คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชอบด้วยกฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 507 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2373/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายและการบันดาลโทสะ: เจตนาฆ่าลดหย่อนโทษ
การกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนที่จะถือว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย สิทธิอันบุคคลมีอยู่นั้นต้องเป็นสิทธิที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ด้วย การที่จำเลยยิงผู้เสียหายขณะที่ผู้เสียหายลักลอบหลับนอน ร่วมประเวณีกับ ส. ซึ่งมิได้เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย และข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่ามีภยันอันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายต่อ ส. การกระทำดังกล่าวของจำเลยจึงไม่เป็นการป้องกันสิทธิโดยชอบ แต่แม้ว่าจำเลย และ ส. จะมิได้เป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย แต่จำเลยก็ได้อุปการะเลี้ยงดู ส. เยี่ยงภริยา ซึ่งผู้เสียหาย ก็รู้ถึงความสัมพันธ์ของจำเลยกับ ส. แต่ผู้เสียหายก็ยังไปลักลอบร่วมประเวณีกับ ส. การที่จำเลยยิงผู้เสียหายในขณะ ดังกล่าวจึงเป็นการบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยชอบด้วยกฎหมายเมื่อจำเลยทราบวันนัดแต่ไม่มาศาล และสงสัยว่าหลบหนี
ในวันนัดพิจารณาครั้งสุดท้ายวันที่ 15 มิถุนายน 2542ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมาศาล เมื่อเสร็จการพิจารณาศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 15 กรกฎาคม2542 ซึ่งเสมียนทนายได้ทราบวันนัดแล้ว การที่เสมียนทนายทราบวันนัดต้องถือว่าจำเลยทราบวันนัดนั้นด้วย เมื่อถึงวันนัดจำเลยไม่มาศาล เพียงแต่ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำร้องมาขอเลื่อนโดยอ้างว่าจำเลยไปต่างประเทศ เป็นกรณีที่จำเลยไม่มาศาลโดยไม่มีเหตุสมควร สงสัยได้ว่าจำเลยหลบหนีหรือจงใจไม่มาฟังคำพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นออกหมายจับและให้นัดฟังคำพิพากษาวันที่ 18 สิงหาคม 2542 เมื่อถึงวันนัดซึ่งพ้นหนึ่งเดือนแล้วไม่ได้ตัวจำเลยมาได้อ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลย จึงเป็นการอ่านคำพิพากษาโดยชอบและถือว่าจำเลยได้ฟังคำพิพากษาแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 182 วรรคสาม ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งนายกรัฐมนตรีชอบด้วยกฎหมายและเป็นที่สุด ไม่อุทธรณ์ได้ การร้องทุกข์และการใช้ดุลพินิจ
จำเลยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สั่งพักราชการโจทก์ซึ่งเป็นปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยปราศจากเหตุอันสมควรด้วยเหตุที่บริษัท ฮ. ฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และศาลชั้นต้นสั่งประทับฟ้องต่อมานายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้จำเลยยกเลิกคำสั่งพักราชการโจทก์และมีคำสั่งให้โจทก์กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิม ซึ่งขณะนั้นตำแหน่งยังว่างอยู่ จำเลยสามารถสั่งให้เข้ารับราชการได้ทันที แต่จำเลยกลับเสนอขอกำหนดตำแหน่งที่ปรึกษา เพื่อจะให้โจทก์เข้ารับราชการในตำแหน่งดังกล่าว และได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้ทบทวนคำสั่งทั้งที่จำเลยเป็นนักกฎหมายและมีประสบการณ์ในการทำงานราชการมามาก ทั้งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2535 มาตรา 126 วรรคสาม ระบุไว้ว่า เมื่อนายกรัฐมนตรีสั่งการแล้วจะอุทธรณ์ต่อไปอีกมิได้ จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเท่านั้นแม้คำสั่งดังกล่าวไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้ปฏิบัติไว้ แต่ก็ต้องปฏิบัติตามในเวลาอันสมควร ทั้งการปฏิบัติตามก็กระทำได้โดยง่าย แต่จำเลยกลับปล่อยให้ล่วงเลยถึง 7 เดือน จึงมีคำสั่งให้โจทก์กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิม ซึ่งเหลือเวลา 15 วัน โจทก์จะครบเกษียณอายุ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535มาตรา 130 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชา อ.ก.พ.จังหวัด อ.ก.พ. กรม อ.ก.พ. กระทรวง หรือ ก.พ. แล้วแต่กรณีแต่มาตรา 130 วรรคสอง กำหนดวิธีการร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ว่าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. เมื่อในขณะนั้นยังไม่มีกฎ ก.พ. ที่ออกตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมาบังคับใช้ จึงต้องบังคับตามมาตรา 137 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 โดยนำกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2518 ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ที่ใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับ กฎ ก.พ. ฉบับดังกล่าว ข้อ 7 วรรคสี่ กำหนดว่า ในกรณีที่เหตุร้องทุกข์เกิดจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัดให้ร้องต่อนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล กรณีเช่นนี้ให้ ก.พ. เป็นผู้พิจารณาเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการ การที่โจทก์ร้องทุกข์ต่อนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลและนายกรัฐมนตรีส่งคำร้องทุกข์ของโจทก์ให้ ก.พ. เป็นผู้พิจารณาจึงชอบด้วยกฎ ก.พ. ฉบับดังกล่าว
กฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ข้อ 3 กำหนดว่า การร้องทุกข์ในชั้นต้นร้องทุกข์ด้วยวาจาต่อผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งเสียก่อนหากได้รับคำชี้แจงไม่เป็นที่พอใจหรือไม่ได้รับคำชี้แจงภายในเจ็ดวันนับแต่วันร้องทุกข์ด้วยวาจา จึงให้ผู้ร้องทุกข์ยื่นเรื่องร้องทุกข์เป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาตามข้อ 7 การกำหนดให้ร้องทุกข์ด้วยวาจาก็เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาได้มีโอกาสชี้แจงทำความเข้าใจในชั้นต้นเสียก่อนนั่นเองมิได้ถือเป็นข้อสำคัญเคร่งครัด ประกอบกับโจทก์ไม่ได้พบกับจำเลยจึงไม่อาจจะร้องทุกข์ด้วยวาจาต่อจำเลย กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ข้อ 4 โจทก์มีสิทธิร้องทุกข์เป็นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีได้ตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ข้อ 7
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535มาตรา 130 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518)ข้อ 2 ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การร้องทุกข์ไว้ว่า เหตุร้องทุกข์ต้องเกิดจากผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์โดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์ให้ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนนั้น การปฏิบัติไม่ถูกต้องมีความหมายกว้าง รวมทั้งการใช้ดุลพินิจไม่ถูกต้องด้วย
อ.ก.พ. วิสามัญฯ ตั้งขึ้นโดย ก.พ. เพื่อทำการใด ๆ แทน ก.พ.ตามความในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2535 เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของ ก.พ. ประกอบกับกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ข้อ 7 วรรคสี่ กำหนดให้ ก.พ. เป็นผู้พิจารณาคำร้องทุกข์ของโจทก์เสนอความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการ อ.ก.พ.วิสามัญฯ มีหน้าที่เพียงแต่ช่วย ก.พ.พิจารณาคำร้องทุกข์เท่านั้นถ้ามติใดของ อ.ก.พ. วิสามัญฯ มีปัญหาเป็นที่สงสัยไม่ชัดเจนก็เสนอให้ก.พ. ผู้มีอำนาจหน้าที่ที่แท้จริงพิจารณาได้ ดังนั้น การทบทวนมติของอ.ก.พ. วิสามัญฯ จึงกระทำเพื่อให้เกิดความถูกต้องและยุติธรรม ก.พ. ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาคำร้องทุกข์ของโจทก์เสนอนายกรัฐมนตรีโดยตรงจึงมีอำนาจทบทวนมติของ อ.ก.พ. วิสามัญฯ ซึ่งได้รับมอบหมายให้พิจารณาคำร้องทุกข์ของโจทก์แทน ก.พ. ได้
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535มาตรา 129 วรรคสอง บัญญัติให้นำมาตรา 126 ตลอดจนหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. และมาตรา 127 มาใช้บังคับโดยอนุโลมมาตรา 126 วรรคสาม ซึ่งอนุโลมมาใช้ในการร้องทุกข์บัญญัติว่า ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีสั่งการหรือคณะรัฐมนตรีมีมติตามวรรคหนึ่งให้ผู้อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการหรือให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งของผู้บังคับบัญชา หรือให้ดำเนินการประการใด ให้กระทรวง ทบวง กรม ดำเนินการให้เป็นตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือมติคณะรัฐมนตรีและเมื่อนายกรัฐมนตรีสั่งการหรือคณะรัฐมนตรีมีมติตามวรรคหนึ่งเป็นประการใดแล้วจะอุทธรณ์ต่อไปอีกมิได้ คำสั่งของนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลผู้มีอำนาจบริหารสูงสุดจึงเป็นที่สุดจะอุทธรณ์คำสั่งหรือให้ทบทวนคำสั่งอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจค้นโดยมีหมายค้นชอบด้วยกฎหมายเมื่อดำเนินการโดยเจ้าพนักงานตามหมายและต่อหน้าบุคคลในครอบครัวที่ให้ความยินยอม
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 97และมาตรา 102 วรรคหนึ่ง การค้นโดยมีหมายค้นจะต้องดำเนินการโดยเจ้าพนักงานตำรวจผู้ถูกระบุชื่อในหมายค้น และทำการค้นต่อหน้าเจ้าของหรือบุคคลในครอบครัวของเจ้าของสถานที่ที่จะค้นหรือมิฉะนั้นก็ค้นต่อหน้าบุคคลอื่นสองคนที่ขอให้มาเป็นพยานก็ได้ร้อยตำรวจเอก พ. ผู้ถูกระบุชื่อในหมายค้นเป็นหัวหน้าในการตรวจค้นและทำการตรวจค้นต่อหน้าจำเลยซึ่งเป็นบุตรของเจ้าของบ้าน จึงถือว่าเป็นบุคคลในครอบครัวตามที่ระบุในมาตรา 102 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยจะยังไม่บรรลุนิติภาวะแต่ก็เป็นผู้เข้าใจในสาระของการกระทำและมีความรู้สึกผิดชอบเพียงพอที่จะให้ความยินยอมโดยชอบแล้ว ดังนั้น การค้นจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจค้นและจับกุมโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้หมายค้นผิดพลาด และการจับกุมเนื่องจากความผิดซึ่งหน้า
นายดาบตำรวจ ว. ค้นบ้านของจำเลยโดยมีหมายค้น ส่วนที่หมายค้นระบุเลขที่บ้านผิดไปหามีผลทำให้หมายค้นเสียไปไม่ ทั้งจำเลยก็ยอมให้ตรวจค้นบ้านโดยดี การค้นบ้านจำเลยจึงไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 35 ( เหตุเกิด 9 กรกฎาคม 2540 เวลากลางวัน )
นายดาบตำรวจ ว. กับพวกเห็นจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับ เมื่อเข้าไปตรวจค้นบ้านจำเลยก็พบเมทแอมเฟตามีนอีก 1 เม็ด การกระทำของนายดาบตำรวจ ว. กับพวกกระทำต่อเนื่องกัน เมื่อพบเห็นจำเลยจำหน่าย และมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นความผิดซึ่งหน้าตาม ป.วิ.อ. มาตรา 80 จึงมีอำนาจจับจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายจับตามมาตรา 78 (1)
การตรวจค้นและจับจำเลยกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย พยานหลักฐานของโจทก์จึงมิใช่พยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8309/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความชอบด้วยกฎหมาย แม้ดอกเบี้ยสูง ศาลต้องพิพากษาตามข้อตกลง
การที่จำเลยยินยอมชำระเงินแก่โจทก์ตามฟ้อง เป็นการประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดี เมื่อปรากฏว่าอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องที่คู่ความตกลงกัน ไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดจากจำเลยได้ตามประกาศกระทรวงการคลังและสัญญากู้เงิน สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลชั้นต้นย่อมต้องพิพากษาไปตามนั้น จะใช้ดุลพินิจพิพากษาลดอัตราดอกเบี้ยที่คู่ความตกลงกันเพราะเหตุที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินส่วนย่อมมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7387/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้น: เหตุจำเป็นเร่งด่วน และความชอบด้วยกฎหมาย
การร้องขอให้ปล่อยตัวโดยอ้างว่าการคุมขังเป็นการมิชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 240 กำหนดให้ศาลไต่สวนพยานผู้ยื่นคำร้องฝ่ายเดียวโดยด่วนก่อน เมื่อศาลเห็นว่าคำร้องมีมูล ศาลจึงจะสั่งให้ผู้คุมขังนำตัวผู้ถูกคุมขังไปศาล และเป็นหน้าที่ของผู้คุมขังต้องแสดงหลักฐานให้เป็นที่พอใจของศาลว่าการคุมขังเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย มิฉะนั้นก็จะสั่งปล่อยตัวผู้ถูกคุมขัง ทั้งตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้กำหนดให้ผู้คุมขังต้องนำพยานมาสืบ เพียงแต่ให้ผู้คุมขังแสดงให้เป็นที่พอใจของศาลว่าเป็นการคุมขัง ที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น การไต่สวนและการระบุอ้างพยานในชั้นนี้จึงไม่จำต้องดำเนินการตามบทบัญญัติในกฎหมายวิธีสบัญญัติเรื่องการสืบพยานในคดี ดังนั้น แม้ผู้คุมขังมิได้ยื่นคำคัดค้านและมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้ก็ตาม ก็สามารถนำพยานเข้าไต่สวนและอ้างส่งเอกสารได้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 6 เป็นบทบัญญัติรับรองให้กฎหมาย กฎ หรือ ข้อบังคับที่มีอยู่ก่อนรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ถ้าโดยเนื้อหาไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้แล้วก็ยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไป มิใช่จะต้องมีการออกกฎหมายบัญญัติขึ้นใช้ในภายหลังจากรัฐธรรมนูญฯ มีผลบังคับใช้แล้วเท่านั้น ดังนั้น บทบัญญัติเรื่องการค้นในที่รโหฐานกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนย่อมยังใช้บังคับต่อไปได้
แม้พันตำรวจเอก ป. ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอห้างฉัตร กับพวกค้นบ้านผู้ต้องหาโดยไม่มีหมายค้นของศาลก็ตาม แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 238 ได้บัญญัติยกเว้นให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่ต้องมีหมายค้นของศาลได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งกฎหมายที่บัญญัติยกเว้นให้ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นของศาล ได้แก่ ป.วิ.อ. มาตรา 92
ก่อนจะค้นบ้านผู้ต้องหา เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ได้จับกุม ท. ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีนจำนวน 95 เม็ด ท. ให้การว่าซื้อเมทแอมเฟตามีนจากผู้ต้องหา ขณะจับกุม ท. เป็นเวลา 16 นาฬิกาเศษ การค้นในที่รโหฐานตามปกติจะต้องกระทำในเวลากลางวัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 96 ในขณะนั้นเป็นเวลาเย็นใกล้จะมืดแล้ว ประกอบกับยาเสพติดเป็นสิ่งของที่ขนย้ายหลบหนีได้ง่ายโดยเฉพาะในเวลากลางคืน นอกจากนั้นพันตำรวจเอก ป. ประจำอยู่ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอห้างฉัตรมิได้อยู่ใกล้กับศาลชั้นต้น การไปขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายค้นย่อมจะทำให้เนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้เมทแอมเฟตามีนของกลางอาจจะถูกโยกย้ายเสียก่อนแล้ว กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นให้ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นของศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 92 (4) ที่บัญญัติว่า เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าสิ่งของที่ได้มาโดยการกระทำผิดได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายเสียก่อน ดังนั้น การค้นบ้านผู้ต้องหาจึงชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาต้องกระทำต่อหน้าคู่ความที่มาศาล การอ่านให้เสมียนทนายความถือว่าชอบแล้ว
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 140(3) ศาลจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้าคู่ความที่มาศาลเท่านั้น
การที่คู่ความมาศาล หมายถึงการมาแสดงตัวต่อศาลโดยแถลงต่อศาลให้ทราบหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานศาลเพื่อให้แจ้งให้ศาลทราบในห้องพิจารณา มิใช่มาศาลแล้วแต่ไปอยู่ที่อื่น หรือมิได้แถลงต่อศาลหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานศาลดังกล่าว เมื่อคู่ความมาศาลพร้อมแล้วจึงจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้ากันได้ ไม่ใช่ถึงเวลานัดศาลต้องอ่านคำพิพากษาทันทีโดยที่ยังไม่ทราบว่ามีคู่ความมาศาลหรือไม่
ทนายความโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมาฟังคำพิพากษาศาลฎีกาและลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งศาล เสมียนทนายย่อมถือว่าเป็นตัวแทนของทนายความโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดี โดยมีตราประทับของงานรับฟ้องของศาลชั้นต้นลงวันเวลาในใบมอบฉันทะว่า 25 สิงหาคม 2540 เวลา 13.55นาฬิกา เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งแสดงตัวต่อศาล การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้เสมียนทนายความโจทก์ฟังฝ่ายเดียวและเสมียนทนายความโจทก์ลงลายมือชื่อไว้เช่นนี้ แม้จะอ่านล่าช้าไปบ้างเล็กน้อย ก็เป็นการอ่านคำพิพากษาโดยชอบแล้ว ส่วนการที่จำเลยมาแสดงตนว่าเป็นคู่ความหลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว ศาลชั้นต้นจึงให้จำเลยลงลายมือชื่อรับทราบการอ่านอีกชั้นหนึ่งโดยให้ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาต่อ กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นไม่จำต้องอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟังอีก
ถ้าจำเลยมาแสดงตัวเพื่อฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในวันเวลาที่ศาลชั้นต้นนัดไว้ แล้วศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟังหรือศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ยอมอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟัง จำเลยก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น เพื่อให้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟังอีกได้ ซึ่งถ้าศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านให้ฟังจึงจะถือได้ว่าเป็นการอ่านที่ไม่ชอบ
ฎีกาโต้แย้งประเด็นในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งถึงที่สุดแล้วศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาชอบด้วยกฎหมายเมื่อคู่ความมาศาลแสดงตัว และการอ่านคำพิพากษาต่อหน้าตัวแทนที่ได้รับมอบฉันทะ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 140(3) ศาลจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้าคู่ความที่มาศาลเท่านั้น การที่คู่ความมาศาลหมายถึงการมาแสดงตัวต่อศาลโดยแถลงต่อศาลให้ทราบหรือแจ้งเจ้าพนักงานศาล เพื่อให้แจ้งให้ศาลทราบในห้องพิจารณา เมื่อคู่ความมาศาลพร้อมแล้วจึงจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้ากันได้ ไม่ใช่ถึงเวลานัดศาลต้องอ่านคำพิพากษาทันทีโดยที่ยังไม่ทราบว่า มีคู่ความมาศาลหรือไม่ ทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมาฟังคำพิพากษาแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยแสดงตัวต่อศาลการที่ศาลอ่านคำพิพากษาให้เสมียนทนายโจทก์ฟัง ก็เป็นการอ่านคำพิพากษาโดยชอบจำเลยแสดงตนเมื่ออ่านคำพิพากษาแล้ว ศาลอาจให้จำเลยรับทราบการอ่านโดยไม่จำต้องอ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6535-6775/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มติที่ประชุมใหญ่สหภาพแรงงานชอบด้วยกฎหมาย แม้มติไม่มีรายละเอียดข้อเรียกร้อง ยื่นข้อเรียกร้องภายในระยะเวลาสมควร
มติของที่ประชุมใหญ่ที่ให้ยื่นข้อเรียกร้อง แม้จะไม่มีรายละเอียด ต่าง ๆ เกี่ยวกับข้อเรียกร้องนั้น ก็ยังเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมายเพราะพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มิได้บัญญัติบังคับให้มติที่ประชุมใหญ่จะต้องมีรายละเอียดเช่นว่านั้น คำกล่าวของประธานในที่ประชุมสหภาพที่กล่าวในทำนองว่าสหภาพจำเป็นที่จะต้องยื่นข้อเรียกร้องก่อนสิ้นปีนั้นเป็นเพียงคำกล่าวชี้แจงแสดงเหตุผลของประธานต่อที่ประชุมใหญ่เท่านั้นหาได้หมายความว่าให้ที่ประชุมลงมติว่าจะให้ยื่นข้อเรียกร้องภายในกำหนดสิ้นปีด้วย เมื่อที่ประชุมใหญ่มีมติให้ยื่นข้อเรียกร้อง และสหภาพแรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลยภายในระยะเวลาสมควรแล้ว แม้จะล่วงเลยวันสิ้นปีก็ตาม ก็ถือเป็นการยื่นข้อเรียกร้องโดยมติของที่ประชุมใหญ่
of 51