พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์โดยใช้อาวุธปืนจนผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลฎีกายืนโทษจำคุกตลอดชีวิต และวินิจฉัยข้อกฎหมายเรื่องการเพิ่มโทษ
จำเลยชิงทรัพย์โดยใช้อาวุธปืนและเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย การที่ ป.อ. มาตรา 340 ตรี บัญญัติให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 339 โดยใช้อาวุธปืน ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 339 กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นเรื่องการเพิ่มโทษไม่ จะนำ ป.อ. มาตรา 51 มาเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุก 50 ปี เพื่อระวางโทษหนักขึ้นอีกกึ่งหนึ่งไม่ได้ จึงนำ ป.อ. มาตรา 340 ตรี มาปรับด้วยไม่ได้ จำเลยคงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4532/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีร่วมกันกักขังเรียกค่าไถ่แล้วฆ่า ศาลตัดสินจำคุกตลอดชีวิตและประหารชีวิตจำเลย
การที่จำเลยทั้งสามกับพวกนำผู้ตายไปกักขังเพื่อเรียกค่าไถ่แล้วพวกของจำเลยได้ฆ่าผู้ตายนั้น ถือได้ว่าการตายของผู้ตายเป็นผลมาจากการที่จำเลยทั้งสามกับพวกนำผู้ตายไปเพื่อเรียกค่าไถ่ การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 313 วรรคท้าย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2561)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2561)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4369/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ครอบครองเพื่อจำหน่าย พยายามจำหน่าย และขายวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ศาลฎีกาแก้เป็นจำคุกตลอดชีวิต
จำเลยที่ 1 ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลาง ส่วนเฟนิลโพรพาโนลามีนซึ่งเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ในประเภท 2 จำเลยที่ 1 ร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อขายและพยายามขายในวันเวลาเดียวกันต่อเนื่องกันและเป็นจำนวนเดียวกัน ซึ่งตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 4 ที่บังคับใช้ในขณะเกิดเหตุกำหนดคำนิยามของคำว่า "ขาย" ให้หมายความรวมถึงจำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ส่งมอบหรือมีไว้เพื่อขาย จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 เพียงบทเดียว
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559 มาตรา 3 (1) ให้ยกเลิก พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ซึ่งความผิดฐานขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามกฎหมายที่ใช้บังคับใหม่เป็นความผิดตามมาตรา 16 ที่ได้กำหนดโทษไว้ในมาตรา 118 ให้ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงสองล้านบาท ต่างจาก พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 89 ที่ให้ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท ในส่วนของโทษจำคุกกฎหมายที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิดเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 มากกว่า แต่ในส่วนโทษปรับกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 มากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ว่าในทางใด ตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคแรก กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559 มาตรา 3 (1) ให้ยกเลิก พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ซึ่งความผิดฐานขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามกฎหมายที่ใช้บังคับใหม่เป็นความผิดตามมาตรา 16 ที่ได้กำหนดโทษไว้ในมาตรา 118 ให้ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงสองล้านบาท ต่างจาก พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 89 ที่ให้ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท ในส่วนของโทษจำคุกกฎหมายที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิดเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 มากกว่า แต่ในส่วนโทษปรับกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 มากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ว่าในทางใด ตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคแรก กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราจนถึงแก่ความตาย ศาลฎีกาแก้เป็นประหารชีวิต ลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต
ความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงและเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำถึงแก่ความตาย ตาม ป.อ. มาตรา 277 ตรี (2) เป็นความผิดที่เป็นผลมาจากการกระทำความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคสาม (เดิม) ทำให้ผู้กระทำความผิดต้องรับโทษหนักขึ้น ไม่ว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นหรือไม่ก็ตาม ผลของการกระทำความผิดนั้นซึ่งได้แก่ความตายของผู้ถูกกระทำจึงต้องเป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ ตาม ป.อ. มาตรา 63
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ร่วมกันให้ผู้ตายเสพ 3,4 เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน (ยาอี) คีตามีน (ยาเค) และไนเมตาซีแพม (ยาไฟว์) เข้าสู่ร่างกายเพื่อให้ผู้ตายมึนเมาเคลิบเคลิ้มหรือประสาทหลอน จนอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนต่อการกระทำใด ๆ ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ได้ ย่อมเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายผู้ตายตาม ป.อ. มาตรา 1 (6) และเป็นการกระทำที่รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในการร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้ตาย ไม่อาจแยกออกจากกันเป็นคนละส่วนได้ และการที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายผู้ตายด้วยการนำสารเสพติดเข้าสู่ร่างกายของผู้ตายจนเกินขนาด แล้วผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายในขณะที่สภาพร่างกายของผู้ตายอ่อนแออย่างมากจากพิษของสารเสพติดย่อมเรียกได้ว่าเป็นการกระทำต่อผู้ตายทั้งการใช้กำลังประทุษร้ายและการข่มขืนกระทำชำเราด้วยความรุนแรงเกินกว่าที่ร่างกายของผู้ตายจะทนทานได้ จึงต้องถือว่าความตายของผู้ตายเป็นผลโดยตรงและเป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้จากการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ร่วมกันให้ผู้ตายเสพ 3,4 เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน (ยาอี) คีตามีน (ยาเค) และไนเมตาซีแพม (ยาไฟว์) เข้าสู่ร่างกายเพื่อให้ผู้ตายมึนเมาเคลิบเคลิ้มหรือประสาทหลอน จนอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนต่อการกระทำใด ๆ ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ได้ ย่อมเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายผู้ตายตาม ป.อ. มาตรา 1 (6) และเป็นการกระทำที่รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในการร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้ตาย ไม่อาจแยกออกจากกันเป็นคนละส่วนได้ และการที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายผู้ตายด้วยการนำสารเสพติดเข้าสู่ร่างกายของผู้ตายจนเกินขนาด แล้วผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายในขณะที่สภาพร่างกายของผู้ตายอ่อนแออย่างมากจากพิษของสารเสพติดย่อมเรียกได้ว่าเป็นการกระทำต่อผู้ตายทั้งการใช้กำลังประทุษร้ายและการข่มขืนกระทำชำเราด้วยความรุนแรงเกินกว่าที่ร่างกายของผู้ตายจะทนทานได้ จึงต้องถือว่าความตายของผู้ตายเป็นผลโดยตรงและเป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้จากการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4