คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตั๋วสัญญาใช้เงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 203 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4685/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความตั๋วสัญญาใช้เงินกับการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
ตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ที่ยื่นไว้ระบุว่า เป็นค่าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งคดีดังกล่าวเจ้าหนี้เป็นโจทก์ฟ้องลูกหนี้ตามมูลหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินและหนังสือรับรองการขายตั๋วสัญญาใช้เงิน แต่ต่อมาเจ้าหนี้ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำขอรับชำระหนี้เป็นว่า เป็นหนี้ตามอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อนุญาต ดังนั้น คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ในคดีนี้จึงเป็นการขอรับชำระหนี้ตามมูลหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินเท่านั้น เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดเวลาสามปีนับแต่วันถึงกำหนดใช้เงิน สิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้รับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทจึงขาดอายุความ ถือว่าเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 94 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในมูลหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตามคำขอเบิกเงินล่วงหน้า/สัญญาซื้อขาย สัมพันธ์กับหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่1ให้รับผิดในมูลหนี้ตามคำขอเบิกเงินล่วงหน้าตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาซื้อขายอันเป็นสัญญาซึ่งมีผลบังคับได้ตามกฎหมายชนิดหนึ่งโดยโจทก์บรรยายฟ้องว่าในการทำคำขอเบิกเงินล่วงหน้าตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาซื้อขายจำเลยที่1ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ไว้เพื่อชำระหนี้ตามคำขอเบิกเงินล่วงหน้าตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาซื้อขายและมีจำเลยที่2และที่3เป็นผู้ค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจากคำฟ้องของโจทก์จะเห็นได้ว่าหนี้ที่โจทก์ฟ้องคือหนี้ตามคำขอเบิกเงินล่วงหน้าตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาซื้อขายไม่ใช่หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำขอเบิกเงินล่วงหน้าตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาซื้อขายไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิมซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้คือมีกำหนด10ปีและแม้โจทก์จะฟ้องคดีเกิน10ปีนับแต่วันที่ครบกำหนดชำระหนี้ตามคำขอเบิกเงินล่วงหน้าตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาซื้อขายแล้วก็ตามแต่จำเลยที่2ก็มิได้ยกอายุความแห่งสิทธิเรียกร้องตามคำขอเบิกเงินล่วงหน้าตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาซื้อขายขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยเฉพาะจำเลยที่2เพียงแต่ยกอายุความแห่งสิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินขึ้นต่อสู้สถานเดียวศาลจะอ้างเอาอายุความแห่งสิทธิเรียกร้องตามคำขอเบิกเงินล่วงหน้าตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาซื้อขายมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้เพราะเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10135/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นภาษีเงินได้: เช็คของขวัญ, เงินซื้อหุ้น, และเงินจากตั๋วสัญญาใช้เงิน การพิจารณาแหล่งที่มาและภาระภาษี
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การประเมินภาษีอากรไม่ชอบด้วยมาตรา 49 แห่งประมวลรัษฎากร เพราะมิได้รับอนุญาตจากอธิบดีนั้น แม้จะมิใช่ปัญหาที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ คดีนี้เจ้าพนักงานประเมินมิได้ใช้วิธีพิเศษกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิขึ้นเองโดยถือเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในครอบครองของผู้มีเงินได้เป็นหลักในการพิจารณาซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 แต่เป็นกรณีออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนและแจ้งประเมินตามวิธีปกติตามมาตรา 19,20,23,24 แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร โจทก์มอบเงินจำนวน 15,000,000 บาท ให้ ด. ไปหาผลประโยชน์ร่วมกับบุคคลอื่น แล้ว ด. ได้นำเงินของโจทก์กับบุคคลอื่นดังกล่าวไปซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนต่าง ๆ ต่อมา ด. จึงได้นำเงินมาคืนให้โจทก์จำนวน16,301,946.48 บาท ซึ่งแม้โจทก์จะได้เงินเพิ่มขึ้นจากเดิมจำนวน 1,301,946.48 บาท น่าเชื่อว่าเป็นเงินดอกเบี้ยจากตั๋วเงินที่ ด. นำเงินของโจทก์กับบุคคลอื่นไปซื้อตั๋วสัญญาใช้เงิน และโจทก์ก็อ้างว่า ด. ได้เสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้แล้ว ซึ่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50 ก็ได้บัญญัติให้บริษัทผู้จ่ายดอกเบี้ยตั๋วเงินหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เมื่อ ด. ในฐานะผู้จัดการของคณะบุคคลที่มอบหมายให้นำเงินไปหาผลประโยชน์ได้เสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้แล้ว โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้อีก ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 6,42(14) และ 56 วรรคสุดท้าย เช็คของขวัญที่โจทก์ได้รับในปี 2533 จำนวน 46 ฉบับรวมเป็นเงิน 83,102,500 บาท นั้น โจทก์นำสืบว่าบริษัท ส. จำกัด มอบให้โจทก์เป็นค่าซื้อที่ดิน โดยบริษัทส. รับเช็คของขวัญดังกล่าวมาจากลูกค้าของบริษัทอีกต่อหนึ่งเช่นนี้ แม้บริษัท ส. จะได้ซื้อที่ดินจากโจทก์เป็นเงินถึง 85,000,000 บาทเศษ ดังที่โจทก์นำสืบจริงก็ไม่มีเหตุผลใดที่บริษัท ส. จะต้องชำระค่าที่ดินให้โจทก์โดยใช้เช็คแบ่งย่อยออกเป็นหลายฉบับ โดยเฉพาะเป็นเช็คของขวัญที่มิใช่เช็คของบริษัทเองหรือแคชเชียร์เช็คซึ่งน่าจะใช้เป็นหลักฐานในการชำระเงินได้ดีกว่าดังนี้เมื่อพยานหลักฐานโจทก์พิรุธไร้น้ำหนักไม่น่าเชื่อ การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือว่าเงินตามเช็คดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40(8) ของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10135/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การซื้อขายหุ้น, การรับเช็คของขวัญ, และการหาผลประโยชน์จากตั๋วสัญญาใช้เงิน การประเมินและพิสูจน์แหล่งที่มาของเงิน
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าการประเมินภาษีอากรไม่ชอบด้วยมาตรา49แห่งประมวลรัษฎากรเพราะมิได้รับอนุญาตจากอธิบดีนั้นแม้จะมิใช่ปัญหาที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลางแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ คดีนี้เจ้าพนักงานประเมินมิได้ใช้วิธีพิเศษกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิขึ้นเองโดยถือเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในครอบครองของผู้มีเงินได้เป็นหลักในการพิจารณาซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา49แต่เป็นกรณีออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนและแจ้งประเมินตามวิธีปกติตามมาตรา19,20,23,24แห่งประมวลรัษฎากรจึงไม่ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร โจทก์มอบเงินจำนวน15,000,000บาทให้ด. ไปหาผลประโยชน์ร่วมกับบุคคลอื่นแล้วด. ได้นำเงินของโจทก์กับบุคคลอื่นดังกล่าวไปซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนต่างๆต่อมาด. จึงได้นำเงินมาคืนให้โจทก์จำนวน16,301,946.48บาทซึ่งแม้โจทก์จะได้เงินเพิ่มขึ้นจากเดิมจำนวน1,301,946.48บาทน่าเชื่อว่าเป็นเงินดอกเบี้ยจากตั๋วเงินที่ด. นำเงินของโจทก์กับบุคคลอื่นไปซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินและโจทก์ก็อ้างว่าด. ได้เสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้แล้วซึ่งตามประมวลรัษฎากรมาตรา50ก็ได้บัญญัติให้บริษัทผู้จ่ายดอกเบี้ยตั๋วเงินหักภาษีณที่จ่ายไว้เมื่อด. ในฐานะผู้จัดการของคณะบุคคลที่มอบหมายให้นำเงินไปหาผลประโยชน์ได้เสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้แล้วโจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้อีกตามประมวลรัษฎากรมาตรา6,42(14)และ56วรรคสุดท้าย เช็คของขวัญที่โจทก์ได้รับในปี2533จำนวน46ฉบับรวมเป็นเงิน83,102,500บาทนั้นโจทก์นำสืบว่าบริษัทส. จำกัดมอบให้โจทก์เป็นค่าซื้อที่ดินโดยบริษัทส. รับเช็คของขวัญดังกล่าวมาจากลูกค้าของบริษัทอีกต่อหนึ่งเช่นนี้แม้บริษัทส. จะได้ซื้อที่ดินจากโจทก์เป็นเงินถึง85,000,000บาทเศษดังที่โจทก์นำสืบจริงก็ไม่มีเหตุผลใดที่บริษัทส. จะต้องชำระค่าที่ดินให้โจทก์โดยใช้เช็คแบ่งย่อยออกเป็นหลายฉบับโดยเฉพาะเป็นเช็คของขวัญที่มิใช่เช็คของบริษัทเองหรือแคชเชียร์เช็คซึ่งน่าจะใช้เป็นหลักฐานในการชำระเงินได้ดีกว่าดังนี้เมื่อพยานหลักฐานโจทก์พิรุธไร้น้ำหนักไม่น่าเชื่อการที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือว่าเงินตามเช็คดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา40(8)ของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8005/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องแยกต่างหาก: สิทธิเรียกร้องจากหนังสือรับรองการขายตั๋วสัญญาใช้เงิน แม้ตั๋วสัญญาใช้เงินขาดอายุความ
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ฟ้องบังคับเรียกเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน และตามหนังสือรับรองการขายตั๋วสัญญาใช้เงิน มิได้ฟ้องบังคับเรียกเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแต่เพียงประการเดียว ดังนั้นแม้สิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินจะขาดอายุความฟ้องร้อง แต่จำเลยยังต้องรับผิดตามสิทธิเรียกร้องอันเกิดแต่หนังสือรับรองการขายตั๋วสัญญาใช้เงิน ซึ่งเป็นสัญญาอีกฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากตั๋วสัญญาใช้เงิน และสิทธิเรียกร้องดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม หรือ 193/30 ใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 77/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงิน เริ่มนับแต่วันทวงถามหนี้หลังการโอนสิทธิ
จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสลักหลังลอยตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง 9ฉบับ จำเลยจึงมีความผูกพันร่วมกับบริษัท จ. ผู้ออกตั๋วรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง 9 ฉบับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 919, 967 และ 985
โจทก์แจ้งการรับโอนสิทธิเรียกร้อง และทวงถามหนี้จากจำเลยเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2530 จำเลยได้รับการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องและทวงถามเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2530 กรณีเช่นนี้ถือว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยมีผลตามกฎหมายเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2530 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ทวงถามจำเลยให้ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงิน เพราะก่อนหน้านั้นจำเลยยังไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดในการใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเพียงแต่ว่าโจทก์มีสิทธิจะเรียกร้องทวงถามให้ใช้เงินได้ทันทีเท่านั้น เมื่อจำเลยทราบแล้วเพิกเฉยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัด อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ต้องเริ่มนับแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2530 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม2530 ยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลย คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 77/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโอนสิทธิเรียกร้องในตั๋วสัญญาใช้เงิน ความผูกพันของผู้สลักหลัง และอายุความ
จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสลักหลังลอยตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง9ฉบับจำเลยจึงมีความผูกพันร่วมกับบริษัทจ.ผู้ออกตั๋วรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง9ฉบับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา919,967และ985 โจทก์แจ้งการรับโอนสิทธิเรียกร้องและทวงถามหนี้จากจำเลยเมื่อวันที่24พฤศจิกายน2530จำเลยได้รับการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องและทวงถามเมื่อวันที่26พฤศจิกายน2530กรณีเช่นนี้ถือว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยมีผลตามกฎหมายเมื่อวันที่26พฤศจิกายน2530ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ทวงถามจำเลยให้ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงินเพราะก่อนหน้านั้นจำเลยยังไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดในการใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเพียงแต่ว่าโจทก์มีสิทธิจะเรียกร้องทวงถามให้ใช้เงินได้ทันทีเท่านั้นเมื่อจำเลยทราบแล้วเพิกเฉยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดอายุความแห่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ต้องเริ่มนับแต่วันที่26พฤศจิกายน2530โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่23ธันวาคม2530ยังไม่เกิน1ปีนับแต่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7151/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงโอนที่ดินเป็นประกันการชำระหนี้ ไม่ใช่เงื่อนไขบังคับหลัง - ตั๋วสัญญาใช้เงินยังใช้บังคับได้
จำเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 5 ฉบับให้แก่โจทก์ทั้งสองตามสัญญาแปลงหนี้ใหม่ และเพื่อเป็นหลักประกันการใช้เงิน จำเลยตกลงจะโอนที่ดินของจำเลยให้แก่โจทก์ทั้งสอง ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งในสัญญาที่ตกลงกันไว้ทั้งเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาที่ตกลงกันเพื่อให้โจทก์ทั้งสองมีความมั่นใจว่าจะได้รับชำระหนี้จากจำเลยตามสัญญาที่ตกลงทำกันขึ้นใหม่เพื่อมิให้หนี้เดิมของโจทก์ทั้งสองต้องสูญไปเท่านั้น ไม่ใช่เงื่อนไขบังคับหลังที่จะทำให้สัญญาที่ตกลงกันไว้ต้องยกเลิก หรือระงับสิ้นไปเพราะโจทก์ไม่ได้รับโอนที่ดินภายในกำหนดเวลาตามสัญญาการที่จำเลยมิได้โอนที่ดินตามสัญญาให้แก่โจทก์ทั้งสอง หาทำให้ตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง5 ฉบับ ที่จำเลยได้ออกชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองต้องถูกยกเลิกหรือไร้ประโยชน์แต่อย่างใด จำเลยยังต้องผูกพันรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง 5 ฉบับ ที่ออกชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสองอยู่
หนี้ตามคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เป็นคนละจำนวนต่างหากจากกัน มิใช่หนี้ร่วม โจทก์แต่ละคนสามารถแยกฟ้องจำเลยต่างหากจากกันได้อยู่แล้ว การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องรวมเป็นคดีเดียวกัน ก็เพราะจำเลยเป็นคนเดียวกัน และเพื่อเป็นการสะดวกในการพิจารณาพิพากษาคดีเท่านั้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยชำระค่าขึ้นศาลสำหรับคดีของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 แยกต่างหากจากกันนั้นถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7100/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในตั๋วสัญญาใช้เงินระหว่างสมรส: การใช้เงินส่วนตัวไม่ใช่การเบียดบังทรัพย์มรดก
ตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสามฉบับเป็นสินสมรสซึ่งผู้ตาย และจำเลยถือกรรมสิทธิ์คนละครึ่ง การที่จำเลยถอนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินครบกำหนดและนำเงินที่ถอนได้ครึ่งหนึ่งไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว จึงเป็นการใช้เงินส่วนของจำเลย มิใช่ใช้ส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย จำเลยมิได้เบียดบังทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงไม่มีความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3177/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องตั๋วสัญญาใช้เงินและขอบเขตความรับผิดของผู้สลักหลัง/ผู้รับรอง
โจทก์ฟ้องว่า บริษัท อ. ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ มีส. และจำเลยเป็นผู้อาวัลตั๋ว แล้วบริษัท อ. ได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวขายให้โจทก์ตามหนังสือรับรองการขายตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งระบุว่า บริษัท อ. จะจ่ายเงินให้แก่โจทก์ เมื่อครบกำหนดวันใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน และมีข้อความต่อมาว่า ส.และจำเลยได้ทราบข้อตกลงที่บริษัท อ. นำตั๋วสัญญาใช้เงินมาขายแก่โจทก์ดังกล่าวข้างต้นทุกประการ ยินยอมรับอาวัล อนึ่งถ้าธนาคารโจทก์ยอมผ่อนเวลาการชำระเงินให้แก่บริษัท อ. ถือว่า ส. และจำเลยยินยอมตกลงผ่อนเวลานั้นด้วย ข้อความดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกัน หนังสือรับรองดังกล่าวเป็นเพียงคำรับรองว่าจำเลยเป็นผู้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินเท่านั้น มิได้เป็นผู้ค้ำประกันการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินแต่อย่างใด โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนด คดีจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 940 ประกอบมาตรา 1001
of 21