พบผลลัพธ์ทั้งหมด 131 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนขายที่ดินในคดีล้มละลาย ต้องมีนิติสัมพันธ์เจ้าหนี้-ลูกหนี้ที่ผูกพันบังคับได้ก่อน
แม้จำเลยได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้ผู้คัดค้านที่ 1ภายในระยะเวลา 3 เดือน ก่อนที่จำเลยจะถูกฟ้องให้ล้มละลายก็ตาม แต่ปรากฏว่าจำเลยกับผู้คัดค้านที่ 1 ไม่เคยผูกนิติสัมพันธ์ที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมายมาก่อน หรือผู้คัดค้านที่ 1 ได้ชำระค่าที่ดินไปแล้ว ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้จำเลยขณะจดทะเบียนโอนขายที่ดินเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนโดยอาศัย พระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 115 มิได้(วินิจฉัยตามแนวฎีกา 854/2534 ญ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1032/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย ต้องมีนิติสัมพันธ์ระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ก่อนการโอน
การโอนที่จะต้องถูกเพิกถอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 115นั้น ต้องเป็นการโอนภายในระยะเวลา 3 เดือน ก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้นให้แก่เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วก่อนโอน และการโอนนั้นทำให้เจ้าหนี้คนอื่น ๆ เสียเปรียบที่ว่าต้องเป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วก่อนโอนนั้น หมายความว่าเจ้าหนี้กับลูกหนี้มีนิติสัมพันธ์กันมาก่อนแล้ว อันเป็นการก่อสิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ต่อไป จำเลยกับ ว. ไม่เคยมีนิติสัมพันธ์กันมาก่อนโอน ไม่ว่าจะเป็นในรูปของสัญญาจะซื้อจะขายหรือคำมั่นจะซื้อจะขาย อันจะเป็นการก่อสิทธิแก่ ว. ที่จะเรียกร้องให้จำเลยโอนขายที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่ตนได้ จึงถือไม่ได้ว่า ว. เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยอยู่แล้วก่อนโอน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนรายนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 115
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ใช้โทรศัพท์โดยไม่ทำสัญญาเช่า ไม่มีนิติสัมพันธ์กับผู้ให้บริการ จึงไม่สามารถฟ้องละเมิดได้
การฟ้องคดีฐานละเมิดอาจเกิดขึ้นได้ทั้งกรณีที่มีสัญญาและไม่มีสัญญาต่อกันแล้วแต่ว่าการกระทำละเมิดเกิดจากเหตุและกรณีใดเป็นรายกรณีไป โดยอาศัยพฤติการณ์แห่งคดีเป็นหลัก และผู้ที่มีสิทธิฟ้อง นั้นต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย หาใช่เพียงแต่เป็นผู้เสียหาย โดยพฤตินัยเท่านั้นไม่ และบางกรณีต้องเป็นผู้เสียหายตามสัญญาที่ ได้ทำไว้ต่อ กันเท่านั้น โจทก์มิได้ทำสัญญาเป็นผู้เช่าโทรศัพท์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 เป็นแต่เพียงผู้ครอบครองและใช้โทรศัพท์โดยได้รับมอบหมายมาจากบริษัท ค. เจ้าของอาคารที่โจทก์เช่าตั้งสำนักงานประกอบกิจการอยู่เท่านั้น แม้โจทก์ได้ชำระค่าเช่าและค่าบริการโทรศัพท์ให้จำเลยที่ 1 ตลอดมา ก็ถือว่าโจทก์เป็นแต่เพียง มีสิทธิใช้โดยพฤตินัยเท่านั้น หาได้มีสิทธิผูกพันกับจำเลยที่ 1 ไม่ โจทก์ยังไม่ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ให้เป็นผู้เช่าโทรศัพท์ แทนผู้เช่าเดิม การชำระค่าเช่าและค่าบริการโทรศัพท์ของโจทก์จึง เป็นการชำระแทนผู้เช่าเดิม โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลย ที่ 1จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2106/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องต้องมีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับจำเลย แม้จะร่วมกันซื้อรถยนต์ แต่หากสัญญาซื้อขายระบุเฉพาะชื่อสามี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์กับสามีร่วมกันซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลย และสามีได้ทำหนังสือให้ความยินยอมแก่โจทก์เพื่อฟ้องจำเลย แต่ปรากฏจากเอกสารเกี่ยวกับการซื้อขายรถยนต์และการโอนทะเบียนรถยนต์ว่า สามีโจทก์เท่านั้นที่ทำสัญญาเป็นผู้ซื้อรถยนต์พิพาท โจทก์มิได้มีนิติสัมพันธ์ประการใดกับจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดเกี่ยวกับการรอนสิทธิตามสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2106/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องต้องมีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับจำเลย แม้ร่วมลงทุนซื้อรถยนต์ แต่หากสัญญาซื้อขายระบุชื่อสามีฝ่ายเดียว โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์กับสามีโดยชอบด้วยกฎหมายร่วมกันออกเงินซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลย และสามีได้ทำหนังสือให้ความยินยอมแก่โจทก์เพื่อฟ้องจำเลยแต่ปรากฏจากเอกสารเกี่ยวกับการซื้อขายรถยนต์และการโอนทะเบียนรถยนต์ว่า สามีโจทก์เท่านั้นที่ทำสัญญาเป็นผู้ซื้อรถยนต์พิพาท โจทก์มิได้มีนิติสัมพันธ์ประการใดกับจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดเกี่ยวกับการรอนสิทธิตามสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4211/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติสัมพันธ์มิใช่ลูกจ้าง-นายจ้าง แม้ทำงานในสถานี โจทก์ซื้อเวลาออกอากาศ จัดรายการเอง ไม่ถือเป็นค่าจ้าง
จำเลยที่ 1 มีคำสั่งตั้งให้โจทก์เป็นเจ้าหน้าที่ของสถานีเพื่อให้โจทก์สามารถเป็นผู้จัดการสดได้เท่านั้น มิได้มีเจตนาจะทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์ และโจทก์ก็มิได้ทำงานให้แก่จำเลยที่ 1นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ฐานะลูกจ้างและนายจ้าง โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินต่าง ๆ ตามฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4211/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง: การซื้อเวลาออกอากาศ ไม่ถือเป็นค่าจ้าง
จำเลยที่ 1 มีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์ให้เป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เพื่อให้โจทก์มีสิทธิที่จะเข้าไปจัดรายการสดที่สถานีวิทยุของจำเลยที่ 1 โดยถูกต้องตามระเบียบที่กำหนดไว้เท่านั้นมิใช่เป็นการแสดงออกซึ่งเจตนาที่จะให้โจทก์เข้าไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แต่ประการใด และงานที่โจทก์ทำในสถานีของจำเลยที่ 1เป็นงานจัดรายการสดซึ่งผู้จัดรายการได้ซื้อเวลาออกอากาศของจำเลยที่ 1 ไป และเมื่อมีการซื้อเวลาออกอากาศไปแล้ว ผู้ซื้อเวลาออกอากาศจะจัดรายการออกอากาศอย่างไร จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจควบคุมการปฏิบัติงานของผู้จัดรายการ ดังนั้น งานที่โจทก์ทำโดยแท้จริงคือการจัดรายการสด ซึ่งงานนี้แม้จะทำในสถานที่ของจำเลยที่ 1 แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ขายเวลาในการจัดรายการให้ผู้ซื้อไปแล้ว งานจัดรายการจึงมิใช่งานของจำเลยที่ 1 แต่เป็นงานของผู้ที่ซื้อเวลาไป โจทก์เป็นผู้หนึ่งที่ซื้อเวลาออกอากาศไปจากจำเลยที่ 1 ดังนั้น การทำงานจัดรายการสดจึงมิใช่งานที่โจทก์ทำให้แก่จำเลยที่ 1 จึงไม่มีกรณีที่จะถือได้ว่าโจทก์ได้รับเงินจากจำเลยที่ 1เป็นการตอบแทนการทำงานอันจะถือว่าเป็นค่าจ้างตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนาทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์ และโจทก์มิได้ทำงานให้แก่จำเลยที่ 1 นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1จึงไม่ใช่ฐานะลูกจ้างและนายจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 315/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์มือสอง: สิทธิเรียกร้องโอนกรรมสิทธิ์เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่มีความสัมพันธ์กับรถ
รถคันพิพาทที่โจทก์ซื้อจากจำเลยที่ 1 เป็นของจำเลยที่ 2และจำเลยที่ 2 มิได้เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน ดังนั้น จำเลยที่ 2จึงไม่มีนิติสัมพันธ์อันใดเกี่ยวกับรถคันพิพาทกับโจทก์ การโอนทะเบียนรถยนต์อันเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจของจำเลยที่ 2 ที่จะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายกับโจทก์ได้ต่อไป สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนรถคันพิพาทเป็นชื่อของโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 340/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางนิติสัมพันธ์ที่แท้จริงในคดีล้มละลาย จำเลยมีสิทธิพิสูจน์ว่าตนเป็นเพียงตัวแทน
มูลหนี้ตามที่โจทก์นำมาฟ้องเพื่อขอให้จำเลยตกเป็นบุคคลล้มละลายนั้นเป็นกรณีซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งพี่ชายจำเลยได้อาศัยใช้ชื่อจำเลยเล่นหุ้น การที่จำเลยเข้ามาเกี่ยวข้องกับโจทก์ก็โดยในฐานะเป็นตัวแทนให้กับพี่ชาย บรรดาหนี้สินที่โจทก์อ้างมาเป็นเหตุเพื่อขอให้จำเลยตกเป็นบุคคลล้มละลายจึงหาเป็นหนี้สินค้างชำระของจำเลยโดยตรงไม่ ดังนั้นการที่จะอ้างว่าคำให้การของจำเลยไม่มีประเด็นนำสืบก็ดีหรือการนำสืบความจริงดังกล่าวฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ที่ห้ามนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารก็ดี อันเป็นการตัดรอนมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าว ย่อมขัดต่อบทบัญญัติของพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ อันเป็นกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งกำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงให้ได้ว่าจำเลยเป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงหรือไม่ จำเลยชอบที่จะเสนอพยานหลักฐานดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2043/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของรัฐวิสาหกิจในการขนส่งไปรษณีย์ และการไม่มีนิติสัมพันธ์กับผู้รับประกันภัย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 บัญญัติให้การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่กรมไปรษณีย์โทรเลขต้องบังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับสำหรับทบวงการนั้น ๆ ดังนี้ การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ฝากส่งไปรษณียภัณฑ์กับการสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติ ไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 และไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2520 ซึ่งเป็นกฎหมายและข้อบังคับที่ใช้อยู่ในขณะที่ฝากส่งไปรษณียภัณฑ์ จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ บริษัทสายการบินอลิตาเลียจำกัดจำเลยที่ 2 มีนิติสัมพันธ์เฉพาะกับจำเลยที่ 1 ตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศและอนุสัญญาสากลไปรษณีย์ และมิใช่ผู้ขนส่งหลายทอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยไปรษณียภัณฑ์ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดส.เป็นผู้ฝากส่ง จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการที่ไปรษณียภัณฑ์ดังกล่าวสูญหายไป.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)