเงินค่าตอบแทนในการที่จำเลยใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์ตามสัญญานั้น จึงไม่ใช่เป็นการที่โจทก์เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ค่าการงานที่ได้ทำ หรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่นที่จะมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)แต่การเรียกร้องดังกล่าวนี้มิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
การที่จำเลยสั่งซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงจากโจทก์ไปจำหน่ายนั้นเป็นกรณีที่จำเลยสั่งซื้อสินค้าดังกล่าวจากโจทก์ไปเพื่อประกอบกิจการค้าตามวัตถุประสงค์ของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย จึงมีอายุความเรียกร้อง 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5)
การที่โจทก์ยอมให้จำเลยใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์เพื่อเปิดร้านดำเนินกิจการของจำเลย โดยจำเลยยอมจ่ายเงินเป็นค่าธรรมเนียมการใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าวให้แก่โจทก์นั้น ค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นเงินค่าตอบแทนในการที่โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์เพื่อดำเนินกิจการของจำเลยเท่านั้น มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยได้ชื่อทางการค้าของโจทก์ไปเป็นผู้อุปโภคในลักษณะเป็นเจ้าของเองเหมือนกับที่จำเลยซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ไปจากโจทก์ไปใช้ในกิจการของจำเลย ที่จำเลยมีฐานะเป็นเจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ซื้อไปจากโจทก์ แต่ชื่อทางการค้าของโจทก์ที่จำเลยมีสิทธิใช้ตามสัญญานั้นยังเป็นสิทธิของโจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์เรียกเอาค่าธรรมเนียมหรือเงินค่าตอบแทนในการที่จำเลยใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์ตามสัญญานั้น จึงไม่ใช่เป็นการที่โจทก์เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ค่าการงานที่ได้ทำ หรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่นที่จะมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)แต่การเรียกร้องดังกล่าวนี้มิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
การที่จำเลยสั่งซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงจากโจทก์ไปจำหน่ายนั้นเป็นกรณีที่จำเลยสั่งซื้อสินค้าดังกล่าวจากโจทก์ไปเพื่อประกอบกิจการค้าตามวัตถุประสงค์ของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย จึงมีอายุความเรียกร้อง 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1844/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ไม่ชอบ หากไม่วางเงินค่าธรรมเนียมพร้อมอุทธรณ์ แม้โจทก์ได้รับเงินบังคับคดีบางส่วนแล้ว หนี้ยังไม่ครบ
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยต้องนำค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ไม่ชอบ แม้จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ได้รับเงินจากเจ้าพนักงานบังคับคดีรวมเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจำเลยจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาไว้ด้วยแล้วแต่ปรากฏว่า เมื่อโจทก์ได้รับเงินดังกล่าวแล้วหนี้โจทก์ยังคงเหลืออยู่ ดังนั้น จำเลยจะกล่าวอ้างว่าเงินที่โจทก์ได้รับชำระหนี้บางส่วนได้รวมเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้น จำเลยจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์หาได้ไม่