พบผลลัพธ์ทั้งหมด 126 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4452/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนอากรเกินเมื่อสำแดงพิกัดผิด กรมศุลกากรต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและภาษาที่ใช้
การเรียกร้องขอคืนอากรที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงจะต้องเป็นกรณีผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก่อนการส่งมอบหรือส่งออกว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากรที่ชำระไว้เกินนั้นประการหนึ่งกับพนักงานเจ้าหน้าที่พึงต้องรู้อยู่ก่อนส่งมอบหรือส่งออกว่าอากรที่ชำระไว้นั้นเกินจำนวนที่พึงต้องเสียสำหรับของที่ส่งมอบหรือส่งออกอีกประการหนึ่ง ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา10 วรรคห้า การที่โจทก์นำเข้ากล้องถ่ายโทรทัศน์ซึ่งเป็นของตามพิกัดประเภทที่ 8525.30 ต้องเสียอากรร้อยละ 5 โดยยื่นใบขนสินค้าและแบบแสดงรายการการค้าว่าเครื่องบันทึกภาพวีดีโอครบชุด มีภาษาอังกฤษกำกับไว้ว่า "1/2InchHSCompactMovie,CameraW/Accessories" และเสียอากรร้อยละ 30 ตามพิกัดประเภทที่ 8521.10 ซึ่งไม่ถูกต้อง กรณีนี้พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจำเลยพึงต้องรู้ เพราะใบขนสินค้านั้นจะทำขึ้นเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 113 จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องคัดเลือกพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความเข้าใจภาษาอังกฤษพอสมควรมาทำหน้าที่ตรวจสอบใบขนสินค้าและตรวจสอบของก่อนสั่งปล่อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4452/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนภาษีอากรเมื่อสำแดงพิกัดศุลกากรผิดพลาด พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบ
พระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 10 วรรคห้า นั้น การเรียกร้องขอคืนภาษีอากรที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริง จะต้องเป็นกรณีผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบ หรือส่งออกว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากรที่ชำระไว้เกินนั้นประการหนึ่ง กับอีกประการหนึ่งคือพนักงานเจ้าหน้าที่พึงต้องรู้อยู่ก่อนส่งมอบหรือส่งออกว่าอากรที่ชำระไว้นั้นเกินจำนวนที่พึงต้องเสียสำหรับของที่ส่งมอบหรือส่งออกสินค้ารายพิพาทที่โจทก์นำเข้าได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าว่าเครื่องบันทึกภาพวีดีโอครบชุด โดยมีภาษาอังกฤษกำกับไว้ว่า"1/2InchHSCompactMovie,Cameraw/Accessories" ตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 113 บัญญัติว่า "บรรดาใบขนสินค้าบัญชี สมุดบัญชี บันทึกเรื่องราวหรือเอกสารไม่ว่าประเภทใด ๆให้ทำและถือไว้เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ" แสดงว่าใบขนสินค้าจะทำขึ้นเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ จำเลยจะต้องคัดเลือกพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความเข้าใจภาษาอังกฤษพอสมควรมาทำหน้าที่ตรวจสอบใบขนสินค้า และตรวจสอบของก่อนสั่งปล่อยสินค้าว่าสินค้าที่นำเข้าตรงกับที่สำแดงไว้หรือไม่ ภาษาอังกฤษคำว่า"Camera" มีความหมายว่า "กล้อง" ส่วนคำว่า "Recorder" มีความหมายว่า "เครื่องบันทึก" เป็นคำสามัญทั่วไปไม่ใช่คำที่ใช้ในทางเทคนิคโดยเฉพาะ ทั้งในพิกัดอัตราศุลกากรที่ 85.21 ที่ระบุเครื่องบันทึกภาพวีดีโอก็ใช้คำว่า "ideoRecording" ส่วนพิกัดอัตราศุลกากรที่ 8525.30 ที่ระบุถึงกล้องถ่ายโทรทัศน์ก็ใช้คำว่า"TelevisionCameras" หากพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้ความระมัดระวังและตรวจสอบรายการสินค้าที่โจทก์แสดงพิกัดศุลกากรที่โจทก์ระบุ ก็น่าจะพบว่ารายการสินค้ารายพิพาทนั้น ภาษาไทยและภาษาอังกฤษไม่ตรงกัน จึงเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยพึงต้องรู้ก่อนส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ว่าโจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรผิด และอากรที่ชำระไว้นั้นเกินจำนวนที่พึงต้องเสียสำหรับสินค้าพิพาทที่ส่งมอบ ตามพระราชบัญญัติศุลกากรมาตรา 10 วรรคห้า โจทก์จึงมีสิทธิขอคืนอากรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ดุลพินิจอนุญาตเลื่อนคดีเนื่องจากเจ็บป่วย ต้องพิจารณาเหตุผลและสามารถตรวจสอบความจริงได้
การอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล แต่ศาลก็ต้องใช้ดุลพินิจอย่างมีเหตุผล ในวันนัดไต่สวนคำร้องนัดที่ 2 ทนายผู้ร้องยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่า ว. กรรมการผู้จัดการของผู้ร้องป่วยปรากฏตามใบรับรองแพทย์ท้ายคำร้องการขอเลื่อนคดีนัดที่ 2 จึงเป็นการอ้างเหตุขอเลื่อนคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 41 หากศาลชั้นต้นมีความสงสัยว่า ว. จะป่วยจริงตามใบรับรองแพทย์หรือไม่ ก็มีอำนาจไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(4) หรือจะตั้งเจ้าพนักงานศาลไปตรวจก็ได้ ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนคดีโดยเห็นว่าผู้ร้องไม่เตรียมพยานปากอื่นมาศาลโดยมิได้แถลงว่าพยานที่เหลือมีข้อขัดข้องอย่างไรถึงไม่มาศาล ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับพยานปากอื่นของผู้ร้องมาหรือไม่มาศาลเท่านั้นหาใช่เหตุที่จะนำมาพิจารณาไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีเพราะคู่ความอ้างว่าเจ็บป่วยตามมาตรา 40 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3757/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการโต้แย้งผลการตรวจสอบของเจ้าพนักงานที่ดินตามคำท้าของคู่ความในคดี
คู่ความท้ากันไว้ว่า ถ้าเจ้าพนักงานที่ดินตรวจสอบที่ดินพิพาทแล้วรายงานว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตาม ส.ค.1 เลขที่ 412 จริง จำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้องและยอมแพ้คดี แต่ถ้าหากเจ้าพนักงานที่ดินตรวจสอบแล้วที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินตาม ส.ค.1 เลขที่ 413 ตามที่โจทก์ฟ้อง ก็ให้ถือว่าโจทก์ยอมแพ้เจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินรายงานต่อศาลว่าได้ไปดำเนินการตรวจสอบที่ดินพิพาทแล้วสรุปได้ว่าที่ดินแปลงดังกล่าวน่าจะเป็นที่ดินแปลงตามหลักฐาน ส.ค.1 เลขที่ 412 แปลงพิพาท ชี้ชัดแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตาม ส.ค.1 เลขที่ 412 จริง ผลก็คือเจ้าพนักงานที่ดินตรวจสอบที่ดินพิพาทแล้วรายงานงานว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตาม ส.ค.1เลขที่ 412 ตรงตามคำท้าของคู่ความที่จำเลยจะต้องแพ้คดีโจทก์ จำเลยจะนำเอารายละเอียดข้อเท็จจริงประกอบเหตุผลในการลงความเห็นของเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินมาเป็นข้ออุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งว่าไม่ตรงตามสภาพความเป็นจริง เป็นการคาดคะเนด้วยความเห็นส่วนตัวโดยไม่แน่ใจว่าจะใช่ที่ดิน ส.ค.21 เลตจที่ 412 จริงหรือไม่จึงเป็นรายการไม่ตรงตามคำท้า และต้องดำเนินคดีสืบพยานโจทก์จำเลยกันต่อไปใหม่เป็นการโต้แย้งการตรวจสอบและลงความเห็นของเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดิน ซึ่งคู่ความท้ากันให้เป็นผู้ตรวจสอบและลงความเห็นนั้นอีกหาได้ไม่ เพราะเป็นการอุทธรณ์ฎีกานอกประเด็นคำท้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2776/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากคำสั่งอายัดทรัพย์ที่ไม่ถูกต้อง แม้ตรวจสอบแล้ว แต่ยังประมาทเลินเล่อ
โจทก์เป็นคนละนิติบุคคลกับบริษัท ต. กรมสรรพากร จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2ออกคำสั่งอายัดเงินค่าจ้างก่อสร้างทางหลวงที่โจทก์พึงจะได้รับจากกรมทางหลวง โดยอ้างว่าโจทก์คือบริษัท ต.ซึ่งค้างชำระค่าภาษีอากรแก่จำเลยที่ 1 โดยอาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองกระทำผิดพลาดไปโดยไม่ตรวจสอบให้รอบคอบเสียก่อนออกคำสั่งอายัดเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อโดยผิดกฎหมายทำให้โจทก์เสียหาย ไม่ได้รับเงินดังกล่าวจากกรมทางหลวง เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2776/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากคำสั่งอายัดทรัพย์ที่ไม่ถูกต้อง แม้ตรวจสอบแล้ว แต่ยังประมาทเลินเล่อ
บริษัทโจทก์เป็นคนละนิติบุคคลกับบริษัท ต.กรมสรรพกรจำเลยที่ 1 โดย จำเลยที่ 2 ออกคำสั่งอายัดเงินค่าจ้างก่อสร้างทางหลวงที่โจทก์พึงจะได้รับจากกรมทางหลวงอ้างว่าโจทก์คือบริษัทต. ซึ่งค้างชำระค่าภาษีอากรแก่จำเลยที่ 1 โดย อาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองกระทำผิดพลาดไปโดย ไม่ตรวจสอบให้รอบคอบก่อนออกคำสั่งอายัด เป็นการประมาทเลินเล่อโดย ผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับเงินจากกรมทางหลวงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5251/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี: การตรวจสอบบัญชี, ค่าใช้จ่ายที่หักได้, และการโต้แย้งการประเมิน
โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย อ้างว่าเสียไว้เกินเจ้าพนักงานประเมินต้องตรวจสอบว่าโจทก์ชำระภาษีเกินหรือไม่ผลจากการตรวจสอบจึงพบว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงถือได้ว่ามีเหตุอันควรเชื่อว่าโจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์ไปไต่สวนได้ตามความในมาตรา 19 แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์อ้างว่าได้รับยกให้ที่ดินที่ติดจำนอง 1,000,000 บาท โจทก์ไถ่ถอนจำนองและต้องชำระดอกเบี้ยจำนวนหลายแสนบาท จะต้องถือเป็นรายจ่ายนำไปหักจากรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิ แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่า โจทก์เสียดอกเบี้ยจริงหรือไม่และจำนวนเท่าไรเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบที่จะฟังว่าไม่มีดอกเบี้ยที่จะนำมาหักเป็นรายจ่ายของโจทก์ โจทก์และบริษัท ส. ต่างเป็นนิติบุคคลแยกจากกัน เงินที่โจทก์นำไปชำระแก่ธนาคารแทนบริษัท ส. มิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการของโจทก์ จึงถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ของโจทก์มิได้ตาม มาตรา 65 ตรี(13) ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าเจ้าพนักงานประเมินประเมินรายได้ของ โจทก์ในการจำหน่ายตั๋วภาพยนตร์โดยวิธีสุ่มตัวอย่างไม่ชอบ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ประเด็นนี้ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ถือว่าโจทก์ไม่ติดใจอุทธรณ์ แล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะยกขึ้น โต้แย้งการประเมินต่อศาลได้อีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3977/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายหนังสือละเมิดลิขสิทธิ์: ผู้ประกอบการค้าต้องตรวจสอบความถูกต้องของสินค้าก่อนจำหน่าย
หนังสือของกลางจำนวน 91 เล่ม ที่จำเลยขายหรือเสนอขาย พิมพ์ลอกเลียนจากหนังสือฉบับแท้จริงของกระทรวงศึกษาธิการผู้เสียหายมีลักษณะแตกต่างจากหนังสือฉบับแท้จริงอย่างเห็นได้ชัด จำเลยเป็นพ่อค้าประกอบอาชีพจำหน่ายหนังสือแบบเรียนและแบบฝึกหัดมานานประมาณ20 ปีแล้ว มีร้านค้าของตนเองและเป็นตัวแทนจำหน่ายหนังสือแบบเรียนขององค์การค้าของคุรุสภา จำเลยย่อมมีความรู้ความเข้าใจมีประสบการณ์และความชำนาญในการตรวจตราหนังสือแบบเรียนและแบบฝึกหัดต่าง ๆ ที่สั่งมาจำหน่ายในร้านค้าของตนว่าถูกต้องหรือไม่ จำเลยได้รู้เห็นหนังสือของกลางนั้นอยู่แล้วว่าไม่ใช่เป็นหนังสือแบบเรียนหรือแบบฝึกหัดที่แท้จริงของผู้เสียหาย และย่อมสังเกตเห็นว่าหนังสือของกลางดังกล่าวมีลักษณะแตกต่างจากหนังสือของผู้เสียหายที่จำเลยเคยสั่งซื้อจากองค์การค้าของคุรุสภา ซึ่งผู้เสียหายสงวนลิขสิทธิ์ดังนี้ ถือได้ว่า จำเลยขายหรือเสนอขายหนังสือของกลางจำนวน 91 เล่มนั้นโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นหนังสือที่พิมพ์ขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายจำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีตามมาตรา 49 ต้องตรวจสอบรายได้-รายจ่ายให้ทราบจริงก่อน มิใช่แค่ผู้มีเงินได้ไม่ยื่นหรือยื่นต่ำ
การที่เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีโจทก์ โดยวิธีการตามมาตรา 49แห่งประมวลรัษฎากรได้ จะต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินไม่สามารถทราบได้ว่าโจทก์มีรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงเพียงใด หาใช่เพียงแต่เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าผู้มีเงินได้มิได้ยื่นรายการเงินได้หรือยื่นรายการเงินได้ต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องยื่น ก็มีอำนาจกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิตามอำนาจพิเศษที่กำหนดไว้ในมาตรา 49 โดยอนุมัติของอธิบดีกรมสรรพากรได้ทันทีไม่ ดังจะเห็นได้จากตัวบทมาตรา 49 ที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 19 ถึง 26 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งหมายความว่าเจ้าพนักงานประเมินจะต้องทำการตรวจสอบไต่สวนโดยวิธีการปกติตามอำนาจในมาตรา 19และ 23 จนไม่อาจทราบได้ว่าผู้มีเงินได้นั้นมีรายได้รายจ่ายที่แท้จริงเพียงใดแล้วจึงชอบที่จะใช้อำนาจตามมาตรา 49 ได้
เจ้าพนักงานประเมินนำข้อมูลที่ได้จากโจทก์และข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบของตนมาคิดคำนวณหาเงินได้สุทธิของโจทก์ ตามสูตรการหาเงินได้สุทธิตามมาตรา 49 ที่จำเลยที่ 1ใช้อยู่ แล้วคำนวณหาจำนวนเงินภาษีที่โจทก์ต้องชำระ โดยไม่ปรากฏในรายงานที่จัดทำเสนอขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรเพื่อใช้วิธีการตามมาตรา 49 กับโจทก์เลยว่าข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบไต่สวนมีทางที่จะทราบรายได้รายจ่ายที่แท้จริงของโจทก์หรือไม่ เพราะเหตุใด แม้ในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ปรากฏเพียงว่ามีการนำหลักฐานที่โจทก์นำไปแสดงเพิ่มเติมมาพิจารณาปรับปรุงรายการต่าง ๆ เพื่อให้ถูกต้องตามสูตรการหาเงินได้สุทธิของโจทก์เท่านั้น แสดงว่าเจ้าพนักงานประเมินประสงค์ใช้วิธีการตามมาตรา 49 กับโจทก์มาแต่แรก เนื่องจากเห็นว่าโจทก์แสดงจำนวนเงินปันผลในแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่ำและทำการประเมินภาษีโจทก์โดยวิธีการตามมาตรา 49 โดยมิได้คำนึงว่าข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบไต่สวนยังสามารถทราบรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงของโจทก์หรือไม่
การที่โจทก์มิได้แจ้งรายได้จากเงินปันผลที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว และมิได้แจ้งรายได้จากการขายหุ้นที่ไม่ต้องนำมาคิดคำนวณเพื่อเสียภาษี ถือได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดเพียงเล็กน้อยทั้งไม่ปรากฏว่ามีกรณีที่โจทก์ไม่นำหลักฐานที่เจ้าพนักงานประเมินต้องการมาแสดงหรือหลีกเลี่ยงไม่ยอมตอบคำถามหรือข้อสงสัยของเจ้าพนักงานประเมิน กลับปรากฏว่าโจทก์ได้จัดทำบัญชีแหล่งที่มาของเงินได้โดยละเอียดมอบให้เจ้าพนักงานประเมินพร้อมหลักฐานที่แสดงถึงที่มาของเงินได้และไปพบเจ้าพนักงานประเมินตามนัดถึง 6 ครั้ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์มิได้มีเจตนาปกปิดแหล่งที่มาของเงินได้และให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานประเมินในการตรวจสอบไต่สวนเป็นอย่างดี กรณีของโจทก์เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินยังสามารถทราบได้ว่าโจทก์มีรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงเพียงใด
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2534)
เจ้าพนักงานประเมินนำข้อมูลที่ได้จากโจทก์และข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบของตนมาคิดคำนวณหาเงินได้สุทธิของโจทก์ ตามสูตรการหาเงินได้สุทธิตามมาตรา 49 ที่จำเลยที่ 1ใช้อยู่ แล้วคำนวณหาจำนวนเงินภาษีที่โจทก์ต้องชำระ โดยไม่ปรากฏในรายงานที่จัดทำเสนอขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรเพื่อใช้วิธีการตามมาตรา 49 กับโจทก์เลยว่าข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบไต่สวนมีทางที่จะทราบรายได้รายจ่ายที่แท้จริงของโจทก์หรือไม่ เพราะเหตุใด แม้ในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ปรากฏเพียงว่ามีการนำหลักฐานที่โจทก์นำไปแสดงเพิ่มเติมมาพิจารณาปรับปรุงรายการต่าง ๆ เพื่อให้ถูกต้องตามสูตรการหาเงินได้สุทธิของโจทก์เท่านั้น แสดงว่าเจ้าพนักงานประเมินประสงค์ใช้วิธีการตามมาตรา 49 กับโจทก์มาแต่แรก เนื่องจากเห็นว่าโจทก์แสดงจำนวนเงินปันผลในแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่ำและทำการประเมินภาษีโจทก์โดยวิธีการตามมาตรา 49 โดยมิได้คำนึงว่าข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบไต่สวนยังสามารถทราบรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงของโจทก์หรือไม่
การที่โจทก์มิได้แจ้งรายได้จากเงินปันผลที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว และมิได้แจ้งรายได้จากการขายหุ้นที่ไม่ต้องนำมาคิดคำนวณเพื่อเสียภาษี ถือได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดเพียงเล็กน้อยทั้งไม่ปรากฏว่ามีกรณีที่โจทก์ไม่นำหลักฐานที่เจ้าพนักงานประเมินต้องการมาแสดงหรือหลีกเลี่ยงไม่ยอมตอบคำถามหรือข้อสงสัยของเจ้าพนักงานประเมิน กลับปรากฏว่าโจทก์ได้จัดทำบัญชีแหล่งที่มาของเงินได้โดยละเอียดมอบให้เจ้าพนักงานประเมินพร้อมหลักฐานที่แสดงถึงที่มาของเงินได้และไปพบเจ้าพนักงานประเมินตามนัดถึง 6 ครั้ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์มิได้มีเจตนาปกปิดแหล่งที่มาของเงินได้และให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานประเมินในการตรวจสอบไต่สวนเป็นอย่างดี กรณีของโจทก์เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินยังสามารถทราบได้ว่าโจทก์มีรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงเพียงใด
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2534)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีตามมาตรา 49 ต้องตรวจสอบรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงก่อน มิใช่แค่ผู้เสียภาษีไม่ยื่นหรือยื่นต่ำ
การที่เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีโจทก์ผู้มีหน้าที่เสียภาษี โดยวิธีการตามมาตรา 49 แห่ง ป.รัษฎากรได้ จะต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินไม่สามารถทราบได้ว่าโจทก์มีรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงเพียงใด หาใช่เพียงแต่เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าผู้มีเงินได้มิได้ยื่นรายการเงินได้หรือยื่นรายการเงินได้ต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องยื่น ก็มีอำนาจกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิตามอำนาจพิเศษที่กำหนดไว้ใน มาตรา 49 โดยอนุมัติของอธิบดีกรมสรรพากรได้ทันทีไม่ดัง จะเห็นได้จากมาตรา 49 ที่ให้นำมาตรา 19 ถึง 26 มาใช้บังคับโดยอนุโลมซึ่งหมายความว่าเจ้าพนักงานประเมินจะต้องทำการตรวจสอบไต่สวนโดยวิธีการปกติตามอำนาจในมาตรา 19 และ 23 จนไม่อาจจะทราบได้ว่าผู้มีเงินได้นั้นมีรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงเพียงใดแล้ว จึงชอบที่จะใช้อำนาจตาม มาตรา 49 ได้.