คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตีความสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3092/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาเช่าตามเจตนาของคู่สัญญาและผลกระทบของการยึดทรัพย์โดยผู้ให้เช่า
การตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368 คู่สัญญาทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีกำหนดระยะเวลา28 ปี แสดงว่า คู่สัญญาประสงค์จะให้สัญญาเช่ามีอยู่จนครบกำหนดระยะเวลาเช่าตามที่ได้จดทะเบียนการเช่าไว้และย่อมไม่ประสงค์จะให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิเลิกสัญญาได้ก่อนครบกำหนด เมื่อทรัพย์ที่เช่าถูกยึดตามคำสั่งศาลเพราะการกระทำของผู้ให้เช่าเดิมมิใช่เกิดจากการกระทำของจำเลย สัญญาเช่ายังไม่สิ้นสุดโจทก์เป็นผู้รับโอนทรัพย์ที่เช่าย่อมรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 569 โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3092/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาเช่ากรณีที่พักอาศัยถูกยึดตามคำสั่งศาล สิทธิของผู้เช่าและผู้รับโอน
การที่หนังสือสัญญาเช่าข้อ11ระบุว่าถ้าผู้เช่าค้างชำระค่าเช่าก็ดีหรือประพฤติผิดสัญญาหรือไม่ปฎิบัติหน้าที่ตามกฎหมายก็ดีหรือถ้าสถานที่เช่าหรือสิ่งของที่อยู่ในสถานที่เช่าถูกอายัดหรือยึดตามคำสั่งศาลก็ดีหรือผู้เช่าถูกฟ้องร้องเป็นคดีล้มละลายก็ดีหรือทำความตกลงหรือขอลดหนี้กับเจ้าหนี้ประการใดก็ดีผู้ให้เช่าทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะขับไล่ผู้เช่ากับบริวารและกลับเข้ายึดถือครอบครองสถานที่เช่าได้ทันทีโดยให้ถือว่าสัญญานี้สิ้นสุดลงแล้วนั้นเมื่อข้อสัญญาดังกล่าวมิได้ระบุว่าสถานที่เช่าถูกยึดตามคำสั่งศาลเกิดขึ้นจากการกระทำของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าหรือทั้งสองฝ่ายจึงต้องตีความสัญญาไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยการเช่ารายนี้มีกำหนดเช่า28ปีแสดงว่าคู่สัญญาประสงค์จะให้สัญญาเช่ามีอยู่จนครบกำหนดและย่อมไม่ประสงค์จะให้ผู้ให้เช่าสิทธิเลิกสัญญาได้ก่อนครบกำหนดจึงต้องตีความว่าสถานที่เช่าถูกยึดตามคำสั่งศาลต้องเกิดจากการกระทำของผู้เช่าผู้ให้เช่าจึงจะมีสิทธิขับไล่ผู้เช่าหรือเลิกสัญญาเช่าได้ฉะนั้นเมื่ออาคารตึกแถวถูกยึดตามคำสั่งศาลเพราะการกระทำของนางก.ผู้ให้เช่าเดิมมิใช่เกิดจากการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าสัญญาเช่าจึงไม่สิ้นสุดลงโจทก์ผู้รับโอนอาคารตึกแถวย่อมต้องรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าด้วยโจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3092/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาเช่ากรณีถูกยึดทรัพย์ ศาลตีความตามเจตนาของคู่สัญญาและปกติประเพณี
การตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา368คู่สัญญาทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีกำหนดระยะเวลา28ปีแสดงว่าคู่สัญญาประสงค์จะให้สัญญาเช่ามีอยู่จนครบกำหนดระยะเวลาเช่าตามที่ได้จดทะเบียนการเช่าไว้และย่อมไม่ประสงค์จะให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิเลิกสัญญาได้ก่อนครบกำหนดเมื่อทรัพย์ที่เช่าถูกยึดตามคำสั่งศาลเพราะการกระทำของผู้ให้เช่าเดิมมิใช่เกิดจากการกระทำของจำเลยสัญญาเช่ายังไม่สิ้นสุดโจทก์เป็นผู้รับโอนทรัพย์ที่เช่าย่อมรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา569โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตกับประกันอุบัติเหตุ: การตีความตามสัญญาจ้างและกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา889ได้วางหลักไว้ว่าในสัญญาประกันชีวิตการใช้จำนวนเงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคลคนหนึ่งตามกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลของผู้ตายได้ความว่าหากผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยอุบัติเหตุจากการทำงานบริษัทผู้รับประกันจะจ่ายเงินให้การจ่ายเงินก็โดยอาศัยความมรณะของผู้ตายจึงเป็นการประกันชีวิตตามกฎหมายมาตราดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้จัดการประกันชีวิตให้แก่ผู้ตายตามที่ได้ตกลงไว้แล้วส่วนสาเหตุการตายเป็นเพียงเงื่อนไขที่ผู้เอาประกันและผู้รับประกันจะตกลงกันในการจ่ายเงินเท่านั้นไม่ทำให้สัญญาประกันชีวิตกลับกลายเป็นไม่ใช่สัญญาประกันชีวิตไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6955/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้างและสัญญาค้ำประกัน: การตีความสัญญาและขอบเขตความรับผิด
การจ้างก่อสร้างอาคารทั้งสามหลังรวมอยู่ในสัญญาฉบับเดียวกันรวมราคาค่าก่อสร้างเบ็ดเสร็จเป็นเงิน 14,700,000 บาท โดยไม่ได้จำแนกหรือระบุเฉพาะเจาะจงว่าอาคารแต่ละหลังราคาเท่าใด การก่อสร้างอาคารทั้งสามหลังกำหนดแล้วเสร็จในวันที่ 22 มีนาคม 2531 ในสัญญาตกลงว่า ถ้าจำเลยส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญา จำเลยยอมให้ปรับเป็นรายวันวันละ 10,000 บาทและจ่ายค่าควบคุมงานเป็นรายวันวันละ 200 บาท โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นค่าปรับหรือค่าควบคุมงานของอาคารหลังใด ประการสำคัญหากโจทก์กับจำเลยประสงค์จะให้มีการปรับและจ่ายค่าควบคุมงานเป็นรายหลังต่อวันก็น่าจะตกลงไว้ในสัญญาให้ชัดแจ้งเมื่อไม่มีการตกลงกันเช่นนี้และกรณีมีข้อสงสัย จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นคือจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 11จำเลยคงต้องรับผิดในค่าปรับและค่าควบคุมงานเป็นรายวันโดยรวมอาคารทั้งสามหลัง
สัญญาค้ำประกันเป็นเพียงสัญญาซึ่งผู้ค้ำประกันผูกพันต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้แทนจำเลยเท่านั้น มิใช่มัดจำตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 ที่โจทก์จะใช้สิทธิริบจำนวนเงินในสัญญาค้ำประกันในฐานะเป็นมัดจำได้ ฉะนั้น แม้สัญญาค้ำประกันจะเป็นเอกสารปลอม โจทก์ก็จะอ้างเป็นเหตุให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามจำนวนในสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์ไม่ได้ หากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการปลอมและใช้สัญญาค้ำประกันปลอมอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้กระทำความผิดนั้นต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6955/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับและค่าควบคุมงานจากการก่อสร้างล่าช้า สัญญาค้ำประกันไม่ใช่หลักประกันหนี้
การจ้างก่อสร้างอาคารทั้งสามหลังรวมอยู่ในสัญญาฉบับเดียวกันรวมราคาค่าก่อสร้างเบ็ดเสร็จเป็นเงิน14,700,000บาทโดยไม่ได้จำแนกหรือระบุเฉพาะเจาะจงว่าอาคารแต่ละหลังราคาเท่าใดการก่อสร้างอาคารทั้งสามหลังกำหนดแล้วเสร็จในวันที่22มีนาคม2531ในสัญญาดังกล่าวถ้าจำเลยส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญาจำเลยยอมให้ปรับเป็นรายวันละ10,000บาทและจ่ายค่าควบคุมงานเป็นรายวันวันละ200บาทโดยไม่ได้ระบุว่าเป็นค่าปรับหรือค่าควบคุมงานของอาคารหลังใดประการสำคัญหากโจทก์กับจำเลยประสงค์จะให้มีการปรับและจ่ายค่าควบคุมงานเป็นรายหลังต่อวันก็น่าจะตกลงไว้ในสัญญาให้ชัดแจ้งเมื่อไม่มีการตกลงกันเช่นนี้และกรณีมีข้อสงสัยจึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นคือจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา11จำเลยคงต้องรับผิดในค่าปรับและค่าควบคุมงานเป็นรายวันโดยรวมอาคารทั้งสามหลัง สัญญาค้ำประกันเป็นเพียงสัญญาซึ่งผู้ค้ำประกันผูกพันต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้แทนจำเลยเท่านั้นมิใช่มัดจำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา377ที่โจทก์จะใช้สิทธิริบจำนวนเงินในสัญญาค้ำประกันในฐานะเป็นมัดจำได้ฉะนั้นแม้สัญญาค้ำประกันจะเป็นเอกสารปลอมโจทก์จะอ้างเป็นเหตุให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามจำนวนในสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์ไม่ได้หากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการปลอมและใช้สัญญาค้ำประกันปลอมอย่างไรก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้กระทำความผิดนั้นต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5192/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาเช่าช่วงและระยะเวลาการเช่าตามสิทธิของผู้ให้เช่าช่วง โดยอิงตามสัญญาก่อสร้างและสัญญาเช่าเดิม
ตามสัญญาก่อสร้างอาคารใช้สิทธิแก่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทราเช่าได้มีกำหนดเวลา20ปีนับแต่วันลงนามในสัญญาคือวันที่20พฤศจิกายน2513ถึงวันที่20พฤศจิกายน2533โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าช่วงต่อมาย่อมมีสิทธิการเช่าตามที่ระบุในสัญญาดังกล่าวจึงมีสิทธิให้จำเลยเช่าได้เพียงเท่าระยะเวลาการเช่าที่ตนมีสิทธิและตามสัญญาจองอาคารระหว่างโจทก์จำเลยได้เท้าความถึงเรื่องที่โจทก์ได้ทำการก่อสร้างอาคารพิพาทขึ้นบนที่ดินราชพัสดุโดยโจทก์ได้สิทธิเช่าช่วงมาจากเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราดังนี้ตามสัญญาจองอาคารที่ระบุให้มีอายุการเช่า20ปีจึงย่อมเป็นที่เข้าใจระหว่างคู่สัญญาแล้วว่าหมายถึงอายุการเช่า20ปีตามที่โจทก์มีสิทธิตามสัญญาก่อสร้างอาคารหากให้เริ่มนับระยะเวลาการเช่าตั้งแต่วันที่มีการทำสัญญาเช่ากันในภายหลังจะทำให้มีอายุการเช่ามากกว่า20ปีเกินกว่าสิทธิที่โจทก์ให้เช่าช่วงได้ซึ่งเป็นไปไม่ได้ขณะทำสัญญาจองอาคารโจทก์ยังไม่ได้รับสิทธิการเช่าต่ออีก5ปีเพิ่งได้รับสิทธิดังกล่าวในภายหลังเพราะเกิดมีกรณีพิพาทระหว่างกรมธนารักษ์กับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ทำให้การก่อสร้างล่าช้าวัสดุก่อสร้างเสียหายเพื่อชดเชยความเสียหายนี้กระทรวงการคลังจึงได้ขยายระยะเวลาการเช่าออกไปให้อีก5ปีซึ่งไม่เกี่ยวกับจำเลยจึงถือว่าอายุการเช่าอาคารพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยที่กระทำกันตามที่ระบุไว้ในสัญญาจองอาคารสิ้นสุดลงเพียงวันที่20พฤศจิกายน2533จำเลยจึงบังคับให้โจทก์ทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าให้จำเลยมีอายุ20ปีนับแต่วันทำสัญญาเช่ามิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาเช่าและการรับประโยชน์จากงานที่ทำเสร็จแล้ว
สัญญาเช่าและหนังสือต่อท้ายสัญญาเช่าระบุไว้แต่เพียงว่าจำเลยจะต้องสร้างตึกแถวอาคารพาณิชย์เท่านั้น การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่ามีข้อตกลงด้วยวาจาว่าจำเลยทั้งสองจะต้องสร้างตึกแถวอาคารพาณิชย์ 3 ชั้นและ 2 ชั้น หน้ากว้าง 4 เมตร ลึก 14 ถึง 16 เมตร จึงเป็นการนำสืบอธิบายความหมายของคำว่าตึกแถวอาคารพาณิชย์ในสัญญา ไม่ใช่เป็นการสืบพยานบุคคลเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าและหนังสือต่อท้ายสัญญาเช่าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) แต่อย่างใด
เมื่อผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่า เป็นเหตุให้ผู้ให้เช่าได้ที่พิพาทคืนก่อนกำหนด 10 ปีเศษ แม้ผู้เช่าจะเป็นฝ่ายผิดสัญญา แต่ผู้เช่าก็ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ทำถนนคอนกรีตตามข้อตกลงในสัญญาเช่าไปแล้วบางส่วน และผู้ให้เช่าสามารถใช้ประโยชน์จากงานที่ผู้เช่าทำนั้นได้ ผู้ให้เช่าจึงชอบที่จะรับเอางานส่วนที่ผู้เช่าได้กระทำนั้นแล้วใช้เงินตามค่าแห่งงานให้ผู้เช่า ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเนื้อที่ดินในสัญญาซื้อขาย การตีความสัญญาเป็นสาระสำคัญ มิใช่การปฏิเสธการปฏิบัติตามสัญญา
เดิมโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่4 ไร่ 1 งาน 69 ตารางวา ในราคาตารางวาละ 3,100 บาท ต่อมาโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวใหม่โดยระบุว่า คู่กรณีทั้งสองฝ่ายตกลงจะซื้อขายกันในราคาตารางวาละ 3,100 บาท เหมือนเดิมตามจำนวนเนื้อที่ที่ระบุในเอกสารของกรมที่ดิน ต่อมาจำเลยจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามจำนวนเนื้อที่ที่เจ้าพนักงานรังวัดใหม่ คือ 4 ไร่ 2 งาน 42 4/10ตารางวา แต่โจทก์จะยอมรับซื้อและชำระราคาที่ดินเฉพาะจำนวนเนื้อที่ 4 ไร่67 ตารางวา เท่านั้น ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์และจำเลยเคยตกลงเลื่อนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินออกไปเพราะเจ้าพนักงานที่ดินยังทำการรังวัดไม่แล้วเสร็จย่อมแสดงให้เห็นว่าคู่กรณีมีเจตนาที่จะซื้อขายที่ดินพิพาทกันตามจำนวนเนื้อที่ที่ระบุในเอกสารของกรมที่ดินในวันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และชำระราคา กล่าวคือเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดินพิพาทได้จำนวนเนื้อที่ที่แน่นอนแล้ว มิใช่ให้คิดตามจำนวนเนื้อที่ที่ระบุไว้ในเอกสารของกรมที่ดินในวันที่ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายดังนั้น การที่จำเลยไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามจำนวนเนื้อที่ที่โจทก์ประสงค์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการผิดสัญญาจะซื้อขายดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ที่โจทก์จำเลยไปสำนักงานที่ดินเพื่อทำการโอนที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อขาย แต่มีปัญหาเกี่ยวกับการตีความในสัญญาซึ่งไม่อาจตกลงกันได้และทั้งสองฝ่ายต้องการให้ศาลเป็นผู้ตัดสิน แสดงว่าโจทก์ปฏิเสธที่จะรับโอนที่ดินเฉพาะส่วนที่โจทก์เข้าใจว่าไม่ถูกต้องตามสัญญาจะซื้อขายเท่านั้น เห็นได้ว่ากรณีเป็นเรื่องที่โต้แย้งกันเกี่ยวกับการตีความในข้อตกลงตามสัญญา ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาไม่ปฏิบัติตามสัญญาจำเลยจะอ้างข้อโต้แย้งดังกล่าวมาบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความประกาศประกวดราคาและข้อจำกัดสิทธิในการเลือกซื้อสินค้าของผู้เสนอราคา
ข้อความในหนังสือประกาศประกวดราคาระบุว่า ผู้ซื้อไม่ผูกพันที่จะตัดสินเข้าทำสัญญาซื้อขายกับผู้เสนอราคาต่ำสุด การเสนอราคาเพียงบางส่วนของหนึ่งรายการจะไม่ได้รับการพิจารณา การเสนอราคาจะพิจารณาตัดสินจากหลักว่าเป็นไปตามสเปค ราคา กำหนดการส่งของและความต้องการอื่น ๆ ไม่มีข้อความตอนใดระบุว่า โจทก์มีสิทธิเลือกซื้อสินค้าเพียงบางรายการ ข้อความในประกาศดังกล่าวเขียนไว้ชัดเจน จึงไม่มีกรณีที่จะต้องตีความ และหากเป็นกรณีที่มีข้อสงสัยก็จะต้องตีความข้อความในประกาศประกวดราคาไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยคู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 11
คำฟ้องของโจทก์ โจทก์ยกข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงข้อเดียวว่า จำเลยผิดสัญญาตามประกาศประกวดราคา มิได้ยกข้ออ้างตามที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์และจำเลยเคยตกลงทำสัญญาซื้อขายกันตามประกาศประกวดราคาดังกล่าวมาแล้วโดยจำเลยยอมรับว่าโจทก์มีสิทธิเลือกซื้อสินค้าจากจำเลยเพียงบางรายการได้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
of 17