คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชำระภาษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเป็นยุติ หากไม่โต้แย้งหรือชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด แม้การประเมินไม่ถูกต้องก็ไม่มีสิทธิโต้เถียงได้
พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์แจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนให้จำเลยทราบ จำเลยมิได้ยื่นคำร้องโต้แย้งคัดค้านการประเมินหรือขอให้พิจารณาใหม่ และมิได้ชำระค่าภาษีให้โจทก์ตามขั้นตอนที่ พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 25,31 และ39 กำหนดไว้ จึงเท่ากับว่าผลของการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นยุติแล้ว โดยห้ามมิให้จำเลยนำคดีมาสู่ศาล ซึ่งหมายความรวมถึงว่าจำเลยไม่มีสิทธิโต้เถียง ว่าการประเมินไม่ถูกต้องด้วย ดังนั้นจำเลยจะต่อสู้คดีว่าการประเมินไม่ถูกต้องหาได้ไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยถึงเนื้อหาของการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ว่าไม่ถูกต้องบางประการก็ตาม ก็ไม่ทำให้กลายเป็นว่าจำเลยมีสิทธิต่อสู้ว่าการประเมินไม่ถูกต้องไปได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3755/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ภาษีค้าง: แม้มีอุทธรณ์ ก็ต้องชำระก่อนหากไม่ได้รับการทุเลา
เมื่อจำเลยที่ 3 ในฐานะเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีอากรและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์แล้ว โจทก์มิได้เสียภาษีอากรภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน ภาษีอากรที่ประเมินนั้นย่อมเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งจำเลยที่ 8 ในฐานะนายอำเภอมีอำนาจที่จะสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง ถึงแม้โจทก์จะไม่เห็นด้วยกับการประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 3 และได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากรต่ออธิบดีกรมสรรพากร แต่การประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 3ก็มีผลบังคับตามกฎหมาย หาใช่ว่าเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์การประเมินแล้วจะต้องรอฟังผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรก่อนจึงจะถือว่าเป็นภาษีอากรค้างไม่ โจทก์มิได้เสียภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด และยังมิได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ทุเลาการเสียภาษี จำเลยที่ 8 ในฐานะนายอำเภอย่อมมีอำนาจที่จะสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ เพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้างได้เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าเมื่อมีการอุทธรณ์การประเมินและขอทุเลาการเสียภาษีต่ออธิบดีกรมสรรพากร แม้จะล่วงพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีอากรแล้ว ก็ให้นายอำเภองดการใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 เพื่อรอฟังคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรก่อน การที่จะงดหรือไม่งดจึงอยู่ในดุลพินิจของนายอำเภอเพียงแต่นายอำเภอจะต้องระมัดระวังในการใช้อำนาจมิให้ขัดกับคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งจะมีมาในภายหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4051/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือน: ต้องชำระภาษีประเมินก่อนฟ้อง
โจทก์ได้รับทราบคำชี้ขาดของจำเลยให้เสียภาษีตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินไว้แล้ว โจทก์ไม่พอใจคำชี้ขาดของจำเลย แต่โจทก์ไม่ยอมชำระค่าภาษีตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินไว้ กลับนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาลว่าการประเมินไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา 31 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยดังกล่าวจึงต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 39 คือโจทก์ต้องชำระค่าภาษีให้จำเลยไปก่อน เมื่อโจทก์ไม่ชำระค่าภาษีตามที่จำเลยประเมินไว้ก่อนฟ้องเช่นนี้ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ศาลจะรับไว้พิจารณาไม่ได้ และศาลไม่อาจที่จะสั่งให้โจทก์นำค่าภาษีมาชำระหลังจากฟ้องแล้วได้ ถือได้ว่าโจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4051/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนต้องชำระภาษีประเมินก่อนฟ้อง หากไม่ชำระ ศาลไม่รับฟ้อง
โจทก์ได้รับทราบคำชี้ขาดของจำเลยให้เสียภาษีตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินไว้แล้ว โจทก์ไม่พอใจคำชี้ขาดของจำเลย แต่โจทก์ไม่ยอมชำระค่าภาษีตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินไว้ กลับนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาลว่าการประเมินไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา31 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยดังกล่าวจึงต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 39 คือโจทก์ต้องชำระค่าภาษีให้จำเลยไปก่อน เมื่อโจทก์ไม่ชำระค่าภาษีตามที่จำเลยประเมินไว้ก่อนฟ้องเช่นนี้ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ศาลจะรับไว้พิจารณาไม่ได้ และศาลไม่อาจที่จะสั่งให้โจทก์นำค่าภาษีมาชำระหลังจากฟ้องแล้วได้ ถือได้ว่าโจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนการค้าผูกพันผู้ประกอบการต้องชำระภาษี แม้จะอ้างว่าถูกเชิดให้จดทะเบียน
ประมวลรัษฎากรมาตรา 78 วรรคแรกบัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้ามีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับของทุกเดือนภาษีตามอัตราในบัญชีอัตราภาษีการค้ามาตรา 80 วรรคแรก ให้ผู้ประกอบการค้ายื่นคำขอจดทะเบียนการค้าตามแบบที่อธิบดีกำหนดมาตรา 84 ให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการนั้น เห็นได้ว่ากฎหมายกำหนดหน้าที่ของผู้ประกอบการค้าไว้ดังกล่าวเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษี เมื่อโจทก์ยื่น คำขอจดทะเบียนการค้าโรงเลื่อย ส. ย่อมเป็นหลักฐานแสดงตนต่อทางราชการว่า โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าในกิจการนั้นตามกฎหมาย เป็นการยินยอมผูกพันตนที่จะยื่นแบบแสดงรายการการค้า และเสียภาษีการค้ารวมทั้งยอมรับว่ามีเงินได้จากกิจการที่จดทะเบียนการค้าไว้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายด้วย โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ถูกเชิดให้ขอจดทะเบียนการค้าอันเป็นความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างโจทก์กับ จ. นอกเหนือจากที่แสดงไว้ต่อทางราชการ เป็นข้อแก้ตัวให้พ้นความรับผิดชำระภาษีหาได้ไม่ เมื่อทะเบียนการค้ามีชื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าทั้งแบบแสดงรายการการค้าและภาษีเงินได้ที่ยื่นไว้ในนามโจทก์ แสดงรายรับไว้ต่ำกว่าความจริงเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจทำการประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีการค้า: การตรวจสอบไต่สวนยังไม่เสร็จสิ้น ผู้เสียภาษีไม่ต้องชำระ
ประมวลรัษฎากรมาตรา 16 ซึ่งอยู่ในหมวด 2 ของลักษณะ 2 ภาษีอากรฝ่ายสรรพากรบัญญัติว่า "เจ้าพนักงานประเมินหมายความว่าบุคคล หรือคณะบุคคลซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง" และมีมาตรา 15 ให้ใช้บทบัญญัติในหมวด 2 บังคับแก่การภาษีอากรประเมินทุกประเภทกับมาตรา 77 ทวิ บัญญัติว่าภาษีการค้าเป็นภาษีอากรประเมิน จึงหมายความว่าบุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานประเมิน ย่อมมีอำนาจเกี่ยวกับภาษีอากรประเมินทุกประเภท รวมทั้งภาษีการค้าด้วย และตามประกาศกระทรวงการคลังลงวันที่ 25 ตุลาคม 2513 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งให้ข้าราชการตั้งแต่ชั้นโทขึ้นไปสังกัดราชการบริหารส่วนกลาง กรมสรรพากร เป็นเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 16 แห่งประมวลรัษฎากรสำหรับท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ดังนั้น เมื่อ อ.ผู้อำนวยการกองภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นข้าราชการเทียบเท่าตำแหน่งชั้นพิเศษซึ่งสูงกว่าข้าราชการชั้นโทตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าว อ.จึงเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 16 แห่งประมวลรัษฎากร และมีอำนาจเกี่ยวกับภาษีอากรประเมินทุกประเภทรวมทั้งภาษีการค้า หาได้มีอำนาจจำกัดเฉพาะที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้นไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การประเมืนของเจ้าพนกังานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ถูกต้อง โจทก์จึงของนำคดีมาฟ้องศาลเป็นการอุทธรณ์คำวินิจฉัยประเมินตามความในมาตรา 30 ดังนี้ แม้โจทก์จะมิได้ระบุในคำขอท้ายฟ้องว่า ขอให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ด้วย ผลก็คงเป็นอย่างเดียวกัน เพราะหากศาลเห็นว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้องและให้เพิกถอน จำเลยก็ไม่อาจบังคับตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้อีกต่อไป ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นการเลยหรือพ้นขั้นตอนแต่อย่างใด
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การตรวจสอบไต่สวนภาษีการค้ารายของโจทก์ยังไม่เสร็จสิ้นในวันที่โจทก์ขอชำระภาษีการค้า โจทก์จึงไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีการค้าตามเงื่อนไขในคำแถลงการณ์กระทรวงการคลังฉบับลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2518 และคำสั่งของกรมสรรพากรที่ 198/2518 ลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2518 เรื่องแนวทางปฏิบัติในการรับชำระภาษี-อากรตามแถลงการณ์ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีเกินและสิทธิการขอคืนเงิน รวมถึงข้อยกเว้นภาษีการค้านำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิต
โจทก์เป็นผู้ยื่นชำระภาษีการค้าและภาษีเงินได้เองโดยเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยไม่ได้ประเมินเรียกให้โจทก์ชำระ ดังนี้ เป็นกรณีที่ไม่มีการประเมินเรียกเก็บ โจทก์จึงไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 และเมื่อโจทก์มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในทางแพ่ง โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจนำคดีมาฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
ค่าภาษีเงินซึ่งลูกจ้างผู้มีเงินได้จะต้องชำระให้แก่จำเลยนั้นเป็นหนี้อันเกิดขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมาย การที่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างจ่ายเงินค่าภาษีเงินได้แทนลูกจ้างไปนั้นถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยบุคคลภายนอกดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 314 เงินที่โจทก์ชำระหนี้แทนลูกจ้างไปนั้นเป็นเงินของโจทก์ ดังนั้น ถ้าโจทก์ชำระเกินจำนวนที่ลูกจ้างเป็นหนี้อยู่ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกคืนส่วนที่ชำระเกินไปนั้นได้
ประมวลรัษฎากรมาตรา 63 ที่บัญญัติว่า บุคคลผู้ใดถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษีตามส่วนนี้ บุคคลนั้นมีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืน แต่ต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไป นั้นใช้บังคับสำหรับบุคคลซึ่งถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายในวันที่จะใช้สิทธิเรียกเงินของตนที่ถูกหักภาษีเกินไปคืน แม้โจทก์จะไม่ใช่บุคคลซึ่งถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย แต่โจทก์เป็นผู้ออกเงินของโจทก์ชำระค่าภาษีแทนลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างของโจทก์ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้และถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย มีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืน โดยต้องกยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นผู้ชำระภาษีนั้นแทนโจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเท่าที่ลูกจ้างมีอยู่ คือต้องยื่นคำร้องขอรับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืนต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 63 เช่นเดียวกัน ส่วนเรื่องอายุความลาภมิควรได้นั้นจำเลยไม่ได้หยิบยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการชอบแล้ว
โจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตเป็นสินค้าเพื่อขาย มิได้นำมาเพื่อขายในขณะที่เป็นวัตถุดิบ ดังนี้ แม้โจทก์จดทะเบียนประกอบการค้าไว้ในฐานะผู้นำเข้าและผู้ผลิตก็ตาม โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบดังกล่าวตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 คือโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีที่ให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง และเมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อขายโดยเฉพาะก็จะถือว่าการที่โจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตสินค้าเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79 ทวิ (3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบในฐานะผู้นำเข้าตามประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น (มิถุนายน 2505 ถึงตุลาคม 2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินภาษีที่ชำระโดยมิชอบ และอำนาจฟ้องคดีภาษีอากรของผู้ประกอบการ
โจทก์สั่งวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร การที่จำเลยเก็บภาษีจากโจทก์ตามที่โจกท์ชำระก็โดยอาศัยประมวลรัษฎากรเป็นหลัก จึงเป็นการได้มาโดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ขณะรับทรัพย์นั้น กรณีมิใช่ลาภมิควรได้อันจะขาดอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้ายื่นคำขอชำระค่าภาษีเอง มิใช่โดยการประเมินของเจ้าพนักงานตามมาตรา 87 หรือ 18 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่มาตรา 77 ทวิ บัญญัติว่า ภาษีการค้าเป็นภาษีอากรประเมินก็เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 14 หาใช่หมายความว่าภาษีการค้าทุกรายแม้ผู้ประกอบการค้าชำระภาษีเอง จักต้องถือว่าได้มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ จึงนำบทบัญญัติเรื่องอุทธรณ์ตามมาตรา 30 มาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์เพียงแต่ฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยาน มิได้ขอให้ชนะคดี จึงควรเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ก. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 261/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งหนี้ภาษีและการคิดเงินเพิ่ม กรณีไม่ชำระภาษีตามกำหนด
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภาษีการค้า ไม่ใช่การประเมิน แต่เป็นการแจ้งให้ทราบว่าต้องเสียภาษีการค้า เงินเพิ่ม และเบี้ยปรับ ภาษีบำรุงเทศบาล และเงินเพิ่มตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา89 ทวิด้วย
ภาษีการค้าต้องชำระตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 86,86 ทวิถ้าไม่ชำระก็ต้องเสียเงินเพิ่มตาม มาตรา 89 ทวิ มาตรา 89 ทวิเป็นเรื่องไม่เสียภาษีตามกำหนดเวลาต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน มาตรา 31 เป็นเรื่องอุทธรณ์และทุเลาการบังคับยึดทรัพย์ขายทอดตลาด ไม่ใช่ไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายตั๋วภาพยนตร์ข้ามปีโดยมิได้ชำระอากรมหรสพ
โรงภาพยนตร์เอาตั๋วออกขายโดยไม่เรียงลำดับตั๋วแต่ละปีจากเลขต่ำไปหาสูง เอาตั๋ว พ.ศ.2516 มาขายใน พ.ศ.2517 โดยไม่เสียอากรมหรสพ กรมสรรพากรสั่งให้นำอากรมหรสพเงินเพิ่ม และภาษีเทศบาลไปชำระที่อำเภอได้
of 8