คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทนายความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 429 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6915/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในการได้รับการสอบถามเรื่องทนายความก่อนเริ่มพิจารณาคดี เป็นกระบวนการที่ศาลต้องปฏิบัติถูกต้อง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสองบัญญัติว่า "ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก... ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้" เป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองแก่จำเลยในการพิจารณาคดีของศาล จึงเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องสอบถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาว่ามีและต้องการทนายความหรือไม่เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินการสอบถามจำเลยในเรื่องดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5738/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้เรียงฟ้องฎีกาไม่ได้เป็นทนายความ
พระราชบัญญัติทนายความฯ มาตรา 33 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาต หรือผู้ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความหรือต้องห้ามทำการเป็นทนายความว่าความในศาลหรือแต่งฟ้อง คำให้การ ฟ้องอุทธรณ์ แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา..."ซึ่งการฝ่าฝืนมาตรา 33 นี้มีโทษทางอาญาตามมาตรา 82 แม้จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้ฎีกาและมี ย. ลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงและผู้พิมพ์ เมื่อ ย. มิได้เป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความและไม่ปรากฏว่าเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นตามมาตรา 33 การที่ ย. เรียงหรือแต่งฟ้องฎีกาให้จำเลย จึงเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาซึ่งเกิดจากการกระทำอันไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่อาจรับพิจารณาให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2795/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความไม่มีอำนาจฎีกาแทนจำเลยหลังถูกถอนชื่อ แม้ศาลชั้นต้นอนุญาต
คำฟ้องฎีกาและคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับรองฎีกาของจำเลยที่มีทนายความเป็นผู้ฎีกาและผู้ยื่นคำร้องแทนจำเลย ทนายความดังกล่าวจะต้องมีอำนาจในการฎีกาด้วย เมื่อจำเลยมิได้แต่งให้เป็นทนายความในชั้นฎีกา จึงเป็นการดำเนินคดีแทนจำเลยโดยไม่มีอำนาจ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกา และมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยมา ก็เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8996/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบถามความต้องการทนายความในคดีอัตราโทษจำคุก: ประเด็นสำคัญในการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ถูกต้อง
คดีที่มีอัตราโทษจำคุก ศาลจะต้องสอบถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาว่ามีและต้องการทนายความหรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสองเมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้มีการดำเนินการดังกล่าวแล้ว การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7175/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบเนื่องจากทนายความมิได้ยื่นใบแต่งทนายความ และจำเลยทิ้งฎีกา ทำให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำฟ้องฎีกาของจำเลยมี ส. ทนายความ เป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ฎีกา ผู้เรียงและผู้พิมพ์ โดย ส. มิได้ยื่นใบแต่งทนายความไว้แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยโดยมิได้มีคำสั่งให้ ส. ยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาให้ถูกต้องเสียก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 232 และมาตรา 18กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา เมื่อปรากฏว่าจำเลยทิ้งฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 จึงเป็นการล่วงเลยเวลา ที่ศาลฎีกาจะสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดังกล่าว ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6516/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการลงชื่อยื่นอุทธรณ์/ฎีกาแทนโจทก์ร่วม และการขยายระยะเวลา
คดีอาญา เมื่อโจทก์ร่วมแต่งตั้งให้ ท.เป็นทนายความโดยให้มีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา ท.จึงลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์แทนโจทก์ร่วมได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 62 ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 โดยไม่จำต้องรอให้โจทก์ร่วมเป็นผู้ลงลายมือชื่อด้วยตนเอง ข้ออ้างของทนายโจทก์ร่วมที่ว่ายังไม่ได้รับแบบพิมพ์ท้ายอุทธรณ์ที่ให้โจทก์ร่วมลงลายมือชื่อกลับคืนมาจึงยังไม่สามารถยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษอันศาลจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้โจทก์ร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6516/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการลงชื่อแทนจำเลยในการอุทธรณ์/ฎีกา และเหตุขยายระยะเวลาการยื่นอุทธรณ์
คดีอาญา เมื่อโจทก์ร่วมแต่งตั้งให้ ท. เป็นทนายความโดยให้มีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา ท. จึงลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์แทนโจทก์ร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 62 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โดยไม่จำต้องรอให้โจทก์ร่วมเป็นผู้ลงลายมือชื่อด้วยตนเองข้ออ้างของทนายโจทก์ร่วมที่ว่ายังไม่ได้รับแบบพิมพ์ท้ายอุทธรณ์ที่ให้โจทก์ร่วมลงลายมือชื่อกลับคืนมาจึงยังไม่สามารถยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษอันศาลจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้โจทก์ร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5829/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความสองคนขาดนัดศาล แม้คนหนึ่งป่วย ศาลถือจงใจขาดนัด เหตุอีกคนสามารถดำเนินคดีแทนได้
แม้ตัวจำเลยหรือทนายจำเลยเพียงคนเดียวลงชื่อทราบวันนัดของศาล ก็ต้องถือว่าตัวจำเลยและทนายจำเลยอีกคนหนึ่งทราบวันนัดของศาลแล้ว การที่ ว. ทนายจำเลยลงชื่อทราบวันนัดของศาล จึงต้องถือว่า พ. ทนายจำเลยอีกคนหนึ่งทราบวันนัดของศาลด้วยทุกครั้ง ที่จำเลยอ้างว่า ว. เจ็บป่วย พ. ทนายจำเลยอีกคนหนึ่งก็สามารถที่จะดำเนินคดีแทนได้ ดังนั้น การที่ทนายจำเลยทั้งสองคนไม่มาศาลในวันสืบพยานโจทก์จึงเป็นการจงใจขาดนัด และไม่มีเหตุสมควรที่จะให้พิจารณาคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4529/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ต้องหาในการมีทนายความร่วมฟังการสอบสวน: พนักงานสอบสวนไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งสิทธิ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 241 วรรคสองบัญญัติแต่เพียงว่า ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนปากคำตนได้เท่านั้น ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะต้องสอบถามผู้ต้องหาก่อนเริ่มการสอบสวน ดังนั้น แม้หากพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนจำเลยโดยไม่ได้ถามจำเลยในเรื่องดังกล่าวก่อนดังที่จำเลยอ้างก็ตามก็ไม่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าว การสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4324/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน: ผลของการมอบฉันทะให้เสมียนทนายรับทราบวันนัด และความรับผิดชอบของทนายความ
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยบรรยายว่า ทนายจำเลยคนเดิมไม่แจ้งให้จำเลยทราบว่าศาลแรงงานกลางนัดสืบพยาน นัดฟังคำพิพากษาและทนายจำเลยไม่อยู่ในวันนัดสืบพยานโจทก์ เป็นการอ้างเหตุที่จำเลยขาดนัดพิจารณาว่าเกิดจากจำเลยไม่ทราบกำหนดนัดของศาล
ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมากำหนดวันนัดรับทราบคำสั่งศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ ซึ่งผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยลงลายมือชื่อทราบกำหนดนัดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาแล้ว ถึงวันนัดจำเลยไม่มาศาลศาลแรงงานกลางให้เลื่อนคดีไปนัดสืบพยานโจทก์โดยให้ปิดประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบที่หน้าศาลแทนการส่งหมายถึงวันนัดจำเลยไม่มาศาล ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดและขาดนัดพิจารณา แล้วสืบพยานโจทก์จนเสร็จ และพิพากษาคดีไปในวันเดียวกัน การที่ผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยลงลายมือชื่อทราบกำหนดนัดสืบพยานโจทก์ มีผลเท่ากับทนายจำเลยทราบกำหนดนัดด้วยตามข้อความในใบมอบฉันทะที่ระบุว่าให้ผู้รับมอบฉันทะทำการแทนโดยทนายจำเลยยอมรับผิดชอบทุกประการในการกำหนดวันนัด รับทราบคำสั่ง และทนายจำเลยอยู่ในฐานะเป็นจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(11) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 จึงต้องถือว่าจำเลยทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์แล้ว จำเลยจะอ้างว่าไม่ทราบกำหนดนัดสืบพยานโจทก์เพราะทนายจำเลยไม่แจ้งให้ทราบเพื่อเป็นเหตุขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้
of 43