คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ต่างประเทศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 229 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7128/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: เหตุปฏิเสธการบังคับและขอบเขตความรับผิด
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 35 ให้ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดตามมาตรา 34 ได้ ถ้าปรากฏต่อศาลว่าคำชี้ขาดนั้นเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ไม่สามารถจะระงับโดยทางอนุญาโตตุลาการได้ตามกฎหมายไทย หรือถ้าการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติระหว่างประเทศและโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศดังนี้ เมื่อต้องใช้หลักกฎหมายดังกล่าวปรับแก่คดี แต่จำเลยทั้งสองให้การเพียงว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ถูกต้องเพราะไม่ได้ให้เหตุผลในการชี้ขาด โดยมิได้อ้างเหตุต่าง ๆ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 34 และ 35 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนั้น ศาลจึงไม่มีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดนั้น
ค่าธรรมเนียมอนุญาโตตุลาการตามคำชี้ขาดของอนุญาโต-ตุลาการเรื่องค่าใช้จ่ายในการชี้ขาดที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระให้แก่โจทก์ ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นหนี้เงินและโจทก์ได้ชำระแทนจำเลยที่ 1 ไปแล้ว หามิใช่เป็นหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมศาล
เมื่อจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ดังนี้ โจทก์จึงชอบที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจภายใน1 ปี นับแต่วันที่ได้ส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงจำเลยเพื่อขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530มาตรา 23 วรรคหนึ่ง
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่มีผลผูกพันผู้ซึ่งไม่ใช่คู่กรณีแม้จำเลยที่ 2 จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่กรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการก็ตาม ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6051/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสต่างประเทศและการสมรสซ้อน: โมฆะตามกฎหมายไทย
เมื่อการสมรสระหว่างโจทก์และ ส.ผู้ตายเป็นการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา และชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา1459 วรรคหนึ่งแล้ว ต่อมาจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกับ ส.ถ้ามีโจทก์ตามกฎหมายไทยอีก จึงเป็นการจดทะเบียนในขณะที่ ส.มีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้ว เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 1452 ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1496 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ส.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5546/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดยื่นคำให้การ-พิจารณาคดี: ผลของการทราบคดีหลังกลับจากต่างประเทศ และกำหนดเวลาการยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่
แม้ในขณะถูกฟ้องและถูกบังคับคดี จำเลยจะไม่ทราบว่าจำเลยถูกฟ้องและถูกบังคับคดีเพราะขณะนั้นจำเลยเดินทางจากประเทศไทยไปทำงานเป็นแม่บ้านอยู่ที่เกาะฮ่องกง และเพิ่งเดินทางกลับประเทศไทย ทั้งหลังจากนั้นจำเลยไปอยู่ที่ภูมิลำเนาของจำเลยที่จังหวัดระยองโดยที่จำเลยไม่เคยได้รับสำเนาคำฟ้องหมายเรียกให้ยื่นคำให้การและหมายบังคับคดีเลยก็ตาม แต่หลังจากจำเลยเดินทางกลับประเทศไทยแล้ว จำเลยทราบว่า จำเลยถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้และจำเลยต้องตกเป็นฝ่ายแพ้คดี ตามที่จำเลยและทนายความของจำเลยได้ยื่นคำแถลงขอตรวจสำนวน และขอคัดสำเนาคำฟ้องคำพิพากษาและคำสั่ง ของศาล ดังนั้น แม้เหตุที่จำเลยต้องขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา สืบเนื่องมาจากพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยเดินทางกลับมายังประเทศไทยและจำเลยทราบว่าจำเลยถูกโจทก์ฟ้องในวันที่27 มีนาคม 2538 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยขอตรวจสำนวนที่ศาลชั้นต้นนั้น ย่อมถือได้ว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว จำเลยจะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เสียภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลงคือนับแต่วันที่ 28 มีนาคม 2538 เป็นต้นไป การที่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 30ตุลาคม 2538 ถือว่าจำเลยยื่นคำร้องดังกล่าวเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายบัญญัติบังคับไว้แล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศภายใต้กฎหมายอนุญาโตตุลาการและการปฏิเสธการบังคับตามเหตุที่กฎหมายกำหนด
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามฟ้องเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศที่อยู่ในบังคับแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ค ลงวันที่ 10 มิถุนายน2501 (ค.ศ.1958) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอันจะได้รับการรับรองและบังคับในราชอาณาจักรไทยตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 29 วรรคหนึ่งซึ่งศาลจะทำคำสั่งปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามฟ้องได้ก็ต่อเมื่อปรากฏว่ามีเหตุที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 34 หรือมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว เหตุใดเหตุหนึ่ง แต่ปรากฏว่าจำเลยซึ่งจะถูกบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวมิได้นำสืบพิสูจน์ให้เห็นเลยว่า มีเหตุที่ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวตามมาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530อย่างใด ทั้งไม่ปรากฏด้วยว่าคำชี้ขาดนั้นเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ไม่สามารถจะระงับโดยทางอนุญาโตตุลาการได้ตามกฎหมายไทยหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติระหว่างประเทศ ศาลจึงไม่มีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดนั้นโดยเหตุใดเหตุหนึ่งดังกล่าว
ตามคำชี้ขาดข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด อนุญาโตตุลาการพิจารณาแล้ว เห็นว่า จำเลยตกลงซื้อฝ้าย200 ตัน จากโจทก์ในราคาปอนด์ละ 76.50 เซนต์สหรัฐ ตามสัญญาซื้อขายลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2534 ซึ่งจะมีการส่งฝ้ายในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคมเมษายน และพฤษภาคม 2535 งวดละเท่า ๆ กัน โดยจำเลยจะต้องเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตชำระเงินค่าซื้อฝ้ายก่อนการส่งฝ้ายเพื่อให้มีการปฏิบัติตามสัญญาตามข้อตกลงและเงื่อนไขในสัญญา แต่จำเลยผิดสัญญาไม่เปิดเลตเตอร์-ออฟเครดิต ซึ่งเมื่อผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญา ผู้ขายมีสิทธิที่จะปิดสัญญาโดยการเรียกเก็บเงินกลับตามข้อบังคับและกฎของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด ที่เกี่ยวข้องโดยกฏข้อ 140 ระบุว่า ถ้าไม่มีการปฏิบัติหรือจะไม่มีการปฏิบัติตามสัญญาใด สัญญาจะปิดโดยการเรียกเก็บเงินกลับโดยผู้ขายตามกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับในวันทำสัญญาและกฏข้อ 141 ระบุว่า ในกรณีที่สัญญาหรือส่วนของสัญญาได้ปิดลงโดยการเรียกเก็บเงินกลับโดยผู้ขาย ราคาสินค้าของการเรียกเก็บเงินกลับดังกล่าวจะกำหนดโดยอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาด เว้นแต่จะได้ตกลงโดยผู้ซื้อและผู้ขายโดยอยู่ภายใต้บังคับของการอุทธรณ์ ราคาสินค้าของการเรียกเก็บเงินกลับจะตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาด หรือในกรณีอุทธรณ์ คณะกรรมการอุทธรณ์ทางเทคนิคจะพิจารณาโดยอ้างถึงราคาตลาดของฝ้ายตามกฏเกณฑ์และ/หรือข้อเท็จจริงอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาค่าเสียหายให้คู่สัญญาอย่างเพียงพอโดยอนุญาโตตุลาการได้ระบุในข้อ 13 ของคำชี้ขาดว่า เป็นธรรมเนียมมาช้านานของอนุญาโตตุลาการแห่งสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูลที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฏข้อ 141 ในลักษณะที่จะให้คู่สัญญาอยู่ในสถานะทางการเงินที่เหมือนกันอย่างมากที่สุดราวกับว่าได้มีการปฏิบัติตามสัญญา โดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของข้อกำหนดของสัญญาดังกล่าวซึ่งอาจจะทำโดยการแก้ไขเป็นหนังสือหรือโดยการปฏิบัติของคู่สัญญาหรือตัวแทนซึ่งได้รับแต่งตั้ง หลักเกณฑ์เหล่านี้ได้รับการปฏิบัติทั่วไปในการค้าฝ้าย และระบุในข้อ 14 ว่า หลักเกณฑ์ดังกล่าวได้รับการปฏิบัติทั่วไปในทางบัญชี เพื่อปฏิบัติตามสัญญาหรือบางส่วนดังกล่าวโดยอ้างถึงราคาตลาดเสรีของฝ้ายที่ได้ตกลงทำสัญญากัน ณ วันที่คู่สัญญาได้รู้หรือควรจะรู้ว่าตนไม่อาจคาดหวังค่าตอบแทนจากอีกฝ่ายหนึ่งได้ ซึ่งในกรณีนี้อนุญาโตตุลาการถือว่าเป็นวันที่ 28 ตุลาคม 2535 และชี้ขาดให้จำเลยผู้ซื้อต้องชำระส่วนต่างของราคาตามสัญญาของฝ้ายจำนวน 200 ตันดังกล่าวกับราคาตลาดของฝ้ายดังกล่าวในวันที่ 28 ตุลาคม 2535 ให้แก่โจทก์ผู้ขาย ทั้งนี้ปรากฏจากคำชี้ขาดด้วยว่าโจทก์ผู้ขายได้ส่งหนังสือบอกกล่าวอย่างเป็นทางการให้แก่ผู้ซื้อโดยจดหมายลงทะเบียนลงวันที่ 28 ตุลาคม 2535 ระบุความประสงค์ที่จะดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการในการที่จำเลยผู้ซื้อได้ละเลยที่จะปฏิบัติตามสัญญาเพื่อที่จะปิดสัญญาดังกล่าวซึ่งไม่ได้รับการปฏิบัติตามข้อบังคับและกฏของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล และโดยหนังสือฉบับเดียวกันนั้น ผู้ขายได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาดและได้ร้องขอให้ผู้ซื้อดำเนินการเช่นเดียวกันนั้นแล้ว ซึ่งอนุญาโตตุลาการได้ตรวจสอบพยานหลักฐานทั้งหมดและตัดสินว่าวันผิดสัญญาของสัญญาดังกล่าวคือวันที่ 28 ตุลาคม 2535 ด้วยเมื่อการที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้จำเลยผู้ซื้อชำระเงินซึ่งเป็นส่วนต่างระหว่างราคาตามสัญญาของฝ้ายจำนวน 200 ตัน กับราคาตลาดของฝ้ายดังกล่าวในวันที่28 ตุลาคม 2535 โดยถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่คู่สัญญาได้รู้หรือควรจะรู้ว่าตนไม่อาจคาดหวังค่าตอบแทนจากอีกฝ่ายได้นั้น มิได้ขัดต่อหลักเกณฑ์ตามข้อ 141ของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด หรือธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมาช้านานของอนุญาโตตุลาการแห่งสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด ที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฏข้อ 141 ดังกล่าวในลักษณะที่จะให้คู่สัญญาอยู่ในสถานะทางการเงินที่เหมือนกันอย่างมากที่สุดราวกับว่าได้มีการปฏิบัติตามสัญญาแต่อย่างใดเพราะแม้สัญญาซื้อขายฝ้ายระหว่างโจทก์และจำเลยได้กำหนดให้ส่งฝ้ายในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายนและพฤษภาคม 2535 โดยจำเลยผู้ซื้อต้องเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเต็มตามราคาฝ้ายทั้งหมดให้แก่โจทก์ก่อนส่งฝ้ายงวดแรกแล้วจำเลยผิดสัญญาไม่เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตตามข้อตกลงดังกล่าวก็ตาม แต่จำเลยก็อาจปฏิบัติตามสัญญาในภายหลังได้ การคำนวณส่วนต่างของราคาฝ้ายดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องคำนวณในวันที่ได้กำหนดให้มีการชำระราคาหรือส่งมอบฝ้ายตามสัญญาเสมอไปไม่ การบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวตามฟ้องหาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใดไม่คำชี้ขาดนั้นจึงมีผลผูกพันบังคับจำเลยได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศที่อยู่ในบังคับแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ค ลงวันที่ 10 มิถุนายน2501 (ค.ศ.1958) ซึ่งศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดเสียได้ต่อเมื่อจำเลยซึ่งจะถูกบังคับสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีกรณีตามที่ระบุไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (6) ของมาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530 กรณีใดกรณีหนึ่ง หรือมีกรณีตามที่ระบุไว้ในมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวเท่านั้น แต่ข้อที่จำเลยแก้ฎีกาว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญาซื้อขายฝ้ายตามฟ้องกับโจทก์ จำเลยไม่เคยให้ ว.เป็นตัวแทนหรือเชิด ว.เป็นตัวแทนเชิดของจำเลย ถือไม่ได้ว่าจำเลยตกลงให้เสนอข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นให้อนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด เป็นผู้ชี้ขาด สัญญาและคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่มีผลผูกพันจำเลยนั้นมิใช่กรณีตามที่ระบุไว้เช่นนั้น ทั้งปรากฏจากคำชี้ขาดด้วยว่า อนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้พิจารณาเห็นว่าจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายฝ้ายรายพิพาทกับโจทก์แล้ว จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อที่จำเลยแก้ฎีกาดังกล่าวอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5292/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชนจากการหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศ แม้ไม่มีสำนักงานชัดเจน และเจตนาหลอกลวงเป็นสำคัญ
การแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343ไม่ได้ถือเอาจำนวนผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงว่ามากหรือน้อยแต่ถือเอาเจตนาแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนเป็นสำคัญและไม่จำเป็นที่จำเลยจะต้องกระทำการดังกล่าวด้วยต้นเองมาตั้งแต่ต้นทุกครั้งเพียงแต่จำเลยแสดงข้อความอันเป็นเท็จแก่ผู้เสียหายบางคนแล้วมีการบอกต่อกันไปเป็นทอด ๆเมื่อผู้เสียหายคนหลังทราบข่าวและมาสอบถามจำเลยจำเลยได้ยืนยันแสดงข้อความอันเป็นเท็จนั้นและให้ผู้เสียหายไปติดต่อที่แฟลตทุกครั้ง อันถือได้ว่าเป็นสำนักงานของจำเลยกับพวก แม้จะไม่มีการประกาศรับสมัครงานปิดไว้ก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นการฉ้อโกง ประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 แล้ว จำเลยกับพวกมิได้เป็นผู้รับอนุญาตให้จัดหางานมิได้เป็นกรรมการหุ้นส่วนหรือผู้จัดการของผู้ได้รับอนุญาตให้จัดหางานซึ่งเป็นนิติบุคคล ประกอบกับฟ้องโจทก์ที่บรรยายไว้ชัดแจ้งว่าจำเลยกับพวกรู้อยู่แล้วว่ายังไม่มีตำแหน่งงานหรืออัตรางานในประเทศบาร์เรนตามที่โฆษณาชักชวนแสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่จะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายอย่างจริงจังเป็นเพียงอุบายหลอกลวงอ้างเรื่องการจัดหางานเพื่อให้ผู้เสียหายหลงเชื่อมอบค่าบริการให้จำเลยเท่านั้นไม่ต่างกับการหลอกลวงโดยอ้างเหตุอื่น ๆ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่เสียภาษีจากการเป็นตัวแทนติดต่อซื้อขายสินค้าระหว่างต่างประเทศกับไทย
เมื่อบริษัท ส. ติดต่อขอให้โจทก์สั่งซื้อสินค้าให้โดยตกลงจะให้ค่านายหน้าแก่โจทก์ โจทก์ได้ติดต่อไปยังบริษัท ม.ประเทศสหรัฐอเมริกา และบริษัทดังกล่าวได้แจ้งราคาสินค้าที่บริษัท ส.ต้องการซื้อมายังโจทก์ โจทก์แจ้งให้บริษัท ส.ผู้ซื้อทราบ บริษัทผู้ซื้อพอใจจึงทำการซื้อขายและชำระราคาแก่บริษัท ม.ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยตรง การที่โจทก์แนะนำบริษัท ม.ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศให้แก่บริษัท ส.ซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ในประเทศไทย โดยมีการติดต่อผ่านโจทก์จนทำการซื้อขายสินค้ากัน แม้ผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์จะทำสัญญาซื้อขายและชำระราคาค่าสินค้าให้แก่ผู้ขายซึ่งเป็นบริษัทในต่างประเทศโดยตรง โดยโจทก์มิได้มีส่วนรับผิดเกี่ยวกับการซื้อขายหรือการชำระราคาค่าสินค้าก็ตาม แต่การที่บริษัทในต่างประเทศสามารถขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยได้ ก็เนื่องมาจากโจทก์เป็นตัวเชื่อมให้ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกัน จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้แก่บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ เมื่อบริษัทในต่างประเทศได้รับชำระค่าสินค้าย่อมมีเงินได้หรือผลกำไรรวมอยู่ด้วย โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นแบบรายการและเสียภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 70 ทวิ ผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยนั้น ต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไร โจทก์เป็นเพียงผู้ทำการติดต่อกับลูกค้าในประเทศไทยในการขายสินค้าแทนบริษัทในต่างประเทศ ไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นสาขาของบริษัทในต่างประเทศและเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรแต่อย่างใด เพียงแต่ลูกค้าของโจทก์ในประเทศไทยได้ติดต่อทำสัญญาซื้อขายและชำระราคาค่าสินค้าให้แก่บริษัทในต่างประเทศโดยตรง แม้ค่าสินค้าที่ลูกค้าชำระจะมีเงินกำไรรวมอยู่ด้วย แต่โจทก์ก็มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเงินไปชำระค่าสินค้า ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีจากการจำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทย ตามมาตรา 70 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจากการผ่อนชำระสินค้าต่างประเทศเป็นเงินได้พึงประเมินและต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
ในปี 2534 และ 2535 โจทก์สั่งซื้อปุ๋ยเคมีจากบริษัท น.ประเทศนอร์เวย์ บริษัท ฮ.ประเทศสวีเดน บริษัท ฟ.เมืองฮ่องกง และบริษัท อ.ประเทศนอร์เวย์หลายครั้ง โดยนำเข้ามาในราชอาณาจักรระหว่างวันที่ 24กุมภาพันธ์ 2534 ถึงวันที่ 28 มิถุนายน 2535 การนำเข้าสินค้าดังกล่าว โจทก์จะชำระราคาสินค้าภายใน 270 วัน และ 180 วัน นับแต่วันส่งมอบสินค้าพร้อมกับชำระเงินเพิ่มจากราคาสินค้าดังกล่าวให้แก่ผู้ขายอีกในอัตราร้อยละ 10.8 ของราคาสินค้า นับแต่วันส่งมอบสินค้าถึงวันชำระราคา ตามที่ระบุในใบกำกับสินค้าโจทก์ชำระเงินเพิ่มจากราคาสินค้าให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศดังกล่าวในระหว่างวันที่ 7 พฤศจิกายน 2534 ถึง 31 ธันวาคม 2534 เป็นเงิน 6,648,075.74บาท และในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2535 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2535 เป็นเงิน112,548,706.04 บาท เงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ที่บริษัทผู้ขายได้รับจากโจทก์ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2534 ซึ่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร(ฉบับที่ 29) พ.ศ.2534 ใช้บังคับแล้ว จึงเป็นเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่ได้จากสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าสินค้าตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ป.รัษฎากร ส่วนดอกเบี้ยอันเกิดจากการผ่อนปรนการชำระราคาสินค้านั้น แม้ดอกเบี้ยดังกล่าวจะไม่ได้เกิดจากการที่โจทก์กู้ยืมเงินจากผู้ขาย มิได้เกิดจากพันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงินก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิที่จะชำระราคาทันทีโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยตามข้อตกลง แต่โจทก์ไม่ใช้สิทธิเช่นว่านี้โจทก์ยินดีรับสิทธิการผ่อนปรนการชำระราคาโดยเสียดอกเบี้ย ดังนั้นดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจึงเป็นเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกับดอกเบี้ย เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40 (4) (ก) แห่ง ป.รัษฎากรเช่นกัน
โจทก์จ่ายเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (4)(ก) ให้แก่ผู้ขายซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย อันเป็นการจ่ายจากประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่หักภาษีจากเงินได้พึงประเมินดังกล่าวและนำส่งอำเภอท้องที่ พร้อมกับยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 70 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.รัษฏากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจากการผ่อนผันชำระราคาสินค้าต่างประเทศ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร และต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
ในปี 2534 และ 2535 โจทก์สั่งซื้อปุ๋ยเคมีจากบริษัท น. ประเทศนอร์เวย์บริษัทฮ. ประเทศสวีเดนบริษัท ฟ.เมืองฮ่องกงและบริษัทอ.ประเทศนอร์เวย์หลายครั้ง โดยนำเข้ามาในราชอาณาจักรระหว่างวันที่24 กุมภาพันธ์ 2534 ถึงวันที่ 28 มิถุนายน 2535 การนำเข้าสินค้าดังกล่าว โจทก์จะชำระราคาสินค้าภายใน 270 วัน และ180 วัน นับแต่วันส่งมอบสินค้าพร้อมกับชำระเงินเพิ่มจากราคาสินค้าดังกล่าวให้แก่ผู้ขายอีกในอัตราร้อยละ 10.8 ของราคาสินค้า นับแต่วันส่งมอบสินค้าถึงวันชำระราคา ตามที่ระบุในใบกำกับสินค้าโจทก์ชำระเงินเพิ่มจากราคาสินค้าให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศดังกล่าวในระหว่างวันที่ 7 พฤศจิกายน 2534ถึง 31 ธันวาคม 2534 เป็นเงิน 6,648,075.74 บาท และในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2535 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2535 เป็นเงิน112,548,706.04 บาท เงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ที่บริษัทผู้ขายได้รับจากโจทก์ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2534 ซึ่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 29)พ.ศ. 2534 ใช้บังคับแล้ว จึงเป็นเงินได้ที่มีลักษณะ ทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่ได้จากสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าสินค้าตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนดอกเบี้ยอันเกิดจากการผ่อนปรนการชำระราคาสินค้านั้น แม้ดอกเบี้ยดังกล่าวจะไม่ได้เกิดจากการที่โจทก์กู้ยืมเงินจากผู้ขาย มิได้เกิดจากพันธบัตร หุ้นกู้หรือตั๋วเงินก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิที่จะชำระราคาทันทีโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยตามข้อตกลง แต่โจทก์ไม่ใช้สิทธิเช่นว่านี้โจทก์ยินดีรับสิทธิการผ่อนปรนการชำระราคาโดยเสียดอกเบี้ยดังนั้นดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจึงเป็นเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกับดอกเบี้ย เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก)แห่งประมวลรัษฎากรเช่นกัน โจทก์จ่ายเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40(4)(ก) ให้แก่ผู้ขายซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยอันเป็นการจ่ายจากประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่หักภาษีจากเงินได้พึงประเมินดังกล่าวและนำส่งอำเภอท้องที่ พร้อมกับยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 70 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 447/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความต่างประเทศ, อำนาจฟ้อง, การชำระหนี้ตามสัญญา
หนังสือที่โจทก์มอบอำนาจให้พ. ฟ้องคดีแทนทำขึ้นที่ประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านโดยมีกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านและสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศดังกล่าวรับรองหนังสือมอบอำนาจไว้แล้วฉะนั้นแม้จะไม่ได้ให้กงสุลสยามเป็นพยานก็ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริงการยื่นหนังสือมอบอำนาจในกรณีนี้จึงไม่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา47วรรคสาม การที่สัญญากระทำกันในต่างประเทศจะต้องใช้กฎหมายประเทศใดบังคับหรือไม่อย่างไรหาใช่ข้อที่โจทก์จำเป็นจะต้องบรรยายมาในคำฟ้องด้วยหรือไม่เพราะหากจำต้องใช้กฎหมายต่างประเทศปรับแก่คดีก็เป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยบรรยายถึงมูลกรณีที่มีการทำสัญญาแล้วจำเลยผิดนัดทั้งมีการแนบสำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความมาท้ายคำฟ้องด้วยนั้นจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วหาเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนในประเทศไทยมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครแม้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยจะทำขึ้นในต่างประเทศและจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาดังกล่าวโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนในต่างประเทศย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 447/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีข้ามชาติ, สัญญาประนีประนอมยอมความ, เงื่อนไขการชำระหนี้, กฎหมายต่างประเทศ
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่าบริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตามกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านเป็นบริษัทของรัฐบาลสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน อ.ผู้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ตั้งแต่พ.ศ.2528กระทรวงการต่างประเทศของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านได้รับรองหนังสือมอบอำนาจไว้และได้มีการรับรองโดยสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านด้วยจำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นเป็นประการอื่นแม้หนังสือมอบอำนาจจะได้ทำในเมืองต่างประเทศและไม่ได้ให้กงสุลสยามเป็นพยานก็ตามแต่กรณีไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริงการยื่นหนังสือมอบอำนาจนั้นจึงไม่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา47วรรคสามแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแม้ว่าตามหนังสือราชกิจจานุเบกษาของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านประกาศว่าอ.เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์นั้นลงวันที่6มิถุนายน2535ภายหลังที่บุคคลดังกล่าวได้ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจก็ตามแต่หนังสือราชกิจจานุเบกษาดังกล่าวอ้างถึงการประชุมของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่15ธันวาคม2534ซึ่งแต่งตั้งกรรมการบริษัทโจทก์ให้ดำรงตำแหน่งต่อไปเป็นเวลา3ปีอ.ก็เป็นคนหนึ่งที่ได้รับแต่งตั้งมิได้หมายความว่าก่อนหน้านี้อ.มิได้เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์เพราะกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านก็ได้ตรวจลงตรารับรองลายมือชื่อกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ที่ลงไว้ท้ายหนังสือมอบอำนาจว่าเป็นลายมือชื่อของอ. ก็ตาม คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงมูลกรณีที่ได้มีการทำสัญญาดังกล่าวระหว่างโจทก์กับจำเลยมาด้วยว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าเสียหายที่เรือของโจทก์ต้องเสียเวลาจอดรอจึงได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความขึ้นโดยโจทก์ยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้เป็นงวดๆภายในระยะเวลาที่กำหนดจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์เพียง2งวดแล้วผิดนัดไม่ชำระอีกจึงขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวทั้งได้มีการแนบสำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าวมาท้ายคำฟ้องด้วยการที่สัญญาดังกล่าวกระทำกันในต่างประเทศจึงต้องใช้กฎหมายประเทศใดบังคับหรือไม่อย่างไรหาใช่ข้อที่โจทก์จำเป็นจะต้องบรรยายมาในคำฟ้องด้วยไม่เพราะหากจำต้องใช้กฎหมายต่างประเทศปรับแก่คดีก็เป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วหาเคลือบคลุมไม่ จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนในประเทศไทยมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครแม้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยจะทำขึ้นในต่างประเทศและจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนในต่างประเทศย่อมมีอำนาจฟ้องที่ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(1) จำเลยได้ขายข้าวสารให้แก่บรรษัทการค้าของรัฐบาลสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านในราคาเอฟ.โอ.บี. โดยผู้ซื้อเป็นผู้หาเรือมาบรรทุกข้าวสารจากกรุงเทพมหานครบรรษัทผู้ซื้อข้าวสารจากจำเลยได้ให้โจทก์นำเรือมาบรรทุกข้าวสารแต่จำเลยส่งข้าวสารลงเรือล่าช้าจึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าที่เรือต้องเสียเวลาจอดรอแก่โจทก์โจทก์กับจำเลยจึงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันดังนั้นสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมีคู่สัญญาเพียง2ฝ่ายคือโจทก์และจำเลยมิได้มีเงื่อนไขว่าจำเลยจะชำระหนี้ตามสัญญาให้ก็ต่อเมื่อบรรษัทการค้าของรัฐบาลสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านสั่งซื้อข้าวสารต่อไปจากจำเลยแล้วหักราคาซื้อขายชำระแก่โจทก์แต่อย่างใดสำหรับข้อความในสัญญาที่ว่าสัญญานี้ให้สมบูรณ์จนถึงวันที่30กันยายน2533นั้นเมื่อพิเคราะห์ประกอบถึงข้อความในสัญญาและพฤติการณ์ที่คู่กรณีปฏิบัติต่อกันโดยฝ่ายจำเลยได้มีการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญานั้นแล้ว2ครั้งมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าเพราะทางฝ่ายโจทก์ให้โอกาสจำเลยขยายเวลาเพื่อชำระหนี้รายนี้แก่โจทก์ได้จนถึงวันดังกล่าวจำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินที่ยังค้างชำระตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
of 23