คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทรัพย์มรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 490 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7512/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาเกี่ยวกับทรัพย์มรดก การตกลงกันระหว่างคู่ความทำให้ไม่ต้องขายทอดตลาด
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่โจทก์ โดยกำหนดวิธีตามลำดับคือให้ตกลงกัน ถ้าไม่อาจตกลงกันได้ให้เอาทรัพย์มรดกที่ต้องแบ่งปันนั้นออกขายโดยวิธีประมูลระหว่างกัน ถ้าไม่ได้ให้นำออกขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งตามส่วน เมื่อโจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาและบันทึกต่าง ๆ เกี่ยวกับทรัพย์มรดก 18 รายการ ยกเว้นรายการที่ 18 และทรัพย์มรดกดังกล่าวที่พิพาทในชั้นบังคับคดียุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว จึงถือได้ว่าได้มีการตกลงกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกอันดับที่ 1 ถึง 17 อันเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้ว จึงไม่จำต้องนำมาประมูลระหว่างกันหรือขายทอดตลาดแต่อย่างใด ส่วนทรัพย์มรดกรายการที่ 18 ไม่ใช่ทรัพย์มรดกที่พิพาทกันตามฟ้อง จึงไม่อาจบังคับตามคำพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอาศัยตามพินัยกรรม-อายุความ-การครอบครองทรัพย์มรดก-จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดิน
แม้ตามข้อกำหนดพินัยกรรมมิได้ระบุให้จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินต่อเจ้าพนักงานก็ตาม แต่ก็ระบุให้โจทก์มีสิทธิอยู่อาศัยในที่ดินได้ชั่วชีวิตของโจทก์ สิทธิอยู่อาศัยดังกล่าวจึงเป็นสิทธิเหนือพื้นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1410 และเป็นทรัพยสิทธิซึ่งโจทก์ได้รับมาตามพินัยกรรมโดยชอบ โจทก์จึงชอบที่จะใช้สิทธิให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่โจทก์ได้เพื่อให้โจทก์ มีสิทธิบริบูรณ์ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมตามวัตถุประสงค์ของเจ้ามรดก โดยการจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะฟ้องคดีพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ควรรู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม แต่เมื่อโจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่ในที่ดิน ซึ่งโจทก์มีสิทธิอาศัยได้ชั่วชีวิตโจทก์ตามข้อกำหนดพินัยกรรมอยู่ก่อนเจ้ามรดกจะทำพินัยกรรมและถึงแก่ความตาย แม้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกได้โอนที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่ทายาทตามพินัยกรรมแล้วก็ตามแต่เมื่อโจทก์ยังคงอาศัยอยู่ในบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่โจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดิน จึงเปรียบได้เสมือนหนึ่งว่าโจทก์ในฐานะทายาทตามพินัยกรรมได้ครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน จึงมีสิทธิจะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ โดยฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรมให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่โจทก์ได้แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความ 1 ปีแล้ว โดยปรับเข้ากับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 ได้ และ ไม่ถือว่าเป็นการขัดแย้งกับมาตรา 1754 เพราะมาตรา 1748 เป็นบทมาตราข้อยกเว้นที่จะใช้บังคับตามมาตรา 1754 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ขอให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนไว้ด้วย แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้มีคำสั่ง ในส่วนนี้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาโดยตรง ศาลฎีกา ก็แก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4791/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดก: การพิสูจน์ความสัมพันธ์โดยชอบด้วยกฎหมายและการรับรองบุตร
บทบัญญัติตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1541 หมายถึงชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีจะฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรตามมาตรา 1539 ซึ่งเป็นกรณีที่สันนิษฐานว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีตามมาตรา 1536 และ 1537 หรือมาตรา 1538 โจทก์เป็นบุตรของร.และอ.ซึ่งมีตัวตนแน่นอนส.และสค. ไม่ใช่บิดามารดาผู้ให้กำเนิดโจทก์โดยแท้จริง การที่ ส.ไปแจ้งการเกิดลงในสูติบัตรของโจทก์ว่า บิดาโจทก์เป็นคนไทย มารดาเป็นคนกัมพูชาเมื่อมีบุตรขึ้นมาก็แจ้งเกิดไม่ได้ ส. จึงรับสมอ้างไปแจ้งเกิดแทน โดยระบุว่าเป็นบิดาดังนี้ เป็นคนละเรื่องกับกรณีการแจ้งเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1541 เมื่อโจทก์ไม่ใช่บุตรที่แท้จริงของ ส. จึงไม่ใช่บุตรนอกกฎหมายตามความเป็นจริงที่บิดาได้รับรองแล้ว ทั้งไม่ใช่ ผู้สืบสันดานและไม่ใช่ทายาทโดยธรรมของ ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627 และ 1629(1) โจทก์จึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของส. ผู้ตาย และไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4517/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การฟ้องเรียกทรัพย์มรดกซ้ำกับคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่า ที่ดินพิพาทคดีนี้กับทรัพย์สินอื่นรวม 11 รายการเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. ต่อมา ท. ถึงแก่กรรม ขอให้บังคับจำเลยแบ่งสินสมรสครึ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ท. แก่กองมรดก ท. ถ้าการแบ่งไม่เป็นที่ตกลงกันให้ประมูลหรือขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันตามส่วน เพื่อนำไปแบ่งระหว่างทายาทกับให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนใส่ชื่อ ท. ใน น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทเป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลย คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา โจทก์มาฟ้องเป็นคดีนี้อ้างเหตุเดียวกันอีก แม้โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของท. ใน น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลยก็ตาม แต่ในการที่จะบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ ศาลจำต้องวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. และเป็นทรัพย์มรดกของ ท. ครึ่งหนึ่งหรือไม่เสียก่อน กรณีจึงเป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกัน เพียงแต่โจทก์มีคำขอบังคับแตกต่างไปจากคำขอในคดีก่อนเท่านั้น ซึ่งคำขอบังคับดังกล่าวโจทก์สามารถขอได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว ฟ้องของโจทก์ จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4517/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การฟ้องขอแบ่งสินสมรส/ทรัพย์มรดกซ้ำในขณะที่คดีเดิมยังพิจารณาค้างอยู่
คดีก่อน โจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทคดีนี้กับทรัพย์สินอื่นรวม 11 รายการ เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. ต่อมา ท. ถึงแก่กรรมขอให้บังคับจำเลยแบ่งสินสมรสครึ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ท. แก่กองมรดก ท. ถ้าการแบ่งไม่เป็นที่ตกลงกัน ให้ประมูลหรือขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันตามส่วนเพื่อนำไปแบ่งระหว่างทายาท กับให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนใส่ชื่อ ท. ใน น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทเป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลย คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา โจทก์มาฟ้องเป็นคดีนี้อ้างเหตุเดียวกันอีก แม้โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท. ใน น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลยก็ตามแต่ในการที่จะบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ ศาลจำต้องวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. และเป็นทรัพย์มรดกของ ท. ครึ่งหนึ่งหรือไม่เสียก่อน กรณีจึงเป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกัน เพียงแต่โจทก์มีคำขอบังคับแตกต่างไปจากคำขอในคดีก่อนเท่านั้น ซึ่งคำขอบังคับดังกล่าวโจทก์สามารถขอได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4517/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การฟ้องขอจดทะเบียนโอนสิทธิในทรัพย์มรดกที่เคยฟ้องแบ่งสินสมรสแล้ว
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยว่า ที่ดินพิพาทคดีนี้กับทรัพย์สินอื่นเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. ต่อมา ท. ถึงแก่กรรม ขอให้บังคับจำเลยแบ่งสินสมรสครึ่งหนึ่งซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ท. แก่กองมรดก ท. ถ้าการแบ่งไม่เป็นที่ตกลงกันให้ประมูลหรือขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันตามส่วน เพื่อนำไปแบ่งระหว่างทายาท กับให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนใส่ชื่อ ท. ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินพิพาทเป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลย ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. เป็นทรัพย์มรดกของ ท. ครึ่งหนึ่ง ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท. ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลย ซึ่งศาลจำต้องวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. และเป็นทรัพย์มรดกของ ท. ครึ่งหนึ่งหรือไม่เสียก่อน จึงเป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกันเพียงแต่โจทก์มีคำขอบังคับแตกต่างไปจากคำขอในคดีก่อนเท่านั้น ทั้งคำขอบังคับดังกล่าวโจทก์สามารถขอได้ในคดีก่อนอยู่แล้วแต่โจทก์ไม่ขอ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน: การซื้อขายที่ดินโดยใช้ชื่อผู้อื่นเพื่อเหตุผลทางศาสนา ไม่ถือเป็นทรัพย์มรดก
แม้ ป. บิดาโจทก์จะมีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ที่พิพาทอันสันนิษฐานไว้ก่อนว่าป. ผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ก็ตามแต่ทางนำสืบของโจทก์เป็นเรื่องเลื่อนลอยไม่น่าเชื่อ ส่วนพยานหลักฐานจำเลยมีน้ำหนักน่าเชื่อว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยซื้อมาแล้วให้ ป. เป็นผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิดังกล่าวด้วยเหตุผลทางศาสนาอิสลามการที่จำเลยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกโดยอ้างว่า ที่พิพาทเป็นมรดกของ ป. เป็นเพียงต้องการให้ที่พิพาทซึ่งเป็นของจำเลยกลับโอนมาเป็นของจำเลยตามที่มีผู้แนะนำให้ดำเนินการเท่านั้น ไม่อาจฟังว่าที่พิพาทเป็นมรดกของ ป. ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์ของ ป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องทรัพย์มรดก: ข้อจำกัดการอ้างอายุความมรดกเมื่อจำเลยไม่ใช่ทายาท
คดีมรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 หมายความว่า คดีที่พิพาทกันระหว่างทายาทที่มีสิทธิในทรัพย์มรดกด้วยกัน ด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องส่วนแบ่งทรัพย์มรดก
จำเลยมิใช่ทายาทผู้มีสิทธิในทรัพย์มรดก และโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยผู้ครอบครองแทน กรณีจึงมิใช่เรื่องโจทก์เรียกร้องส่วนแบ่งในทรัพย์มรดก จำเลยย่อมไม่อาจอ้างอายุความมรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754มาตัดฟ้องโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีมรดก: ไม่ครอบคลุมคดีเรียกทรัพย์มรดกจากผู้ครอบครองที่ไม่ใช่ทายาท
คดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754หมายความว่า คดีที่พิพาทกันระหว่างทายาทที่มีสิทธิในทรัพย์มรดกด้วยกันด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องส่วนแบ่งทรัพย์มรดก จำเลยมิใช่ทายาทผู้มีสิทธิในทรัพย์มรดก และโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยผู้ครอบครองแทน กรณีจึงมิใช่เรื่องโจทก์เรียกร้องส่วนแบ่งในทรัพย์มรดก จำเลยย่อมไม่อาจอ้างอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 มาตัดฟ้องโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1452/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์มรดกและการครอบครองทรัพย์สินร่วมกัน รวมถึงข้อจำกัดในการยกประเด็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และ ส. ร่วมกัน และเป็นทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกัน เมื่อโจทก์ครอบครองทรัพย์มรดก ส่วนของตนตลอดมา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่ง ทรัพย์มรดกนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง แม้จะล่วงพ้นอายุความตามมาตรา 1754 คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ ตามคำฟ้องและคำให้การไม่มีประเด็นเรื่องสัญญา ประนีประนอมยอมความ แต่จำเลยเพิ่งยื่นสัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อศาลประกอบคำเบิกความพยานจำเลย จึงมิใช่กรณี คู่ความตกลงหรือประนีประนอมยอมความและให้ศาลพิพากษา ตาม ยอมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138การที่ศาลชั้นต้นไม่หยิบยกปัญหานี้ขึ้นพิจารณาชอบแล้วดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับสัญญาประนีประนอมยอมความจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหานี้ชอบแล้วเช่นกัน และจำเลยไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหานี้ต่อมาเพราะมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย
of 49