พบผลลัพธ์ทั้งหมด 764 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5205/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีเปลี่ยนจากไม่มีทุนทรัพย์เป็นมีทุนทรัพย์ ศาลชั้นต้นโอนคดีให้ศาลแขวงได้ ชอบด้วยกฎหมาย
คดีนี้ศาลแขวงสงขลาไม่รับโอนคดีและส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นรับสำนวนคืนมาแล้ว ได้นัดพร้อมคู่ความและแจ้งคำสั่งของศาลแขวงสงขลาให้คู่ความทราบเพื่อให้คู่ความดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องศาลชั้นต้นกับศาลแขวงสงขลาต่างไม่รับพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ แม้เนื้อหาอุทธรณ์ของโจทก์จะเป็นการโต้แย้งคำสั่งของศาลแขวงสงขลาที่ไม่ยอมรับโอนคดี แต่เมื่อศาลชั้นต้นรับสำนวนคืนจากศาลแขวงสงขลาไว้แล้ว ทั้งคดีจะต้องมีปัญหาวินิจฉัยว่า ระหว่างศาลชั้นต้นกับศาลแขวงสงขลาศาลใดจะต้องพิจารณาพิพากษาคดีนี้ต่อไปโจทก์ชอบที่จะมีสิทธิอุทธรณ์คดีนี้โดยยื่นต่อศาลชั้นต้นได้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์รับแจ้งคำสั่งจากศาลชั้นต้นดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2545 โจทก์ยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2545 อันเป็นการอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 อุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทอันเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่เมื่อจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่าเป็นของจำเลย คดีจึงเปลี่ยนเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ มิใช่คดีที่คำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้อีกต่อไป เมื่อราคาทรัพย์สินที่พิพาทซึ่งเป็นทุนทรัพย์ของคดีไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงสงขลาที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทอันเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่เมื่อจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่าเป็นของจำเลย คดีจึงเปลี่ยนเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ มิใช่คดีที่คำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้อีกต่อไป เมื่อราคาทรัพย์สินที่พิพาทซึ่งเป็นทุนทรัพย์ของคดีไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงสงขลาที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4678/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลรวมกรณีหนี้เกี่ยวข้องกัน: ธนาคารฟ้องหนี้หลายประเภทจากสินเชื่อเดียวกัน ชำระค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์สูงสุดได้
โจทก์ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ ประกอบธุรกิจด้วยการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าซึ่งทำได้หลายวิธี จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินกับโจทก์แม้จะเรียกชื่อวิธีการก่อให้เกิดหนี้ แต่ก็ล้วนแต่เป็นการขอสินเชื่อจากโจทก์นั่นเอง มูลหนี้ตามฟ้องทั้งสองประเภทจึงเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมพิจารณาเข้าด้วยกันได้ โจทก์จึงนำสินเชื่อทุกชนิดมารวมกันเป็นทุนทรัพย์ที่เรียกร้องฟ้องมาเป็นคดีเดียวกันได้ โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้องสูงสุดตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (1) ก. ชอบแล้ว การที่ศาลชั้นต้นเรียกให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมโดยแยกเป็นมูลหนี้แต่ละประเภท จึงเป็นการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเกินกว่าที่จะต้องเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4043/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์ฎีกาไม่เกินสองแสนบาท, ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, การแยกคำนวณทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคน
คดีนี้โจทก์ทั้งสี่ต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคนฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสอง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินจำนวน 688,295 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ทั้งสี่ตามความเสียหายของแต่ละคน ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โจทก์ทั้งสี่ฎีกาขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินให้โจทก์ทั้งสี่ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสี่จึงต้องถือตามทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคน แม้จะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์แต่ละคนแยกกัน เมื่อทุนทรัพย์ชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสี่แต่ละคนไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3636/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับให้จำเลยชำระเงิน 126,580.79 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 111,596.30 บาท นับถัดจากฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท แม้จำเลยจะเสียค่าขึ้นศาลมาในชั้นฎีกาในจำนวนทุนทรัพย์ในศาลชั้นต้น 277,298.06 บาท ก็ตาม แต่ทุนทรัพย์ที่แท้จริงที่พิพาทในชั้นฎีกาเป็นเงินจำนวน 126,580.79 บาท ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จำเลยฎีกาว่าจำเลยได้ชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ซึ่งเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2056/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีแพ่ง: ทุนทรัพย์พิพาทเกิน 50,000 บาท และประเด็นข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์
ที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลย มีเนื้อที่ 20 ตารางวา ราคาประเมินตารางวาละ 1,250 บาท คิดเป็นทุนทรัพย์พิพาท 25,000 บาท ดังนี้ทุนทรัพย์พิพาทระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยตามคำฟ้องและฟ้องแย้งในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เกิน 50,000 บาท คู่ความจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ที่ดินในส่วนที่พิพาทกับโจทก์ที่ 2 เป็นที่ดินของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนที่พิพาทกับโจทก์ที่ 2 และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น ฎีกาของจำเลยที่โต้แย้งว่าที่ดินในส่วนที่พิพาทกับโจทก์ที่ 2 เป็นที่ดินของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีมีทุนทรัพย์เกินห้าหมื่นบาท และการกำหนดค่าทนายความเกินอัตราที่ศาลชั้นต้นกำหนดได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดหลายรายการ แม้ผู้ร้องอุทธรณ์ตอนแรกเฉพาะทรัพย์สินบางรายการว่าเป็นของผู้ร้อง ส่วนตอนหลังอุทธรณ์ว่าทรัพย์สินรายการที่เหลือก็เป็นของผู้ร้องโดยซื้อมาจากพนักงานขายสินค้าซึ่งนำมาเร่ขายในราคาถูก จึงทำให้บิลเงินสดและใบส่งของชั่วคราวไม่มีชื่อร้านผู้จำหน่ายสินค้า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทรัพย์สินดังกล่าวไม่ใช่ของผู้ร้อง จึงเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งว่าทรัพย์สินบางรายการในตอนหลังของอุทธรณ์เป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องซื้อมาจากพนักงานขายสินค้าซึ่งนำมาเร่ขายถูกรวมอยู่ด้วย หาใช่ผู้ร้องมิได้อุทธรณ์โต้แย้งทรัพย์สินในรายการส่วนที่เหลือไม่ เมื่อมีราคารวมกันเกินกว่าห้าหมื่นบาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์และราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินห้าหมื่นบาท อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1655/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีครอบครองปรปักษ์เปลี่ยนเป็นคดีพิพาทกรรมสิทธิ์ มีทุนทรัพย์ต่ำกว่า 3 แสนบาท ศาลแขวงมีอำนาจ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่เมื่อผู้คัดค้านทั้งสี่ยื่นคำคัดค้านว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้คัดค้านทั้งสี่ ผู้คัดค้านที่ 1 เพียงแต่อนุญาตให้ผู้ร้องอยู่อาศัย กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งเปลี่ยนเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ มิใช่คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้อีกต่อไป เมื่อราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือทุนทรัพย์ของคดีไม่เกินสามแสนบาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพาทตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบ 25 (4) ศาลจังหวัดไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณทุนทรัพย์อุทธรณ์ฎีกาแยกรายโจทก์ และการวางค่าขึ้นศาลที่ครบถ้วน
แม้โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 จะฟ้องรวมกันมาในคดีเดียวกันและเสียค่าขึ้นศาลรวมกันมา แต่การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนสามารถใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แยกต่างหากจากกันได้ เมื่อโจทก์ที่ 1 ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ที่ 1 เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ ราคาไร่ละ 300,000 บาท ทุนทรัพย์ในส่วนของโจทก์ที่ 1 จึงคิดเป็นเงิน 300,000 บาท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิในที่ดิน 1 ใน 9 ส่วน คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 86.2 ตารางวา แต่โจทก์ที่ 1 อุทธรณ์ขอให้ได้ที่ดินพิพาทเนื้อที่เต็มตามฟ้อง จึงเท่ากับขอให้ได้ที่ดินเพิ่มอีก 313.8 ตารางวา คิดเป็นเงิน 235,350 บาท ซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ โจทก์ที่ 1 จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เป็นเงิน 5,885 บาท มิใช่เสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ 412,500 บาท
โจทก์ที่ 1 ได้ทยอยนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางศาล 2 ครั้ง รวมเป็นเงิน 7,000 บาท โดยครั้งที่ 2 นำมาวางในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้และวางเกินกว่าที่ต้องเสียแต่โจทก์ที่ 1 สำคัญผิดว่ายังชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ไม่ครบจึงขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ออกไปอีก ดังนี้ ถือว่าโจทก์ที่ 1 วางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ครบถ้วนแล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ได้ตั้งแต่นั้นและสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ที่ยื่นหลังจากนั้น เพราะโจทก์ที่ 1 ไม่จำต้องขอขยายระยะเวลาวางเงินอีกต่อไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตขยายระยะเวลาวางเงินให้โจทก์ที่ 1 ต่อไปอีก และในที่สุดมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในครั้งต่อมาพร้อมกับสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 เพราะเหตุโจทก์ที่ 1 ไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนดและศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
โจทก์ที่ 1 ได้ทยอยนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางศาล 2 ครั้ง รวมเป็นเงิน 7,000 บาท โดยครั้งที่ 2 นำมาวางในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้และวางเกินกว่าที่ต้องเสียแต่โจทก์ที่ 1 สำคัญผิดว่ายังชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ไม่ครบจึงขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ออกไปอีก ดังนี้ ถือว่าโจทก์ที่ 1 วางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ครบถ้วนแล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ได้ตั้งแต่นั้นและสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ที่ยื่นหลังจากนั้น เพราะโจทก์ที่ 1 ไม่จำต้องขอขยายระยะเวลาวางเงินอีกต่อไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตขยายระยะเวลาวางเงินให้โจทก์ที่ 1 ต่อไปอีก และในที่สุดมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในครั้งต่อมาพร้อมกับสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 เพราะเหตุโจทก์ที่ 1 ไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนดและศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์อุทธรณ์ฎีกาแยกรายโจทก์, การวางค่าขึ้นศาลเกิน, ศาลชอบที่จะพิจารณาอุทธรณ์เมื่อวางเงินครบถ้วน
แม้โจทก์ทั้งสองจะฟ้องรวมกันมาในคดีเดียวและเสียค่าขึ้นศาลรวมกันมา แต่การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน โจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จากทุนทรัพย์ 235,350 บาท คิดเป็นค่าขึ้นศาลเพียง 5,885 บาท มิใช่เสียค่าขึ้นศาลจากทุนทรัพย์ 412,500 บาท โจทก์ที่ 1 ทยอยนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางศาล 2 ครั้ง รวมเป็นเงิน 7,000 บาท ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยาย ซึ่งเป็นการวางเงินเกินกว่าที่ต้องเสียเป็นเงิน 1,115 บาท แต่โจทก์ที่ 1 สำคัญผิดว่ายังชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ไม่ครบ จึงได้ขอขยายระยะเวลาวางเงินออกไปอีก กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ได้ ตั้งแต่วางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ครบถ้วนและสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ที่ยื่นหลังจากที่โจทก์ที่ 1 วางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ครบถ้วน การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตขยายระยะเวลาวางเงินของโจทก์ที่ 1 และในที่สุดมีคำสั่งไม่อนุญาตขยายระยะเวลาวางเงินของโจทก์ที่ 1 ในครั้งต่อมาพร้อมกับสั่งไม่รับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 107/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาล, ทุนทรัพย์, ดอกเบี้ย, การฟ้องคดีรวม, และการคิดดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน
โจทก์เป็นสถาบันการเงินประกอบธุรกิจปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกค้า การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินและให้กู้ยืมเงิน ล้วนแต่เป็นธุรกรรมเกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งหลักทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 นำมาประกันก็ครอบคลุมหนี้ของจำเลยที่ 1 ทุกประเภท โจทก์จึงสามารถนำสินเชื่อทุกประเภทมารวมกันเป็นทุนทรัพย์ที่เรียกร้องฟ้องมาเป็นคดีเดียวกันได้ โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในอัตราสูงสุดตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (1) ก. จึงชอบแล้ว การที่ศาลชั้นต้นเรียกให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมโดยแยกมูลหนี้แต่ละประเภท เป็นการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเกินกว่าที่จะต้องเสีย และการที่จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ฎีกาโดยเสียค่าขึ้นศาลเกินกว่าสองแสนบาทจึงเป็นการเสียค่าขึ้นศาลเกินกว่าที่จะต้องเสียเช่นกัน