พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5785/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยความเสียหายจากการทำงาน: หลักฐาน, ความเห็นแพทย์, และดุลพินิจศาล
พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 38 และมาตรา 40มิได้บัญญัติให้การที่กรรมการการแพทย์ผู้หนึ่งทำรายงานเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจะเป็นการไม่ชอบ เพราะไม่มีบทบัญญัติว่าความเห็นของกรรมการการแพทย์จะต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการการแพทย์เสียก่อนจึงจะเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนได้ เพียงแต่เมื่อมีปัญหาจะต้องขอคำปรึกษาแนะนำจากคณะกรรมการการแพทย์ คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจึงจะขอให้คณะกรรมการการแพทย์เสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40 และเมื่อรายงานผลการสอบสวนอาการเจ็บป่วยของโจทก์มิใช่การดำเนินงานในการให้บริการทางการแพทย์ แต่เป็นรายงานการตรวจร่างกายโจทก์ที่นายแพทย์ ส.กระทำขึ้นเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับสารพิษในร่างกายของโจทก์ หากคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเห็นว่าความเห็นดังกล่าวเพียงพอที่จะวินิจฉัยคำร้องขอของโจทก์ได้แล้วก็ไม่จำเป็นต้องนำเข้าปรึกษาคณะกรรมการการแพทย์ โดยนำรายงานดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนได้ และตามมาตรา 38 วรรคสองบัญญัติให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพเวชกรรมสาขาต่าง ๆ ดังนี้ เมื่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเห็นว่าเรื่องใดควรจะมอบหมายให้แพทย์ซึ่งเป็นผู้หนึ่งในคณะกรรมการการแพทย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคที่จะต้องวินิจฉัยว่ามีลักษณะอาการอย่างไร ก็อาจจะนำความเห็นของแพทย์ผู้นั้นมาพิจารณาเพื่อประกอบการวินิจฉัยได้ ดังนั้นรายงานผลการสอบสวนอาการเจ็บป่วยที่ ส.ทำขึ้นและนำเสนอให้คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนพิจารณาจึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 40
ในประเด็นข้อที่ว่า มีเหตุที่จะเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนตามฟ้องหรือไม่ ศาลแรงงานได้วินิจฉัยพยานโจทก์แล้วเห็นว่าการที่โจทก์มีปริมาณสารอะลูมิน่าเพิ่มขึ้นเป็นปริมาณสูงหลังจากที่ไม่ได้สัมผัสกับสารเช่นนี้ ไม่สอดคล้องด้วยเหตุผล อีกทั้งได้ความจาก ย.พยานศาล และนายแพทย์ส.ว่าสารอะลูมิน่านี้มีอยู่ทั่วไปในภาวะแวดล้อม หากเก็บตัวอย่างไม่ดีอาจมีการปนเปื้อนสารอะลูมิน่าจากภายนอกได้ง่าย การที่ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการปรากฏว่าโจทก์มีปริมาณสารอะลูมิน่าอยู่ในร่างกายสูงจนผิดไปจากปกติมากเช่นนี้จึงอาจเกิดจากการปนเปื้อนของสารอะลูมิน่าที่มีอยู่ในภาวะแวดล้อมในขณะจัดเก็บก็ได้ ลำพังผลการตรวจหาสารอะลูมิน่าในร่างกายของโจทก์ที่มีปริมาณสูงจนผิดปกติเพียงอย่างเดียว ไม่อาจยืนยันเด็ดขาดได้ว่าอาการป่วยของโจทก์เกิดจากสารอะลูมิน่าจากการทำงาน ส่วนพยานบุคคลที่จำเลยนำสืบล้วนแต่เป็นผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญเมื่อรับฟังประกอบกับเอกสารทางวิชาการของต่างประเทศเกี่ยวกับสารอะลูมิน่าตามเอกสารหมาย ล.35 และ ล.36 แล้วเห็นว่า มีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เจ็บป่วยโดยมีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลียปวดตามข้อ ชาตามแขนและมือจริง แต่การเจ็บป่วยดังกล่าวไม่ได้เกิดจากสารอะลูมิน่าจากการทำงาน ดังนี้ เมื่อศาลแรงงานได้นำข้อนำสืบของทั้งสองฝ่ายมาวินิจฉัยโดยละเอียด มิใช่ฟังเฉพาะเอกสารหมาย ล.35 และ ล.36 ที่เป็นภาษาต่างประเทศเท่านั้น การนำเอกสารทั้งสองฉบับมากล่าวอ้างเป็นส่วนหนึ่งในเหตุผลแห่งการวินิจฉัยย่อมกระทำได้ ไม่ทำให้การวินิจฉัยในส่วนอื่นเสียไป
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสาม ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าเห็นควรให้คู่ความฝ่ายที่ส่งเอกสารนั้นทำคำแปลที่เป็นภาษาไทย ซึ่งศาลอาจไม่สั่งให้ทำคำแปลก็ได้เช่นในกรณีที่เอกสารนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งแห่งพยานหลักฐานที่ฟังประกอบกับพยานหลักฐานอื่นที่เพียงพอต่อการวินิจฉัยข้อเท็จจริงแล้ว จึงไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสั่งให้คู่ความทำคำแปลเสมอไป การที่ศาลแรงงานมิได้สั่งให้จำเลยทำคำแปลเอกสารซึ่งเป็นภาษาต่างประเทศ การอ้างเอกสารดังกล่าวของฝ่ายจำเลยจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย และศาลแรงงานย่อมรับฟังเอกสารนั้นในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งแห่งพยานหลักฐานที่คู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารนำสืบได้
ป.วิ.พ.มาตรา 104 ซึ่งอนุโลมใช้ในคดีแรงงานด้วย บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติใดบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่ามิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่าหรือพยานแวดล้อมกรณี เพียงแต่มีหลักว่าให้ฟังประจักษ์พยานเป็นลำดับแรกแต่ถ้าประจักษ์พยานขัดต่อเหตุผลศาลก็อาจจะไม่รับฟังก็ได้ ส่วนพยานบอกเล่าและพยานแวดล้อมกรณีนั้น แม้จะมีน้ำหนักน้อยกว่าประจักษ์พยาน แต่ถ้าศาลเห็นว่าพยานหลักฐานที่เป็นประจักษ์พยานไม่น่าเชื่อถือ ศาลอาจฟังพยานหลักฐานอื่นได้
คดีนี้ประเด็นสำคัญที่จะต้องวินิจฉัยคือโจทก์เจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานหรือไม่ แพทย์ผู้ทำการตรวจร่างกายโจทก์และให้ความเห็นล้วนแต่เป็นพยานโดยตรง นายแพทย์ ส.พยานจำเลยเป็นผู้หนึ่งที่ได้ตรวจร่างกายโจทก์และให้ความเห็น แม้จะได้ทำการตรวจภายหลังจากที่แพทย์หญิง ช.และแพทย์หญิง อ.ได้ตรวจร่างกายโจทก์ ก็ไม่ทำให้นายแพทย์ ส.มิใช่พยานโดยตรง นอกจากนี้ ภ.ก็เป็นประจักษ์พยานเพราะเป็นผู้เก็บตัวอย่างฝุ่นในสถานที่ทำงานของโจทก์ไปตรวจเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนนายแพทย์ ธ.ก็ได้เบิกความให้ความเห็นทางวิชาการตรงกับความเห็นของแพทย์หญิง อ.เมื่อศาลแรงงานได้นำคำเบิกความของแพทย์ผู้ตรวจร่างกายโจทก์พร้อมทั้งความเห็นของพยานดังกล่าวมาพิจารณาประกอบกับพยานหลักฐานอื่นจึงเป็นการวินิจฉัยที่ชอบ และการที่ศาลแรงงานวินิจฉัยพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายแล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น ก็เป็นการวินิจฉัยที่ชอบแล้ว
ในประเด็นข้อที่ว่า มีเหตุที่จะเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนตามฟ้องหรือไม่ ศาลแรงงานได้วินิจฉัยพยานโจทก์แล้วเห็นว่าการที่โจทก์มีปริมาณสารอะลูมิน่าเพิ่มขึ้นเป็นปริมาณสูงหลังจากที่ไม่ได้สัมผัสกับสารเช่นนี้ ไม่สอดคล้องด้วยเหตุผล อีกทั้งได้ความจาก ย.พยานศาล และนายแพทย์ส.ว่าสารอะลูมิน่านี้มีอยู่ทั่วไปในภาวะแวดล้อม หากเก็บตัวอย่างไม่ดีอาจมีการปนเปื้อนสารอะลูมิน่าจากภายนอกได้ง่าย การที่ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการปรากฏว่าโจทก์มีปริมาณสารอะลูมิน่าอยู่ในร่างกายสูงจนผิดไปจากปกติมากเช่นนี้จึงอาจเกิดจากการปนเปื้อนของสารอะลูมิน่าที่มีอยู่ในภาวะแวดล้อมในขณะจัดเก็บก็ได้ ลำพังผลการตรวจหาสารอะลูมิน่าในร่างกายของโจทก์ที่มีปริมาณสูงจนผิดปกติเพียงอย่างเดียว ไม่อาจยืนยันเด็ดขาดได้ว่าอาการป่วยของโจทก์เกิดจากสารอะลูมิน่าจากการทำงาน ส่วนพยานบุคคลที่จำเลยนำสืบล้วนแต่เป็นผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญเมื่อรับฟังประกอบกับเอกสารทางวิชาการของต่างประเทศเกี่ยวกับสารอะลูมิน่าตามเอกสารหมาย ล.35 และ ล.36 แล้วเห็นว่า มีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เจ็บป่วยโดยมีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลียปวดตามข้อ ชาตามแขนและมือจริง แต่การเจ็บป่วยดังกล่าวไม่ได้เกิดจากสารอะลูมิน่าจากการทำงาน ดังนี้ เมื่อศาลแรงงานได้นำข้อนำสืบของทั้งสองฝ่ายมาวินิจฉัยโดยละเอียด มิใช่ฟังเฉพาะเอกสารหมาย ล.35 และ ล.36 ที่เป็นภาษาต่างประเทศเท่านั้น การนำเอกสารทั้งสองฉบับมากล่าวอ้างเป็นส่วนหนึ่งในเหตุผลแห่งการวินิจฉัยย่อมกระทำได้ ไม่ทำให้การวินิจฉัยในส่วนอื่นเสียไป
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสาม ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าเห็นควรให้คู่ความฝ่ายที่ส่งเอกสารนั้นทำคำแปลที่เป็นภาษาไทย ซึ่งศาลอาจไม่สั่งให้ทำคำแปลก็ได้เช่นในกรณีที่เอกสารนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งแห่งพยานหลักฐานที่ฟังประกอบกับพยานหลักฐานอื่นที่เพียงพอต่อการวินิจฉัยข้อเท็จจริงแล้ว จึงไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสั่งให้คู่ความทำคำแปลเสมอไป การที่ศาลแรงงานมิได้สั่งให้จำเลยทำคำแปลเอกสารซึ่งเป็นภาษาต่างประเทศ การอ้างเอกสารดังกล่าวของฝ่ายจำเลยจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย และศาลแรงงานย่อมรับฟังเอกสารนั้นในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งแห่งพยานหลักฐานที่คู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารนำสืบได้
ป.วิ.พ.มาตรา 104 ซึ่งอนุโลมใช้ในคดีแรงงานด้วย บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติใดบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่ามิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่าหรือพยานแวดล้อมกรณี เพียงแต่มีหลักว่าให้ฟังประจักษ์พยานเป็นลำดับแรกแต่ถ้าประจักษ์พยานขัดต่อเหตุผลศาลก็อาจจะไม่รับฟังก็ได้ ส่วนพยานบอกเล่าและพยานแวดล้อมกรณีนั้น แม้จะมีน้ำหนักน้อยกว่าประจักษ์พยาน แต่ถ้าศาลเห็นว่าพยานหลักฐานที่เป็นประจักษ์พยานไม่น่าเชื่อถือ ศาลอาจฟังพยานหลักฐานอื่นได้
คดีนี้ประเด็นสำคัญที่จะต้องวินิจฉัยคือโจทก์เจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานหรือไม่ แพทย์ผู้ทำการตรวจร่างกายโจทก์และให้ความเห็นล้วนแต่เป็นพยานโดยตรง นายแพทย์ ส.พยานจำเลยเป็นผู้หนึ่งที่ได้ตรวจร่างกายโจทก์และให้ความเห็น แม้จะได้ทำการตรวจภายหลังจากที่แพทย์หญิง ช.และแพทย์หญิง อ.ได้ตรวจร่างกายโจทก์ ก็ไม่ทำให้นายแพทย์ ส.มิใช่พยานโดยตรง นอกจากนี้ ภ.ก็เป็นประจักษ์พยานเพราะเป็นผู้เก็บตัวอย่างฝุ่นในสถานที่ทำงานของโจทก์ไปตรวจเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนนายแพทย์ ธ.ก็ได้เบิกความให้ความเห็นทางวิชาการตรงกับความเห็นของแพทย์หญิง อ.เมื่อศาลแรงงานได้นำคำเบิกความของแพทย์ผู้ตรวจร่างกายโจทก์พร้อมทั้งความเห็นของพยานดังกล่าวมาพิจารณาประกอบกับพยานหลักฐานอื่นจึงเป็นการวินิจฉัยที่ชอบ และการที่ศาลแรงงานวินิจฉัยพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายแล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น ก็เป็นการวินิจฉัยที่ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 56/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพัน, การลดเบี้ยปรับ, และค่าทนายความที่เหมาะสมกับรูปคดี
ตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้โจทก์ถอนฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาที่โจทก์กับพวกฟ้องจำเลยรวม11คดีภายในกำหนด3วันนับแต่วันทำสัญญาและให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามที่ระบุไว้คืนแก่จำเลยภายในกำหนด15วันนับแต่วันทำสัญญาและจำเลยตกลงจะชำระเงินแก่โจทก์จำนวน18,000,000บาทภายในวันที่31กรกฎาคม2535ปรากฏว่าสำนวนคดีที่ตกลงให้โจทก์ถอนฟ้องเป็นคดีที่ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497จำนวน6คดีและเป็นคดีฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ในทางแพ่งจำนวน5คดีทั้ง11คดีดังกล่าวไม่ใช่คดีอาญาแผ่นดินฉะนั้นข้อตกลงในส่วนดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150แม้ข้อตกลงในส่วนที่ให้จำเลยถอนฟ้องและไม่ดำเนินคดีในข้อหาฟ้องเท็จตามคดีอาญาที่ระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความเอกสารจ.1ข้อ1(ฎ)เป็นคดีอาญาแผ่นดินซึ่งอาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนตกเป็นโมฆะก็ตามก็เป็นส่วนที่แยกออกจากส่วนที่สมบูรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา173ซึ่งไม่เกี่ยวกับส่วนที่จำเลยจะต้องชำระเงินเพื่อตอบแทนแก่โจทก์ในการที่โจทก์ได้ถอนฟ้องคดีทั้ง11สำนวนตามที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องเช็คขึ้นวินิจฉัยเป็นไปตามประเด็นที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องจึงไม่เป็นเรื่องนอกประเด็น การที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงยินยอมให้เบี้ยปรับแก่โจทก์เป็นเงิน5,000,000บาทหากจำเลยที่1เป็นฝ่ายผิดสัญญาแสดงว่าจำเลยที่1มีเจตนาผูกพันตามนั้นจำเลยที่1จึงมีหน้าที่ต้องเสียเบี้ยปรับแก่โจทก์แต่ก็ไม่ได้บังคับว่าจะต้องเป็นไปตามนั้นโดยเด็ดขาดศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้โดยพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา383 ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าคดีนี้ไม่ยุ่งยากศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทนายความทั้งสองศาลแก่โจทก์รวม3,000,000บาทสูงเกินไปนั้นเป็นดุลพินิจที่เหมาะกับรูปคดีแล้วไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะไปเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5565/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงเปลี่ยนแปลงกำหนดส่งมอบงานและการใช้ดุลพินิจศาลในการลดเบี้ยปรับ
แม้หนังสือสัญญาว่าจ้างทำเฟอร์นิเจอร์ฉบับพิพาทจะได้กำหนดให้ทำเฟอร์นิเจอร์ส่งมอบแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 2532 แต่ต่อมาโจทก์ในฐานะผู้รับจ้างกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างก็ได้ตกลงเลื่อนกำหนดวันส่งมอบงานออกไปเป็นให้ส่งมอบงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 5 สิงหาคม 2533 แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้ถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาเดิมเป็นสาระสำคัญอีกต่อไป ดังนั้นจำเลยที่ 1 จะอ้างว่าโจทก์ส่งมอบงานล่าช้าโดยถือว่าโจทก์ผิดสัญญาก่อนวันที่ 5สิงหาคม 2533 หาได้ไม่
โจทก์ได้ตกลงทำสัญญากับจำเลยที่ 1 แล้วว่าหากทำไม่แล้วเสร็จภายในวันที่ 5 สิงหาคม 2533 ก็จะยอมให้ปรับ โดยจำเลยที่ 1 ยินยอมให้ผ่อนผันโดยไม่ทักท้วง พฤติการณ์แสดงว่าข้อสัญญาที่เกี่ยวกับการส่งมอบล่าช้าหรือไม่แล้วเสร็จตามสัญญาเดิมคู่สัญญาต่างมีเจตนาระงับกันไปโดยไม่ถือว่าเป็นการผิดนัดผิดสัญญาอีกต่อไปจนกว่าจะล่วงพ้นวันที่ 5 สิงหาคม 2533 ดังนี้ เมื่อโจทก์ส่งมอบงานให้แก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วนทั้งหมดแล้วในวันที่ 10 กันยายน 2533 ล่าช้าไปจากวันที่ 5สิงหาคม 2533 เป็นระยะเวลา 35 วัน ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็มิได้โต้แย้ง เท่ากับว่าโจทก์ผิดสัญญาเพียง 35 วัน ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดปรับรายวันรวม 35 วันมาจึงชอบแล้ว
เบี้ยปรับถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาชดใช้แก่ฝ่ายที่มิได้ผิดสัญญา แต่ก็มิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าจะต้องเป็นไปตามข้อตกลงศาลอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับลงได้
โจทก์ได้ตกลงทำสัญญากับจำเลยที่ 1 แล้วว่าหากทำไม่แล้วเสร็จภายในวันที่ 5 สิงหาคม 2533 ก็จะยอมให้ปรับ โดยจำเลยที่ 1 ยินยอมให้ผ่อนผันโดยไม่ทักท้วง พฤติการณ์แสดงว่าข้อสัญญาที่เกี่ยวกับการส่งมอบล่าช้าหรือไม่แล้วเสร็จตามสัญญาเดิมคู่สัญญาต่างมีเจตนาระงับกันไปโดยไม่ถือว่าเป็นการผิดนัดผิดสัญญาอีกต่อไปจนกว่าจะล่วงพ้นวันที่ 5 สิงหาคม 2533 ดังนี้ เมื่อโจทก์ส่งมอบงานให้แก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วนทั้งหมดแล้วในวันที่ 10 กันยายน 2533 ล่าช้าไปจากวันที่ 5สิงหาคม 2533 เป็นระยะเวลา 35 วัน ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็มิได้โต้แย้ง เท่ากับว่าโจทก์ผิดสัญญาเพียง 35 วัน ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดปรับรายวันรวม 35 วันมาจึงชอบแล้ว
เบี้ยปรับถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาชดใช้แก่ฝ่ายที่มิได้ผิดสัญญา แต่ก็มิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าจะต้องเป็นไปตามข้อตกลงศาลอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4608/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์: ผลของใบแต่งทนายไม่สมบูรณ์และการใช้ดุลพินิจศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ทนายความจำเลยที่ 2และที่ 3 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น พร้อมทั้งยื่นใบแต่งทนายความลงวันที่เดียวกันกับคำร้องระบุจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้แต่งทนายความและมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความ แต่มิได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 3 ให้ถูกต้องตามที่จดทะเบียนไว้ ศาลชั้นต้นรับใบแต่งทนายความและอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามคำร้อง หลังจากนั้นมีการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อีก 1 ครั้ง ต่อมาจำเลยทั้งสามยื่นอุทธรณ์เป็นฉบับเดียวกันภายในกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น โดย ส.ทนายความเป็นผู้เรียงอุทธรณ์ พร้อมทั้งยื่นใบแต่งทนายความ2 ฉบับ ลงวันที่เดียวกันกับอุทธรณ์ ฉบับหนึ่งมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้แต่งทนายความโดยมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 3 ส่วนอีกฉบับหนึ่ง จำเลยที่ 1 เป็นผู้แต่งทนายความและลงลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความ ดังนี้ ในส่วนของจำเลยที่ 3 ต้องถือว่าจำเลยที่ 3ได้ยื่นคำร้องพร้อมกับจำเลยที่ 2 ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดอุทธรณ์และได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นเพียงแต่ใบแต่งทนายความของจำเลยที่ 3 ฉบับแรกไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยที่ 3ที่ได้จดทะเบียนไว้ แต่จำเลยที่ 3 ได้แก้ไขข้อบกพร่องโดยยื่นใบแต่งทนายความฉบับใหม่ต่อศาลชั้นต้นพร้อมกับยื่นอุทธรณ์และศาลชั้นต้นรับใบแต่งทนายความฉบับใหม่ไว้แล้ว คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จึงมีผลสมบูรณ์และผูกพันจำเลยที่ 3 มาแต่เริ่มแรก ศาลอุทธรณ์จึงไม่จำเป็นต้องสั่งขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 3 อีก
แม้จำเลยที่ 1 จะไม่เคยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์มาก่อน แต่การขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ศาลมีอำนาจสั่งเองได้ โดยคู่ความไม่จำเป็นต้องร้องขอ และจะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษกับมีคำสั่งก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ซึ่งเหตุสุดวิสัยดังกล่าวหมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งหรือคู่ความไม่สามารถมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายหรือศาลกำหนดไว้ ฉะนั้น หากมีพฤติการณ์นอกเหนือที่ศาลไม่อาจมีคำสั่งขยายเวลาให้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ในการดำเนินการกระบวนพิจารณาย่อมนับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
คดีนี้ศาลอุทธรณ์ไม่อาจมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ได้ นับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นอุทธรณ์ได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 23 และ 246
แม้จำเลยที่ 1 จะไม่เคยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์มาก่อน แต่การขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ศาลมีอำนาจสั่งเองได้ โดยคู่ความไม่จำเป็นต้องร้องขอ และจะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษกับมีคำสั่งก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ซึ่งเหตุสุดวิสัยดังกล่าวหมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งหรือคู่ความไม่สามารถมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายหรือศาลกำหนดไว้ ฉะนั้น หากมีพฤติการณ์นอกเหนือที่ศาลไม่อาจมีคำสั่งขยายเวลาให้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ในการดำเนินการกระบวนพิจารณาย่อมนับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
คดีนี้ศาลอุทธรณ์ไม่อาจมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ได้ นับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นอุทธรณ์ได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 23 และ 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งดุลพินิจศาลเรื่องการริบของกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 3 เดือน ปรับ 5,500 บาทโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี รถจักรยานยนต์ของกลางไม่ริบศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรกที่โจทก์ฎีกาว่ารถจักรยานยนต์ของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรงจึงสมควรริบนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาล เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6972/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อจากคดีก่อน และดุลพินิจศาลในการรอการลงโทษเมื่อพฤติการณ์เหมาะสม
โจทก์ฟ้องขอให้นับโทษจำเลยติดต่อกับโทษของจำเลยในคดีก่อนปรากฏว่าคดีก่อนศาลพิพากษาลงโทษจำคุกแต่ให้รอการลงโทษไว้จึงไม่อาจนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ติดต่อกับคดีก่อนได้ต้องนับแต่วันต้องขังตามหลักทั่วไป ฎีกาของจำเลยที่ขอให้รอการลงโทษเป็นฎีกาในดุลพินิจซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218แต่ในคดีที่ฎีกาได้แต่ปัญหาข้อกฎหมายเมื่อพฤติการณ์ที่ปรากฏในคดีโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดยังไม่เหมาะสมแก่รูปคดีศาลฎีกาย่อมมีอำนาจเปลี่ยนแปลงดุลพินิจในการลงโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5901/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำคุกและปรับในคดียาเสพติด ศาลใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกและรอการลงโทษได้
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522มาตรา15วรรคหนึ่งซึ่งมีบทลงโทษตามมาตรา67ให้ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทการที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียวโดยไม่ลงโทษปรับและรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา17มาตรา20และมาตรา56
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4822/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการรอการลงโทษ: ศาลอุทธรณ์โต้แย้งอุทธรณ์โจทก์โดยอ้อมได้ ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกเหตุผลในการตัดสินมาหักล้างกับเหตุผลที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวอ้างไว้ในอุทธรณ์นั้นตรง ๆ แต่ศาลอุทธรณ์ได้แสดงเหตุผลในการตัดสินโต้แย้งอุทธรณ์ของโจทก์ไว้โดยอ้อมแล้วว่า ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจในการลงโทษจำเลยเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขอุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น อันหมายถึงว่าเหตุผลตามอุทธรณ์ของโจทก์นั้นสู้เหตุผลที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยตามพฤติการณ์แห่งคดีโดยรอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยไม่ได้ จึงไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยดังนี้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้แสดงเหตุผลในการตัดสินใจในปัญหาข้อเท็จจริงไว้แล้วจึงเป็นการชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(6)ประกอบมาตรา 215
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกา: อายุจำเลยและดุลพินิจศาลในการลดโทษ
ปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่ว่า ขณะจำเลยกระทำความผิดจำเลยมีอายุยังไม่เกินยี่สิบปี แต่ศาลชั้นต้นมิได้ระบุไว้ในคำพิพากษาให้ลดหรือไม่ลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 แก่จำเลย เป็นการชอบหรือไม่นั้นมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย และมิได้เป็นข้อที่จำเลยยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาคตรา 195วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 225
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีเหตุสมควรได้รับการลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 2 อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ฎีกาจำเลยจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีเหตุสมควรได้รับการลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 2 อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ฎีกาจำเลยจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4324/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินโดยคำนึงถึงการอยู่อาศัยและหลีกเลี่ยงความเดือดร้อนจากการรื้อถอน
การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ยังไม่ได้มีการแบ่งแยกเป็นสัดส่วนถ้าหากให้เอาที่ดินประมูลหรือขายทอดตลาดแล้วเอาเงินแบ่งให้โจทก์ทั้งสามและจำเลยตามส่วนแล้วจำเลยอาจจะต้องรื้อบ้านของจำเลยที่ปลูกสร้างอยู่แล้วออกไปเป็นการเดือดร้อนแล้วศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยได้ส่วนแบ่งทางด้านของที่ดินที่บ้านจำเลยตั้งอยู่ได้ไม่จำต้องสั่งให้ทำการประมูลหรือขายทอดตลาดที่ดินแล้วเอาเงินแบ่งกันดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ก็ได้