คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ต่อเนื่อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 351 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2905/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมคบเพื่อฉ้อโกงโดยมีวางแผนร่วมกัน การกระทำต่อเนื่องแสดงเจตนา
พฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมปรึกษาหารือกันมาก่อนเป็นลำดับโดยให้จำเลยทั้งสองทำทีเป็นเข้าไปขอเช่าที่ดินจากผู้เสียหายทั้งสอง เพื่อสร้างความสนิทสนมไว้เบื้องต้นก่อน ซึ่งจะเป็นช่องทางที่จะชักนำผู้เสียหายทั้งสองเดินไปสู่หลุมพรางอันจำเลยทั้งสองกับพวกรวม5 คน ได้ทำกับดักเอาไว้ หลังจากนั้นจึงได้ชักนำผู้เสียหายทั้งสองไปที่บ้านหลังหนึ่งและให้ดื่มน้ำซึ่งผสมสารมึนเมา แล้วนำพาผู้เสียหายทั้งสองไปถอนเงินที่ธนาคาร และขอยืมเงินไปเล่นการพนันกำถั่วจนกระทั่งแพ้การพนันหมดเงินจำนวนดังกล่าว โดยจำเลยทั้งสองกับพวกไม่เคยปริปากพูดถึงเรื่องการเช่าที่ดินดังกล่าวในตอนแรกอีกเลย ซึ่งวิธีการเช่นนี้หากไม่มีการนัดแนะและร่วมกันวางแผนหาหนทางกันมาก่อนผลก็ย่อมจะเกิดขึ้นเป็นลำดับสอดคล้องเช่นนั้นไม่ได้ กรรมจึงเป็นเครื่องชี้เจตนาอันถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้สมคบกับพวกตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ซึ่งมีกำหนดโทษจำคุกไม่เกินสามปี จึงถือว่าจำเลยทั้งสองสมคบกับพวกตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปเพื่อกระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาภาค 2 จำเลยทั้งสองจึงต้องมีความผิดฐานเป็นซ่องโจร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2070/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจสอบสวนคดีเช็ค: การกระทำความผิดต่อเนื่องระหว่างท้องที่ออกเช็คและท้องที่ปฏิเสธการจ่ายเงิน
การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 การออกเช็คในท้องที่ใดย่อมถือได้ว่าการกระทำความผิดอาญาได้กระทำลงในท้องที่นั้นต่อเนื่องกับการกระทำความผิดในท้องที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
จำเลยได้ออกเช็คตามฟ้องในท้องที่อำเภอบางบาลซึ่งอยู่ในเขตอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบาล และธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินในเขตท้องที่อำเภอพระนครศรีอยุธยาซึ่งอยู่ในเขตอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอพระนครศรีอยุธยาถือได้ว่าการกระทำความผิดคดีนี้ได้กระทำลงในอำเภอบางบาลต่อเนื่องกับการกระทำความผิดในอำเภอพระนครศรีอยุธยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พนักงานสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบาลและสถานีตำรวจภูธรอำเภอพระนครศรีอยุธยาย่อมมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ได้เมื่อผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบาลและพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบาลทำการสอบสวนแล้ว คดีนี้จึงมีการสอบสวนโดยชอบ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2070/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจสอบสวนคดีเช็ค: การกระทำความผิดต่อเนื่องในหลายท้องที่
การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คนั้น การออกเช็คในท้องที่ใดย่อมถือได้ว่า การกระทำความผิดอาญาตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้กระทำลงในท้องที่นั้นต่อเนื่องกับการกระทำความผิดในท้องที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแห่งที่ที่จำเลยออกเช็คและพนักงานสอบสวนดังกล่าวทำการสอบสวนแล้ว คดีจึงมีการสอบสวนโดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดต่อผู้ข่มเหงต่อเนื่อง: การป้องกันสิทธิในฐานะผู้ถูกทำร้าย
ผู้ตายเมาสุรามากกลับมาบ้าน ผู้ตายเอะอะหาเรื่องจำเลยหลายเรื่อง และกล่าวหาว่าจำเลยเอามีดของผู้ตายไปซ่อน ผู้ตายบอกให้จำเลยออกจากบ้านมิเช่นนั้นจะสับให้เป็นชิ้น แล้วใช้มีดดังกล่าวไล่ฟันจำเลยก่อน จำเลยวิ่งไปบ้านน้องผู้ตายซึ่งอยู่ใกล้กัน มีผู้ตายถือมีดวิ่งติดตามไป จำเลยต้องหลบหนีออกไปซ่อนตัวข้างต้นมะขามในทุ่งนา ผู้ตายหาจำเลยไม่พบจึงกลับบ้าน ปิดบ้านล็อกกุญแจนอน ต่อมาจำเลยกลับบ้าน แอบมองทางรอยแตกเห็นผู้ตายหลับอยู่ จึงใช้ลูกกุญแจไขเปิดประตูหน้าบ้านเข้าไป แล้วจำเลยใช้มีดฟันผู้ตายด้วยความโมโหที่ถูกผู้ตายวิ่งไล่ทำร้ายอยู่เป็นประจำ การที่ผู้ตายใช้มีดไล่ฟันจำเลย นับว่าเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม แม้จำเลยจะเป็นภริยาผู้ตาย ผู้ตายก็หามีสิทธิที่จะกระทำแก่จำเลยเช่นนั้นไม่ ดังนี้ เมื่อจำเลยเกิดความโกรธ คือบันดาลโทสะ และจำเลยกระทำแก่ผู้ตายในทันทีเมื่อกลับมาถึงบ้านและพบผู้ตาย อันเป็นระยะเวลาห่างจากถูกข่มเหงเพียง 2 ชั่วโมงหรือ 2 ชั่งโมงเศษ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จำเลยต้องหลบหนีจากการที่ถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงจนถึงกับต้องไปแอบซ่อนตัวอยู่ในป่าละเมาะ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าการข่มเหงยังอยู่ในช่วงเวลาที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันอยู่ จึงตกอยู่ในหลักเกณฑ์ที่ว่าจำเลยกระทำผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น การกระทำของจำเลยต้องด้วยบทบัญญัติ ป.อ.มาตรา 72

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บันดาลโทสะจากการถูกข่มเหงต่อเนื่อง: การกระทำผิดต่อผู้ข่มเหงตามมาตรา 72
การที่ผู้ตายใช้มีดไล่ฟันจำเลย นับว่าเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม แม้จำเลยจะเป็นภริยาผู้ตาย ผู้ตายก็หามีสิทธิที่จะกระทำแก่จำเลยเช่นนั้นไม่ พฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุผลให้เชื่อว่าจำเลยเกิดความโกรธคือบันดาลโทสะการที่จำเลยกระทำแก่ผู้ตายในทันทีเมื่อกลับมาถึงบ้านและพบผู้ตาย อันเป็นระยะเวลาห่างจากถูกข่มเหงเพียง 2 ชั่วโมงหรือ 2 ชั่วโมงเศษ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จำเลยต้องหลบหนีจากการที่ถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงจนถึงกับต้องไปแอบซ่อนตัวอยู่ในป่าละเมาะ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าการข่มเหงยังอยู่ในช่วงเวลาที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันอยู่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4146/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันต่อเนื่อง: ผลบังคับใช้แม้ทำหลังหนี้เดิมและไม่มีผลย้อนหลัง
หนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อโจทก์เขียน พ.ศ. ผิดพลาด และนำแบบพิมพ์ของบริษัท ก. มาใช้ จำเลยที่ 2 จึงได้ทำหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทให้โจทก์ใหม่แทนหนังสือค้ำประกันฉบับเดิม แม้หนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทจะทำขึ้นภายหลังวันที่จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ไว้และมิได้มีข้อความระบุว่าให้มีผลย้อนหลังไปถึงหนี้ที่จำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ไว้ก็ตาม แต่เมื่อเป็นผลสืบเนื่องต่อจากหนังสือค้ำประกันฉบับเดิมหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทจึงมีผลบังคับ
แม้คำฟ้องโจทก์จะบรรยายแต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามสำเนาเอกสารหมาย จ.4 โดยมิได้บรรยายว่า จำเลยที่ 2 ทำหนังสือค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.4 ต่อเนื่องกับหนังสือค้ำประกันตามสำเนาเอกสารหมาย จ.10 ก็ตาม แต่การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลถึงหนังสือค้ำประกันตามสำเนาเอกสารหมาย จ.10 ก็เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่ามูลเหตุที่จำเลยที่ 2 ต้องทำหนังสือค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.4ให้โจทก์มีความเป็นมาอย่างไร จึงไม่เป็นการสืบเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารและไม่เป็นการสืบนอกฟ้องนอกประเด็น การที่ศาลล่างทั้งสองรับฟังพยานบุคคลดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 และ 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4146/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันต่อเนื่อง: ค้ำประกันหนี้เดิมแม้ไม่มีผลย้อนหลัง, การนำสืบพยานไม่เป็นการนอกฟ้อง
หนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อโจทก์เขียน พ.ศ. ผิดพลาด และนำแบบพิมพ์ของบริษัทก. มาใช้ จำเลยที่ 2 จึงได้ทำหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทให้โจทก์ ใหม่แทนหนังสือค้ำประกันฉบับเดิม แม้หนังสือค้ำประกัน ฉบับพิพาทจะทำขึ้นภายหลังวันที่จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ ให้โจทก์ไว้และมิได้มีข้อความระบุว่าให้มีผลย้อนหลังไปถึงหนี้ที่จำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ไว้ก็ตาม แต่เมื่อเป็นผลสืบเนื่องต่อจากหนังสือค้ำประกันฉบับเดิม หนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทจึงมีผลบังคับ แม้คำฟ้องโจทก์จะบรรยายแต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามสำเนาเอกสาร หมาย จ.4 โดยมิได้บรรยายว่า จำเลยที่ 2 ทำหนังสือค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.4 ต่อเนื่องกับหนังสือค้ำประกันตามสำเนาเอกสารหมาย จ.10 ก็ตาม แต่การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลถึงหนังสือค้ำประกันตามสำเนาเอกสารหมาย จ.10ก็เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่ามูลเหตุที่จำเลยที่ 2 ต้องทำหนังสือค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.4 ให้โจทก์มีความเป็นมาอย่างไร จึงไม่เป็นการสืบเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารและไม่เป็นการสืบนอกฟ้องนอกประเด็น การที่ศาลล่างทั้งสองรับฟังพยานบุคคลดังกล่าวจึงมิใช่ เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 และ 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้ผังเมืองรวม: กฎกระทรวงมีผลแม้หมดอายุ หากมีกฎกระทรวงใหม่ใช้บังคับต่อเนื่อง
ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง การใช้บังคับผังเมืองรวมให้กระทำโดยกฎกระทรวง และตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามไว้ว่าในเขตที่ได้มีกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมแล้ว ห้ามบุคคลใดใช้ประโยชน์ที่ดินผิดไปจากที่ได้กำหนดไว้ในผังเมืองรวมหรือปฏิบัติการใด ๆ ซึ่งขัดกับข้อกำหนด ของผังเมืองรวมนั้น โดยบัญญัติบทลงโทษทางอาญาและวิธีการแก้ไขสำหรับผู้ฝ่าฝืนไว้ในมาตรา 83 ไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติใดกำหนดให้ต้องมีการออกพระราชบัญญัติให้ใช้บังคับผังเมืองเฉพาะในท้องที่เดียวกันก่อนจึงจะทำให้กฎกระทรวงข้างต้นมีผลใช้บังคับได้ เพราะการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะเป็นกรณีที่บัญญัติแยกไว้ต่างหากทั้งบทบัญญัติตามมาตรา 27ซึ่งกำหนดโทษและวิธีการแก้ไขสำหรับผู้ฝ่าฝืนไว้ตามมาตรา 83 นั้น ได้บัญญัติห้ามเฉพาะกรณีใช้ประโยชน์ที่ดิน ผิดไปจากที่ได้กำหนดไว้ในผังเมืองรวม หรือปฏิบัติการใด ๆ ซึ่งขัดกับข้อกำหนดของผังเมืองรวมเท่านั้น มิได้ระบุถึง ผังเมืองเฉพาะด้วยแต่อย่างใด ดังนั้น กฎกระทรวง ฉบับที่ 17(พ.ศ. 2529) ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วมีผลใช้บังคับ เมื่อจำเลยฝ่าฝืนก่อสร้างอาคารผิดไปจาก ที่ได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย จำเลยซื้อที่ดินโฉนดตามฟ้องเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2530แต่กฎกระทรวงฉบับที่ 17(พ.ศ. 2529) มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2529 ถึงวันที่ 11 กันยายน 2534 จำเลยได้ก่อสร้างอาคารขึ้นใหม่ในที่ดินดังกล่าว ระหว่างวันที่ 9 พฤษภาคม 2531ถึงวันที่ 7 กันยายน 2531 ซึ่งอยู่ในระหว่างที่กฎกระทรวงฉบับที่ 17(พ.ศ. 2529) มีผลใช้บังคับ จำเลยจึงเป็นเจ้าของที่ดินภายหลังจากที่กฎกระทรวง ฉบับข้างต้นมีผลใช้บังคับ และใช้ประโยชน์ที่ดินโดยสร้างอาคาร ตามฟ้องเมื่อกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว จำเลยไม่ใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินได้ใช้ประโยชน์ ที่ดินมาก่อนที่จะมีกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 มาตรา 27 วรรคสอง ส่วนอาคารที่จำเลยก่อสร้างขึ้นใหม่มั่นคงแข็งแรง ไม่กีดขวางการจราจร หากต้องถูกรื้อจำเลยจะได้รับความเสียหายมากนั้น เหตุดังกล่าวไม่มีกฎหมายกำหนดให้ถือเป็นข้อยกเว้น ที่ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมไว้ จึงไม่อาจรับฟังตามที่จำเลยอ้างได้ ที่จำเลยฎีกาว่า กฎกระทรวง ฉบับที่ 17(พ.ศ. 2529)ตามฟ้องสิ้นผลบังคับเพราะพ้นกำหนด 5 ปี โดยไม่มีการออกกฎกระทรวงฉบับใหม่เพื่อใช้บังคับผังเมืองรวมในท้องที่เดิมต่อไป จึงไม่อาจนำมาใช้กับกรณีของจำเลยได้นั้นแม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ แต่เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นมีกฎกระทรวง ฉบับที่ 182 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติ การผังเมือง พ.ศ. 2518 ใช้บังคับโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2537 กำหนดให้ใช้บังคับผังเมือง รวมในท้องที่ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานีจังหวัดอุดรธานี มีรายการประกอบแผนผังแสดงโครงการคมนาคม และขนส่งท้ายกฎกระทรวง กำหนดให้ขยายถนนโภคานุสรณ์เป็นถนนแบบง. ขนาดเขตทาง 30 เมตร ตรงกับกฎกระทรวง ฉบับที่ 17(พ.ศ. 2529) และรายการประกอบแผนผังแสดงโครงการ คมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวง ฉบับที่ 17(พ.ศ. 2529) เป็นผลให้กรณีของจำเลยยังคงต้องห้ามและขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับนี้ ศาลฎีกาจึงชอบที่จะยกกฎกระทรวงฉบับนี้ขึ้นปรับใช้แก่คดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ที่ดิน: สิทธิการครอบครองต่อเนื่องจากผู้อื่น และระยะเวลาการครอบครองที่ยังไม่ครบกำหนด
ผู้คัดค้านที่ 1 มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 2699เนื้อที่ประมาณ 3 งาน 35 ตารางวา ผู้คัดค้านที่ 2 มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 2700 เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ 41 ตารางวา เดิมที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นที่งอกริมตลิ่งที่น้ำท่วมไม่ถึงหน้าที่ดินตราจองเลขที่ 1493 และ 1494 ของผู้คัดค้านทั้งสอง เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2515 ผู้คัดค้านทั้งสองยื่นคำขอรังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาท ส.บิดาผู้ร้องที่ 1 คัดค้าน แต่เจ้าพนักงานที่ดินก็ทำการรังวัดออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสอง ต่อมา ส.ได้ฟ้องผู้คัดค้านทั้งสองและเจ้าพนักงานที่ดินขอให้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดินดังกล่าว ระหว่างพิจารณา ส.ถึงแก่กรรม ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ส.ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องที่ 1 เข้าเป็นคู่ความแทนที่ ส.คดีดังกล่าว ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งของที่ดินตราจองที่ตราว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว" เลขที่ 1493 และ1494 จึงเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านทั้งสองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1308 และถือว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินมือเปล่าแต่เป็นที่ดินอยู่ในตราจองที่ตราว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว"ของที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวในลักษณะเป็นส่วนควบ ส่วนการที่ทางราชการออกโฉนดที่ดินให้แก่ที่ดินพิพาทเป็นเพียงการปฏิบัติเพื่อให้ที่ดินพิพาทมีหนังสือสำคัญตามประเภทที่ดินเท่านั้น ส.ครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้คัดค้านทั้งสอง ส.คัดค้านการออกโฉนดที่ดินถือได้ว่าเป็นการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทแทนผู้คัดค้านทั้งสองมาเป็นการยึดถือเพื่อตนให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสองทราบแล้วโดยปริยายเมื่อปี 2515 แต่ส.เพิ่งมาฟ้องกล่าวอ้างว่า ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเมื่อปี 2517 หลังบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเพียงสองปียังไม่ครบสิบปี ส.จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382ดังนี้ระยะเวลาที่ ส.บิดาผู้ร้องที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่วันคัดค้านการออกโฉนดที่ดินจนถึงวันฟ้องคดีแพ่ง และนับถึงวันฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวนั้นส.และผู้ร้องทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างคดี ต้องถือว่าเป็นการครอบครองแทนผู้คัดค้านทั้งสองเท่านั้น เมื่อผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทสืบสิทธิต่อจาก ส. ผู้ร้องทั้งสองจึงนับเวลาการครอบครองในระหว่างคดีดังกล่าวมารวมเข้ากับเวลาที่ ส.ครอบครองและผู้ร้องทั้งสองครอบครองไม่ได้ เพราะการที่คู่ความฝ่ายหนึ่งครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างคดีกับเจ้าของที่ดิน คู่ความฝ่ายนั้นจะอ้างว่าได้ครอบครองปรปักษ์ต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ และแม้ผู้ร้องทั้งสองจะมิใช่คู่ความเดียวกับโจทก์ในคดีก่อน แต่ผู้ร้องทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทโดยสืบสิทธิต่อจากโจทก์ในคดีก่อน ต้องถือว่าผู้ร้องทั้งสองและผู้คัดค้านทั้งสองในคดีนี้กับโจทก์และจำเลยทั้งสองในคดีก่อนเป็นคู่ความเดียวกัน ผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนที่วินิจฉัยว่า ส.ครอบครองที่ดินพิพาทเพียงสองปียังไม่ครบสิบปีจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา1382 ย่อมผูกพันผู้ร้องทั้งสองด้วย ทั้งหลังจากศาลฎีกาพิพากษาคดีนั้นแล้วจนถึงวันที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องคดีนี้ ผู้ร้องทั้งสองก็เพิ่งครอบครองที่ดินพิพาทมายังไม่ถึง 1 ปีผู้ร้องทั้งสองยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1325/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้จ้างวานฆ่าต่อเนื่อง: ความรับผิดชอบของผู้ว่าจ้างและผู้ถูกจ้าง
การที่จำเลยว่าจ้าง นาย อ. กับนาย ก. ให้ฆ่าผู้ตาย และนาย ก. ขอให้นาย ส. เข้ามาช่วยเหลือ แล้วนาย ส. ไปว่าจ้างบุคคลกลุ่มหนึ่งให้มาร่วมก็เพื่อให้สามารถฆ่าผู้ตายให้สำเร็จแต่ล้มเลิกเสีย นาย ส. และนาย ก. จึงไปติดต่อบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งให้มาร่วมทำงานนั้นต่อไป แล้วในที่สุดก็ฆ่าผู้ตายได้สำเร็จ จึงเป็นผลของการกระทำที่สืบเนื่องติดต่อมาจากการว่าจ้างของจำเลยนั่นเอง การกระทำของจำเลยตามฟ้องข้อ ข. ข้อ ค. และข้อ ง. จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวอันเป็นความผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดนั้น ตาม ป.อ. มาตรา 84 วรรคสอง ตอนต้น ประกอบมาตรา 289 (4)
of 36