พบผลลัพธ์ทั้งหมด 74 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1912/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางอาญาฐานทำไม้และมีไม้หวงห้าม โดยศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับไม่ถูกต้อง และการเพิ่มโทษจำคุกในชั้นฎีกาทำไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำไม้โดยตัดฟันไม้ยาง กับจำเลยมีไม้ยางอันเป็นไม้หวงห้าม ยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาต และคำขอท้ายฟ้องโจทก์ ได้ระบุอ้าง พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 ซึ่งเป็นบทมาตราความผิดและมาตรา 31 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษ กับอ้างพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2484 มาตรา 69 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 12 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษผู้ที่ฝ่าฝืนมีไม้ยาง ยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาต เพียงแต่โจทก์มิได้อ้าง พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 มาตรา 3 ที่ให้ยกเลิกความในมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2489 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2503 แล้วบัญญัติความใหม่ขึ้นแทนเท่านั้น ตามความที่บัญญัติขึ้นใหม่ยังคงเรียกว่ามาตรา 31 และ มาตรา 69 อยู่นั่นเอง การที่จำเลยกระทำความผิดหลังจากใช้กฎหมายซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมใหม่แล้ว แต่โจทก์มิได้ระบุอ้างพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงมิทำให้ฟ้องโจทก์ขาดความสมบูรณ์ เมื่อศาลฟังว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนเป็นความผิดตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งมีบทกำหนดโทษไว้ในมาตรา 31 และ พระราชบัญญัติป่าไม้ มาตรา 69 แล้ว ศาลก็ลงโทษจำเลยตามกำหนดโทษในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2522ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยต่ำกว่า อัตราโทษขั้นต่ำ ตามที่กฎหมายกำหนดที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยเพิ่มขึ้น เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกา ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเพิ่มขึ้นไม่ได้
โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตามศาลชั้นต้น กับลงโทษปรับจำเลยแล้วรอการลงโทษจำคุกได้ และหากปรากฏว่า ศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยน้อยกว่า ที่กฎหมายกำหนด ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษปรับจำเลยตามกฎหมายกำหนดตามที่โจทก์ฎีกาได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยต่ำกว่า อัตราโทษขั้นต่ำ ตามที่กฎหมายกำหนดที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยเพิ่มขึ้น เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกา ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเพิ่มขึ้นไม่ได้
โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตามศาลชั้นต้น กับลงโทษปรับจำเลยแล้วรอการลงโทษจำคุกได้ และหากปรากฏว่า ศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยน้อยกว่า ที่กฎหมายกำหนด ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษปรับจำเลยตามกฎหมายกำหนดตามที่โจทก์ฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1912/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางอาญาฐานทำไม้และมีไม้แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลฎีกาวินิจฉัยการใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่และการเพิ่มโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำไม้โดยตัดฟันไม้ยาง กับจำเลยมีไม้ยางอันเป็นไม่หวงห้ามยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และคำขอท้ายฟ้องโจทก์ได้ระบุอ้างพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 ซึ่งเป็นบทมาตราความผิดและมาตรา 31 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษกับอ้างพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 69 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4)พ.ศ.2503 มาตรา 12 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษผู้ที่ฝ่าฝืนมีไม้ยางยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เพียงแต่โจทก์มิได้อ้างพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522 มาตรา 3 ที่ให้ยกเลิกความในมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 กับพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่6) พ.ศ.2522 มาตรา 3 ที่ให้ยกเลิกความในมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2503 แล้วบัญญัติความใหม่ขึ้นแทนเท่านั้น ตามความที่บัญญัติขึ้นใหม่ยังคงเรียกว่ามาตรา31 และมาตรา 69 อยู่นั่นเองการที่จำเลยกระทำความผิดหลังจากใช้กฎหมายซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมใหม่แล้วแต่โจทก์มิได้ระบุอ้างพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงมิทำให้ฟ้องโจทก์ขาดความสมบูรณ์ เมื่อศาลฟังว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนเป็นความผิดตามมาตรา 14แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติซึ่งมีบทกำหนดโทษไว้ในมาตรา 31 และพระราชบัญญัติป่าไม้ มาตรา 69 แล้ว ศาลก็ลงโทษจำเลยตามกำหนดโทษในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522 และมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2522 ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยเพิ่มขึ้น เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเพิ่มขึ้นไม่ได้
โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตามศาลชั้นต้น กับลงโทษปรับจำเลยแล้วรอการลงโทษจำคุกได้ และหากปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษปรับจำเลยตามกฎหมายกำหนดตามที่โจทก์ฎีกาได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยเพิ่มขึ้น เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเพิ่มขึ้นไม่ได้
โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตามศาลชั้นต้น กับลงโทษปรับจำเลยแล้วรอการลงโทษจำคุกได้ และหากปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษปรับจำเลยตามกฎหมายกำหนดตามที่โจทก์ฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงานปฏิบัติ/ละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ และร่วมกันทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษจำเลย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งห้ามีความผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 83, 160 จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 86 การกระทำของจำเลยทั้งห้าเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 บทหนัก จำคุกจำเลยที่ 1 สี่ปี ลงโทษจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 บทหนัก จำคุกจำเลยที่ 2 ที่ 3 คนละ 2 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 4 ที่ 5 คนละ 1 ปี 4 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งห้ากระทำผิด 2 กรรม ลงโทษฐานร่วมกันทำไม้ยางโดยไม่รับอนุญาตตาม พระราชบัญญัติป่าไม้อีกกระทงหนึ่ง จำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 คนละ 3 ปี จำคุกจำเลยที่ 4 ที่ 5 คนละ 1 ปี 6 เดือน ส่วนความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ สำหรับความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ศาลชั้นต้นจำคุกจำเลยทั้งห้าไม่เกินห้าปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ส่วนความผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ ศาลชั้นต้นเห็นว่า เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมาย หลายบทจึงไม่กำหนดโทษฐานนี้ ศาลอุทธรณ์ ว่าเป็นความผิด 2 กรรม กำหนดโทษจำคุกจำเลยทั้งห้าอีกกระทงหนึ่ง จึงเป็นการแก้ไขมากจำเลยมีสิทธิฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในกระทงนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ - ความผิดฐานทำไม้ - แก้ไขคำพิพากษา - สิทธิฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งห้ามีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 83,160จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่5 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,86 การกระทำของจำเลยทั้งห้าเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 บทหนัก จำคุกจำเลยที่ 1 สี่ปี ลงโทษจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 บทหนักจำคุกจำเลยที่ 2 ที่ 3 คนละ2 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 4 ที่ 5 คนละ 1 ปี 4 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยทั้งห้ากระทำผิด 2 กรรม ลงโทษฐานร่วมกันทำไม้ยางโดยไม่รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติป่าไม้อีกกระทงหนึ่งจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 คนละ 3 ปี จำคุกจำเลยที่ 4 ที่ 5 คนละ 1 ปี 6 เดือนส่วนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ศาลชั้นต้นจำคุกจำเลยทั้งห้าไม่เกินห้าปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ส่วนความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ ศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทจึงไม่กำหนดโทษฐานนี้ ศาลอุทธรณ์ว่าเป็นความผิด 2 กรรม กำหนดโทษจำคุกจำเลยทั้งห้าอีกกระทงหนึ่งจึงเป็นการแก้ไขมากจำเลยมีสิทธิฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในกระทงนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ การกระทำอันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียสภาพป่า
ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยข้อเท็จจริงมาแล้วว่า ทางหลวงชนบทตรงที่จับจำเลยได้พร้อมกับไม้ของกลางอยู่ในบริเวณป่าอันเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ และไม้ของกลางเป็นไม้ที่ถูกตัดจากในป่าสงวนแห่งชาติ การที่จำเลยฎีกาว่าทางหลวงชนบทที่จำเลยถูกจับนั้น มิใช่ป่าสงวนแห่งชาติ และการนำไม้หวงห้ามออกจากป่าหมายถึง การนำไม้ที่มีอยู่หรือขึ้นอยู่ในป่า มิได้หมายความถึงการซื้อไม้ที่มีคนนำมาขายให้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ดังนี้ เป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ไม้ของกลางตัดมาจากป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพของป่านั้นแล้ว การที่จำเลยนำไม้ของกลางออกจากป่าสงวนแห่งชาติซึ่งอยู่ในความหมายของการทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นความผิดตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 แล้ว
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ไม้ของกลางตัดมาจากป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพของป่านั้นแล้ว การที่จำเลยนำไม้ของกลางออกจากป่าสงวนแห่งชาติซึ่งอยู่ในความหมายของการทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นความผิดตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและการนำไม้ออกจากป่าอันเป็นเหตุให้ป่าเสื่อมเสีย
ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยข้อเท็จจริงมาแล้วว่า ทางหลวงชนบทตรงที่จับจำเลยได้พร้อมกับไม้ของกลางอยู่ในบริเวณป่าอันเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ และไม้ของกลางเป็นไม้ที่ถูกตัดจากในป่าสงวนแห่งชาติ การที่จำเลยฎีกาว่าทางหลวงชนบทที่จำเลยถูกจับนั้นมิใช่ป่าสงวนแห่งชาติ และการนำไม้หวงห้ามออกจากป่าหมายถึงการนำไม้ที่มีอยู่หรือขึ้นอยู่ในป่า มิได้หมายความถึงการซื้อไม้ที่มีคนนำมาขายให้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ดังนี้ เป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ไม้ของกลางตัดมาจากป่าสงวนแห่งชาติอันเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพของป่านั้นแล้ว การที่จำเลยนำไม้ของกลางออกจากป่าสงวนแห่งชาติซึ่งอยู่ในความหมายของการทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นความผิดตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 แล้ว
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ไม้ของกลางตัดมาจากป่าสงวนแห่งชาติอันเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพของป่านั้นแล้ว การที่จำเลยนำไม้ของกลางออกจากป่าสงวนแห่งชาติซึ่งอยู่ในความหมายของการทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นความผิดตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1728-1729/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทำไม้ในที่ดินป่าเลน ไม่ถือเป็นการครอบครองเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่
ผู้ว่าราชการจังหวัดทำสัญญาอนุญาตให้โจทก์ทำการตัดฟันไม้ต่าง ๆที่ดินที่โจทก์ได้รับอนุญาตมิใช่ของเอกชน สัญญาการทำไม้ได้กำหนดขอบเขตหมวดและแปลงตัดฟันไม้ กำหนดเนื้อที่และกำหนดเวลาให้ทำการตัดฟันไม้ ส่วนใบอนุญาตก็ระบุชนิดไม้ ขนาดจำกัดและปริมาตรของไม้ อัตราค่าภาคหลวงต่อลูกบาศก์และค่าบำรุงป่า ฯลฯ ดังนี้เห็นได้ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ให้อนุญาตเพียงแต่ยอมให้โจทก์ผู้รับอนุญาตมีสิทธิทำการตัดฟันไม้ในที่ดินป่าเลน ชนิดของไม้ที่จะทำการตัดฟันก็ดี กำหนดเวลาที่จะทำการตัดฟันในแต่ละแปลงก็ดี มีข้อจำกัดไว้แน่นอนที่ผู้รับอนุญาตจะต้องปฏิบัติ นอกจากนี้ข้อสัญญายังกำหนดให้ผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมการทำไม้ทุกประการ ถ้ากระทำผิดสัญญาและถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ให้อนุญาตเห็นสมควร จะเลิกสัญญานี้เสียก็ได้ โดยไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้รับอนุญาตแต่อย่างใด ดังนี้ แสดงให้เห็นชัดว่าสัญญาการทำไม้ ฯลฯนี้เป็นแต่เพียงการให้สิทธิโจทก์เข้าไปตัดฟันเอาไม้เท่านั้น การที่โจทก์ทั้งสองสำนวนผู้รับอนุญาตตามสัญญาเข้าไปทำการตัดฟันไม้ จึงหาเป็นการ 'ครอบครองอยู่ใน' ที่ดินป่าเลนตามความในมาตรา 1 แห่งพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ไม่โจทก์ทั้งสองสำนวนจึงมิได้เป็น 'เจ้าของที่ดิน' ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวเมื่อเป็นเช่นนี้ โจทก์ก็ไม่มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ตามมาตรา 7และบทบัญญัติในเรื่องอุทธรณ์การประเมินภาษีบำรุงท้องที่ ก็ไม่เป็นบทบังคับแก่โจทก์ โจทก์ย่อมใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1728-1729/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทำไม้ในที่ดินป่าเลนมิใช่การครอบครองเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่
ผู้ว่าราชการจังหวัดทำสัญญาอนุญาตให้โจทก์ทำการตัดฟันไม้ต่าง ๆที่ดินที่โจทก์ได้รับอนุญาตมิใช่ของเอกชน สัญญาการทำไม้ได้กำหนดขอบเขตหมวดและแปลงตัดฟันไม้ กำหนดเนื้อที่และกำหนดเวลาให้ทำการตัดฟันไม้ ส่วนใบอนุญาตก็ระบุชนิดไม้ ขนาดจำกัดและปริมาตรของไม้ อัตราค่าภาคหลวงต่อลูกบาศก์และค่าบำรุงป่า ฯลฯ ดังนี้ เห็นได้ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ให้อนุญาตเพียงแต่ยอมให้โจทก์ผู้รับอนุญาตมีสิทธิทำการตัดฟันไม้ในที่ดินป่าเลน ชนิดของไม้ที่จะทำการตัดฟันก็ดี กำหนดเวลาที่จะทำการตัดฟันในแต่ละแปลงก็ดี มีข้อจำกัดไว้แน่นอนที่ผู้รับอนุญาตจะต้องปฏิบัติ นอกจากนี้ข้อสัญญายังกำหนดให้ผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมการทำไม้ทุกประการ ถ้ากระทำผิดสัญญาและถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ให้อนุญาตเห็นสมควร จะเลิกสัญญานี้เสียก็ได้โดยไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้รับอนุญาตแต่อย่างใด ดังนี้ แสดงให้เห็นชัดว่าสัญญาการทำไม้ ฯลฯนี้เป็นแต่เพียงการให้สิทธิโจทก์เข้าไปตัดฟันเอาไม้เท่านั้น การที่โจทก์ทั้งสองสำนวนผู้รับอนุญาตตามสัญญาเข้าไปทำการตัดฟันไม้ จึงหาเป็นการ 'ครอบครองอยู่ใน' ที่ดินป่าเลนตามความในมาตรา 1 แห่งพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ไม่ โจทก์ทั้งสองสำนวนจึงมิได้เป็น 'เจ้าของที่ดิน' ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เมื่อเป็นเช่นนี้ โจทก์ก็ไม่มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ตามมาตรา 7และบทบัญญัติในเรื่องอุทธรณ์การประเมินภาษีบำรุงท้องที่ ก็ไม่เป็นบทบังคับแก่โจทก์ โจทก์ย่อมใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารมอบอำนาจทำไม้และการเสียอากรแสตมป์ แม้ พ.ร.บ.ป่าไม้ไม่อนุญาต แต่เอกสารยังคงเป็นใบมอบอำนาจตามประมวลรัษฎากร
พวกสมาชิกนิคมฯ ได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ความว่า ตามที่ได้รับอนุญาตให้ทำฟืนเพื่อการรถไฟฯ นั้นพวกสมาชิกนิคมฯ ได้ตกลงมอบให้บริษัทธนากรเป็นผู้จัดดำเนินการทำฟืนรายนี้ทั้งหมดเพื่อส่งให้แก่การรถไฟฯ เพราะสมาชิกมีกิจจำเป็น ฉะนั้น เพื่อความสะดวกจึงขอมอบให้นายใหญ่ผู้จัดการบริษัทธนากรทำการตัดฟืน ชักลาก ขนส่ง ให้แก่การรถไฟฯตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ และระเบียบของการรถไฟฯ (สมาชิกทุกคนลงชื่อท้ายเอกสาร)เอกสารที่มีข้อความเช่นนี้เป็นตราสารใบมอบอำนาจตามประมวลรัษฎากร
เมื่อเป็นใบมอบอำนาจตามประมวลรัษฎากรแล้ว แม้พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ จะเปิดช่องให้มอบอำนาจกันได้หรือไม่ก็ตามก็ไม่ทำให้เอกสารดังกล่าวนั้นไม่เป็นใบมอบอำนาจหน้าที่ของผู้เสียอากรสำหรับใบมอบอำนาจยังคงมีอยู่ตามเดิม
เมื่อเป็นใบมอบอำนาจตามประมวลรัษฎากรแล้ว แม้พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ จะเปิดช่องให้มอบอำนาจกันได้หรือไม่ก็ตามก็ไม่ทำให้เอกสารดังกล่าวนั้นไม่เป็นใบมอบอำนาจหน้าที่ของผู้เสียอากรสำหรับใบมอบอำนาจยังคงมีอยู่ตามเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำไม้ในป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต การบรรยายฟ้อง และขอบเขตการบังคับใช้มาตรา 39 พ.ร.บ.ป่าไม้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "ฯลฯ จำเลยนี้บังอาจทำไม้โดยตัดฟัน ฯลฯ ไม้เต็ง ฯลฯ อันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ.2505 ฯลฯ โดยมิได้รับอนุญาต ฯลฯ" ถือได้ว่าครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว หาจำต้องบรรยายโดยใช้คำว่า "ในป่า" ประกอบคำว่า "ทำไม้" หรือ"ตัดฟันไม้" ด้วยไม่
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 39 นั้น บังคับเฉพาะการนำไม้ที่ทำออกตามใบอนุญาตเคลื่อนที่ภายหลังที่ได้นำไปถึงที่อันระบุไว้ในใบอนุญาต หรือการนำไม้ที่ทำออกโดยไม่ต้องรับอนุญาตเคลื่อนที่ภายหลังไปถึงด่านป่าไม้ด่านแรกตามความในมาตรา 38 เท่านั้น ส่วนการนำไม้หวงห้ามที่ทำโดยไม่ได้รับอนุญาตเคลื่อนที่ หาเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39 ไม่ (อ้างฎีกาที่ 1018/2496 และฎีกาที่ 341/2498)
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 39 นั้น บังคับเฉพาะการนำไม้ที่ทำออกตามใบอนุญาตเคลื่อนที่ภายหลังที่ได้นำไปถึงที่อันระบุไว้ในใบอนุญาต หรือการนำไม้ที่ทำออกโดยไม่ต้องรับอนุญาตเคลื่อนที่ภายหลังไปถึงด่านป่าไม้ด่านแรกตามความในมาตรา 38 เท่านั้น ส่วนการนำไม้หวงห้ามที่ทำโดยไม่ได้รับอนุญาตเคลื่อนที่ หาเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39 ไม่ (อ้างฎีกาที่ 1018/2496 และฎีกาที่ 341/2498)