พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4820/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งศาล: ศาลต้องแจ้งคำสั่งเพิ่มเติมโดยตรงถึงจำเลย/ทนาย ไม่ถือว่าเสมียนทนายทราบและต้องแจ้งต่อ
การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้จดรายงานกระบวนพิจารณาสั่งให้จำเลยที่ 1นำส่งสำเนาคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาในวันอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 ฟัง แต่ได้มีคำสั่งในใบมอบฉันทะของทนายจำเลยที่ 1ที่ได้มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำบัญชีพยานที่จะใช้ไต่สวนคำร้องดังกล่าวไปยื่นว่า "ให้จำเลยที่ 1 นำส่งสำเนาคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาให้แก่โจทก์ภายใน 7 วัน การส่งหากไม่มีผู้รับแทนให้ปิดหมาย" แม้ในใบมอบฉันทะดังกล่าวมีข้อความระบุว่าให้เสมียนทนายฟังและทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นก็ตาม จะถือว่าเสมียนทนายได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวด้วยไม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะมีอำนาจสั่งในใบมอบฉันทะฉบับนั้นได้ก็ตาม แต่ก็เป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องแจ้งคำสั่งเพิ่มเติมนั้นให้แก่จำเลยที่ 1 หรือทนายจำเลยที่ 1 ทราบโดยตรง มิฉะนั้นจะถือว่าทราบคำสั่งนั้นแล้วไม่ได้เมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้แจ้งคำสั่งให้ทราบ ศาลชั้นต้นจะถือเอาเหตุที่เสมียนทนายจำเลยที่ 1 ไม่ได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ทนายจำเลยที่ 1ทราบมาเป็นเหตุแห่งความผิดของจำเลยที่ 1 แล้วสั่งว่าจำเลยที่ 1ทิ้งคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1119/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: เหตุสุดวิสัยที่ไม่สมเหตุสมผลและการดำเนินการของทนาย
จำเลยได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์มา 2 ครั้งแล้ว จำเลยไม่ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด หลังจากครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ 2 วัน ทนายจำเลยมายื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เป็นครั้งที่ 3 อ้างว่า วันสุดท้ายที่ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ทนายจำเลยได้เขียนอุทธรณ์เสร็จแล้วในตอนเช้าและเกิดท้องร่วงกะทันหัน แพทย์ให้พักรักษาตัว 2 วัน ไม่สามารถติดต่อจำเลยและเสมียนทนายจำเลยได้ โดยไม่ปรากฏว่าทนายจำเลยได้แนบสำเนาอุทธรณ์มาด้วยเพื่อเป็นหลักฐานแสดงต่อศาลว่าได้ทำอุทธรณ์เสร็จแล้วจริง ทั้งปรากฏว่าตามคำร้องฉบับดังกล่าวได้ขออนุญาตให้ศาลขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 3 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งอนุญาต จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าทนายจำเลยยังทำอุทธรณ์ไม่เสร็จในวันครบกำหนด อีกทั้งปรากฏว่าคดีนี้ยังมีทนายจำเลยอีกคนหนึ่งซึ่งสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ กรณีของทนายจำเลยดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่ามีเหตุสุดวิสัย จึงไม่สามารถขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1119/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุสุดวิสัยและยื่นคำขอทันท่วงที การป่วยเล็กน้อยของทนายไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
ทนายจำเลยขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เมื่อพ้นเวลาอุทธรณ์ โดยอ้างว่าเขียนอุทธรณ์เสร็จในเช้าของวันสุดท้ายที่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ แต่ทนายจำเลยท้องร่วงกะทันหัน แพทย์ให้พักรักษาตัว 2 วัน จึงไม่สามารถติดต่อเสมียนทนาย หรือจำเลยได้ อย่างไรก็ตามทนายจำเลยยังมีเวลาอีกเต็มวันที่จะยื่นอุทธรณ์ หรือขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้โดยอาการป่วยของทนายจำเลยไม่ถึงกับต้องนอนพักประกอบกับจำเลยมีทนายความซึ่งอยู่ในสำนักงานเดียวกับทนายจำเลยที่ป่วยอีกคนหนึ่งจึงสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาแทนได้ และเมื่อพิจารณาคำร้องไม่ปรากฏสำเนาอุทธรณ์แนบมาเพื่อแสดงว่าอุทธรณ์ทำเสร็จแล้วทั้งคำร้องขอขยายเวลาอีก 3 วัน นับแต่วันที่ศาลอนุญาต แทนที่จะขออนุญาตยื่นในวันนั้นแสดงว่าทนายจำเลยยังทำอุทธรณ์ไม่เสร็จในวันครบกำหนด จึงฟังไม่ได้ว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัย ศาลย่อมไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4615/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของทนายเมื่อเสมียนทนายจดวันนัดผิดพลาด ไม่เป็นเหตุสมควรให้ศาลยกคดีขึ้นไต่สวนใหม่
โจทก์ทราบวันนัดไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เมื่อถึงกำหนดวันและเวลานัดโจทก์ไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกฟ้องแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่า การที่โจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดเป็นเพราะความบกพร่องหรือประมาทเลินเล่อของเสมียนทนายโจทก์ที่จดวันนัดให้ทนายโจทก์ผิดก็ตามก็ไม่ใช่เหตุสมควรที่โจทก์มาศาลไม่ได้ตามบทบัญญัติของมาตรา 166 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4612/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในคดีอัตราโทษประหาร: การมีทนายช่วยเหลือ แม้ไม่มีการสอบถามก่อนเริ่มพิจารณา
เจตนารมณ์ ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 วรรคแรก นั้น เพื่อให้จำเลยมีทนายช่วยเหลือในการต่อสู้คดีที่เป็นความผิดอุกฉกรรจ์ซึ่งมีอัตราโทษประหารชีวิต ดังนั้นแม้ก่อนเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นจะมิได้สอบถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่แต่ในวันสอบถามคำให้การจำเลย ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งขอแรงทนายให้จำเลย กับได้มีคำสั่งตั้งทนายที่ขอแรงไว้ก่อนเริ่มสืบพยานโจทก์ และทนายจำเลยก็ได้ทำหน้าที่ตลอดมาจนถึงที่สุดโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยเสียเปรียบในเชิงคดี ทั้งจำเลยก็มิได้เปลี่ยนแปลงคำให้การของจำเลยแต่ประการใด ถือได้ว่าจำเลยยังคงให้การรับสารภาพ จึงไม่มีเหตุจำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสอบถามคำให้การจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นฎีกา: เหตุสุดวิสัยต้องเป็นเหตุการณ์ภายนอกควบคุมมิใช่ความบกพร่องของคู่ความและทนาย
จำเลยที่ 2 แต่งทนายความให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใช้สิทธิในการฎีกาแทนได้ การที่ทนายความติดต่อกับจำเลยที่ 2ไม่ได้เพราะจำเลยที่ 2 เดินทางไปค้าขายและไปล้มป่วยที่ต่างจังหวัดก็เป็นความผิดพลาดบกพร่องของจำเลยที่ 2 กับทนายความเอง ถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษอันศาลจะพึงขยายระยะเวลาการยื่นฎีกาให้จำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2832/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนาย การยื่นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ และการแก้ไขข้อผิดระเบียบของศาล
จำเลยไม่ได้ยื่นใบแต่งทนายตั้ง ม. ให้เป็นทนายของจำเลยต่อศาลชั้นต้น ดังนั้น คำอุทธรณ์ของจำเลยซึ่ง ม. ลงชื่อในฐานะทนายจำเลยโดยไม่ได้ยื่นใบแต่งทนายเข้ามาในสำนวนย่อมเป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ แต่การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยมานั้นเป็นเรื่องผิดระเบียบ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะสั่งให้ศาลชั้นต้นจัดการให้จำเลยลงชื่อในฐานะผู้อุทธรณ์ในคำฟ้องอุทธรณ์เสียให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคแรกประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 การที่ ม. ยื่นคำร้องและใบมอบฉันทะให้เสมียนทนายฟังคำพิพากษาและถ่ายคำพิพากษาแทน ม. ในฐานะทนายจำเลย ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตโดยไม่ปรากฏว่ามีใบแต่งทนายที่จำเลยตั้ง ม. เป็นทนายจำเลยยื่นเข้ามาในสำนวนเป็นเหตุให้ ม. เข้าใจว่าจำเลยยื่นใบแต่งทนายตั้ง ม. เป็นทนายต่อศาลชั้นต้นแล้ว จึงได้ทำคำฟ้องอุทธรณ์ยื่นต่อศาลโดยไม่ได้ยื่นใบแต่งทนายเข้ามาเสียให้ถูกต้อง และเมื่อศาลชั้นต้นตรวจรับอุทธรณ์ก็ไม่ได้ทักท้วงว่า จำเลยมิได้ยื่นใบแต่งทนายตั้งม. เป็นทนายจำเลย เพื่อคืนคำฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลยไปทำมาใหม่หรือแก้ไขเสียให้ถูกต้อง พฤติการณ์ของ ม. ดังกล่าวเห็นได้ว่ามิใช่จำเลยจงใจประวิงคดีหรือเอาเปรียบในเชิงคดี จึงมีเหตุอันสมควรที่จะสั่งให้จำเลยแก้ไขข้อผิดระเบียบนั้นเสียก่อน การที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจพิพากษายกคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่สั่งให้จำเลยแก้ไขข้อผิดระเบียบนั้นเสียก่อน จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่สมควรศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ดุลพินิจศาลอุทธรณ์เสียใหม่ ให้ศาลชั้นต้นจัดการให้จำเลยลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์ในฐานะผู้อุทธรณ์ แล้วส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3848/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายในการประนีประนอมยอมความผูกพันจำเลย แม้เกินขอบเขตที่จำเลยบอกไว้
จำเลยที่ 2 ได้แต่งตั้ง ส. เป็นทนายของตน โดยระบุไว้ในใบแต่งทนายความว่าให้มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ด้วยเมื่อทนายจำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันจำเลยที่ 2 แม้จะฟังเป็นความจริงว่า ทนายจำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์โดยยอมรับจะผ่อนชำระเงินแต่ละงวดเกินกว่าจำนวนที่จำเลยที่ 2ได้บอกแก่ทนายจำเลยที่ 2 ไว้ก็ตาม ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 2กับทนายของตนจำเลยที่ 2 ไม่อาจจะยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างเพื่อให้เปลี่ยนแปลงสัญญาประนีประนอมยอมความหรือคำพิพากษาตามยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยต้องเป็นเหตุที่ศาลไม่อาจขยายเวลา หรือคู่ความไม่อาจยื่นคำขอได้ การขาดความรอบคอบของทนายไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
เหตุสุดวิสัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23หมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือเหตุที่คู่ความไม่สามารถมีคำขอขึ้นมาก่อนกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายหรือศาลกำหนดไว้ การที่ทนายจำเลยหลงลืมไม่ได้ยื่นใบแต่งทนายความพร้อมกับคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดนั้น เป็นเพราะทนายจำเลยขาดความรอบคอบหรือไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยตามมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2064/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการมีทนาย – การแต่งตั้งทนายจำเลยเองทำให้ไม่ต้องมีการสอบถามจากศาล
ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง มีเจตนารมณ์ เพื่อให้จำเลยมีทนายช่วยเหลือในการต่อสู้คดีที่เป็นความผิดอุกฉกรรจ์มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สิบปีขึ้นไป แต่ไม่ถึงประหารชีวิต ดังนั้นแม้ก่อนเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นจะมิได้สอบถามจำเลยว่าต้องการทนายที่ศาลจะตั้งให้หรือไม่ก็ตาม แต่ปรากฏว่าก่อนเริ่มสืบพยานโจทก์จำเลยได้แต่งตั้งทนายเข้ามาเองพร้อมกับยื่นคำให้การปฏิเสธ และทนายจำเลยได้ว่าความให้จำเลยมาตลอด ย่อมไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี จึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่.