คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชำระเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 189 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายสิทธิเช่าซื้อ: ศาลสั่งให้โอนสิทธิได้ หากโจทก์ชำระเงินคงเหลือและค่าเช่ารายเดือน
จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินพร้อมอาคารกับการเคหะแห่งชาติ ต่อมาจำเลยตกลงขายสิทธิการเช่าซื้อดังกล่าวแก่โจทก์ แม้จะเป็นการตกลงเพื่อให้โจทก์เข้าไปสวมสิทธิของจำเลยที่มีอยู่ต่อการเคหะแห่งชาติในการที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารต่อไป แต่โจทก์ก็มิได้ฟ้องบังคับให้การเคหะแห่งชาติโอนที่ดินพร้อมอาคารให้แก่โจทก์อันจะต้องอยู่ในบังคับเรื่องการโอนสิทธิโดยโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยเกี่ยวกับสิทธิเช่าซื้อที่ดินพร้อมอาคารของการเคหะแห่งชาติซึ่งสิทธิเช่าซื้อดังกล่าวเป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งที่สามารถซื้อขายกันได้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการซื้อขายสิทธิแม้ไม่ทำเป็นหนังสือ แต่เมื่อได้มีการชำระหนี้เนื่องในการซื้อขายกันบ้างแล้ว ย่อมมีผลผูกพันระหว่างกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับตามข้อตกลงดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4871/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาก่อสร้าง: การชำระเงินไม่ตรงตามกำหนด, ยอมรับชำระช้า, และเจตนาเลิกสัญญาโดยความตกลง
โจทก์มิได้ชำระเงินค่างวดตามระยะเวลาที่กำหนดไว้แม้โจทก์ชำระค่างวดล่วงเลยเวลาที่กำหนดจำเลยก็ยอมรับเงินนั้นตลอดมาไม่ได้มีการทักท้วงหรือให้จ่ายเบี้ยปรับตามสัญญาแต่อย่างใดแสดงว่าคู่สัญญามิได้มีเจตนาถือเอากำหนดเวลาการชำระค่างวดเป็นสาระสำคัญดังนั้นแม้โจทก์จะผิดสัญญาในข้อนี้จำเลยก็จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญายังมิได้แต่จะต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา387เสียก่อนการที่จำเลยได้บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ตามหนังสือแจ้งริบเงินมัดจำและบอกเลิกสัญญานั้นเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาแก่โจทก์เมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยเพื่อขอให้ยืนยันว่าจะปฏิบัติตามสัญญาหรือจะเลิกสัญญาแก่โจทก์หากจำเลยไม่ตอบแจ้งมาภายใน10วันจะถือว่าจำเลยประสงค์เลิกสัญญาและจำเลยไม่ตอบไปให้โจทก์ทราบแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาจะเลิกสัญญาอยู่การที่โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยวาเมื่อจำเลยไม่ประสงค์ที่จะปฏิบัติตามสัญญาต่อไปจำเลยจึงต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยรวมทั้งค่าเสียหายตามหนังสือชดใช้ค่าเสียหายคืนสู่สภาพเดิมเอกสารหมายจ.9นั้นถือได้ว่าโจทก์แสดงเจตนาสนองตอบตกลงเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้วสัญญาว่าจ้างงานสถาปัตยกรรมห้องชุดและควบคุมงานและสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดอาคารชุดระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันเลิกกันโดยความตกลงของคู่สัญญาผลของการเลิกสัญญาโดยความตกลงของคู่สัญญาเช่นนี้เมื่อไม่ปรากฏว่าคู่สัญญาได้มีการตกลงกันไว้ประการใดก็ต้องให้คู่สัญญาได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391โดยที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมจำเลยจึงต้องคืนเงินที่ได้รับไว้พร้อมด้วยดอกเบี้ยคิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ15ต่อปีตามสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดอาคารชุดนั้นใช้บังคับสำหรับกรณีที่มีการผิดสัญญาและคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิเลิกสัญญาแต่การเลิกสัญญาโดยความตกลงของคู่สัญญาโดยไม่ได้มีการผิดสัญญาและคู่สัญญามิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยประการใดเงินที่ได้ชำระกันตามสัญญาผู้รับเงินจึงต้องคืนเงินนั้นพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่เวลาที่ได้รับไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4596/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินจากการขายทอดตลาด: การชำระเงินครบถ้วนคือจุดสำคัญของการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
การขายทอดตลาดแม้จะบริบูรณ์เมื่อผู้ทอดตลาดแสดงความตกลงด้วยการเคาะไม้ก็ตาม แต่ก็มีผลเพียงทำให้ผู้สู้ราคาไม่อาจถอนคำสู้ราคาของตนได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 509 เท่านั้น ประกอบกับมาตรา 515ได้บัญญัติให้ผู้สู้ราคาสูงสุดนั้นต้องใช้ราคาเป็นเงินสดเมื่อการซื้อขายบริบูรณ์ และในมาตรา 516 ยังได้บัญญัติต่อไปว่าถ้าผู้สู้ราคาสูงสุดละเลยเสียไม่ใช้ราคาก็ให้เอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดซ้ำอีก หากได้เงินจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าทอดตลาดชั้นเดิม ผู้สู้ราคาเดิมคนนั้นต้องรับผิดในส่วนที่ขาด แต่หากขายได้เงินจำนวนสุทธิสูงกว่าที่ผู้สู้ราคาเดิมได้ให้ราคาไว้ในชั้นเดิม ก็หาได้มีบทบัญญัติให้ต้องคืนเงินส่วนที่สูงกว่าดังกล่าวแก่ผู้สู้ราคาเดิมไม่ ฉะนั้น แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดได้เคาะไม้ในการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้สู้ราคาแล้ว แต่จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลยกเลิกการขายทอดตลาด ซึ่งเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการขายทอดตลาดอยู่ จนกระทั่งศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้องของจำเลยเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2537 ทำให้ข้อโต้แย้งดังกล่าวถึงที่สุด ทั้งผู้ร้องได้ชำระเงินครบถ้วนเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2537 การขายทอดตลาดจึงเสร็จสมบูรณ์ในวันดังกล่าว เมื่อการขายทอดตลาดยังไม่เสร็จสมบูรณ์ในวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้ร้องทั้งสามเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2533 ผู้ร้องทั้งสามจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างยังคงเป็นของจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิได้ซึ่งผลประโยชน์อันเป็นดอกผลในที่ดินดังกล่าว ผู้คัดค้านจึงมีอำนาจเก็บรวบรวมไว้ในกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายได้ ผู้ร้องทั้งสามไม่มีสิทธิได้รับเงินผลประโยชน์นั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4596/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดเกิดขึ้นเมื่อชำระเงินครบถ้วนและจดทะเบียน ไม่ใช่เมื่อเคาะไม้
การขายทอดตลาดแม้จะบริบูรณ์เมื่อผู้ทอดตลาดแสดงความตกลงด้วยการเคาะไม้ก็ตาม แต่ก็มีผลเพียงทำให้ผู้สู้ราคาไม่อาจถอนคำสู้ราคาของตนได้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 509 เท่านั้น ประกอบกับมาตรา515 ได้บัญญัติให้ผู้สู้ราคาสูงสุดนั้นต้องใช้ราคาเป็นเงินสดเมื่อการซื้อขายบริบูรณ์และในมาตรา 516 ยังได้บัญญัติต่อไปว่าถ้าผู้สู้ราคาสูงสุดละเลยเสียไม่ใช้ราคาก็ให้เอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดซ้ำอีก หากได้เงินจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าทอดตลาดชั้นเดิม ผู้สู้ราคาเดิมคนนั้นต้องรับผิดในส่วนที่ขาด แต่หากขายได้เงินจำนวนสุทธิสูงกว่าที่ผู้สู้ราคาเดิมได้ให้ราคาไว้ในชั้นเดิม ก็หาได้มีบทบัญญัติให้ต้องคืนเงินส่วนที่สูงกว่าดังกล่าวแก่ผู้สู้ราคาเดิมไม่ ฉะนั้นแม้เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดได้เคาะไม้ในการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้สู้ราคาแล้วแต่จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลยกเลิกการขายทอดตลาดซึ่งเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการขายทอดตลาดอยู่ จนกระทั่งศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้องของจำเลยเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2537 ทำให้ข้อโต้แย้งดังกล่าวถึงที่สุด ทั้งผู้ร้องได้ชำระเงินครบถ้วนเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2537 การขายทอดตลาดจึงเสร็จสมบูรณ์ในวันดังกล่าว เมื่อการขายทอดตลาดยังไม่เสร็จบริบูรณ์ในวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้ร้องทั้งสามเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2533ผู้ร้องทั้งสามจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างยังคงเป็นของจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิได้ซึ่งผลประโยชน์อันเป็นดอกผลในที่ดินดังกล่าวผู้คัดค้านจึงมีอำนาจเก็บรวบรวมไว้ในกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายได้ ผู้ร้องทั้งสามไม่มีสิทธิได้รับเงินผลประโยชน์นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4596/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดเกิดขึ้นเมื่อชำระเงินครบถ้วนและจดทะเบียน ผู้ซื้อจึงมีสิทธิในดอกผล
การขายทอดตลาดแม้จะบริบูรณ์เมื่อผู้ทอดตลาดแสดงความตกลงด้วยการเคาะไม้ก็ตามแต่ก็มีผลเพียงทำให้ผู้สู้ราคาไม่อาจถอนคำสู้ราคาของตนได้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา509เท่านั้นประกอบกับมาตรา515ได้บัญญัติให้ผู้สู้ราคาสูงสุดนั้นต้องใช้ราคาเป็นเงินสดเมื่อการซื้อขายบริบูรณ์และในมาตรา516ยังได้บัญญัติต่อไปว่าถ้าผู้สู้ราคาสูงสุดละเลยเสียไม่ใช้ราคาก็ให้เอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดซ้ำอีกหากได้เงินจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าทอดตลาดชั้นเดิมผู้สู้ราคาเดิมคนนั้นต้องรับผิดในส่วนที่ขาดแต่หากขายได้เงินจำนวนสุทธิสูงกว่าที่ผู้สู้ราคาเดิมได้ให้ราคาไว้ในชั้นเดิมก็หาได้มีบทบัญญัติให้ต้องคืนเงินส่วนที่สูงกว่าดังกล่าวแก่ผู้สู้ราคาเดิมไม่ฉะนั้นแม้เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดได้เคาะไม้ในการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้สู้ราคาแล้วแต่จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลยกเลิกการขายทอดตลาดซึ่งเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการขายทอดตลาดอยู่จนกระทั่งศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้องของจำเลยเมื่อวันที่17มีนาคม2537ทำให้ข้อโต้แย้งดังกล่าวถึงที่สุดทั้งผู้ร้องได้ชำระเงินครบถ้วนเมื่อวันที่1เมษายน2537การขายทอดตลาดจึงเสร็จสมบูรณ์ในวันดังกล่าวเมื่อการขายทอดตลาดยังไม่เสร็จบริบูรณ์ในวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้ร้องทั้งสามเมื่อวันที่5กันยายน2533ผู้ร้องทั้งสามจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างยังคงเป็นของจำเลยจำเลยย่อมมีสิทธิได้ซึ่งผลประโยชน์อันเป็นดอกผลในที่ดินดังกล่าวผู้คัดค้านจึงมีอำนาจเก็บรวบรวมไว้ในกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายได้ผู้ร้องทั้งสามไม่มีสิทธิได้รับเงินผลประโยชน์นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4527/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ต้องวางค่าฤชาธรรมเนียมและชำระเงินตามคำพิพากษา หรือหาประกัน หากไม่ปฏิบัติตามถือเป็นการทิ้งฟ้อง
ในการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์นอกจากจำเลยจะต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลแล้วยังจะต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลอีกด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา234ดังนั้นแม้จำเลยจะได้นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงที่ต้องรับผิดแทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลแล้วพร้อมกับการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ก็ตามแต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวและจำเลยได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลทั้งเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดเวลาให้จำเลยดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าวและจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยชอบแล้วแต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้อันเป็นการทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2)ประกอบมาตรา246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองการชำระเงินไม่ถือเป็นการยอมรับว่าจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ดำเนินงานที่เหลือต่อไป โดยชำระค่าจ้างล่วงหน้าจำนวน 500,000 บาท จำเลยให้การว่าไม่เคยตกลงว่าจ้างโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธ ฟ้องโจทก์โดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยไม่เคยว่าจ้างโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยรับว่าชำระค่าจ้างล่วงหน้าจำนวน500,000 บาท แก่โจทก์ คงถือได้เพียงว่าจำเลยรับว่าจำเลยชำระเงิน 500,000บาท แก่โจทก์เท่านั้น แต่ไม่ใช่ค่าจ้างล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้เอกสารท้ายฟ้องเป็นภาษาต่างประเทศ จำเลยมีหน้าที่ชำระเงินเมื่อติดตั้งเครื่องปรับสภาพน้ำแล้ว
คำฟ้องของโจทก์บรรยายมาเป็นภาษาไทยชัดแจ้งแล้วเกี่ยวกับการซื้อเครื่องปรับสภาพน้ำการติดตั้งและการชำระราคาจำเลยย่อมเข้าใจได้ดีกฎหมายไม่ได้บังคับให้ต้องส่งเอกสารมาท้ายคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา18โจทก์อาจอ้างเอกสารเป็นพยานเมื่อจำเลยปฏิเสธและมีการสืบพยานแม้โจทก์จะไม่ได้ทำคำแปลเอกสารท้ายฟ้องเป็นภาษาไทยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา46วรรคสามบัญญัติไว้แต่เพียงว่าให้ศาลสั่งให้คู่ความที่ส่งทำคำแปลแนบไว้กับต้นฉบับเท่านั้นฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยซื้อเครื่องปรับสภาพน้ำจากโจทก์และชำระราคาบางส่วนเมื่อโจทก์ติดตั้งให้จำเลยเรียบร้อยแล้วโดยไม่ได้ผิดสัญญาจำเลยมีหน้าที่ต้องชำระเงินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ส่วนเครื่องปรับสภาพน้ำที่โจทก์ติดตั้งให้นั้นมีความชำรุดบกพร่องซึ่งโจทก์ต้องแก้ไขให้ตามสัญญานั้นเป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องดำเนินการตามข้อสัญญาที่มีอยู่อีกส่วนหนึ่งจะอ้างมาเป็นเหตุไม่ยอมชำระเงินให้โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7246/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโอนสิทธิทำไม้สมบูรณ์ แม้สัมปทานสิ้นสุดก่อนเงื่อนเวลา ชำระเงินแล้วต้องคืน
การชำระหนี้ของจำเลยตามสัญญาตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษจำเลยหรือนาย ป. ไม่ได้ ทำให้จำเลยเป็นอันหลุดพ้นจากการต้องชำระหนี้ของจำเลยที่จะต้องให้นาย ป.ได้รับสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้ตามสัญญาที่ทำไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตอบแทนจากนาย ป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 372 วรรคหนึ่ง แม้สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงมีเงื่อนเวลาเริ่มต้นเป็นประโยชน์แก่จำเลยโดยนาย ป. จะทวงถามให้จำเลยโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้ให้นาย ป. ได้หลังจากวันที่ 31 พฤษภาคม 2535ก็ตาม แต่เมื่อมีการออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ และรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้สิ้นสุดลงก่อนถึงเวลาที่กำหนดไว้เป็นเงื่อนเวลาเริ่มต้น ทำให้การชำระหนี้ของจำเลยซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนเป็นอันพ้นวิสัย โดยจะโทษจำเลยหรือนาย ป. ไม่ได้ จำเลยก็ไม่อาจถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเริ่มต้นที่ได้กำหนดไว้เดิมนั้นมาเป็นประโยชน์แก่ตนได้ต่อไป เมื่อนาย ป. ชำระเงิน 8,000,000 บาท อันเป็นการชำระหนี้ของนาย ป. ตามสัญญาให้จำเลยรับไปครบถ้วนแล้ว นาย ป.จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวได้ เมื่อนาย ป.ตาย สิทธิดังกล่าวเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของนาย ป. จึงเป็นมรดกของนาย ป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของนาย ป. จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้จะเป็นโมฆะเพราะวัตถุประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 63 ก็ต่อเมื่อบทบัญญัติดังกล่าว ห้ามมิให้มีการโอนสัมปทานทำไม้ แต่ปรากฏว่าบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ห้ามมิให้ผู้รับสัมปทานโอนสิทธิตามสัมปทานให้แก่ผู้อื่น ทั้งไม่มีบทบัญญัติอื่นในพระราชบัญญัติป่าไม้ฯบัญญัติห้ามเด็ดขาดเช่นนั้นด้วย สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้จึงไม่ได้มีวัตถุประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ อันจะทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113เดิม (มาตรา 150 ใหม่) นาย ป. ชำระเงินให้แก่จำเลยตามสัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้เป็นสัญญาที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมายและเป็นการชำระหนี้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ เงินที่จำเลยได้รับจึงไม่เป็นลาภมิควรได้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 406 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยจึงไม่อยู่ในบังคับอายุความเรื่องลาภมิควรได้ตามมาตรา 406 ดังกล่าวที่จะต้องฟ้องเรียกร้องภายใน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6908/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับเงินค่าหุ้นมีน้ำหนักกว่าบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น แม้ไม่มีการจดแจ้งการชำระในทะเบียน
ผู้ร้องมีหนังสือของบริษัทจำเลยซึ่งม. กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทจำเลยลงลายมือชื่อโดยประทับตราของบริษัทจำเลยยืนยันว่าบริษัทจำเลยได้รับเงินค่าหุ้นที่ค้างจากผู้ร้องแล้วมาแสดงซึ่งผู้ร้องได้อ้างส่งไว้ในชั้นสอบสวนของผู้คัดค้านที่ผู้คัดค้านอ้างว่าจากการตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยปรากฏว่าผู้ร้องยังค้างชำระค่าหุ้นแก่บริษัทจำเลยอยู่เมื่อผู้คัดค้านไม่ได้ปฏิเสธว่าหนังสือรับเงินค่าหุ้นดังกล่าวบริษัทจำเลยไม่ได้ทำขึ้นหรือทำไว้ไม่ถูกต้องหรือไม่อย่างไรหนังสือรับเงินค่าหุ้นดังกล่าวจึงรับฟังได้ การชำระเงินค่าหุ้นไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องจดแจ้งลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นด้วยจึงใช้ยันแก่บริษัทจำเลยรวมทั้งผู้คัดค้านได้
of 19