คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ที่ดินพิพาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 507 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8895/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: น.ส.3ก. กับ สิทธิครอบครอง เป็นคนละส่วนกัน การคืน น.ส.3ก. ไม่ใช่การได้คืนการครอบครอง
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) สำหรับที่ดินกับที่ดินพิพาทหรือสิทธิครอบครองในที่ดินถือเป็นคนละส่วนกัน เห็นได้จากการที่โจทก์สามารถขอให้ทางราชการออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ให้ใหม่ได้ แต่สิทธิครอบครองเป็นลักษณะอาการทางกฎหมายอย่างหนึ่งซึ่งจะได้มาก็ต้องด้วยเจตนายึดถือทรัพย์สินหรือที่ดินพิพาทไว้เพื่อตนเองเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 การที่โจทก์เคยฟ้องเรียกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) คืนจากจำเลยและศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยคืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) แก่โจทก์ จึงไม่เกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินอันจำเลยได้ยึดถือตัวทรัพย์ไว้หรืออาจยึดถือตัวทรัพย์ไว้เพื่อตน ซึ่งโจทก์จะต้องไปดำเนินการในเรื่องถูกแย่งการครอบครองและฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเป็นอีกกรณีหนึ่งต่างหาก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 กรณียังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกที่ดินพิพาทคืนจากการครอบครองของจำเลยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา: การห้ามก่อสร้างและเก็บค่าเช่าบนที่ดินพิพาท
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหาย หากโจทก์ชนะคดีโจทก์จะได้เงินค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลย ไม่ได้ฟ้องเรียกเอาเงินค่าเช่าอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หาบเร่ แผงลอย บนที่ดินพิพาทแต่อย่างใด จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า ค่าเช่าอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หาบเร่ แผงลอย บนที่ดินควรจะเป็นของโจทก์หรือของจำเลย จึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ที่โจทก์จะขอให้ห้ามจำเลยเก็บค่าเช่าและขอให้ศาลตั้งบุคคลอื่นไปเก็บค่าเช่าและดูแลกิจการแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4553/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ การครอบครองซื้อสืบต่อไม่ได้ สิทธิครอบครองต้องมีก่อนประกาศหวงห้าม
ที่ดินพิพาทตั้งอยู่ในเขตที่ราชพัสดุซึ่งมีหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงออกไว้ตั้งแต่ปี 2480 จ. ผู้แจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทแจ้งต่อนายอำเภอว่าได้ที่ดินนี้มาโดยปกครองตั้งแต่ปี 2482 ซึ่งแม้ฟังเป็นจริงก็เป็นเวลาภายหลังจากการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงดังกล่าวแล้ว ดังนั้น จ. จึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยซื้อต่อจากส. ผู้ซื้อที่ดินจาก จ. แม้จะครอบครองนานเพียงใดก็หาทำให้เกิดสิทธิครอบครองแต่อย่างใดไม่ เมื่อจำเลยไม่มีพยานหลักฐานมาแสดงให้เชื่อได้ว่ามีการครอบครองที่ดินพิพาทมาก่อนจะมีประกาศหวงห้ามที่ดิน จึงต้องฟังว่าจำเลยไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9263/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีที่ดินพิพาท, อายุความ, การรับฟังพยานหลักฐาน, และการแก้ไขค่าทนายความ
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535 มาตรา 18 บัญญัติว่า "พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้ บังคับแก่บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และให้ใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ยื่นฟ้องนั้น บังคับแก่คดีดังกล่าว จนกว่าคดีจะถึงที่สุด" โจทก์ฟ้องคดีนี้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าว มีผลใช้บังคับจึงไม่อาจนำบทบัญญัติที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมแล้วมาใช้บังคับ แก่คดีของโจทก์ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมก่อนที่ได้เสร็จ การสืบพยานโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบก่อน จึงเป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสอง (เดิม)ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติม จึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจากผู้มีชื่อ จำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา ตามคำให้การจำเลยไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ จึงไม่มีการอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น การที่จำเลยยกเหตุเป็นข้อต่อสู้ว่าที่ดินพิพาท เป็นของจำเลยจึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ฟ้องคดีเพื่อ เอาคืนซึ่งการครอบครองเกิน 1 ปี หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยก ประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบ มาตรา 246 และมาตรา 183 เป็นการไม่ชอบ ถือได้ว่าปัญหานี้เป็น ข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ในประเด็นดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันตนจะต้องคัดค้านการนำเอกสารนั้นมาสืบโดยเหตุที่ว่าไม่มีต้นฉบับหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับก่อนวันสืบพยานหรือก่อนศาลพิพากษาแล้วแต่กรณีการที่โจทก์นำสืบแสดงสำเนาเอกสารต่อศาล แต่จำเลยมิได้คัดค้านว่าต้นฉบับเอกสารที่โจทก์นำสืบนั้นไม่มีหรือสำเนาไม่ถูกต้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าวเมื่อศาลวินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าว ถือได้ว่าศาลอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) แล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องขออนุญาตศาลก่อน และศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสาร ดังกล่าวแทนต้นฉบับได้
ข้อฎีกาที่เป็นการอ้างข้อเท็จจริงไม่ตรงกับความเป็นจริง ย่อมไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 904/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินหลังขายฝาก: สิทธิของผู้ขายฝากและผลของการไม่ไถ่ทรัพย์
ในการชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเรื่องนิติกรรมอำพรางไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งต้องถือว่าสละประเด็นข้อนี้และโจทก์จะอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวนี้ไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226
โจทก์ได้นำที่ดินพิพาทขายฝากให้แก่ ว.มีกำหนดระยะเวลาในการไถ่ถอน 1 ปี สิทธิครอบครองจึงตกอยู่กับ ว.ตั้งแต่วันจดทะเบียนขายฝาก โจทก์คงมีแต่สิทธิไถ่ทรัพย์สินคืนภายในกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 491 ครบกำหนด1 ปีแล้ว โจทก์ไม่ไถ่ทรัพย์คืน สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นของ ว.โดยเด็ดขาด โจทก์ผู้ขายฝากเป็นเพียงผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทน ว.ผู้ซื้อฝากเท่านั้นการที่โจทก์เพียงแต่นำป้ายไปปักประกาศในที่ดินพิพาทว่าเป็นของโจทก์ และห้ามบุคคลภายนอกเกี่ยวข้อง หาเป็นการแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือครอบครองแทน ว.ไม่ เนื่องจากไม่มีการบอกกล่าวไปยัง ว.ผู้มีสิทธิครอบครอง
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ขอให้ขับไล่จำเลย ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์มิใช่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินที่พิพาท คดีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นตามคำให้การของจำเลยที่ว่า จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากผู้มีชื่อโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 หรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8073/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาทและการตั้งผู้จัดการมรดก: กรณีที่ดินไม่ใช่ทรัพย์มรดก
เมื่อที่ดินตามคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องจึงไม่อาจกล่าวอ้างว่าเป็นกรณีมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตายแม้ภายหลังผู้ตายถึงแก่กรรม เจ้าพนักงานที่ดินปฏิเสธไม่ยอมแก้ไขชื่อในโฉนดที่ดินจากผู้ตายมาเป็นของผู้ร้องก็ตาม ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านที่ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายกล่าวแต่เพียงว่า ที่ดินตามคำร้องขอเป็นของผู้ตายและเป็นมรดกตกได้แก่ผู้คัดค้าน และผู้ร้องไม่ได้เป็นทายาทของผู้ตาย ไม่มีส่วนได้เสียในที่ดินมรดกเท่านั้น แต่ผู้คัดค้านไม่ได้กล่าวอ้างว่า มีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเช่นกัน
ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างโต้เถียงกันว่า ฝ่ายใดมีสิทธิในที่ดินตามคำร้องขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อฝ่ายใดเห็นว่าตนถูกอีกฝ่ายโต้แย้งสิทธิในที่ดินดังกล่าว ก็ชอบที่จะเสนอคดีของตนเรียกร้องเอาที่ดินจากฝ่ายที่โต้แย้งโดยตรงอย่างคดีมีข้อพิพาทกรณีไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกเพราะไม่เป็นประโยชน์แก่กองมรดก กรณีของผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713(1)(2) ที่จะใช้สิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกรายนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8073/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาทกับมรดก: ไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดก
ที่ดินตามคำร้องขอไม่ใช่ทรัพย์สินที่เป็นมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องจึงไม่อาจกล่าวอ้างว่าเป็นกรณีมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตายเพื่อขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ได้ ส่วนผู้คัดค้านก็มิได้กล่าวอ้างว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดกของผู้ร้องแต่อย่างใด ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างโต้เถียงกันว่าฝ่ายใดมีสิทธิในที่ดินตามคำร้องขอเท่านั้นเมื่อฝ่ายใดเห็นว่าตนถูกอีกฝ่ายโต้แย้งสิทธิในที่ดินดังกล่าว ก็ชอบที่จะเสนอคดีของตนเรียกร้องเอาที่ดินจากฝ่ายที่โต้แย้งโดยตรงอย่างคดีมีข้อพิพาท ไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกเพราะไม่เป็นประโยชน์แก่กองมรดกแต่ประการใด กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713(1)(2) ที่จะใช้สิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8073/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาทและการตั้งผู้จัดการมรดก: กรณีไม่มีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก
เมื่อที่ดินตามคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ไม่ใชทรัพย์สินที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องจึงไม่อาจกล่าวอ้างว่าเป็นกรณีมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตาย แม้ภายหลังผู้ตายถึงแก่กรรมเจ้าพนักงานที่ดินปฏิเสธไม่ยอมแก้ไขชื่อในโฉนดที่ดินจากผู้ตายมาเป็นของผู้ร้องก็ตาม ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย คำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านที่ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายกล่าวแต่เพียงว่า ที่ดินตามคำร้องขอเป็นของผู้ตายและเป็นมรดกตกได้แก่ผู้คัดค้าน และผู้ร้องไม่ได้เป็นทายาทของผู้ตาย ไม่มีส่วนได้เสียในที่ดินมรดกเท่านั้นแต่ผู้คัดค้านไม่ได้กล่าวอ้างว่า มีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเช่นกัน ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างโต้เถียงกันว่า ฝ่ายใดมีสิทธิในที่ดินตามคำร้องขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อฝ่ายใดเห็นว่าตนถูกอีกฝ่ายโต้แย้งสิทธิในที่ดินดังกล่าวก็ชอบที่จะเสนอคดีของตนเรียกร้องเอาที่ดินจากฝ่ายที่โต้แย้งโดยตรงอย่างคดีมีข้อพิพาทกรณีไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกเพราะไม่เป็นประโยชน์แก่กองมรดกกรณีของผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713(1)(2) ที่จะใช้สิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกรายนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 55ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาท: การครอบครอง การยกให้ และอายุความฟ้องร้อง
คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยยืนยันว่า เดิมที่ดินพิพาท เป็นของบิดามารดาของสามีจำเลย บุคคลดังกล่าวได้ยกให้แก่ จำเลยและสามีจำเลยครอบครองและทำประโยชน์ตลอดมา โดยจำเลย ไม่ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ คดีจึงไม่อาจมีประเด็น ข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทเพราะการแย่ง การครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะที่ดินเป็นของผู้อื่น เมื่อจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่จำเลย ครอบครองเองจึงไม่เป็นการแย่งการครอบครองที่ดิน พิพาทจากโจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้อง เอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรคสอง หรือไม่ หรือโจทก์หมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งที่ดินพิพาท หรือไม่ เพราะประเด็นนี้ขัดแย้งกับประเด็นที่จำเลยได้ให้การ และฟ้องแย้งไว้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยได้รับการยกให้ จากบิดามารดาของสามีจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทเดิมการที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อนี้จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การโต้แย้งสิทธิเดิมและการหมดอายุความฟ้องแย่งการครอบครอง
คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยยืนยันว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นของบิดามารดาของสามีจำเลย บุคคลดังกล่าวได้ยกให้แก่จำเลยและสามีจำเลยครอบครองและทำประโยชน์ตลอดมาโดยจำเลยไม่ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์คดีจึงไม่อาจมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะที่ดินเป็นของผู้อื่น เมื่อจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่จำเลยครอบครองเองจึงไม่เป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ถูกแย่ง การครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสองหรือไม่ หรือโจทก์หมดสิทธิฟ้อง เอาคืนซึ่งที่ดินพิพาทหรือไม่ เพราะประเด็นนี้ขัดแย้งกับประเด็น ที่จำเลยได้ให้การและฟ้องแย้งไว้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของ จำเลยโดยได้รับการยกให้จากบิดามารดาของสามีจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทเดิม การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อนี้จึงเป็นการไม่ชอบ
of 51