คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ที่ดินมรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 113 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3281/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินมรดก: ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ใส่ชื่อเจ้าของร่วมโดยไม่ต้องเพิกถอนชื่อเดิม
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองและเพิกถอนชื่อจำเลย คดีฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองและจำเลยร่วมกันโดยทางมรดก การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเมื่อโจทก์มีสิทธิครอบครองที่พิพาทก็เป็นเรื่องของโจทก์ที่จะดำเนินการเพิ่มเติมชื่อของตนในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ร่วมกับจำเลย จะให้ศาลเพิ่มชื่อโจทก์โดยเพิกถอนชื่อจำเลยออกไม่ได้จึงพิพากษายกฟ้องมานั้น ย่อมทำให้คำพิพากษาของศาลไร้ผล การวินิจฉัยที่เป็นคุณแก่โจทก์ แต่ไม่พิพากษาให้เป็นไปตามนั้น ถือว่าคำวินิจฉัยและคำพิพากษาขัดกันย่อมเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ฉะนั้น โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(2) ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองในหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นเจ้าของร่วมกับจำเลยได้โดยไม่ต้องเพิกถอนชื่อจำเลยออก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งสิทธิครอบครองที่ดินมรดกผ่านการครอบครองเพื่อตนเองและการเสียภาษีอย่างต่อเนื่อง
ที่ดินพิพาทมี ส.ค.1 เป็นมรดก โจทก์และจำเลยต่างเป็นทายาทชั้นหลานของเจ้ามรดก เมื่อเจ้ามรดกตาย มารดาโจทก์ พี่ชายโจทก์และโจทก์ได้เข้าไปปลูกบ้านในที่ดินพิพาทและเก็บเงินค่าเช่าบ้านพักที่ปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทมาบำรุงรักษาและซ่อมแซมบ้านดังกล่าว อันเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่น แต่เมื่อจำเลยเตือน ขอให้มารดาโจทก์แบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ทายาท มารดาโจทก์ไม่ยอมแบ่งให้และว่า ถ้าอยากได้ก็ให้ไปฟ้องเอาเอง และมารดาโจทก์ก็จัดการชำระภาษีโรงเรือนและภาษีที่ดินในนามของตนเอง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่ามารดาโจทก์ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนเองแล้ว หาใช่เป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นไม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าได้มีทายาทคนหนึ่งคนใดดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินพิพาทนี้แต่อย่างใดสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจึงตกอยู่แก่มารดาโจทก์แล้วเมื่อมารดาโจทก์ถึงแก่ความตาย โจทก์ซึ่งเป็นบุตรและเป็นทายาทก็เข้าครอบครองต่อและเสียภาษีที่ดินและภาษีโรงเรือนในนามของโจทก์ทั้งโจทก์ยังได้ฟ้องขับไล่ทายาทอื่นให้ออกจากห้องแถวซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทอีกด้วย ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นของโจทก์แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดก การครอบครองร่วม และการยกทรัพย์โดยเสน่หา
หลังจากเจ้ามรดกตาย โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบุตรของเจ้ามรดกและ ส. ซึ่งเป็นภรรยาของเจ้ามรดกครอบครองทรัพย์มรดก คือที่ดินพิพาทร่วมกัน ส่วนบุตรคนอื่นของเจ้ามรดกไม่ปรากฏว่าได้ร่วมครอบครองที่ดินพิพาทด้วย แม้ต่อมา ส. ได้รื้อบ้านออกไปปลูกในที่ดินแปลงอื่นก็ถือว่าโจทก์จำเลยและ ส. ได้ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 การที่ ส. ขอออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยลงชื่อตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวในภายหลังโดยโจทก์ไม่ยินยอม โจทก์ยังคงมีส่วนในที่ดินพิพาทนั้น1 ใน 3 ส่วนอยู่เช่นเดิม ส. ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ไปยกให้จำเลย โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทที่ตนเป็นเจ้าของรวมจากจำเลย 1 ใน 3 ส่วนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินมรดก การยกที่ดินโดยเสน่หาไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีสิทธิเรียกร้องแบ่งที่ดิน
โจทก์จำเลยและ ส. ได้ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันตามป.พ.พ. มาตรา 1748 แม้ต่อมา ส. ขอออกโฉนดที่ดินพิพาททั้ง 2แปลง โดยลงชื่อตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว โดยโจทก์ไม่ยินยอมดังนี้ โจทก์ยังคงมีส่วนในที่ดินพิพาทนั้น 1 ใน 3 ส่วน อยู่เช่นเดิม ส. ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ไปยกให้จำเลยโดยเสน่หา โจทก์จึงฟ้องขอให้แบ่งที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลงจากจำเลยแปลงละ 1 ใน 3 ส่วนได้ เพราะเป็นกรณีที่เจ้าของรวมเรียกให้แบ่งทรัพย์จากเจ้าของรวมอีกคนหนึ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดก การครอบครองร่วม และการยกทรัพย์สินโดยเสน่หา
หลังจากเจ้ามรดกตาย โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบุตรของเจ้ามรดกและ ส. ซึ่งเป็นภรรยาของเจ้ามรดกครอบครองทรัพย์มรดก คือที่ดินพิพาทร่วมกัน ส่วนบุตรคนอื่นของเจ้ามรดกไม่ปรากฏว่าได้ร่วมครอบครองที่ดินพิพาทด้วย แม้ต่อมา ส. ได้รื้อบ้านออกไปปลูกในที่ดินแปลงอื่นก็ถือว่าโจทก์จำเลยและ ส. ได้ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 การที่ ส. ขอออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยลงชื่อตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวในภายหลังโดยโจทก์ไม่ยินยอม โจทก์ยังคงมีส่วนในที่ดินพิพาทนั้น1 ใน 3 ส่วนอยู่เช่นเดิม ส. ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ไปยกให้จำเลย โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทที่ตนเป็นเจ้าของรวมจากจำเลย 1 ใน 3 ส่วนได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6039/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินมรดก: ศาลไม่อาจพิพากษาให้กระทบสิทธิบุคคลภายนอกคดี
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยที่ 1 และสัญญาจำนองที่ดินพิพาทระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยที่ 3 และระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทตามส่วน แต่ที่ดินพิพาทก่อนทำนิติกรรมดังกล่าวมีชื่อมารดาโจทก์ซึ่งมิได้ถูกฟ้องหรือเป็นคู่ความในคดีด้วยเป็นเจ้าของ ศาลไม่อาจพิจารณาพิพากษาตามคำขอให้มีผลกระทบกระเทือนสิทธิของมารดาโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5748/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอแก้ชื่อกรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดก: สิทธิในการคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดีจำกัดเฉพาะประโยชน์ตามคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแก้ชื่อโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในโฉนดที่ดินมรดกมิได้ฟ้องขอรับส่วนแบ่งผลประโยชน์ในที่ดินมรดกจากจำเลย แม้โจทก์ชนะคดี ศาลก็ไม่อาจพิพากษาให้จำเลยแบ่งผลประโยชน์จากที่ดินมรดกให้โจทก์ได้ เพราะเป็นการนอกฟ้องและเกินคำขอ ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้จำเลยนำค่าเช่าที่ดินมรดกที่พิพาทมาวางศาล หรือให้ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยเป็นผู้จัดการผลประโยชน์ที่ดินมรดกระหว่างพิจารณาได้ ทั้งนี้เพราะวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264นั้น หมายถึงประโยชน์ที่ผู้ขอจะได้รับตามคำพิพากษาเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2983/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินมรดก: ต้องเป็นการครอบครองเพื่อตนเอง และระยะเวลา 10 ปีนับจากวันที่ครอบครอง
ที่ดินมรดกซึ่งมีผู้จัดการมรดกตามคำสั่งของศาลนั้น เมื่อยังรับฟังไม่ได้ว่าได้มีการแบ่งแยกกันครอบครองเป็นสัดส่วน ต้องฟังว่าที่ดินมรดกยังอยู่ในระหว่างจัดการมรดกและถือว่าบรรดาทายาทที่ครอบครองที่ดินแปลงนี้อยู่ซึ่งรวมทั้งผู้ร้องที่ 1 เป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วย หาใช่ครอบครองเพื่อตนเองไม่ ดังนั้น ผู้ร้องที่ 1จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินมรดกโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้ผู้ร้องที่ 2 ได้ซื้อที่ดินมรดกซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาทจากผู้ร้องที่ 1 โดยทำสัญญาซื้อขายกันเอง และผู้ร้องที่ 2 ครอบครองอย่างเป็นเจ้าของตลอดมา แต่นับถึงวันยื่นคำร้องคดีนี้ยังไม่ถึง 10ปี ดังนี้ ผู้ร้องที่ 2 ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งที่ดินมรดก: ศาลพิจารณาความเสียหายจากการแบ่งแยก และการครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัด
โจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทร่วมกันคนละครึ่ง จำเลยครอบครองส่วนด้านทิศเหนือ โจทก์ครอบครองส่วนด้านทิศใต้ โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอแบ่งตาม ความยาวของรูปที่ดินประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 บัญญัติเรื่องการแบ่งที่ดินระหว่างเจ้าของรวมว่า "...ถ้าเจ้าของรวมไม่ตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์สินอย่างไรไซร้ เมื่อเจ้าของรวมคนหนึ่งคนใดขอศาลอาจสั่งให้เอาทรัพย์สินนั้นออกแบ่ง..." เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการแบ่งที่ดินพิพาทตามความยาวของรูปที่ดินน่าจะทำให้เกิดความเสียหายมากถึงขนาดต้องรื้อบ้านจำเลย ซึ่งบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นไม่มีความประสงค์ให้เป็นเช่นนั้น และทั้งโจทก์จำเลยได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกครอบครองเป็นส่วนสัดอยู่แล้ว จึงไม่ชอบที่จะแบ่งตามความยาวของรูปที่ดินดังที่โจทก์ขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งที่ดินมรดก เจ้าของร่วมครอบครองแล้ว ศาลไม่อนุมัติแบ่งตามความยาวรูปที่ดินหากเกิดความเสียหาย
โจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทร่วมกันคนละครึ่งจำเลยครอบครองส่วนด้าน ทิศเหนือ โจทก์ครอบครองส่วนด้าน ทิศใต้โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอแบ่งตาม ความยาวของรูปที่ดินประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 บัญญัติเรื่องการแบ่งที่ดินระหว่างเจ้าของรวมว่า "...ถ้า เจ้าของรวมไม่ตกลง กันว่าจะแบ่งทรัพย์สินอย่างไรไซร้ เมื่อเจ้าของรวมคนหนึ่งคนใดขอศาลอาจสั่งให้เอาทรัพย์สินนั้นออกแบ่ง..." เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการแบ่งที่ดินพิพาทตาม ความยาวของรูปที่ดินน่าจะทำให้เกิดความเสียหายมากถึง ขนาดต้อง รื้อบ้านจำเลย ซึ่ง บทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นไม่มีความประสงค์ให้เป็นเช่นนั้น และทั้งโจทก์จำเลยได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกครอบครองเป็นส่วนสัดอยู่แล้ว จึงไม่ชอบที่จะแบ่งตาม ความยาวของรูปที่ดินดัง ที่โจทก์ขอ.
of 12