คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ถอนฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7241/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วมมีผลเสมือนถอนฟ้อง ทำให้สิทธิอุทธรณ์สิ้นสุด
เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ในครั้งแรก ก็แสดงว่าศาลชั้นต้นฟังว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหาย สามารถดำเนินคดีแก่จำเลยโดยอาศัยสิทธิตามฟ้องของพนักงานอัยการเสมือนโจทก์ร่วมฟ้องเองการที่โจทก์ร่วมขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วมโดยระบุว่ามีความเห็นหลายอย่างไม่ตรงกับความเห็นของโจทก์ หากโจทก์ร่วมดำเนินคดีนี้ต่อไปอีกอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่รูปคดีของโจทก์การขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วมดังกล่าวไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมจะไปดำเนินการอะไรอีก ถือได้ว่าโจทก์ร่วมไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป มีผลเท่ากับเป็นการถอนฟ้องในส่วนของโจทก์ร่วมเสร็จเด็ดขาดนั่นเอง เมื่อเป็นการขอถอนฟ้องเสร็จเด็ดขาดแล้ว โจทก์ร่วมจะไปขอเข้าร่วมเป็นโจทก์อีกไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์ในครั้งหลังจึงไม่ชอบ และเมื่อโจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์ไม่ได้แล้ว โจทก์ร่วมจึงมิได้เป็นโจทก์ของคดีนี้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2930/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการอนุญาตถอนฟ้อง พิจารณาผลกระทบต่อทุกฝ่าย มิใช่เฉพาะโจทก์
การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีแพ่งหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลซึ่งนอกจากพิจารณาถึงความสุจริตใน การดำเนินคดีของโจทก์แล้ว ศาลจะต้องพิจารณาถึงผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่ายอีกด้วย มิใช่จะพิจารณาแต่เพียงผลได้ผลเสียของโจทก์ผู้ขอถอนฟ้องแต่ฝ่ายเดียว
หลังจากศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องแล้ว โจทก์ได้นำคำฟ้องมายื่นใหม่โดยโจทก์ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลง คำฟ้องเดิมหลายแห่งเพื่อให้ถูกต้องตามความเป็นจริง มิได้เปลี่ยนแปลงจำนวนที่ดินอันเป็นสาระสำคัญของคำมั่นว่าจะ ขายที่ดินของจำเลยและตามคำฟ้องเดิมบรรยายว่า เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2538 เวลา 8.30 นาฬิกา โจทก์พร้อมด้วย ว. ได้ไปที่สำนักงานที่ดินตามที่ได้นัดหมายไว้กับจำเลย แต่ในคำฟ้องที่โจทก์นำมายื่นใหม่ไม่ได้ระบุ ว. นั้น ชั้นพิจารณา ในคดีเดิมทั้งโจทก์และ ว. ไม่ได้เบิกความถึงว่า ว. ได้ไปสำนักงานที่ดินในวันเวลาดังกล่าว จึงไม่ทำให้เห็นว่า พยาน โจทก์ทั้งสองเบิกความแตกต่างหรือขัดแย้งกันในเรื่องนี้ นอกจากนั้นคำฟ้องที่โจทก์นำมายื่นใหม่มีข้อความเพิ่มเติมจาก คำฟ้องเดิมว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ช. เป็นผู้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลย ก็เป็นการเพิ่มเติมคำฟ้องเพื่อให้สมบูรณ์ขึ้น ดังนี้ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนั้นไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2930/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีแพ่ง ศาลต้องพิจารณาผลกระทบต่อคู่ความทุกฝ่าย ไม่ใช่แค่ผู้ขอถอน
การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลซึ่งนอกจากพิจารณาถึงความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์แล้ว ศาลจะต้องพิจารณาถึงผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่ายอีกด้วย มิใช่จะพิจารณาแต่เพียงผลได้ผลเสียของโจทก์แต่ฝ่ายเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฉ้อโกง vs. พ.ร.บ.จัดหางาน แม้ผู้เสียหายถอนฟ้องฉ้อโกง แต่คดี พ.ร.บ.จัดหางานยังดำเนินต่อไปได้
ความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 เป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความกันแล้วย่อมทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) แต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี ด้วย อันเป็นการกระทำผิดกรรมเดียว แต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งศาลได้ลงโทษในความผิดฐานนี้ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความกันก็ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานนี้ระงับไป คงระงับไปเฉพาะความผิดฐานฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7320/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำสิทธิอาญา: คดีก่อนยังไม่สิ้นสุด แม้ถอนฟ้อง
แม้ความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี ในคดีนี้จะเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานฉ้อโกงตามป.อ.มาตรา 341 ในคดีก่อน แต่ขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ นอกจากคดีก่อนยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นแล้ว คดีดังกล่าวยังเสร็จสิ้นไปเพราะศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีเนื่องจากผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ อันถือไม่ได้ว่าศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่โจทก์ฟ้อง ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7246/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีฉ้อโกง, การถอนฟ้อง, และขอบเขตการยอมความเฉพาะตัวผู้เสียหาย
จำเลยฎีกาว่า ในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดอันยอมความกันได้ ผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่ผู้เสียหายได้รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดคดีเป็นอันขาดอายุความ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225 จำเลยจึงยกปัญหานี้ขึ้นฎีกาได้
แม้โจทก์ร่วมทั้งสี่ไม่ประสงค์จะเอาความผิดแก่จำเลยและภายหลังโจทก์ร่วมที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ได้ถอนคำร้องทุกข์จำเลยในความผิดฐานฉ้อโกง แต่โจทก์ร่วมที่ 2 มิได้ร่วมเจรจาตกลงกับจำเลยด้วย และโจทก์ร่วมที่ 2 มิได้แถลงว่าไม่ประสงค์จะเอาความผิดแก่จำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงและมิได้ถอนคำร้องทุกข์จำเลย ดังนั้น สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญาตามความผิดฐานฉ้อโกงมาฟ้องจำเลย สำหรับโจทก์ร่วมที่ 2 จึงยังไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6909/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งยังดำเนินได้แม้ถอนฟ้องเดิม
เมื่อจำเลยฟ้องแย้งเข้ามาในคำให้การ โจทก์ก็คือจำเลยในฟ้องแย้ง คดีตามฟ้องแย้งจึงมีคู่ความครบถ้วนที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องเดิม ก็คงมีผลเฉพาะคดีโจทก์ว่าไม่มีฟ้องเดิมที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเท่านั้น หามีผลให้ฟ้องแย้งของจำเลยตกไปด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6909/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่ตกไปแม้โจทก์ถอนฟ้องเดิม ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาฟ้องแย้งต่อไป
เมื่อจำเลยฟ้องแย้งเข้ามาในคำให้การ โจทก์ก็คือจำเลยในฟ้องแย้ง คดีตามฟ้องแย้งจึงมีคู่ความครบถ้วนที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องเดิม ก็คงมีผลเฉพาะคดีโจทก์ว่าไม่มีฟ้องเดิมที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเท่านั้น หามีผลให้ฟ้องแย้งของจำเลยตกไปด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5595/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องและการฟ้องคดีใหม่: ศาลใช้ดุลพินิจชอบแล้วเมื่อไม่มีพยานสืบ และไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
ขณะที่โจทก์ขอถอนฟ้อง โจทก์และฝ่ายจำเลยต่างยังไม่มีฝ่ายใดนำพยานเข้าสืบเพื่อสนับสนุนคำฟ้องและคำให้การของฝ่ายตน ซึ่งข้อเท็จจริงจะเป็นตามคำฟ้องของโจทก์หรือคำให้การของฝ่ายจำเลย จะรับฟังได้เพียงใดอยู่ที่พยานหลักฐานที่ต่างนำเข้าสืบสนับสนุนคำฟ้องและคำให้การของฝ่ายตน เมื่อยังไม่มีฝ่ายใดนำพยานเข้าสืบ การที่โจทก์ขอถอนฟ้องก็ไม่มีเหตุที่จะทำให้ฝ่ายจำเลยต้องเสียเปรียบโจทก์ในเชิงคดี แม้โจทก์ขอถอนฟ้องเพื่อนำคดีมาฟ้องใหม่ โดยการตั้งรูปคดีใหม่ตามที่ฝ่ายจำเลยคัดค้านก็ตาม ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะถอนฟ้องเมื่อใดก็ได้โดยอยู่ในเงื่อนไขและดุลพินิจของศาลที่จะสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 175 และเมื่อโจทก์ได้รับอนุญาตให้ถอนฟ้องแล้ว โจทก์มีสิทธิจะนำคดีมาฟ้องใหม่ได้ตามมาตรา 176 กรณีเช่นนี้ไม่อาจถือว่าโจทก์กระทำการโดยไม่สุจริตทำให้ฝ่ายจำเลยเสียเปรียบ ฉะนั้นศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5198/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิถอนฟ้องและการใช้ดุลพินิจของศาล
โจทก์จะถอนฟ้องจำเลยหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกระทำได้แต่อยู่ในดุลพินิจของศาลว่าสมควรจะอนุญาตให้ถอนฟ้องหรือไม่ โดยคำนึงถึงความได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันในเชิงคดี
คดียังไม่มีการนำพยานของโจทก์และจำเลยเข้าสืบ โดยศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก แต่ทนายจำเลยขอเลื่อนคดี หลังจากนั้นมีการขอเลื่อนนัดสืบพยานโจทก์อีกถึง 10 นัด จนถึงนัดที่โจทก์ขอถอนฟ้อง ซึ่งตลอดเวลาดังกล่าว ทั้งโจทก์และจำเลยได้ขอเลื่อนคดีด้วยเหตุที่ขอเจรจาต่อรองเพื่อตกลงกัน แม้ในที่สุดตกลงกันไม่ได้ก็หาทำให้ฝ่ายใดต้องเสียเปรียบในเชิงคดีไม่ ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 175 แล้ว
of 52