พบผลลัพธ์ทั้งหมด 610 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2551/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับหนี้ของผู้ค้ำประกันร่วมเมื่อเจ้าหนี้สละสิทธิกับผู้ค้ำประกันอีกคน
จำเลยและ ส. ได้ทำสัญญาค้ำประกันการกู้เงินของบริษัท ถ. จำกัด โดยยอมรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยและ ส. ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินไว้เป็นประกันต่อมาจำเลยได้ขายที่ดินที่จำนองเป็นประกันหนี้ไป และ ส.ได้ชำระหนี้แก่โจทก์จำนวนหนึ่งซึ่งโจทก์ได้ออกหนังสือปลดหนี้แก่ ส. แล้ว จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมในหนี้รายเดียวกันย่อมต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 วรรคสองเมื่อบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดชอบผู้ค้ำประกันต่อกันไว้ จึงต้องใช้หลักทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229 และ296 การที่โจทก์สละสิทธิต่อ ส. ย่อมมีผลทำให้หนี้ส่วนที่เหลือสำหรับส. ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340 และย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมระงับไปด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 293
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2547/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารค้ำประกันที่ไม่ติดแสตมป์ใช้เป็นหลักฐานได้ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้
หนังสือที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อโจทก์เพื่อค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ว่า หากจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายจะยอมชดใช้หนี้สินหรือค่าเสียหายให้แก่โจทก์ โดยมีเพียงลายมือชื่อของจำเลยที่ 2ผู้ค้ำประกันเท่านั้น ไม่มีลายมือชื่อของโจทก์อยู่ด้วย หนังสือดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานในการค้ำประกันเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้นมิใช่สัญญาค้ำประกัน แม้จะมีข้อความว่าสัญญาค้ำประกันก็ตาม เอกสารดังกล่าวจึงมิใช่ตราสารที่ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 104 และบัญชีอากรแสตมป์ลักษณะ 17ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1960/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเช่าซื้อ, ค่าเสียหายจากการไม่คืนทรัพย์, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อหลายงวดติดต่อกัน โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยชอบแล้ว จำเลยที่ 1 ให้การเพียงว่าได้ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ทุกงวดไม่เคยผิดสัญญาเช่าซื้อ โดยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่า โจทก์ไม่ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดเวลาก่อน สัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกัน ฎีกาของจำเลยที่ 1 เรื่องนี้ไม่เป็นประเด็นแห่งคดีที่จะรับวินิจฉัย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ย่อมมีผลให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 , 392 และ 369 ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบโดยยังคงครอบครองใช้ประโยชน์ตลอดมา โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ได้ อย่างไรก็ตาม โจทก์รับว่า จำเลยที่ 1 นำเงินค่าเช่าซื้อไปชำระให้แก่โจทก์อีกบางส่วน ดังนั้น จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนเงินค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องพึงชดใช้ให้แก่โจทก์ด้วย และค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ให้แก่โจทก์เป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกชำระหนี้กันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อกับจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน จึงให้คำพิพากษามีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน ซึ่งต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ย่อมมีผลให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 , 392 และ 369 ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบโดยยังคงครอบครองใช้ประโยชน์ตลอดมา โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ได้ อย่างไรก็ตาม โจทก์รับว่า จำเลยที่ 1 นำเงินค่าเช่าซื้อไปชำระให้แก่โจทก์อีกบางส่วน ดังนั้น จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนเงินค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องพึงชดใช้ให้แก่โจทก์ด้วย และค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ให้แก่โจทก์เป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกชำระหนี้กันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อกับจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน จึงให้คำพิพากษามีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน ซึ่งต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147-148/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีค้ำประกัน, การบังคับชำระหนี้, การผิดสัญญาซื้อขาย และค่าเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา
ธนาคาร ก. ค้ำประกันบริษัท จ. ต่อการสื่อสารแห่งประเทศไทยว่า หากบริษัท จ. ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาที่ทำไว้หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญา ซึ่งการสื่อสารแห่งประเทศไทยมีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับและหรือค่าเสียหายใด ๆจากบริษัท จ. ได้แล้ว ธนาคาร ก. ยอมชำระเงินแทนให้ทันทีโดยมิต้องเรียกร้องให้บริษัท จ. ชำระก่อน การที่บริษัท จ. ผิดสัญญาซื้อขาย การสื่อสารแห่งประเทศไทยย่อมมีสิทธิเรียกค่าปรับ และค่าเสียหายตามสัญญาและเมื่อบริษัท จ. ซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดนัดแล้วการสื่อสารแห่งประเทศไทยย่อมมีอำนาจฟ้องธนาคาร ก. ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 แม้ไม่ได้ใช้สิทธิบอกเลิก สัญญาซื้อขายต่อบริษัท จ. ก่อนก็ตาม
สัญญาซื้อขายระหว่างบริษัท จ. กับการสื่อสารแห่งประเทศไทยได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินคือภายในวันที่ 3 กรกฎาคม2528 เมื่อบริษัท จ. ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องภายในกำหนดเวลาจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดเวลาตามสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสองการสื่อสารแห่งประเทศไทยจึงมีสิทธิที่จะเรียกให้ธนาคาร ก. ผู้ค้ำประกันบริษัท จ. ชำระหนี้ได้แต่นั้นตามมาตรา 686 อันเป็นวันที่จำเลย อาจบังคับสิทธิเรียกร้องเอาแก่ธนาคาร ก. ได้อายุความจึงเริ่มนับแต่ วันดังกล่าว มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่ทำสัญญาค้ำประกันในวันที่ 19 กรกฎาคม 2526 และสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 เมื่อนับถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2538 ซึ่งเป็นวันที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยฟ้องคดียังไม่พ้นกำหนด 10 ปีจึงไม่ขาดอายุความ
การสื่อสารแห่งประเทศไทยฟ้องบริษัท จ. โดยไม่ได้บอกเลิกสัญญาซื้อขายและได้มีคำขอบังคับให้บริษัท จ. ปฏิบัติตามสัญญาโดยส่งมอบชุมสายเทเล็กซ์พร้อมการติดตั้งในระบบสมบูรณ์ตามสัญญาซื้อขายแล้ว หากให้บริษัท จ. ชำระค่าเสียหายในราคาอุปกรณ์ชุมสายเทเล็กซ์ที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยซื้อมาใช้งานก็จะเป็นการให้ค่าเสียหายที่ซ้ำซ้อนกับคำขอบังคับให้บริษัท จ. ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายดังกล่าว จึงกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้ไม่ได้
สัญญาซื้อขายระหว่างบริษัท จ. กับการสื่อสารแห่งประเทศไทยได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินคือภายในวันที่ 3 กรกฎาคม2528 เมื่อบริษัท จ. ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องภายในกำหนดเวลาจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดเวลาตามสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสองการสื่อสารแห่งประเทศไทยจึงมีสิทธิที่จะเรียกให้ธนาคาร ก. ผู้ค้ำประกันบริษัท จ. ชำระหนี้ได้แต่นั้นตามมาตรา 686 อันเป็นวันที่จำเลย อาจบังคับสิทธิเรียกร้องเอาแก่ธนาคาร ก. ได้อายุความจึงเริ่มนับแต่ วันดังกล่าว มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่ทำสัญญาค้ำประกันในวันที่ 19 กรกฎาคม 2526 และสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 เมื่อนับถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2538 ซึ่งเป็นวันที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยฟ้องคดียังไม่พ้นกำหนด 10 ปีจึงไม่ขาดอายุความ
การสื่อสารแห่งประเทศไทยฟ้องบริษัท จ. โดยไม่ได้บอกเลิกสัญญาซื้อขายและได้มีคำขอบังคับให้บริษัท จ. ปฏิบัติตามสัญญาโดยส่งมอบชุมสายเทเล็กซ์พร้อมการติดตั้งในระบบสมบูรณ์ตามสัญญาซื้อขายแล้ว หากให้บริษัท จ. ชำระค่าเสียหายในราคาอุปกรณ์ชุมสายเทเล็กซ์ที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยซื้อมาใช้งานก็จะเป็นการให้ค่าเสียหายที่ซ้ำซ้อนกับคำขอบังคับให้บริษัท จ. ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายดังกล่าว จึงกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1147/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนหลักทรัพย์ค้ำประกันเมื่อลูกจ้างลาออก สัญญาเดิมเป็นเกณฑ์ แม้มีการยินยอมเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม
โจทก์ทั้งสองทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของ ค. กับจำเลย และนำโฉนดที่ดินมอบให้แก่จำเลยยึดถือไว้เป็นหลักประกัน ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันระบุว่า ในการขอคืนหลักประกันจะกระทำได้ต่อเมื่อ ค. สิ้นสภาพจากการเป็นพนักงาน โดยไม่ได้กระทำการใดให้นายจ้างเสียหาย เมื่อ ค. ลาออกจากการเป็นลูกจ้างจำเลย จึงเป็นการสิ้นสภาพการเป็นพนักงาน สัญญาค้ำประกันของโจทก์ทั้งสองย่อมระงับสิ้นไป แม้ ค. ทำหนังสือยินยอมเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในการขอคืนหลักทรัพย์ใหม่ ก็หามีผลผูกพันโจทก์ทั้งสองไม่ และข้อความในสัญญาค้ำประกันฉบับหลังหาใช่เป็นการขยายข้อความที่ว่า โดยไม่ได้กระทำการใดให้นายจ้างเสียหายตามสัญญาค้ำประกันเดิม ดังนั้นจำเลยจึงต้องคืนโฉนดที่ดินหลักทรัพย์ค้ำประกันแก่โจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8334/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก: ความผูกพันของจำเลยตามหนังสือค้ำประกัน
หนังสือค้ำประกันมีข้อความว่า "?บริษัท ต. ได้ค้ำประกันการซื้อสินค้าถุงพลาสติกระหว่าง ซ. (ผู้ซื้อ) กับโจทก์ (ผู้ขาย) ? หากบริษัท ต. ไม่สามารถชำระเงินให้ จำเลย สาขาสุพรรณบุรี ตกลงชำระเงินแทนให้ 600,000 บาท" จำเลยได้ทำหนังสือค้ำประกันฉบับดังกล่าวขึ้น โดยบริษัท ต. ยื่นคำขอให้จำเลยออกหนังสือสัญญาค้ำประกันระบุข้อความว่า จำเลยจะชำระหนี้แก่โจทก์หากบริษัท ต. ไม่ชำระหนี้ โดยบริษัท ต. กับจำเลยจัดทำหนังสือค้ำประกัน จากนั้น ทางบริษัท ต. ได้จัดส่งเอกสารดังกล่าวให้โจทก์ หนังสือค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างบริษัท ต. กับจำเลยมิใช่สัญญาที่จำเลยทำกับโจทก์ว่าหากบริษัท ต. ผู้ค้ำประกันไม่ชำระหนี้ จำเลยจะชำระแทน จึงมิใช่สัญญาค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 กรณีจึงมิใช่สัญญาที่จำเลยเป็นผู้รับเรือนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 682 วรรคหนึ่ง แต่หนังสือสัญญาดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยทำสัญญากับบริษัท ต. ยินยอมจะชำระหนี้ให้โจทก์ เมื่อโจทก์แสดงเจตนาแก่จำเลยว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 โจทก์จึงมีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8194/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย, การผิดสัญญา, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, การกำหนดค่าเสียหายจากพฤติการณ์
โจทก์ได้ส่งหนังสือตกลงซื้อตามที่จำเลยมีหนังสือยืนยันราคาโดยกำหนดให้จำเลยที่ 1 มาลงนามทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ภายในกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขการประกวดราคาให้แก่ อ. ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในบริษัท จำเลยที่ 1 จึงเป็นการส่งหนังสือตามภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 โดยมีผู้รับไว้โดยชอบแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมมีความผูกพันต้องไปทำสัญญาซื้อขายภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขทั่วไปในการเข้าเสนอราคา เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ทำสัญญาซื้อขายภายในระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย และขอให้บังคับจำเลยที่ 2 เพียงผู้เดียวในฐานะผู้ค้ำประกันการยื่นซองประกาศราคาของจำเลยที่ 1 ในการชำระเงินตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์พร้อมดอกเบี้ย อันเป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ชำระค่าเสียหายแยกต่างหากจากกันโดยมิได้ ขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในหนี้ที่จำเลยที่ 2 ต้องชำระให้แก่โจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ต้องซื้อสินค้าในราคาสูงกว่าที่จำเลยที่ 1 ประกวดราคาได้ตามข้อตกลงในการประกวดราคาแต่เห็นว่าหลักประกันซึ่งเป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์มีสิทธิรับเพียงพอกับค่าเสียหายของโจทก์ตามควรแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว จึงให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในจำนวนเงินดังกล่าว เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่โจทก์ฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ไม่ดำเนินการประกวดราคาใหม่โดยเร็วกลับปล่อยให้ระยะเวลาล่วงเลยมาเกือบ 2 ปี จึงประกาศประกวดราคาใหม่ จนทำให้ราคาเหรียญตัวเปล่าและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นนั้น ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีส่วนในการก่อให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นด้วย ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ได้ โดยอาศัยพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นประมาณตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย และขอให้บังคับจำเลยที่ 2 เพียงผู้เดียวในฐานะผู้ค้ำประกันการยื่นซองประกาศราคาของจำเลยที่ 1 ในการชำระเงินตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์พร้อมดอกเบี้ย อันเป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ชำระค่าเสียหายแยกต่างหากจากกันโดยมิได้ ขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในหนี้ที่จำเลยที่ 2 ต้องชำระให้แก่โจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ต้องซื้อสินค้าในราคาสูงกว่าที่จำเลยที่ 1 ประกวดราคาได้ตามข้อตกลงในการประกวดราคาแต่เห็นว่าหลักประกันซึ่งเป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์มีสิทธิรับเพียงพอกับค่าเสียหายของโจทก์ตามควรแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว จึงให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในจำนวนเงินดังกล่าว เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่โจทก์ฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ไม่ดำเนินการประกวดราคาใหม่โดยเร็วกลับปล่อยให้ระยะเวลาล่วงเลยมาเกือบ 2 ปี จึงประกาศประกวดราคาใหม่ จนทำให้ราคาเหรียญตัวเปล่าและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นนั้น ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีส่วนในการก่อให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นด้วย ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ได้ โดยอาศัยพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นประมาณตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7869/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันการชำระเงินค่าจ้างล่วงหน้าเกินกว่าวงเงินค้ำประกัน
ตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ยอมค้ำประกันการจ่ายเงินล่วงหน้าของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 จะต้องจ่ายคืนเงินค่าจ้างล่วงหน้าเต็มจำนวนหรือบางส่วนแล้วแต่กรณี แต่ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่จ่ายคืนเงินดังกล่าว จำเลยที่ 2 ต้องจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้านั้นแทนในวงเงิน 500,000 บาท จึงเห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระเงินล่วงหน้าคืนเท่านั้น มิใช่เรื่องค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาจ้าง ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ทำงานไม่แล้วเสร็จตามสัญญาจ้างแต่คิดคำนวณเนื้องานที่ทำไปแล้วเป็นเงิน 683,077 บาท ดังนั้น เมื่อผลงานที่จำเลยที่ 1 ทำไปคำนวณเป็นเงินเกินกว่า 500,000 บาท จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันในวงเงินดังกล่าวจึงพ้นจากความรับผิด
แม้ตามสัญญาจะกำหนดไว้ว่า โจทก์อาจแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรถึงจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเมื่อใดก็ได้ว่า วงเงินเต็มจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาได้หักลดด้วยจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ได้จ่ายชดใช้แก่โจทก์เป็นงวด ๆ ไปแล้ว และในช่วงเวลาที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างโจทก์มิได้แจ้งเป็นหนังสือไปยังจำเลยที่ 2 ว่าวงเงิน 500,000 บาท ได้หักด้วยจำนวนเงินตามผลงานที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ตกได้แก่โจทก์แล้วก็ตาม แต่การที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ได้รับล่วงหน้าไปแล้วและผลงานที่จำเลยที่ 1 ทำได้ไว้ในฟ้องก็ถือว่าเป็นการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว
แม้ตามสัญญาจะกำหนดไว้ว่า โจทก์อาจแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรถึงจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเมื่อใดก็ได้ว่า วงเงินเต็มจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาได้หักลดด้วยจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ได้จ่ายชดใช้แก่โจทก์เป็นงวด ๆ ไปแล้ว และในช่วงเวลาที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างโจทก์มิได้แจ้งเป็นหนังสือไปยังจำเลยที่ 2 ว่าวงเงิน 500,000 บาท ได้หักด้วยจำนวนเงินตามผลงานที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ตกได้แก่โจทก์แล้วก็ตาม แต่การที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ได้รับล่วงหน้าไปแล้วและผลงานที่จำเลยที่ 1 ทำได้ไว้ในฟ้องก็ถือว่าเป็นการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7012/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารหลักฐานการกู้ยืมเงินและค้ำประกัน แม้ไม่ติดอากรแสตมป์ ก็ใช้เป็นหลักฐานได้ และศาลสั่งค่าทนายความได้แม้ไม่มีผู้ขอ
เอกสารฉบับพิพาทไม่ใช่หนังสือสัญญากู้ยืมเงินและหนังสือสัญญาค้ำประกัน เป็นแต่เพียงหลักฐานการกู้ยืมเงินและหลักฐานการค้ำประกัน แม้โจทก์มิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
โจทก์มิได้ขอให้จำเลยใช้ค่าทนายความ แต่ ป.วิ.พ.มาตรา 167เป็นบทบัญญัติบังคับศาลต้องมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้ไม่มีผู้ขอก็ตาม ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่ง ศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์มีคำสั่งในเรื่องนี้จึงหาได้เกินคำขอไม่
โจทก์มิได้ขอให้จำเลยใช้ค่าทนายความ แต่ ป.วิ.พ.มาตรา 167เป็นบทบัญญัติบังคับศาลต้องมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้ไม่มีผู้ขอก็ตาม ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่ง ศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์มีคำสั่งในเรื่องนี้จึงหาได้เกินคำขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7012/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารหลักฐานการกู้ยืมและค้ำประกัน แม้ไม่ติดอากรแสตมป์ ก็ใช้เป็นหลักฐานได้ ศาลสั่งค่าทนายความได้แม้ไม่มีผู้ขอ
เอกสารฉบับพิพาทไม่ใช่หนังสือสัญญากู้ยืมเงินและหนังสือสัญญาค้ำประกัน เป็นแต่เพียงหลักฐานการกู้ยืมเงินและหลักฐานการค้ำประกัน แม้โจทก์มิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
โจทก์มิได้ขอให้จำเลยใช้ค่าทนายความแต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167เป็นบทบัญญัติบังคับศาลต้องมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้ไม่มีผู้ขอก็ตามค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์มีคำสั่งในเรื่องนี้จึงหาได้เกินคำขอไม่
โจทก์มิได้ขอให้จำเลยใช้ค่าทนายความแต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167เป็นบทบัญญัติบังคับศาลต้องมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้ไม่มีผู้ขอก็ตามค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์มีคำสั่งในเรื่องนี้จึงหาได้เกินคำขอไม่