พบผลลัพธ์ทั้งหมด 351 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าสินไหมทดแทนจากสัญญาประกันภัย: การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนโดยบริษัทประกันภัย และการเรียกค่าทดแทนจากจำเลย
ป.พ.พ.มาตรา 882 วรรคหนึ่ง บัญญัติในเรื่องการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย การที่โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้บาดเจ็บไป และเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยก็โดยอาศัยสัญญาประกันภัยฉบับที่โจทก์ทำกับจำเลย จึงเป็นการฟ้องให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์มิใช่บุคคลภายนอกที่ใช้ค่าทดรองไปแล้วรับช่วงสิทธิเรียกเงินคืนจากจำเลย เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนเกินกำหนด 2 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย: การชดใช้ค่าเสียหายโดยบริษัทประกันภัยโดยตรง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่งบัญญัติในเรื่องการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย การที่โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้บาดเจ็บไป และเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยก็โดยอาศัยสัญญาประกันภัยฉบับที่โจทก์ทำกับจำเลยจึงเป็นการฟ้องให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์มิใช่บุคคลภายนอกที่ใช้ค่าทดรองไปแล้วรับช่วงสิทธิเรียกเงินคืนจากจำเลย เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนเกินกำหนด 2 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีสัญญาเช่าฉางผสมสัญญาฝากทรัพย์ มิใช่อายุความค่าสินไหมทดแทน ใช้บังคับตามอายุความทั่วไป 10 ปี
โจทก์ตกลงทำสัญญาเช่าฉาง เก็บรักษาข้าวเปลือกจากจำเลย โดยมีข้อสัญญาที่จำเลยจะต้องรับผิดถ้าเกิดความเสียหายหรือ สูญหายขึ้น และต้องชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ยุบตัวตามสภาพ ไม่เกินร้อยละ 2 ของจำนวนข้าวทั้งหมดหรือเกิดจากเหตุสุดวิสัย สัญญาดังกล่าวนอกจากเป็นสัญญาเช่าทรัพย์แล้ว ยังมีข้อกำหนด ให้จำเลยมีหน้าที่เก็บรักษาข้าวเปลือก ดูแลมิให้เกิดความ เสียหายหรือสูญหายขึ้น จำเลยต้องรับผิดชอบใช้ราคาข้าวเปลือก ที่ขาดจำนวนไปให้แก่โจทก์ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์ รวมอยู่ด้วย การฟ้องให้จำเลยชำระราคาข้าวเปลือกที่ขาดจำนวน ไปพร้อมดอกเบี้ยเช่นนี้ มิใช่การฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน เกี่ยวกับการฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 และไม่มีกฎหมายบัญญัติถึงเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปคือ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30(มาตรา 164 เดิม) ฟ้องโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6638/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้รับประกันภัย: การรับช่วงสิทธิและเงื่อนไขการใช้ค่าสินไหมทดแทน
โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรงในการเรียกค่าเสียหายจากเหตุรถยนต์ชนกันแต่โจทก์มีส่วนได้เสียในฐานะผู้รับประกันและอาจรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคหนึ่ง ระบุว่า ถ้าความวินาศภัยได้เกิดขึ้นเพราะการกระทำของบุคคลภายนอกผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเป็นจำนวนเพียงใด ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงนั้น เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทน โจทก์จึงไม่ใช่ผู้รับช่วงสิทธิและไม่มีอำนาจฟ้อง ที่โจทก์ฎีกาว่าเป็นการฟ้องตั้งสิทธิเป็นสิทธิของโจทก์เองนั้นก็ไม่มีกฎหมายสนับสนุนไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5955/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทนและการสละประเด็นค่าฤชาธรรมเนียม
เมื่อสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของจำเลยเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่วันเกิดเหตุ ดังนั้นโดยนัยแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 206, 224 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงชอบที่จะฟ้องเรียกดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินค่าสินไหมทดแทนเอาแก่โจทก์นับแต่วันฟ้องซึ่งเป็นวันในระหว่างเวลาที่โจทก์ผิดนัดได้ แต่เมื่อมีคำท้ากันคู่ความมิได้กำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ไว้ด้วย จึงถือได้ว่าได้ตกลงกันสละประเด็นในส่วนนี้ไปแล้ว ศาลจึงพิพากษาให้จำเลยได้เฉพาะจำนวนเงินค่าเสียหายตามคำท้าเท่านั้น จะพิพากษาให้โจทก์รับผิดชำระดอกเบี้ยดังกล่าวนับแต่วันฟ้องย่อมเป็นการพิพากษาเกินคำขอและนอกคำท้า
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 141(5), 167 บัญญัติให้ศาลสั่งเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในคำพิพากษาทุกเรื่อง ฉะนั้นไม่ว่าคู่ความจะมีคำร้องขอเกี่ยวด้วยเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมหรือไม่ก็ตามศาลต้องวินิจฉัยอยู่แล้ว ที่ศาลพิพากษาตามยอม แต่ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนจำเลยจึงไม่เกินคำขอหรือคำท้าที่คู่ความได้ตกลงท้ากันไว้
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 141(5), 167 บัญญัติให้ศาลสั่งเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในคำพิพากษาทุกเรื่อง ฉะนั้นไม่ว่าคู่ความจะมีคำร้องขอเกี่ยวด้วยเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมหรือไม่ก็ตามศาลต้องวินิจฉัยอยู่แล้ว ที่ศาลพิพากษาตามยอม แต่ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนจำเลยจึงไม่เกินคำขอหรือคำท้าที่คู่ความได้ตกลงท้ากันไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสะดุดหยุดเมื่อจำเลยรับสภาพหนี้ การรับรองการจ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นหลักฐาน
หนังสือที่จำเลยที่3มีถึงโจทก์ไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุว่าจำเลยที่3ปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยแต่อย่างใดถือได้ว่าจำเลยที่3ยอมรับตามสิทธิของโจทก์ในฐานะผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยที่1ได้ทำไว้แก่จำเลยที่3และยอมรับที่จะจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนรายนี้แก่โจทก์แล้วแต่ขอเวลาอีก60วันเพื่อการรวบรวมหลักฐานให้ครบถ้วนจะได้ประมวลข้อเท็จจริงทั้งหมดซึ่งเป็นเรื่องดำเนินการตามขั้นตอนทางปฏิบัติของบริษัทจำเลยที่3เท่านั้นการกระทำของจำเลยที่3เป็นการกระทำอันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์แล้วอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา139/14เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้วระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใดให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้นตามมาตรา193/15หนังสือที่จำเลยที่3มีถึงโจทก์ลงวันที่25มีนาคม2533เมื่อนับถึงวันฟ้องคือวันที่23สิงหาคม2534ยังไม่เกินสองปีคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่3จึงยังไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา882
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างต้องมีเหตุสมควร แม้มีข้อตกลงบอกเลิกจ้างโดยการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ศาลแรงงานพิจารณาค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนและไม่อนุญาตให้ทนายถอนตัว
แม้ตามสัญญาจ้างระบุว่า การว่าจ้างอาจจะถูกบอกเลิกได้โดยการที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีหนังสือแจ้งล่วงหน้าหนึ่งเดือน หรือจ่ายค่าสินไหมเท่ากับเงินเดือนหนึ่งเดือนแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าก็ตาม แต่การบอกเลิกจ้างดังกล่าวก็จะต้องมีเหตุอันสมควร มิฉะนั้นจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49ได้ จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์หนึ่งเดือนแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแล้ว แต่ไม่ปรากฏว่ามีสาเหตุแห่งการเลิกจ้าง การเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยจะต้องรับผิดจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์
แม้ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจะไม่ได้ระบุว่าเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างไว้โดยตรงก็ตาม แต่เมื่ออ่านคำฟ้องที่บรรยายประกอบกันก็เข้าใจได้ว่า เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทำให้โจทก์ไม่ได้หยุดพักผ่อนประจำปีตามสิทธิในวันที่ยังเหลืออยู่ 14 วันและโจทก์มาฟ้องเรียกเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแทนในวันดังกล่าวฟ้องโจทก์จึงเข้าใจได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสำหรับปีที่เลิกจ้างโจทก์ ซึ่งยังมีวันหยุดพักผ่อนประจำปีเหลืออยู่ 14 วัน นั่นเองฟ้องโจทก์ในส่วนที่เรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจึงไม่เคลือบคลุม
อุทธรณ์ของจำเลยเป็นการอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจของศาลแรงงานที่ไม่อนุญาตให้ทนายจำเลยถอนตัวและสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป โดยถือว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบเพราะจำเลยไม่นำพยานมาศาลในวันนัดสืบพยานจำเลยเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
แม้ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจะไม่ได้ระบุว่าเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างไว้โดยตรงก็ตาม แต่เมื่ออ่านคำฟ้องที่บรรยายประกอบกันก็เข้าใจได้ว่า เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทำให้โจทก์ไม่ได้หยุดพักผ่อนประจำปีตามสิทธิในวันที่ยังเหลืออยู่ 14 วันและโจทก์มาฟ้องเรียกเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแทนในวันดังกล่าวฟ้องโจทก์จึงเข้าใจได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสำหรับปีที่เลิกจ้างโจทก์ ซึ่งยังมีวันหยุดพักผ่อนประจำปีเหลืออยู่ 14 วัน นั่นเองฟ้องโจทก์ในส่วนที่เรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจึงไม่เคลือบคลุม
อุทธรณ์ของจำเลยเป็นการอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจของศาลแรงงานที่ไม่อนุญาตให้ทนายจำเลยถอนตัวและสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป โดยถือว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบเพราะจำเลยไม่นำพยานมาศาลในวันนัดสืบพยานจำเลยเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5001/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของทนายต่อการไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย และค่าสินไหมทดแทนตามสัญญา
ตามฟ้องของโจทก์กล่าวโดยสรุปว่า โจทก์มอบให้สำนักงานของจำเลยฟ้อง ส.ซึ่งเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาเป็นคดีล้มละลายต่อศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยร่วมทนายประจำสำนักงานของจำเลยเป็นผู้ดำเนินการ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด สำนักงานของจำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้รายนี้ แต่ปล่อยเวลาล่วงเลยจนพ้นกำหนดโดยไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ เป็นเหตุให้โจทก์หมดสิทธิได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้รายนี้ ทั้งที่ลูกหนี้มีทรัพย์พอชำระหนี้ได้ ขอให้บังคับจำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายตามจำนวนหนี้ที่ลูกหนี้ค้างชำระโจทก์อยู่ ตามคำฟ้องดังกล่าวโจทก์อ้างว่าจำเลยต้องรับผิดเพราะเหตุที่โจทก์หมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ แต่คดีล้มละลายดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายของ ส.ลูกหนี้ (จำเลย) ตามมาตรา 135 (2) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินที่มีอยู่แต่อย่างใด โจทก์จึงยังไม่หมดสิทธิที่จะได้ชำระหนี้จากลูกหนี้โดยยังมีสิทธิขอบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีแพ่งเดิมที่โจทก์อาศัยมาเป็นมูลหนี้ในการฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายได้ ดังนี้เมื่อข้ออ้างของโจทก์ที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาให้จำเลยและจำเลยร่วมต้องรับผิดมิได้เป็นไปดังที่โจทก์อ้าง จึงไม่อาจจะบังคับให้จำเลยและจำเลยร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องได้
แต่การที่จำเลยและจำเลยร่วมไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ เป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาให้สำเร็จลุล่วงต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ ศาลจึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/17
แต่การที่จำเลยและจำเลยร่วมไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ เป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาให้สำเร็จลุล่วงต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ ศาลจึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/17
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4093/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธค่าสินไหมทดแทนประกันภัย: เงื่อนไขการยอมรับผิดและขอบเขตความรับผิด
ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 1.5.1 ผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอม เสนอ หรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมของบริษัทผู้รับประกันภัยจำเลยเว้นแต่บริษัทมิได้จัดการต่อการเรียกร้องนั้น และข้อ 1.10 เงื่อนไขบังคับก่อนระบุว่า บริษัทอาจจะไม่รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์นี้ เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาประกันภัยและเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์นี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ผู้เอาประกันภัยได้ตกลงยินยอม เสนอ หรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่คู่กรณี ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับผิดต่อคู่กรณี การที่พนักงานสอบสวนสั่งปรับโจทก์ในข้อหาขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหายนั้น เป็นการกระทำของพนักงานสอบสวนเอง หาใช่โจทก์ยอมรับผิดต่อคู่กรณีไม่ โจทก์จึงมิได้กระทำผิดเงื่อนไขซึ่งจำเลยจะอ้างเป็นเหตุที่จะไม่ใช้ค่าสินไหมทดแทน และจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์เรียกร้องก็อยู่ในวงเงินที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญา เมื่อจำเลยปฏิเสธความรับผิดย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4068/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอ: ศาลพิพากษาให้กรรมสิทธิ์รถยนต์ตกเป็นของจำเลยเมื่อชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งเกินกว่าที่โจทก์ฟ้องร้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันรับผิดเพราะจำเลยที่ 1 ทำละเมิด เป็นเหตุให้รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหาย โดยจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ด้วยในฐานะนายจ้าง โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปครบถ้วนแล้วจึงรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาแก่จำเลยทั้งสองตามกฎหมาย ซึ่งจำเลยทั้งสองมีหน้าที่ร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้ชำระแก่ผู้เอาประกันภัยพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ชำระไป จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา กรณีย่อมไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าหากจำเลยทั้งสองชำระค่าสินไหมทดแทนและดอกเบี้ยครบถ้วนแล้วกรรมสิทธิ์ในรถยนต์จะต้องตกเป็นของจำเลยทั้งสองหรือไม่เพราะจำเลยทั้งสองมิได้ให้การต่อสู้หรือฟ้องแย้งเป็นประเด็นไว้เช่นนั้น การที่ผู้เอาประกันภัยต้องโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เอาประกันภัยให้แก่โจทก์นั้น เป็นไปตามเงื่อนไขและข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์และผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นคู่สัญญาโดยเฉพาะจำเลยทั้งสองซึ่งต้องร่วมกันรับผิดฐานละเมิดหาได้มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นคู่สัญญาอันจะทำให้มีสิทธิและหน้าที่หรือได้รับประโยชน์ตามข้อตกลงหรือเงื่อนไขดังกล่าวในกรมธรรม์ด้วยไม่ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า หากจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนและดอกเบี้ยครบถ้วนแล้ว ให้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตกเป็นของจำเลยทั้งสองนั้นจึงเป็นการพิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง