พบผลลัพธ์ทั้งหมด 938 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3006/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารสิทธิปลอมและฉ้อโกงโดยการนำใบบันทึกรายการขายปลอมไปขอรับเงินจากธนาคาร
ร้านค้าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นสมาชิกบัตรเครดิตของธนาคาร ผู้เสียหายรับมอบเครื่องรูดบัตรไปใช้ที่ร้านจำเลยที่ 1 ซึ่งในทางปฏิบัติเมื่อมีลูกค้าถือบัตรเครดิตมาซื้อสินค้า จำเลยที่ 2 จะต้องเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของบัตรและของตัวลูกค้าผู้ถือบัตรนั้น ถ้าผู้ถือบัตรเป็นชาวต่างชาติก็ต้องตรวจสอบหนังสือเดินทางด้วย เมื่อเห็นว่าเชื่อถือได้จึงนำบัตรเครดิตเข้าเครื่องรูดบัตร ทำใบบันทึกรายการขายออกมาให้ลูกค้าลงลายมือชื่อรับรองซึ่งต้องเหมือนกับลายมือชื่อตัวอย่างที่ปรากฏบนบัตรเครดิตด้วยและลูกค้านั้นต้องเป็นเจ้าของบัตรที่นำมาใช้เองจะมอบให้คนอื่นนำมาใช้ไม่ได้ การที่จำเลยทั้งสองนำใบบันทึกรายการขาย 26 ใบ ทะยอยส่งไปขอรับเงินจากผู้เสียหายย่อมเป็นการรับรองอยู่ในตัวว่า จำเลยที่ 2 ได้พบลูกค้าผู้นำบัตรเครดิตมาใช้และตรวจสอบความถูกต้องในเบื้องต้นแล้ว จำเลยทั้งสองจะอ้างถึงความไม่รู้ว่าเป็นบัตรเครดิตปลอมและโยนความรับผิดไปให้ผู้เสียหายไม่ได้เพราะเป็นคนละขั้นตอนกันทั้งผู้เสียหายก็ไม่มีโอกาสพบปะลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตเหมือนจำเลยที่ 2 การที่ลูกค้านำบัตรเครดิตปลอมมาใช้นั้นหากมีปะปนหลงเข้ามานาน ๆ ครั้ง ก็คงไม่ทำให้เข้าใจว่าเป็นการทุจริต แต่การที่จำเลยทั้งสองนำใบบันทึกการขายไปขอรับเงินโดยปะปนไปกับบันทึกรายการขายอื่น ๆ จำนวนมากถึง 26 ฉบับภายในเวลาเพียง 20 กว่าวัน และทำให้ได้รับเงินไปเป็นจำนวนมากนั้นนับว่าเป็นพิรุธ และบัตรเครดิตแต่ละใบผู้ถือบัตรล้วนเป็นชาวต่างชาติทั้งสิ้น ซึ่งเกือบทั้งหมดไม่เคยเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร จึงไม่น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2 จะได้เคยพบกับผู้ถือบัตรและมีการตรวจสอบบัตรยอมให้ซื้อสินค้าไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ ประกอบกับใบบันทึกรายการขายทั้ง 26 ฉบับ มีลักษณะผิดปกติเป็นพิรุธ โดยตัวอักษรในใบบันทึกการขายทับกัน และมีรอยต่อเป็นรอยเส้นแบ่งครึ่งระหว่างข้อความส่วนบนที่เป็นชื่อและหมายเลขบัตรเครดิตของผู้ถือบัตรกับข้อความส่วนล่างที่เป็นชื่อร้านค้าคล้ายกับมีการรูดบัตร 2 ครั้ง ยิ่งทำให้เชื่อว่าจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าใบบันทึกการขายทั้ง 26 ฉบับ เป็นเอกสารสิทธิปลอม แต่ก็ยังนำไปใช้แสดงขอรับเงินจากผู้เสียหายโดยทุจริต จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมและฉ้อโกงทั้งสองฐาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1374/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดกรรมเดียวฐานลักทรัพย์ ปลอมแปลงเอกสาร และฉ้อโกง ศาลฎีกายกประเด็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
พฤติการณ์ที่จำเลยลักสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของ ป. ไป แล้วปลอมลายมือชื่อของ ป. ในใบถอนเงินของธนาคารโจทก์ร่วม แล้วนำสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ไปแสดงต่อพนักงานของโจทก์ร่วมและได้รับเงินมานั้น เป็นการกระทำที่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อจะให้ได้เงินจากโจทก์ร่วมเป็นหลัก ซึ่งแม้การกระทำนั้น ๆ จะเป็นความผิดแต่ก็เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาได้เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันไม่ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยลักสมุดเงินฝากของ ป. และปลอมลายมือชื่อของ ป. ในใบถอนเงินของโจทก์ร่วม ถอนเงินออกจากบัญชีของ ป. เป็นเงินจำนวนมากถึง 900,000 บาทนับว่าเป็นพฤติการณ์ร้ายแรง ทั้งปรากฏตามรายงานการสืบเสาะและพินิจว่าจำเลยเคยลักเงินของเพื่อนและมารดาของจำเลยมาหลายครั้ง แต่ไม่มีผู้ใดเอาเรื่อง จำเลยจึงไม่ถูกดำเนินคดี แม้จำเลยจะชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ร่วมก็เป็นจำนวนเล็กน้อยเมื่อเทียบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น พฤติการณ์แห่งคดียังไม่เป็นการสมควรรอการลงโทษจำคุกให้จำเลย
จำเลยลักสมุดเงินฝากของ ป. และปลอมลายมือชื่อของ ป. ในใบถอนเงินของโจทก์ร่วม ถอนเงินออกจากบัญชีของ ป. เป็นเงินจำนวนมากถึง 900,000 บาทนับว่าเป็นพฤติการณ์ร้ายแรง ทั้งปรากฏตามรายงานการสืบเสาะและพินิจว่าจำเลยเคยลักเงินของเพื่อนและมารดาของจำเลยมาหลายครั้ง แต่ไม่มีผู้ใดเอาเรื่อง จำเลยจึงไม่ถูกดำเนินคดี แม้จำเลยจะชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ร่วมก็เป็นจำนวนเล็กน้อยเมื่อเทียบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น พฤติการณ์แห่งคดียังไม่เป็นการสมควรรอการลงโทษจำคุกให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.จัดหางานฯ มิใช่ความผิดฉ้อโกง อัยการขอคืนเงินผู้เสียหายไม่ได้
พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา91 ตรี มิใช่ความผิดฐานฉ้อโกงตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 43 และ พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ก็มิได้บัญญัติให้พนักงานอัยการมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหาย พนักงานอัยการจึงไม่อาจขอให้ศาลบังคับให้จำเลยคืนเงินให้แก่ผู้เสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศ ไม่ใช่ความผิดฐานฉ้อโกง และไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายได้
แม้บทบัญญัติมาตรา 91 ตรี แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ ซึ่งระบุให้ผู้ที่หลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานหรือสามารถส่งไปฝึกงานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงนั้น จะมีถ้อยคำว่า "หลอกลวงผู้อื่น" ก็ตาม แต่ก็มิใช่ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 และพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ ก็มิได้ให้พนักงานอัยการโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหาย โจทก์จึงไม่อาจขอให้ศาลบังคับให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.จัดหางานฯ ไม่ใช่ความผิดฉ้อโกง สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่อาจใช้ได้
ความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี แม้จะมีคำว่า "หลอกลวงผู้อื่น" แต่ก็มิใช่ความผิดฐานฉ้อโกงตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43 และพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ. 2528 ก็มิได้บัญญัติให้พนักงานอัยการโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหาย โจทก์จึงไม่อาจขอให้ศาลบังคับให้จำเลยคืนเงินให้แก่ผู้เสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินให้ผู้เสียหายไม่ถือเป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญาฐานฉ้อโกงยังไม่ระงับ
ฎีกาของจำเลยกล่าวแต่เพียงว่าจำเลยใช้เงินคืนให้แก่ผู้เสียหายเพื่อแลกกับอิสรภาพ เมื่อผู้เสียหายยอมรับเงินคืนจากจำเลยย่อมเชื่อหรือสันนิษฐานได้ว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลยเท่านั้น จำเลยมิได้อ้างว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลย ทั้งผู้เสียหายก็เบิกความว่ายังติดใจให้ดำเนินคดีแก่จำเลยอยู่เพราะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี อันเป็นการยืนยันว่าผู้เสียหายไม่ได้ยอมความกับจำเลย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงจึงไม่ระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความระหว่างผู้เสียหายและจำเลยในคดีฉ้อโกง ทำให้สิทธิฟ้องอาญาและคำขอเรียกค่าเสียหายในคดีแพ่งระงับ
ผู้เสียหายและจำเลยยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของพนักงานอัยการโจทก์ที่ให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายตกไปด้วย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงและปลอมแปลงเอกสารสิทธิ ยอมความได้เฉพาะความผิดฐานฉ้อโกง แต่ความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารสิทธิไม่ระงับ
ผู้เสียหายยื่นคำร้องว่า ผู้เสียหายได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งจำนวน103,478 บาท จากฝ่ายจำเลยแล้วจึงไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 อีกต่อไปถือได้ว่าผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 ยอมความกันในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) และย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 1 คืนเงินจำนวน 100,000 บาท แก่ผู้เสียหายตกไปด้วย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 ยอมความกันในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวแล้ว มีผลเพียงแต่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) แต่ความผิดฐานร่วมกันปลอมและใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัวหาได้ระงับไปด้วยไม่
ผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 ยอมความกันในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวแล้ว มีผลเพียงแต่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) แต่ความผิดฐานร่วมกันปลอมและใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัวหาได้ระงับไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับคดีอาญาเนื่องจากมีการยอมความกันในความผิดฐานฉ้อโกง และการพิจารณาโทษฐานปลอมแปลงเอกสาร
หลังจากที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีคำพิพากษา ผู้เสียหายได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งจากฝ่ายจำเลยแล้วจึงไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 อีกต่อไป ถือได้ว่าผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 ยอมความกันในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) และย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 1 คืนเงินแก่ผู้เสียหายตกไปด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8396/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงด้วยการใช้โฉนดที่ดินที่ถูกเพิกถอนเป็นประกันหนี้
จำเลยทั้งสองขอกู้ยืมเงินโจทก์โดยใช้โฉนดที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งถูกเพิกถอนแล้วให้ยึดถือเป็นประกัน โดยจำเลยทั้งสองปกปิดข้อเท็จจริงนี้ไว้ เมื่อหนี้ถึงกำหนดจำเลยทั้งสองเสนอใช้ที่ดินตามโฉนดที่ดินดังกล่าวชำระแทนเงินกู้ โดยจำเลยที่ 1 ทำหนังสือมอบอำนาจให้ไปจดทะเบียน จำเลยที่ 2ทำหนังสือให้ความยินยอม ทั้งที่โฉนดที่ดินนั้นถูกเพิกถอนเพราะที่ดินตามโฉนดที่ดินถูกขายทอดตลาดและเจ้าพนักงานออกโฉนดที่ดินฉบับใหม่แล้ว เป็นเหตุให้โจทก์คืนหนังสือสัญญากู้ให้แก่จำเลย ดังนี้การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ปกปิดข้อความจริงจนโจทก์หลงเชื่อและได้เงินจากโจทก์ไปจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง