พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3299/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษจำคุกเป็นปรับและรอการลงโทษ โดยโจทก์โต้แย้งดุลพินิจศาล
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินสองปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับจำเลย 10,000 บาท อีกสถานหนึ่ง ส่วนโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี แม้จะเป็นการแก้ไขมาก โจทก์ก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษและริบของกลาง เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลในการลงโทษจำเลย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1547-1548/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิการสืบพยานในคดีแรงงาน: ประเด็นการเลิกจ้างและความเกี่ยวข้องกับประเด็นข้อพิพาท
คดีมีประเด็นว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ หรือโจทก์ไม่มาทำงานเองเพราะกลัวความผิดที่ยอมให้บุคคลภายนอกนำสิ่งของเข้ามาไว้ในที่ดินและอาคารของจำเลยที่ 1โดยพลการ ที่จำเลยที่ 5 จะนำ ย. มาสืบว่าโจทก์เป็นผู้นำ ภ. ซึ่งตามทางพิจารณาคือบุคคลภายนอกที่จำเลยทั้งห้าอ้างไว้ในคำให้การขนสิ่งของเข้ามาในที่ดินและอาคารของจำเลยที่ 1 โดยพลการ จึงเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี จำเลยที่ 5 นำสืบได้แต่ที่จำเลยที่ 5 จะนำสืบ ย. ว่าโจทก์เก็บค่าไฟฟ้าจาก ย. แล้วไม่นำไปชำระจนถูกการไฟฟ้าฯ ตัดไฟฟ้าในโกดังของจำเลย กับที่จำเลยที่ 5 จะนำ ว. มาสืบว่าโจทก์เบิกความเท็จว่าเป็นผู้นำ ว. มาทำงานกับจำเลยนั้น ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีและไม่ใช่การนำพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุนข้ออ้างว่าคำเบิกความของโจทก์ไม่ควรเชื่อฟังอันเป็นการพิสูจน์ต่อพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 120 ที่ศาลแรงงานกลางไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 5 นำ ว. และ ย. มาสืบในข้อหลังจึงชอบแล้ว แต่ที่ไม่อนุญาตให้นำ ย. มาสืบข้อที่ว่าโจทก์เป็นผู้นำ ภ. ขนสิ่งของ เข้ามาในที่ดินและอาคารของจำเลยที่ 1 โดยพลการนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6554/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิการสืบพยานเพิ่มเติมเมื่อจำเลยแถลงหมดพยานหลักฐานแล้ว การยื่นพยานเพิ่มเติมจึงเป็นการประวิงคดี
การที่จำเลยแถลงยืนยันต่อศาลชั้นต้นว่า ยังติดใจสืบพยานอีกเพียงปากเดียวก็เป็นอันหมดพยานจำเลย และขอส่งประเด็นไปสืบพยานปากนี้ที่ศาลจังหวัดเลย โดยไม่ขอเลื่อนคดีไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น ศาลจึงอนุญาตให้ส่งประเด็นไปสืบพยานดังกล่าว การที่ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม โดยอ้างว่าโจทก์ให้จำเลยยืนยันยอดหนี้ที่ค้างชำระกับโจทก์ตามเอกสารที่ส่งมาให้จำเลยนั้น ไม่ถือว่าเป็นพยานหลักฐานสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีที่จำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้ เพราะจำเลยให้การต่อสู้ว่าสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาปลอม คดีจึงไม่มีประเด็นว่ายอดหนี้ตามสัญญากู้ที่โจทก์ฟ้องถูกต้องหรือไม่ พยานหลักฐานของจำเลยดังกล่าวที่มีลักษณะเป็นการประวิงคดีให้ชักช้า และไม่เป็นประเด็นที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมและไม่อนุญาตให้จำเลยนำพยานจำเลยเข้าสืบต่อไป จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีลดโทษเล็กน้อย และการโต้เถียงดุลพินิจศาลในการรับฟังพยานหลักฐาน
เมื่อศาลชั้นต้นลงโทษจำคุก 5 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่คงจำคุก 3 ปี 9 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 3 ปี 4 เดือน จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและยังลงโทษจำเลยไม่เกินห้าปีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งจำเลยฎีกาว่าพยานโจทก์เป็นพิรุธไม่พอฟังลงโทษ อันเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4811/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ค่าเสียหายจากการเช่า และอำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดก
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท แม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องว่าโจทก์สามารถนำที่พิพาทไปสร้างอาคารพาณิชย์จะได้รับประโยชน์อัตราเดือนละ 20,000 บาท และโจทก์ใช้เป็นเกณฑ์เรียกค่าเสียหายตามจำนวนนั้น ซึ่งศาลชั้นต้นก็กำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ 5,000 บาท ก็ตาม แต่เมื่อตามหนังสือสัญญาเช่าที่ดินมีการกำหนดอัตราค่าเช่ากันชัดเจนเดือนละ 500 บาท เช่นนี้แล้ว กรณีจึงไม่จำต้องพิจารณาว่าอาจให้เช่าได้ค่าเช่าจำนวนเท่าใดอีก ต้องฟังว่าที่พิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง การที่จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นในเรื่องการกำหนดค่าเสียหายของศาล เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 บัญญัติให้ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปและเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกได้ โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้ตาย มีอำนาจจัดการเกี่ยวแก่ที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ส. ได้ตามกฎหมาย จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากทายาททุกคนก่อน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 บัญญัติให้ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปและเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกได้ โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้ตาย มีอำนาจจัดการเกี่ยวแก่ที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ส. ได้ตามกฎหมาย จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากทายาททุกคนก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 437/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลอุทธรณ์ไม่กลับคำพิพากษา
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก และศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219 ตรี และในกรณีนี้ ป.วิ.อ.มาตรา 221 ไม่ได้บัญญัติให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คำอนุญาตของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นจึงไม่มีผลทำให้จำเลยทั้งสามมีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3955/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ที่ดินติดต่อเพื่อฉาบปูนทาสีอาคาร: ศาลฎีกาชี้การใช้สิทธิไม่จำกัดสิทธิเจ้าของที่ดิน
คดีมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่า โจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินมีสิทธิที่จะฉาบ ปูนและทาสีอาคารของโจทก์ซึ่งอยู่ชิดแนวเขตที่ดิน จำเลยโดยอาศัย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1351 วรรคหนึ่ง ได้หรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์บอกกล่าวจำเลยล่วงหน้า แล้ว จึงสามารถใช้ที่ดินของจำเลยที่อยู่ข้างเคียงเพื่อ ฉาบ ปูนและทาสีอาคารดังกล่าวได้ ดังนี้ปัญหาว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1351 เป็นบทจำกัด การใช้สิทธิของเจ้าของที่ดินผู้มีความประสงค์จะใช้สิทธิ นอกแดน กรรมสิทธิ์ของตนหรือไม่ จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระ แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง การใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1351 วรรคหนึ่ง เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ซึ่งมิได้บัญญัติให้เจ้าของที่ดินติดต่อต้องงดเว้นไม่ก่อสร้าง สิ่งใดลงใกล้แนวเขตที่ดิน ดังนั้น การที่โจทก์ปลูกสร้างอาคาร ฝ่าฝืนกฎหมายชิดแนวเขตโดยไม่เว้นระยะห่าง ก่อให้เกิด ความเสียหายแก่จำเลยหรือไม่ เป็นเรื่องที่จำเลยหรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องไปว่ากล่าวกับโจทก์ต่างหาก กรณีจึงมิใช่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจงใจหลีกเลี่ยงฝ่าฝืนกฎหมาย เป็นเหตุให้จำเลยที่มีที่ดินติดต่อได้รับความเสียหายดังที่จำเลยฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3805/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การจำกัดสิทธิในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติ (ร่องวังอ่าง)
โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท แต่เนื่องจากที่ดินพิพาทมีบางส่วนเป็นร่องวังอ่าง ซึ่งเป็นร่องน้ำสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนที่มิใช่ร่องวังอ่างสาธารณประโยชน์ ส่วนที่เป็นร่องวังอ่าง สาธารณประโยชน์นั้นเมื่อโจทก์ทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทส่วนนี้อยู่ จึงเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาทส่วนนี้ดีกว่าจำเลยที่โจทก์ทั้งสองขอให้ห้ามจำเลย และบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาททั้งหมดนั้น จึงห้ามได้เฉพาะส่วนที่โจทก์ทั้งสองมีสิทธิครอบครอง แต่ที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นร่องวังอ่าง นั้นไม่อาจห้ามจำเลยมิให้เกี่ยวข้องเสียทั้งหมดได้ เพราะเป็นการขัดวัตถุประสงค์ของการใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทนี้ จะห้ามได้เฉพาะกรณีที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยที่มิใช่เป็นไปเพื่อการใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ของสาธารณสมบัติของแผ่นดินเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3783/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง: ทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และการโต้เถียงดุลยพินิจของศาลอุทธรณ์
แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องอ้างว่าที่ดินของโจทก์ส่วนที่จำเลยบุกรุกแย่งการครอบครอง กว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 20 เมตร หรือประมาณ 2.5 ตารางวา โดยโจทก์ตีราคาที่ดินพิพาทตารางวาละ 91,000 บาท และเสียค่าขึ้นศาลมาในจำนวนทุนทรัพย์ 227,500 บาท ก็ตาม แต่ตามแผนที่พิพาทที่ดินที่ทั้งสองฝ่ายพิพาทกันมีเนื้อที่เพียง 1.5 ตารางวา คิดเป็นเงิน 136,500 บาท จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จึงเป็นการโต้เถียงดุลยพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1881/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิการฎีกาเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และการแบ่งความรับผิดชอบจากความประมาทเลินเล่อ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินจำนวน 499,375 บาท พร้อมดอกเบี้ย ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 287,808.90 บาทพร้อมดอกเบี้ย และให้จำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 213,191.78 บาท พร้อมดอกเบี้ย ส่วนจำเลยที่ 2ให้ยกฟ้อง โจทก์ไม่อุทธรณ์ คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2เป็นอันถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนจำเลยที่ 1ที่ 3 และที่ 4 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาแล้วเห็นว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากโจทก์และจำเลยที่ 3 ที่ 4ต่างขาดความระมัดระวังด้วยกัน พฤติการณ์มิได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากันจึงเห็นสมควรให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4รับผิดต่อโจทก์กึ่งหนึ่ง พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 3ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 143,437.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยและให้จำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 106,250 บาท พร้อมดอกเบี้ย โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 อนุมัติ ให้จ่ายเงินตามเช็คโดยประมาทเลินเล่อแต่ฝ่ายเดียว หากฟังว่า โจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหาย ความเสียหายส่วนที่โจทก์ ก่อก็มีเพียงเล็กน้อย จึงไม่เห็นด้วยที่จะให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 รับผิดต่อโจทก์เพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น เป็นฎีกา ในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีการะหว่าง โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 3 และระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 4 ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง