พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 836/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายจนเป็นอันตรายสาหัส: บาดแผลลึกต้องรักษาต่อเนื่องและส่งผลกระทบต่อการทำงาน
ใช้มีดหรือขวานไม่ปรากฎชัดฟันเขาถูกที่หน้าผากเป็นบาดแผลกว้าง 2 ซ.ม. ยาว 7 ซ.ม. ลึก 1 ซ.ม. แพทย์ลงความ เห็นว่าอาการสาหัสรักษาเกินกว่า 20 วัน ผู้เสียหายเบิกความว่า ต้องรักษาอยู่ประมาณ 60 วันจึงหาย ระหว่างรักษา ทำงานการไม่ได้เพราะเสียวเดี๋ยวนี้งานเบาทำได้ งานหนักทำไม่ได้ แม้แพทย์ผู้รักษาจะเบิกความว่า บาดแผลผู้ เสียหายรักษา 10 วัน หายก็ดี แต่ก็ว่าบาดแผลข้างในยังไม่หาย ต้องทำการรักษากันอยู่ตลอดมา เพราะเกี่ยวกับเส้น ประสทอีกด้วย ดังนี้ วินิจฉัยว่า เป็นบาดแผลถึงสาหัสตามกฎหมาย./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บาดแผลร้ายแรงจากถูกทำร้าย ส่งผลพิการถาวรทางการเคลื่อนไหวและการทำงาน
บาดแผลถูกฟันที่หลังแขนซ้ายแผลกว้าง 4 เซ็นติเมตร ยาว 4 เซ็นติเมตร ลึกเข้ากระดูกปลายแขน แผลตัดเนื้อกล้ามขาด รักษาอยู่ 20 วันแผลหาย แต่แขนเหยียดไม่ได้ นิ้วก็กระดิกไม่ได้ แพทย์ยืนยันว่า เพราะแผลลึกตัดเส้นวิถีประสาทส่วนปลายแขนขาดออกจากกัน แม้แผลหาย เส้นวิถีประสาทไม่ติดต่อกันได้ ไม่สามารถจะบังคับให้มีการเคลื่อนไหวได้เหมือนเดิมและปรากฎว่าผู้เสียหายมีอาชีพทางทำนา เช่นนี้ ต้องฟังว่าเป็นบาดแผลถึงสาหัสตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 256.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 970/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทำร้ายร่างกายจนผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้เกิน 20 วัน เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 256(8)
ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บไม่สามารถจะทำการงานอย่างใดๆเป็นเวลา27 วัน เพราะยกแขนขึ้นไม่ได้ ให้เจ็บปวด ดังนี้ ย่อมฟังได้ว่า ผู้เสียหายไม่สามารถจะประกอบการหาเลี้ยงชีพได้โดยปกติเกินกว่า 20 วันต้องตามบทบัญญัติมาตรา 256 ข้อ 8
ศาลชั้นต้นลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 256 ศาลอุทธรณ์แก้ลงโทษตามมาตรา 254 ดังนี้ เป็นแก้มากโจทก์ฎีกาข้อเท็จจริงได้
ศาลชั้นต้นลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 256 ศาลอุทธรณ์แก้ลงโทษตามมาตรา 254 ดังนี้ เป็นแก้มากโจทก์ฎีกาข้อเท็จจริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2486
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บาดแผลสาหัสทำให้ไม่สามารถทำงานได้เกิน 20 วัน ถือเป็นบาดแผลสาหัสตามกฎหมาย
นับแต่วันที่ผู้เสียหายถูกทำร้ายจนถึงวันเบิกความต่อศาลเป็นระยะเวลาถึง 95 วัน บาดแผลของผู้เสียหายยังไม่หายทำงานตามปกติยังไม่ได้บาดแผลถึงกระดูกข้อมือขาดรักษาประมาณ 2 เดือนจึงจะหาย เป็นบาดแผลที่ทำให้ผู้เสียหายไม่สามารถประกอบการหาเลี้ยงชีพได้ตามปกติเป็นเวลาเกินกว่า 20 วัน เป็นบาดแผลสาหัสตาม มาตรา 256(8) ศาลชั้นต้นจำคุกจำเลย 1 ปี 6 เดือน ตาม มาตรา 254 ศาลอุทธรณ์แก้เป็นจำคุก 3 ปี ตามมาตรา 256 เป็นการแก้มาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8733/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างตามสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา การกระทำที่ไม่ให้ทำงานและไม่จ่ายค่าจ้างเป็นสำคัญ
ความหมายของการเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสอง สำหรับกรณีเลิกจ้างเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างจะต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ คือ 1 การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป 2 ไม่จ่ายค่าจ้างให้ แม้สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนสิ้นสุดลงแล้ว นายจ้างยังให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและจ่ายค่าจ้างให้ ก็ไม่ถือว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่า ก่อนสัญญาจ้างฉบับที่ 3 ซึ่งเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนสิ้นสุดลง โจทก์ได้รับสัญญาจ้างฉบับที่ 4 จากจำเลยแล้ว แต่โจทก์ไม่ตกลงทำสัญญาจ้างกับจำเลยต่อไป จำเลยไม่ได้กระทำการใดที่ไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้าง แต่โจทก์ไม่ประสงค์จะทำงานกับจำเลยเอง ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8138/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบิดามารดาต่อการกระทำของบุตรผู้เยาว์ที่ทำงานและมีใบอนุญาตขับขี่
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 มีอายุ 19 ปีเศษ ใกล้บรรลุนิติภาวะ แม้จะยังเป็นผู้เยาว์และต้องอยู่ในความปกครองดูแลของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาตามกฎหมายก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ก็ทำงานหาเลี้ยงชีพด้วยตนเองไม่เป็นภาระแก่บิดามารดา การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ก็เนื่องมาจากต้องใช้เป็นพาหนะในการเดินทางไปทำงาน ทั้งจำเลยที่ 1 ได้รับใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มีวุฒิภาวะพอสมควรที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะไว้วางใจจำเลยที่ 1 ในการดำรงชีวิตในสังคมที่จะไม่ก่อความเดือดร้อนเสียหายแก่ผู้อื่น นอกจากนี้ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เคยขับรถจักรยานยนต์ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น หรือเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนอยู่เสมอ อันจะทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ควรต้องทักท้วงหรือห้ามปรามมิให้จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์อีกจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ เช่นนี้ถือได้ว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังดูแลจำเลยที่ 1 ตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้นแล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์