พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นกลบเกลื่อนการกู้ยืมเงิน สัญญาซื้อขายจึงเป็นโมฆะ
เมื่อสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน นิติกรรมซื้อขายจึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคแรก และต้องบังคับตามนิติกรรมการกู้ยืมเงินซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 118 วรรคสอง และย่อมถือว่าสัญญาซื้อขายเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลย จึงมีผลบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2693/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง การกู้ยืมเงินที่ดิน และการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายคืน
สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ผู้ขายกับจำเลย ระบุว่านับแต่วันทำสัญญาภายในระยะเวลา 2 ปี ถ้าโจทก์ประสงค์จะซื้อคืนจำเลยยินดีจะขายคืนให้ การที่จำเลยขายที่ดินพิพาทให้แก่ ส.ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากไม่ใช่หลักฐานการกู้ยืม การพิสูจน์นิติกรรมอำพรางต้องมีหลักฐานสัญญาการกู้ยืมที่แท้จริง
หนังสือสัญญาขายฝากที่ดินเป็นหลักฐานในการขายฝากที่ดินหาใช่เป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงินไม่ ฉะนั้นจำเลยจะอ้างว่าสัญญาขายฝากที่ดินที่พิพาทซึ่งจำเลยทำไว้กับโจทก์เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 ไม่ได้ ในเมื่อจำเลยไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมอันเป็นนิติกรรมที่แท้จริงมาแสดงฟังไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยทำสัญญาขายฝากอำพรางการกู้ยืมเงินกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากไม่เป็นนิติกรรมอำพราง การครอบครองที่ดินหลังครบกำหนดไถ่ถือเป็นการละเมิด เจ้าของสิทธิไม่สละสิทธิจากการเสียภาษี
โจทก์และจำเลยไปทำสัญญากันที่สำนักงานที่ดินอำเภอเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทำสัญญาแล้วได้อ่านข้อความให้ฟังจำเลยบอกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่า ต้องการทำสัญญาจำนองไม่ต้องการทำสัญญาขายฝาก โจทก์บอกจำเลยว่าทำสัญญาขายฝากก็เหมือนสัญญาจำนอง เมื่อจำเลยได้ปรึกษากับสามีแล้วจึงได้ตกลงทำสัญญาขายฝาก ดังนี้ การทำสัญญาขายฝากดังกล่าวจึงเป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์และด้วยความสมัครใจของจำเลยเอง สัญญาขายฝากนี้หาใช่เป็นนิติกรรมอำพรางไม่ การที่จำเลยเสียภาษีบำรุงท้องที่ที่ดินพิพาทโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รู้เห็นการกระทำดังกล่าวมิใช่เป็นเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทและไม่ถือว่าโจทก์สละสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยครอบครอง ที่ดินพิพาทในฐานะอาศัยโจทก์มาแต่แรก และจำเลยไม่เคยบอกกล่าวไปยังโจทก์ว่าจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการครอบครอง ดังนี้แม้จำเลยจะครอบครองที่พิพาทต่อมาอีกนานเท่าใดก็ตามโจทก์ก็ไม่ต้องฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทภายใน 1 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากไม่เป็นนิติกรรมอำพราง การซื้อขายที่ดินโดยสุจริตทำให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ซื้อ
โจทก์ร่วมที่ 2 กับจำเลยทำสัญญาขายฝากที่ดินและบ้านกันจริง ๆแม้ภายหลังการทำสัญญาขายฝาก จำเลยยังคงครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทต่อไปโดยไม่ได้มอบการครอบครองแก่โจทก์ร่วมที่ 2 ก็ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ว่านิติกรรมระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยเป็นนิติกรรมอำพราง ดังนั้นเมื่อครบกำหนดเวลาไถ่แล้ว โดยจำเลยไม่ขอไถ่ภายในกำหนด การที่โจทก์ร่วมที่ 2 ผู้รับซื้อฝากขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมที่ 1 โดยสุจริต กรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทย่อมเป็นของโจทก์และโจทก์ร่วม โจทก์จึงมีสิทธิขับไล่จำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง สัญญาเช่าแปลงเป็นสัญญากู้ เงินกู้ไม่เข้าจริง สัญญาเป็นโมฆะ
คำพยานโจทก์ขัดต่อเหตุผลและตามคำพยานจำเลยฟังได้ว่าจำเลยทำสัญญากู้ไว้แทนการเช่า โดยจำเลยมิได้รับเงินตามสัญญาเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปจริง ก็ย่อมบังคับตามสัญญากู้ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากเพื่อบังหน้าการกู้ยืมเงิน ดอกเบี้ยเกินกฎหมายระงับหนี้
การที่จำเลยรับชำระหนี้เงินกู้ส่วนที่ค้างชำระภายหลังพ้นกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว แสดงให้เห็นถึงเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าต้องการจะผูกพันกันในเรื่องกู้ยืมเงินเท่านั้นสัญญาขายฝากจึงเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 114 วรรคสอง และจะต้องถือว่าสัญญาขายฝากเป็นหลักฐานที่จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์และมอบที่ดินตามฟ้องให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1129/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีฟ้องขับไล่ผู้เช่า: การต่อสู้เรื่องนิติกรรมอำพรางที่ไม่ใช่การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ ทำให้ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากที่ดินอันมี ค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือน ละสองพัน บาท และเรียกค่าเช่าอันมีทุนไม่เกินสองหมื่นบาท จำเลยให้การต่อสู้ ว่าโจทก์ตกลง ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินตาม ฟ้องให้จำเลย แต่ จำเลยไม่มีเงินชำระจึงตกลง ว่าในระหว่างที่จำเลยยังไม่ ได้ ชำระค่าที่ดินงวดสุดท้ายโจทก์ให้จำเลยเช่า ที่ดินดังกล่าวโดย ชำระค่าเช่าเป็นรายปีจนกว่าจะโอน สัญญาเช่าเป็นนิติกรรมอำพราง ดังนี้ จำเลยเพียงแต่อ้างว่าจำเลยมีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทได้ ตาม สัญญา มิใช่กล่าวแก้ ข้อพิพาทด้วย กรรมสิทธิ์และการที่จำเลยให้การต่อสู้ ว่าสัญญาเช่าที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมอำพราง ก็ไม่ใช่ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่า คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2710/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องกู้ยืมที่ไม่สมบูรณ์: ประเด็นการต่อสู้เรื่องนิติกรรมอำพราง และหน้าที่การนำสืบพยานของจำเลย
ฟ้องโจทก์กล่าวอ้างสภาพแห่งข้อหาในมูลหนี้ตามสัญญากู้ยืม จำเลยให้การว่ามิได้กู้ยืมกันจริงหากแต่ทำสัญญากู้ยืมไว้เพื่อเป็นประกันหนี้ค่าก่อสร้างบ้านที่จำเลยผู้ว่าจ้างต้องชำระให้แก่สามีของโจทก์ผู้รับจ้าง ดังนี้เท่ากับจำเลยให้การปฏิเสธว่าจำเลยมิได้รับเงินตามสัญญากู้และสัญญากู้ไม่สมบูรณ์ ซึ่งตรงตามประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในชั้นชี้สองสถาน ส่วนข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากคำแถลงของโจทก์ว่า เมื่อก่อสร้างบ้านแล้วจึงทำหนังสือกู้ไว้ คงมีความหมายเพียงว่ามูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมมีที่มาจากมูลหนี้ค่าก่อสร้างบ้านเท่านั้น มิใช่เป็นการรับว่ามูลหนี้ตามฟ้องเป็นนิติกรรมอำพรางตามที่จำเลยต่อสู้ทั้งประเด็นข้อนี้ก็เกิดจากคำให้การต่อสู้ของจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงต่อไป ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมขายฝากมีผลผูกพันตามสัญญา แม้จำเลยอ้างเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง โจทก์มีสิทธิขับไล่และเรียกค่าเสียหาย
โจทก์และจำเลยต่างมอบอำนาจให้ ส. เป็นผู้ไปทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาท ส. ได้ขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินแล้วสัญญาขายฝากที่ทำขึ้นย่อมเป็นนิติกรรมที่โจทก์จำเลยมีเจตนาให้มีผลผูกพันกันตามสัญญา มิใช่มีเจตนาอำพรางแต่อย่างใด จำเลยจะอ้างว่ามีเจตนาอำพรางสัญญาจำนองหาได้ไม่.