คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชำระบัญชี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 141 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4260/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน, หนี้ส่วนแบ่งกำไร, และความรับผิดของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด
การที่บัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้ชำระบัญชีจัดทำขึ้นนั้น จัดทำขึ้นจากหลักฐานไม่ตรงกับความเป็นจริง แม้เมื่อผู้ชำระบัญชีจัดทำบัญชีเสร็จ เจ้าหนี้ทั้งสองมิได้โต้แย้งบัญชีดังกล่าวต่อศาลและเมื่อผู้ชำระบัญชีขอให้ห้างฯ ล้มละลาย ลูกหนี้ก็มิได้คัดค้านว่าห้างฯมีกำไร ทั้งยังร่วมกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของห้างฯ ร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามห้างฯ ก็ตาม แต่เจ้าหนี้ทั้งสองมิได้รับรองบัญชีดังกล่าว คงมีแต่ผู้ชำระบัญชีและผู้สอบบัญชีฝ่ายลูกหนี้ลงชื่อรับรอง การที่เจ้าหนี้ทั้งสองมิได้รับรองบัญชีดังกล่าวย่อมไม่เป็นการตัดสิทธิเจ้าหนี้ทั้งสองที่จะกล่าวอ้างในคดีนี้ว่าบัญชีที่ผู้ชำระบัญชีจัดทำขึ้นไม่ถูกต้อง และในคดีที่ผู้ชำระบัญชีร้องขอให้ห้างฯ ล้มละลายนั้น พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 88 วรรคสอง บัญญัติว่าเมื่อผู้ชำระบัญชีมีคำร้องขอ ให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดทันที เจ้าหนี้ทั้งสองจึงไม่มีโอกาสคัดค้าน ส่วนที่เจ้าหนี้ไปร่วมกับเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามห้างฯ ก็ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยชอบเพื่อเยียวยาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่ห้างฯ มีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ทั้งสอง จะถือว่าเป็นการยอมรับบัญชีที่ผู้ชำระบัญชีจัดทำขึ้นแล้วมิได้
ห้างฯ มีกำไรสุทธิในวันเลิกห้างฯ 7,813,932.48 บาท เจ้าหนี้ทั้งสองมีหุ้นรวมกันร้อยละ 30 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเงินปันผลกำไรของห้างฯ เป็นเงิน2,344,179.74 บาท ส่วนแบ่งเงินปันผลกำไรดังกล่าวเป็นเงินที่เจ้าหนี้ทั้งสองมีสิทธิได้รับจากห้างฯ เมื่อปรากฏว่าห้างฯ ไม่อาจชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่เจ้าหนี้ทั้งสองได้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดซึ่งต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างฯ โดยไม่จำกัดจำนวน ย่อมต้องร่วมรับผิดต่อเจ้าหนี้ทั้งสอง เจ้าหนี้ทั้งสองมีสิทธิขอรับชำระหนี้เงินจำนวนดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้
การชำระบัญชีอันเป็นมูลเหตุให้เกิดหนี้ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในชั้นชำระบัญชีที่เจ้าหนี้ทั้งสองขอรับชำระหนี้ เกิดขึ้นจากข้อตกลงของเจ้าหนี้ทั้งสองและลูกหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งของศาลชั้นต้น เพื่อประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย ทั้งสองฝ่ายย่อมต้องรับผิดชอบในค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวร่วมกัน
สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการเลิกห้างมีข้อความว่ากิจการ ทรัพย์สินและโรงน้ำแข็งของห้าง ให้ประมูลขายทอดตลาดนำเงินมอบแก่ผู้ชำระบัญชีเพื่อจัดการตามส่วน แต่ต่อมามีคำพิพากษาฎีกาคดีระหว่างเจ้าหนี้ร่วม โจทก์ และผู้ชำระบัญชีกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของห้างฯ จำเลย ให้ผู้ชำระบัญชีและเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ของห้างฯ รับเงิน 50,000 บาท จากเจ้าหนี้ร่วม แล้วให้จดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 1089 อันเป็นทรัพย์สินของห้างฯ คืนให้แก่เจ้าหนี้ร่วมโดยปลอดจากการจำนอง หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และผู้ชำระบัญชีของห้างฯ ไม่มีเงินจากกองทรัพย์สินของห้างฯ พอที่จะทำการไถ่ถอนจำนอง ให้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างฯรับผิดในหนี้ของห้างฯ ลูกหนี้จึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5552/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการสั่งให้ส่งเอกสารให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อชำระบัญชี ไม่ใช่การมอบอำนาจวินิจฉัยคดี
ศาลชั้นต้นตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ชำระบัญชี เมื่อมีเหตุขัดข้องในการชำระบัญชี และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานต่อศาล ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์จำเลยเสนอหลักฐานต่าง ๆต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ หาใช่เป็นการมอบอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้ชำระบัญชี, อายุความชำระบัญชี, และดอกเบี้ยผิดนัดในสัญญาจำนอง
ป.พ.พ. มิได้มีบทบัญญัติว่าผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจะต้องชำระบัญชีให้เสร็จภายในกำหนดเวลาใด เมื่อการชำระบัญชียังไม่เสร็จผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจตามมาตรา 1259 ระยะเวลาการชำระบัญชีไม่ใช่อายุความจะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความมาใช้บังคับไม่ได้ สัญญาจำนองระบุว่าไม่คิดดอกเบี้ยแก่กัน โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลย แต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ และโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง จำเลยผิดนัดดังนี้จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด ตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้จากการชำระบัญชีบริษัท: นับแต่วันจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี ไม่ใช่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
อายุความฟ้องเรียกหนี้สินในกรณีที่มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1272 ได้บัญญัติจำกัดอายุความฟ้องร้องไว้เป็นกรณีพิเศษนอกเหนือจากบทบัญญัติในเรื่องอายุความทั่วไปที่ยาวกว่า และการเริ่มนับอายุความต้องถือตามที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในมาตราดังกล่าว จะนำเอาหลักในเรื่องการนับอายุความทั่วไปในมาตรา 169 มาใช้ไม่ได้ กล่าวคือ ต้องนับระยะเวลาสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี ซึ่งวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีหมายถึงวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีตามมาตรา 1270 หาใช่จะต้องนับระยะเวลานับแต่วันที่โจทก์ควรรู้ถึงการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีคือวันที่ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาไม่ เพราะการประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 1021และมาตรา 1022 นั้น เป็นแต่เพียงให้ถือว่าบรรดาเอกสารและข้อความที่ลงทะเบียนและนายทะเบียนได้แต่งย่อไปพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นอันรู้แก่บุคคลทั่วไปเท่านั้น จะนำมาใช้กับการเริ่มนับอายุความที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษตามมาตรา 1272 ไม่ได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่ขอกู้เบิกเงินเกินบัญชี คงเป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นผู้ค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม เท่านั้นถึงแม้ในสัญญาค้ำประกันจะระบุถึงการสละสิทธิในข้อต่อสู้ต่าง ๆในฐานะของผู้ค้ำประกันที่จะพึงมีตามกฎหมายไว้ ก็ไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันเปลี่ยนฐานะเป็นลูกหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือหมดสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ที่มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ด้วย ในเมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นหลุดพ้นความรับผิดเนื่องจากหนี้ของโจทก์ขาดอายุความ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นความรับผิดด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาเฉพาะการชำระบัญชี, การแจ้งประเมินภาษี, และความรับผิดของผู้ถือหุ้น
ในการชำระบัญชีเพื่อเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด เมื่อผู้ชำระบัญชีได้เลือกกำหนดเอาสถานที่ใดเป็นสำนักงานชำระบัญชี ต้องถือว่าสถานที่นั้นเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการในการชำระบัญชีของห้างนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 49 แม้จะเสร็จการชำระบัญชีและได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดแล้วก็ตามแต่ภูมิลำเนาเฉพาะการดังกล่าวนั้น จะยังคงอยู่ ณ สถานที่นั้นต่อไปอีกจนสิ้นระยะเวลาสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี เมื่อเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้แจ้งการประเมินให้ผู้ชำระบัญชีของห้างที่จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดทราบโดยชอบแล้วก็มีผลใช้ได้ แม้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ จะไม่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน ก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญขาดทุน เลิกห้าง-ชำระบัญชี: ศาลสั่งบังคับรับผิดได้ แม้ยังมิได้ชำระบัญชี
การที่โจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญฟ้องผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเป็นจำเลยให้รับผิดในส่วนที่ขาดทุน โดยที่ยังไม่มีการเลิกห้างและชำระบัญชีนั้น แม้ในคำฟ้องของโจทก์จะมิได้มีคำขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ แต่เมื่อตาม คำฟ้องมีคำขอให้บังคับจำเลยรับผิดในส่วนที่ขาดทุนครึ่งหนึ่งพร้อมด้วย ดอกเบี้ยแสดงให้เห็นความประสงค์ของโจทก์ว่าต้องการให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญด้วย ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าไม่มีตัวบุคคลที่จะช่วย ให้การประกอบกิจการของห้างหุ้นส่วนดำเนินต่อไปได้ อีกแล้ว ถือว่ามีเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรง คงอยู่ต่อไปได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1057(3)ศาลย่อมสั่งให้ห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นเลิกกันได้
เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันแล้ว จะต้อง มีการชำระบัญชีกันก่อนเพื่อทราบกำไรขาดทุน แต่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนไม่มีเจ้าหนี้ไม่มี คงมีแต่ เพียงลูกหนี้ที่ไม่สามารถติดตาม เรียกร้องให้ชำระหนี้ได้ ส่วนที่ขาดทุนคือเงินทดรองซื้อ สินค้า ดังนั้น การที่จะให้ไปดำเนินการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนเสียก่อนย่อมไม่เป็นประโยชน์ แม้โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรับผิดในส่วนที่ขาดทุนโดย มิได้ขอให้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนเสียก่อน ศาลก็ย่อมพิพากษาบังคับให้จำเลยรับผิดในส่วนที่ขาดทุนได้โดย มิต้องให้มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สหกรณ์เลิกกิจการ ยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลเพื่อชำระบัญชี ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ชำระหนี้สินแก่ลูกจ้าง
สหกรณ์แม้จะได้เลิกกิจการไปแล้ว ก็ยังถือว่าคงดำรง อยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี ดังนั้นสภาพการเป็นนิติบุคคลของสหกรณ์ยังไม่สิ้นสุดลง นิติสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างของสหกรณ์กับสหกรณ์นายจ้างจึงหาได้สิ้นสุดลงไม่ การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้ผู้ชำระบัญชี มีหน้าที่สะสาง ติดตามทรัพย์สินของสหกรณ์ที่มีอยู่มาจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย หาใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่มีกฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง จะถือว่านายจ้างผิดนัดตั้งแต่วันเลิกจ้างไม่ได้ ฉะนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างทวงถามเมื่อใดแล้วลูกจ้างก็ชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3133/2529 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนแบ่งเงินได้เสรี เงินที่แบ่งแล้วไม่ต้องส่งมอบให้ผู้ชำระบัญชี
ผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ย่อมตกลงกันให้แบ่งเงินของห้างหุ้นส่วนเมื่อใดก็ได้ ทำนองเดียวกับเจ้าของรวมตกลงแบ่งทรัพย์กันนั่นเอง
จำเลยรับเงินส่วนแบ่งจำนวนหนึ่งมาจากศาลตามที่ศาลฎีกาพิพากษาให้แบ่งเงินค่าสินค้าของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมให้แก่โจทก์ที่ 1 กับจำเลยผู้เป็นหุ้นส่วนโดยห้างหุ้นส่วนนั้นเลิกกันแล้วและอยู่ในระหว่างที่มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนอยู่ เงินส่วนที่แบ่งให้จำเลยก็ตกเป็นของจำเลย ผู้ชำระบัญชีหามีอำนาจที่จะเรียกร้องหรือเข้าเก็บรักษาเงินจำนวนนี้ โดยอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1259 ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3133/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนแบ่งเงินได้เสรีหลังเลิกห้าง ผู้ชำระบัญชีไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ย่อมตกลงกันให้แบ่งเงินของห้างหุ้นส่วนเมื่อใดก็ได้ ทำนองเดียวกับเจ้าของรวมตกลงแบ่งทรัพย์กันนั่นเอง
จำเลยรับเงินส่วนแบ่งจำนวนหนึ่งมาจากศาลตามที่ศาลฎีกาพิพากษาให้แบ่งเงินค่าสินค้าของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมให้แก่โจทก์ที่ 1 กับจำเลยผู้เป็นหุ้นส่วนโดยห้างหุ้นส่วนนั้นเลิกกันแล้วและอยู่ในระหว่างที่มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนอยู่ เงินส่วนที่แบ่งให้จำเลยก็ตกเป็นของจำเลย ผู้ชำระบัญชีหามีอำนาจที่จะเรียกร้องหรือเข้าเก็บรักษาเงินจำนวนนี้ โดยอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1259 ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1582/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของสมาคมที่ถูกเพิกถอน: ผู้ชำระบัญชียังมีอำนาจฟ้องได้จนกว่าการชำระบัญชีจะเสร็จสิ้น
ป. นายกสมาคมโจทก์ย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีของสมาคมโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 1294 แม้สมาคมโจทก์ถูกลบชื่อจากทะเบียนแล้ว ตามมาตรา 1249 ก็ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี สมาคมโจทก์โดยป. ผู้ชำระบัญชีจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวของโจทก์ได้
of 15