พบผลลัพธ์ทั้งหมด 119 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2199/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าบำเหน็จนายหน้า: ตกลงโดยปริยาย & ศาลกำหนดจำนวนได้เมื่อตกลงกันไม่ชัดเจน
จำเลยให้โจทก์เป็นนายหน้าขายที่ดินของจำเลย โดยมีข้อตกลงว่าหากโจทก์จัดการขายที่ดินได้ราคาเกิน 2,000,000 บาท แล้ว ส่วนที่เกินนั้นจำเลยยินยอมให้โจทก์เป็นค่าบำเหน็จทั้งสิ้น จำเลยขายที่ดินได้ในราคา 2,000,000 บาท การที่โจทก์ช่วยติดต่อขายที่ดินของจำเลยสำเร็จย่อมเป็นกิจการที่ทำให้แก่กันโดยพฤติการณ์เป็นที่คาดหมายได้ว่า ย่อมทำให้แต่เพื่อจะเอาค่าบำเหน็จ จึงถือได้ว่าได้ตกลงกันโดยปริยายว่ามีค่าบำเหน็จนายหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 846 วรรคแรกส่วนข้อตกลงให้เงินส่วนที่เกินจากราคาที่ดินที่จำเลยกำหนดไว้2,000,000 บาท เป็นค่าบำเหน็จแก่โจทก์นั้นเป็นข้อตกลงพิเศษส่วนหนึ่งต่างหากแยกจากกัน แม้จำเลยจะขายที่ดินให้แก่ ฉ.ในราคา 2,000,000 บาทก็ตาม โจทก์ก็ยังมีสิทธิได้ค่าบำเหน็จแต่เมื่อไม่ได้ความว่า ค่าบำเหน็จนั้นตกลงกันเป็นจำนวนเท่าใด และไม่ปรากฏธรรมเนียมในการนี้โดยชัดแจ้ง ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดให้เท่าที่กำหนดได้ตามสมควร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือขอผัดชำระหนี้ถือเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ แม้ไม่ได้ระบุจำนวนเงินที่ชัดเจน ฟ้องไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ซึ่ง เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดและจำเลยที่2 ซึ่ง เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 ในฐานะ ผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท รับผิดใช้ เงินตาม เช็ค ต่อมา ส. ในฐานะ หุ้นส่วนซึ่ง เป็นบุตรของจำเลยที่ 2 ผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 คนใหม่ได้ ทำหนังสือถึง โจทก์มีใจความว่า "เรียนคุณหมอ สุชาติ ที่นับถือ ตาม ที่คุณหมอให้ผมติดต่อ กับคุณพ่อผม (จำเลยที่ 2) นั้น ผมได้ ถาม แล้ว แก บอกให้ผมเรียนคุณหมอ ว่าแก ไม่มีเจตนาจะคิดโกงแต่ อย่างใด แต่เป็นเพราะว่าในปีนี้ทั้งปีชักหน้าไม่ถึงหลังตลอด เวลา อยากจะขอความกรุณาคุณ หมอ ช่วย ผ่อนผันให้จนกว่าจะส่งงาน เพราะในขณะนี้ แก ไม่มีเงินจริง ๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดผมขอยืนยันว่าเป็นความจริง หวังว่าคงจะได้ รับความกรุณาจากคุณหมอ เช่นเคย" ท้ายข้อความเป็น คำลงท้ายของหนังสือและลงลายมือชื่อของ ส. ส่วนตอนต้น ข้อความลงวันเดือน ปีที่ทำหนังสือไว้ด้วย ดังนี้ เอกสารดังกล่าวเป็นหนังสือ ขอผัดชำระหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 เพราะมีข้อความที่กล่าวถึง ระยะเวลา ที่ขอให้โจทก์ผ่อนผันให้ชำระหนี้ดังกล่าวได้จนกว่าจะส่งมอบงาน ซึ่ง เป็นกิจการของห้างจำเลยที่ 1 เอกสารดังกล่าวจึงเป็น หนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลยที่ 1 แม้มิได้ระบุว่ามีหนี้จำนวนเท่าใด แต่ เมื่ออ่านข้อความทั้งหมด พอเข้าใจได้ ว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับ ว่าเป็นหนี้โจทก์ตาม จำนวนที่โจทก์แจ้งไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกเงินที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลแทนโจทก์ ศาลฎีกาชี้ว่าฟ้องต้องระบุจำนวนครั้งและจำนวนเงินที่ชัดเจน
โจทก์มอบหมายให้จำเลยซึ่งเป็นทนายความของโจทก์ในคดีก่อนมีอำนาจรับเงินจากจำเลยในคดีนั้นแทนโจทก์ได้เมื่อจำเลยรับเงินจาก ธ. ซึ่งชำระหนี้แก่โจทก์แทนจำเลยในคดีดังกล่าว เงินที่จำเลยรับไว้จึงตกเป็นของโจทก์จำเลยเบียดบังเอาเงินนั้นไปเป็นประโยชน์ส่วนตนโดยทุจริตการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานยักยอก โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอกโดยบรรยายฟ้องว่าระหว่างวันเวลาที่ระบุไว้จำเลยรับเงินจาก ธ. ซึ่งชำระหนี้แก่โจทก์หลายครั้งรวมเป็นเงิน180,000 บาท และจำเลยเบียดบังยักยอกเงินดังกล่าวไปโดยทุจริตมิได้บรรยายให้ปรากฏว่าจำเลยรับเงินกี่ครั้งครั้งละเท่าใด ดังนี้ แม้จะพิจารณา ได้ความว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกันศาลก็จะเรียงกระทงลงโทษจำเลยไม่ได้ เพราะเป็นการนอกเหนือไปจากฟ้อง ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225
ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอกโดยบรรยายฟ้องว่าระหว่างวันเวลาที่ระบุไว้จำเลยรับเงินจาก ธ. ซึ่งชำระหนี้แก่โจทก์หลายครั้งรวมเป็นเงิน180,000 บาท และจำเลยเบียดบังยักยอกเงินดังกล่าวไปโดยทุจริตมิได้บรรยายให้ปรากฏว่าจำเลยรับเงินกี่ครั้งครั้งละเท่าใด ดังนี้ แม้จะพิจารณา ได้ความว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกันศาลก็จะเรียงกระทงลงโทษจำเลยไม่ได้ เพราะเป็นการนอกเหนือไปจากฟ้อง ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกเงินที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลแทนโจทก์ โดยฟ้องไม่ชัดเจนเรื่องจำนวนครั้งและจำนวนเงิน
โจทก์มอบหมายให้จำเลยซึ่งเป็นทนายความของโจทก์ในคดีก่อนมีอำนาจรับเงินจากจำเลยในคดีนั้นแทนโจทก์ได้เมื่อจำเลยรับเงินจาก ธ. ซึ่งชำระหนี้แก่โจทก์แทนจำเลยในคดีดังกล่าว เงินที่จำเลยรับไว้จึงตกเป็นของโจทก์จำเลยเบียดบังเอาเงินนั้นไปเป็นประโยชน์ส่วนตนโดยทุจริตการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานยักยอก โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอกโดยบรรยายฟ้องว่าระหว่างวันเวลาที่ระบุไว้จำเลยรับเงินจาก ธ. ซึ่งชำระหนี้แก่โจทก์หลายครั้งรวมเป็นเงิน 180,000 บาท และจำเลยเบียดบังยักยอกเงินดังกล่าวไปโดยทุจริตมิได้บรรยายให้ปรากฏว่าจำเลยรับเงินกี่ครั้งครั้งละเท่าใด ดังนี้ แม้จะพิจารณา ได้ความว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกันศาลก็จะเรียงกระทงลงโทษจำเลยไม่ได้ เพราะเป็นการนอกเหนือไปจากฟ้อง ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225.
ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอกโดยบรรยายฟ้องว่าระหว่างวันเวลาที่ระบุไว้จำเลยรับเงินจาก ธ. ซึ่งชำระหนี้แก่โจทก์หลายครั้งรวมเป็นเงิน 180,000 บาท และจำเลยเบียดบังยักยอกเงินดังกล่าวไปโดยทุจริตมิได้บรรยายให้ปรากฏว่าจำเลยรับเงินกี่ครั้งครั้งละเท่าใด ดังนี้ แม้จะพิจารณา ได้ความว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกันศาลก็จะเรียงกระทงลงโทษจำเลยไม่ได้ เพราะเป็นการนอกเหนือไปจากฟ้อง ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2196/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาเรื่องค่าสินไหมทดแทน: ศาลไม่อนุญาตหากเป็นการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์โดย นำค่าซากรถไปหักจากค่าซ่อมรถแล้วพิพากษาให้จำเลยชำระในส่วนที่เหลือ คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จะขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขคำพิพากษาโดย ให้นำค่าซากรถไปหักออกจากราคารถมิได้เพราะเป็นการแก้ไขจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จะพึงเรียกได้มิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อย ตาม ความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จในคดีแพ่ง: ข้อสำคัญในคดีคือการยืนยันการกู้ยืมเงิน และจำนวนเงินที่กู้จริง
ในคดีก่อน ฉ. ฟ้องโจทก์เรียกเงินตามสัญญากู้ จำเลยเบิกความเป็นพยานให้ ฉ.ว่า รู้เห็นการกู้ยืมเงิน การรับเงินและลงชื่อเป็นพยานด้วยเมื่อโจทก์เบิกความยอมรับว่าได้กู้เงินไปตามสัญญากู้ในคดีก่อนจริงเพียงแต่อ้างว่าได้ชำระหนี้ไปบางส่วนแล้ว คำเบิกความของจำเลยหากจะเป็นเท็จก็ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี และแม้โจทก์จะมิได้กู้เงินถึงจำนวนตามฟ้อง แต่คำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนก็มิได้ยืนยันว่าโจทก์กู้เงิน ฉ.ไปจำนวนเท่าใดเพราะไม่ได้ร่วมนับเงินที่โจทก์กู้ไปด้วย คำเบิกความของจำเลยในส่วนนี้จึงมิใช่ข้อสำคัญในคดีเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอในคดีแรงงาน ศาลต้องยึดตามจำนวนที่ระบุในคำฟ้อง
แม้ศาลแรงงานจะฟังว่าจำเลยต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงิน 64,285.71 บาทก็ตาม แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยจ่ายเงินดังกล่าวเพียง 56,000 บาท ดังนั้นการที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินนั้นแก่โจทก์ 64,285.71 บาท โดยไม่ได้อ้างเหตุอันสมควรเพื่อความเป็นธรรมแต่อย่างใด จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอในคดีแรงงาน ศาลต้องยึดตามจำนวนที่ระบุในคำฟ้อง
แม้ศาลแรงงานจะฟังว่าจำเลยต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงิน 64,285.71 บาทก็ตาม แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยจ่ายเงินดังกล่าวเพียง 56,000 บาท ดังนั้นการที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินนั้นแก่โจทก์ 64,285.71 บาทโดยไม่ได้อ้างเหตุอันสมควรเพื่อความเป็นธรรมแต่อย่างใด จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3967/2529 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์คดีเช็คและฉ้อโกง: จำนวนเงิน, ปัญหาข้อเท็จจริง, และความชัดเจนของฟ้อง
โจทก์ฟ้องข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 ในเช็คแต่ละฉบับเป็นความผิดแต่ละกระทงเรียงกันไป การพิจารณาว่ากระทงใดต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ ต้องพิจารณาถึงจำนวนเงินที่ระบุในเช็คแต่ละฉบับว่าหากศาลลงโทษปรับสองเท่าของจำนวนเงินที่ระบุในเช็คเพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแล้วเกินกว่าหกหมื่นบาทหรือไม่ ถ้าไม่เกินกว่าหกหมื่นบาท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง กรณีก็ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ ที่แก้ไขแล้ว จะนำจำนวนเงินตามที่ระบุในเช็คฉบับอื่นแม้จะลงวันสั่งจ่ายวันเดียวกันมารวมคำนวณด้วยหาได้ไม่
ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ที่แก้ไขแล้ว
โจทก์ได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับเช็คที่นำมาฟ้องเป็นจำนวนหลายสิบฉบับ และได้บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนว่า เช็คแต่ละฉบับนั้นเป็นของธนาคารใดพร้อมกับระบุสาขาของธนาคาร อันถือว่าเป็นสถานที่ที่เกิดการกระทำความผิดเนื่องจากธนาคารแห่งนั้นปฏิเสธการจ่ายเงินไว้ด้วย จึงหาจำเป็นที่จะต้องระบุแขวงและเขตอีกไม่การที่โจทก์นำเอาชื่อแขวงและเขตที่เกิดการกระทำความผิดไปกล่าวรวมไว้ในตอนท้ายเพื่อบอกสถานที่เกิดเหตุย่อมเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ที่แก้ไขแล้ว
โจทก์ได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับเช็คที่นำมาฟ้องเป็นจำนวนหลายสิบฉบับ และได้บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนว่า เช็คแต่ละฉบับนั้นเป็นของธนาคารใดพร้อมกับระบุสาขาของธนาคาร อันถือว่าเป็นสถานที่ที่เกิดการกระทำความผิดเนื่องจากธนาคารแห่งนั้นปฏิเสธการจ่ายเงินไว้ด้วย จึงหาจำเป็นที่จะต้องระบุแขวงและเขตอีกไม่การที่โจทก์นำเอาชื่อแขวงและเขตที่เกิดการกระทำความผิดไปกล่าวรวมไว้ในตอนท้ายเพื่อบอกสถานที่เกิดเหตุย่อมเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3967/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์คดีเช็คและการฉ้อโกง: จำนวนเงิน, ข้อหา, และความชัดเจนของฟ้อง
โจทก์ฟ้องข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 ในเช็คแต่ละฉบับเป็นความผิดแต่ละกระทงเรียงกันไป การพิจารณาว่ากระทงใดต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ ต้องพิจารณาถึงจำนวนเงินที่ระบุในเช็คแต่ละฉบับว่าหากศาลลงโทษปรับสองเท่าของจำนวนเงินที่ระบุในเช็คเพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแล้วเกินกว่าหกหมื่นบาทหรือไม่ ถ้าไม่เกินกว่าหกหมื่นบาท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง กรณีก็ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ ที่แก้ไขแล้ว จะนำจำนวนเงินตามที่ระบุในเช็คฉบับอื่นแม้จะลงวันสั่งจ่ายวันเดียวกันมารวมคำนวณด้วยหาได้ไม่
ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ที่แก้ไขแล้ว
โจทก์ได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับเช็คที่นำมาฟ้องเป็นจำนวนหลายสิบฉบับ และได้บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนว่า เช็คแต่ละฉบับนั้นเป็นของธนาคารใดพร้อมกับระบุสาขาของธนาคาร อันถือว่าเป็นสถานที่ที่เกิดการกระทำความผิดเนื่องจากธนาคารแห่งนั้นปฏิเสธการจ่ายเงินไว้ด้วย จึงหาจำเป็นที่จะต้องระบุแขวงและเขตอีกไม่การที่โจทก์นำเอาชื่อแขวงและเขตที่เกิดการกระทำความผิดไปกล่าวรวมไว้ในตอนท้ายเพื่อบอกสถานที่เกิดเหตุย่อมเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ที่แก้ไขแล้ว
โจทก์ได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับเช็คที่นำมาฟ้องเป็นจำนวนหลายสิบฉบับ และได้บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนว่า เช็คแต่ละฉบับนั้นเป็นของธนาคารใดพร้อมกับระบุสาขาของธนาคาร อันถือว่าเป็นสถานที่ที่เกิดการกระทำความผิดเนื่องจากธนาคารแห่งนั้นปฏิเสธการจ่ายเงินไว้ด้วย จึงหาจำเป็นที่จะต้องระบุแขวงและเขตอีกไม่การที่โจทก์นำเอาชื่อแขวงและเขตที่เกิดการกระทำความผิดไปกล่าวรวมไว้ในตอนท้ายเพื่อบอกสถานที่เกิดเหตุย่อมเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม