พบผลลัพธ์ทั้งหมด 496 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2821/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งข้อเท็จจริงและการวินิจฉัยดุลพินิจของศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับสิทธิผู้ต้องหาและการรับฟังพยานหลักฐาน
ในการวินิจฉัยฎีกาของจำเลยว่า การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 237 และมาตรา 241 หรือไม่นั้น ศาลฎีกาจำต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจจับกุม จำเลยไม่ได้รับโอกาสแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งจำเลยไว้วางใจทราบในโอกาสแรกหรือไม่ และขณะที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยไม่ได้รับสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งจำเลยไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนด้วยหรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานที่ศาลอุทธรณ์ฟังมา เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 3 ปี 4 เดือน และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง – การโต้แย้งดุลพินิจพยานหลักฐาน และข้อเท็จจริงที่ศาลล่างวินิจฉัยแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก, 317 วรรคสาม เรียงกระทงลงโทษ และลดโทษตามมาตรา 78 แล้ว คงจำคุกรวม 10 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เฉพาะโทษและลดโทษตามมาตรา 78 คงจำคุกรวม 6 ปี โดยแต่ละกระทงจำคุกไม่เกินห้าปี ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
จำเลยฎีกาว่า จำเลยสำคัญผิดว่าเด็กหญิง ส. ผู้เสียหาย มีอายุ 17 ปี และสำคัญผิดว่าผู้เสียหายเป็นภริยาของตนก่อนเกิดเหตุแล้วการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดนั้น เป็นฎีกาที่ประสงค์จะให้ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี หรือไม่ และการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำต่อภริยาของตนเอง เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองได้วินิจฉัยเป็นยุติแล้ว เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวทำให้จำเลยไม่มีความผิด และการกระทำของจำเลยจะครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 277 วรรคแรก หรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และที่ฎีกามาด้วยว่าพยานโจทก์มีพิรุธไม่อาจฟังลงโทษจำเลย และการที่ผู้เสียหายโทรศัพท์กับมีจดหมายแจ้งให้ผู้ปกครองทราบโดยผู้ปกครองมิได้ทักท้วงห้ามปรามเท่ากับเป็นการยินยอมโดยปริยายให้จำเลยและผู้เสียหายแต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยากัน ก็เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง อันต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เช่นกัน
จำเลยฎีกาว่า จำเลยสำคัญผิดว่าเด็กหญิง ส. ผู้เสียหาย มีอายุ 17 ปี และสำคัญผิดว่าผู้เสียหายเป็นภริยาของตนก่อนเกิดเหตุแล้วการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดนั้น เป็นฎีกาที่ประสงค์จะให้ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี หรือไม่ และการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำต่อภริยาของตนเอง เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองได้วินิจฉัยเป็นยุติแล้ว เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวทำให้จำเลยไม่มีความผิด และการกระทำของจำเลยจะครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 277 วรรคแรก หรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และที่ฎีกามาด้วยว่าพยานโจทก์มีพิรุธไม่อาจฟังลงโทษจำเลย และการที่ผู้เสียหายโทรศัพท์กับมีจดหมายแจ้งให้ผู้ปกครองทราบโดยผู้ปกครองมิได้ทักท้วงห้ามปรามเท่ากับเป็นการยินยอมโดยปริยายให้จำเลยและผู้เสียหายแต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยากัน ก็เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง อันต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1772/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม - แก้ไขโทษเล็กน้อย - ปัญหาข้อเท็จจริง - การกระทำชำเราเด็ก
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน15 ปี มีกำหนดกระทงละ 2 ปี จำนวน 2 กระทง ฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดาเพื่อการอนาจารมีกำหนด 2 ปี 6 เดือน และฐานพาเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปีไปเพื่อการอนาจารมีกำหนด 2 เดือน รวม 4 กระทง จำคุก 6 ปี 8 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ฐานพาเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเพื่อการอนาจารกับกระทำอนาจารและกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดกฎหมายหลายบทให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก ฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 โดยไม่ลงโทษฐานพาเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปีไปเพื่อการอนาจารแก่จำเลยอีก เป็นเพียงแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของจำเลยที่ว่า บิดาของผู้เสียหายโทรศัพท์เข้าเครื่องโทรศัพท์ติดตามตัวจำเลยฝากข้อความให้ผู้เสียหายรีบติดต่อกลับไปหาบิดาด่วน จำเลยได้แจ้งข้อความให้ผู้เสียหายทราบแล้ว และผู้เสียหายได้โทรศัพท์ติดต่อไปยังบิดาของผู้เสียหาย ซึ่งจำเลยสามารถกีดกันไม่ให้ผู้เสียหายติดต่อกลับไปยังบิดาของผู้เสียหายก็ย่อมทำได้ และขณะที่ผู้เสียหายรอบิดาของผู้เสียหายมารับก็รออยู่กับจำเลย ย่อมแสดงให้เห็นว่าขณะนั้นจำเลยมีความประสงค์จะส่งตัวผู้เสียหายให้แก่บิดาของผู้เสียหายโดยไม่ประสงค์ให้ผู้เสียหายหลบหนีไปเสียจากบิดาเพื่อการอนาจาร จึงขอให้ศาลฎีกาได้โปรดพิจารณาและวินิจฉัยถึงคำร้องประกอบคำรับสารภาพของจำเลยด้วยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และที่ขอให้รอการลงโทษแก่จำเลยนั้น ก็เป็นฎีกาที่โต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน
ฎีกาของจำเลยที่ว่า บิดาของผู้เสียหายโทรศัพท์เข้าเครื่องโทรศัพท์ติดตามตัวจำเลยฝากข้อความให้ผู้เสียหายรีบติดต่อกลับไปหาบิดาด่วน จำเลยได้แจ้งข้อความให้ผู้เสียหายทราบแล้ว และผู้เสียหายได้โทรศัพท์ติดต่อไปยังบิดาของผู้เสียหาย ซึ่งจำเลยสามารถกีดกันไม่ให้ผู้เสียหายติดต่อกลับไปยังบิดาของผู้เสียหายก็ย่อมทำได้ และขณะที่ผู้เสียหายรอบิดาของผู้เสียหายมารับก็รออยู่กับจำเลย ย่อมแสดงให้เห็นว่าขณะนั้นจำเลยมีความประสงค์จะส่งตัวผู้เสียหายให้แก่บิดาของผู้เสียหายโดยไม่ประสงค์ให้ผู้เสียหายหลบหนีไปเสียจากบิดาเพื่อการอนาจาร จึงขอให้ศาลฎีกาได้โปรดพิจารณาและวินิจฉัยถึงคำร้องประกอบคำรับสารภาพของจำเลยด้วยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และที่ขอให้รอการลงโทษแก่จำเลยนั้น ก็เป็นฎีกาที่โต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4975/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง: การโต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์
คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยข้อหาความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนโดยมิได้แก้บทลงโทษและกำหนดโทษ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะพิพากษาแก้ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้คืนธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อของกลางแก่เจ้าของก็เป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้อง เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4360/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริงเมื่อคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และการขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกคำร้อง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4360/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริงจากทุนทรัพย์ต่ำกว่า 200,000 บาท และการขยายเวลาอุทธรณ์
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกคำร้อง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3279/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งความสุจริตในการซื้อบ้านจากการขายทอดตลาด เป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากบ้านโจทก์ ซึ่งแม้จะไม่ปรากฏในสำนวนว่า ขณะที่ยื่นคำฟ้องบ้านพิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท หรือไม่ แต่ก็ได้ความตามคำฟ้องว่าโจทก์ซื้อบ้านพิพาทจากการขายทอดตลาดในราคา 35,000 บาทโดยไม่ปรากฏว่าบ้านพิพาทอยู่ในทำเลการค้าอันจะทำให้ค่าเช่าบ้านสูงเป็นพิเศษแต่อย่างใด เชื่อได้ว่าบ้านดังกล่าวอาจให้เช่าในขณะยื่นคำฟ้องได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ฉะนั้น การที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ซื้อบ้านพิพาทโดยไม่สุจริต จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3257/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ไม่ใช่เนื้อหาคดีก็ต้องห้าม เพื่อป้องกันการประวิงคดี
การฎีกาคำสั่งขอขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ในคดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น แม้จะไม่ใช่ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีก็ต้องตกอยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดผลที่ไม่ควรจะเป็น กล่าวคือ หากฎีกาในเนื้อหาของคดีกลับต้องห้าม แต่ฎีกาข้อปลีกย่อยกลับฎีกาได้ซึ่งเป็นช่องทางก่อให้เกิดการประวิงคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยขึ้นมานั้น จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3257/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง แม้เป็นฎีกาข้อปลีกย่อยก็ต้องห้ามเพื่อป้องกันการประวิงคดี
การฎีกาคำสั่งขอขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ในคดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น แม้จะไม่ใช่ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีก็ต้องตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดผลที่ไม่ควรจะเป็น กล่าวคือหากฎีกาในเนื้อหาของคดีกลับต้องห้าม แต่ฎีกาข้อปลีกย่อยกลับฎีกาได้ซึ่งเป็นช่องทางก่อให้เกิดการประวิงคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยขึ้นมานั้น จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2924/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: ประเด็นสัญญาเช่าที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง
เมื่อตามคำฟ้องและคำให้การไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าหรือไม่ และวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ว่ามีข้อตกลงตามที่โจทก์อ้าง กรณีจึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าที่ทำไว้กับโจทก์เพราะทำผิดข้อตกลงดังกล่าว เท่ากับศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยผิดสัญญาเช่าเพราะทำผิดข้อตกลงตามที่โจทก์อ้างหรือไม่ จึงเป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทนอกเหนือจากคำฟ้องและคำให้การ คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ ไม่อาจถือว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อที่ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เมื่อโจทก์ยกปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีกว่ากรณีรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าที่ทำไว้ต่อโจทก์ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้จึงไม่ชอบ การที่โจทก์ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาอีกจึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย