พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2967-2971/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนัดหยุดงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิของนายจ้างในการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การนัดหยุดงานนั้น เมื่อพิจารณาในแง่ของการกระทำแล้ว ก็ย่อมเรียกได้ว่าลูกจ้างแต่ละคนซึ่งร่วมในการนัดหยุดงานนั้นต่างได้ละทิ้งการงานซึ่งตามปกติตนมีหน้าที่ปฏิบัติให้แก่นายจ้างด้วย โจทก์นัดหยุดงานในระหว่างการพิจารณาวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 34 (6) และกระทำไปในระหว่างที่มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ข้อพิพาทแรงงานเข้าสู่การชี้ขาดและห้ามนายจ้างปิดงานหรือลูกจ้างนัดหยุดงานในระหว่างประกาศใช้กฎอัยการศึก ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2519 ที่ห้ามลูกจ้างนัดหยุดเวลาโดยเด็ดขาด การนัดหยุดงานของโจทก์จึงเป็นความผิดอันมีโทษทางอาญาตามมาตรา 139 และ 141 ได้ และเมื่อการหยุดงานนั้นเป็นการละทิ้งหน้าที่อยู่ในตัวและนัดหยุดงานกันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน จึงต้องถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุสมควรด้วยกรณีต้องด้วยมาตรา 31 (4) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว และข้อ 47 (4) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองงานฯ จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2967-2971/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนัดหยุดงานที่ผิดกฎหมายและการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การนัดหยุดงานนั้น เมื่อพิจารณาในแง่ของการกระทำแล้วก็ย่อมเรียกได้ว่าลูกจ้างแต่ละคนซึ่งร่วมในการนัดหยุดงานนั้นต่างได้ละทิ้งการงานซึ่งตามปกติตนมีหน้าที่ปฏิบัติให้แก่นายจ้างด้วยโจทก์นัดหยุดงานในระหว่างการพิจารณาวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 34(6) และกระทำไปในระหว่างที่มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ข้อพิพาทแรงงานเข้าสู่การชี้ขาดและห้ามนายจ้างปิดงานหรือลูกจ้างนัดหยุดงานในระหว่างประกาศใช้กฎอัยการศึก ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2519 ที่ห้ามลูกจ้างนัดหยุดงานโดยเด็ดขาด การนัดหยุดงานของโจทก์จึงเป็นความผิดอันมีโทษทางอาญาตามมาตรา 139 และ 141 ได้ และเมื่อการหยุดงานนั้นเป็นการละทิ้งหน้าที่อยู่ในตัวและนัดหยุดงานกันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน จึงต้องถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุสมควรด้วย กรณีต้องด้วยมาตรา 31(4)ของพระราชบัญญัติดังกล่าว และข้อ 47(4) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 152/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดจากการนัดหยุดงานปิดล้อมเครื่องบินและบีบบังคับเลิกสัญญา แม้โจทก์ขาดทุนก็ต้องชดใช้ค่าเสียหาย
การที่จำเลยร่วมกับพวกในการนัดหยุดงาน ปิดล้อมเครื่องบินและบีบบังคับให้สายการบินเลิกสัญญากับโจทก์ ถ้าไม่เลิกสัญญาก็จะไม่ยอมเลิกปิดล้อมและไม่ยอมให้เครื่องบินเดินทางต่อไปนั้น การบีบบังคับให้เลิกสัญญาดังกล่าวเป็นการกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทำให้โจทก์เสียหาย จึงเป็นการละเมิดจำเลยต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดนั้น แม้โจทก์จะขาดทุนอยู่ก่อนก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15347/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการนัดหยุดงานของลูกจ้าง แม้ลงลายมือชื่อข้อเรียกร้องไม่พร้อมกัน การปฏิเสธของนายจ้างไม่กระทบสิทธิ
แม้ผู้กล่าวหาซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์จะมิได้ร่วมลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องมาตั้งแต่ต้น แต่เมื่อภายหลังจากฝ่ายลูกจ้างแจ้งข้อเรียกร้อง ฝ่ายโจทก์กับฝ่ายลูกจ้างมีการเจรจากันตามกฎหมายแล้วแต่ไม่สามารถตกลงกันได้ จนกระทั่งพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานเข้ามาดำเนินการไกล่เกลี่ย แสดงว่ากระบวนการเจรจาต่อรองตามบทบัญญัติของกฎหมายยังไม่เสร็จสิ้น ทั้งเมื่อไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องเพิ่มเติม การที่ผู้กล่าวหาลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องเพิ่มเติมในระหว่างกระบวนการใช้สิทธิตามกฎหมายดังกล่าวนั้น จึงถือว่าผู้กล่าวหาเป็นผู้ลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องด้วยแล้ว การที่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับ ไม่มีผลทำให้ผู้กล่าวหาไม่อาจใช้สิทธิของตนตามกฎหมายได้ เมื่อผู้กล่าวหา เป็นผู้เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องจึงร่วมนัดหยุดงานตามสิทธิที่กฎหมายบัญญัติรับรองไว้ได้ ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการผละงานหรือละทิ้งหน้าที่ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13580/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีเข้าร่วมการนัดหยุดงานที่ผิดกฎหมาย และจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย
การนัดหยุดงานเป็นการที่ลูกจ้างแต่ละคนที่ร่วมนัดหยุดงานต่างละทิ้งการงานที่ตามปกติตนมีหน้าที่ปฏิบัติ ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง
ผู้คัดค้านซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้ร้อง เป็นกรรมการลูกจ้าง และเป็นผู้แทนเจรจาของสหภาพแรงงาน ล. เข้าร่วมในการนัดหยุดงานที่ไม่มีการแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานและผู้ร้องผู้เป็นนายจ้างทราบล่วงหน้า นอกจากเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 34 วรรคสอง ซึ่งมีโทษตามมาตรา 139 แล้ว การที่ผู้คัดค้านเข้าร่วมในการนัดหยุดงานยังมีผลกระทบกระเทือนต่อกิจการของผู้ร้องไม่ให้ดำเนินไปได้ตามปกติ ย่อมทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย เป็นกรณีผู้คัดค้านจงใจทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ประกอบกับผู้คัดค้านเข้าร่วมการนัดหยุดงานตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2549 จนถึงวันฟ้อง (วันที่ 8 ตุลาคม 2551) ก็ยังไม่กลับเข้าทำงาน จึงมีเหตุสมควรที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
ผู้คัดค้านซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้ร้อง เป็นกรรมการลูกจ้าง และเป็นผู้แทนเจรจาของสหภาพแรงงาน ล. เข้าร่วมในการนัดหยุดงานที่ไม่มีการแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานและผู้ร้องผู้เป็นนายจ้างทราบล่วงหน้า นอกจากเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 34 วรรคสอง ซึ่งมีโทษตามมาตรา 139 แล้ว การที่ผู้คัดค้านเข้าร่วมในการนัดหยุดงานยังมีผลกระทบกระเทือนต่อกิจการของผู้ร้องไม่ให้ดำเนินไปได้ตามปกติ ย่อมทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย เป็นกรณีผู้คัดค้านจงใจทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ประกอบกับผู้คัดค้านเข้าร่วมการนัดหยุดงานตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2549 จนถึงวันฟ้อง (วันที่ 8 ตุลาคม 2551) ก็ยังไม่กลับเข้าทำงาน จึงมีเหตุสมควรที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้