พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2485
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวจากการถูกทำร้าย: การกระทำเพื่อปกป้องตนเองจากผู้ที่เข้ามาทำร้ายถึงที่อยู่
ผู้ตายมีไม้ตะพดเป็นอาวุธไปด้วยขึ้นไปด่าท้าทายจะทำร้ายจำเลยและพวกถึงบนเรือน. พวกจำเลยได้ร้องห้ามไม่ให้ขึ้นเรือนและปิดประตูไว้. ผู้ตายก็ยังพยายามดึงประตูเปิดเข้าไป. จำเลยได้แทงผู้ตายด้วยหอก 1 ที. ผู้ตายก็ยังพยายามจะเข้าไปในเรือนอีก. จำเลยจึงได้แทงอีก 1 ทีเห็นว่าจำเลยได้แทงในขณะผู้ตายพยายามทำร้ายจำเลยและพวก.แม้ผู้ตายจะมีอาวุธเพียงไม้ตะพดก็จริง แต่เมื่อพยายามจะเข้าทำร้ายจำเลยและพวกถึงในห้องเรือน. ดังนี้ จะให้จำเลยทำอย่างไร นอกจากจะต้องป้องกันตัวก็ไม่เห็นมีทางอื่น.การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2484
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกหมายจับ จำเป็นต้องมีการสืบสวนหาที่อยู่จำเลยให้ได้ความแน่นอนก่อน ศาลไม่ออกหมายจับโดยอาศัยเพียงรายงานอำเภอ
ในคดีฟ้องขอให้ลงโทษฐานฉ้อโกง โจทก์อ้างรายงานของอำเภอว่าไม่ปรากฎว่าจำเลยย้ายที่อยู่ไปอยู่แห่งใดนั้น ไม่เป็นเหตุพอที่ศาลจะออกหมายจับจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 701/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียก/คำสั่งศาลไปยังจำเลยที่ไม่มีที่อยู่ประจำ การส่งให้บุคคลที่จำเลยอาศัยอยู่ด้วยถือว่าเป็นการส่งให้ถูกต้อง
การทอดโฉนดบัตร์หมายให้แก่บุคคลซึ่งมีที่อยู่ไม่เป็นประจำนั้น ถ้าไม่พบตัวผู้นั้นจะส่งให้แก่บุคคลซึ่งอยู่ในบ้านที่บุคคลผู้นั้นได้อาศัยอยู่ไว้แทนก็ได้ แลถือเสมือนว่าได้ส่งให้แก่ตัวบุคคลผู้นั้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9894/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดที่ไม่ถูกต้องและผลกระทบต่อการยกเลิกการล้มละลาย
คำสั่งศาลล้มละลายกลางที่ให้ยกคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยมิใช่คำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดที่อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 วรรคสอง (1) ถึง (5) จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ แต่ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาด จึงให้รับพิจารณาพิพากษาอุทธรณ์ของโจทก์ที่ต้องห้ามอุทธรณ์ดังกล่าวตามมาตรา 26 วรรคสี่
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หมายนัดให้โจทก์วางเงินค่าใช้จ่าย 10,000 บาท รวม 3 ครั้ง โดยหมายนัดฉบับแรกและฉบับที่สามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระบุที่อยู่อันมิใช่ภูมิลำเนาของโจทก์ มีเพียงหมายนัดฉบับที่สองที่ระบุตรงตามภูมิลำเนาของโจทก์ แต่ก็มีบุคคลอื่นรับหมายไว้แทน ในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้จัดทำบัญชีแสดงรายรับ - จ่ายเงินเพื่อประกอบรายงานศาลขอให้มีคำสั่งปิดคดีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 133 และขอให้ศาลล้มละลายกลางส่งเงินค่าใช้จ่ายที่โจทก์วางไว้ต่อศาลส่วนที่เหลือไปให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เนื่องจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยได้ ซึ่งจะครบกำหนดขยายระยะเวลาแบ่งทรัพย์สินครั้งที่ 1 ในวันที่ 11 ธันวาคม 2551 แสดงว่าในวันดังกล่าวเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่น่าจะมีกรณีต้องใช้จ่ายเงินเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยอีก แต่มิได้รายงานศาลขอขยายระยะเวลาแบ่งทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 124 วรรคสอง โดยรายงานศาลว่าโจทก์ได้รับหมายแจ้งให้วางเงินค่าใช้จ่ายทั้งสามครั้งโดยชอบแล้วไม่วางเงินค่าใช้จ่าย ขอให้มีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135 (1) หลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายแล้ว โจทก์ได้ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 29 เมษายน 2552 ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอวางเงินค่าใช้จ่าย 10,000 บาท ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กลับยอมรับไว้ ต่อมาได้หมายนัดแจ้งให้โจทก์รับคืนไปเป็นเงินเพียง 9,500 บาท แต่ก็ส่งไปยังสถานที่อันมิใช่ภูมิลำเนาของโจทก์ พฤติการณ์ของโจทก์น่าเชื่อว่าโจทก์มิได้ขัดขืนหรือละเลยไม่ให้ประกันตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้ง การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยตามมาตรา 135 (1) จึงเป็นการไม่ชอบ
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หมายนัดให้โจทก์วางเงินค่าใช้จ่าย 10,000 บาท รวม 3 ครั้ง โดยหมายนัดฉบับแรกและฉบับที่สามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระบุที่อยู่อันมิใช่ภูมิลำเนาของโจทก์ มีเพียงหมายนัดฉบับที่สองที่ระบุตรงตามภูมิลำเนาของโจทก์ แต่ก็มีบุคคลอื่นรับหมายไว้แทน ในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้จัดทำบัญชีแสดงรายรับ - จ่ายเงินเพื่อประกอบรายงานศาลขอให้มีคำสั่งปิดคดีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 133 และขอให้ศาลล้มละลายกลางส่งเงินค่าใช้จ่ายที่โจทก์วางไว้ต่อศาลส่วนที่เหลือไปให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เนื่องจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยได้ ซึ่งจะครบกำหนดขยายระยะเวลาแบ่งทรัพย์สินครั้งที่ 1 ในวันที่ 11 ธันวาคม 2551 แสดงว่าในวันดังกล่าวเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่น่าจะมีกรณีต้องใช้จ่ายเงินเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยอีก แต่มิได้รายงานศาลขอขยายระยะเวลาแบ่งทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 124 วรรคสอง โดยรายงานศาลว่าโจทก์ได้รับหมายแจ้งให้วางเงินค่าใช้จ่ายทั้งสามครั้งโดยชอบแล้วไม่วางเงินค่าใช้จ่าย ขอให้มีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135 (1) หลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายแล้ว โจทก์ได้ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 29 เมษายน 2552 ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอวางเงินค่าใช้จ่าย 10,000 บาท ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กลับยอมรับไว้ ต่อมาได้หมายนัดแจ้งให้โจทก์รับคืนไปเป็นเงินเพียง 9,500 บาท แต่ก็ส่งไปยังสถานที่อันมิใช่ภูมิลำเนาของโจทก์ พฤติการณ์ของโจทก์น่าเชื่อว่าโจทก์มิได้ขัดขืนหรือละเลยไม่ให้ประกันตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้ง การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยตามมาตรา 135 (1) จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7022/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายห้องชุดเนื่องจากจำเลยมิได้แจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่ และการพิพากษาให้ชำระเงินตามสัญญา
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดเลขที่ 905 บี กับจำเลยที่ 1 โดยให้ถือเอาเงินจองที่โจทก์ได้ชำระแล้ว เป็นส่วนหนึ่งของราคาห้องชุด และได้ชำระเงินในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายบางส่วนกับตกลงชำระส่วนที่เหลือเป็นงวดรายเดือน รวม 30 งวด เริ่มตั้งแต่งวดเดือนพฤศจิกายน 2537 เป็นต้นไป ส่วนราคาห้องชุดส่วนที่เหลือ โจทก์ตกลงชำระในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด ข้อเท็จจริงคดีนี้ จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งโจทก์ให้ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดและบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดแก่โจทก์โดยมิชอบ กรณีจึงไม่มีผลตามกฎหมายและไม่อาจถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ขายห้องชุดพิพาทให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้ จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ส่วนเงินอันจะต้องใช้คืนในกรณีดังกล่าวให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วย คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391