คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บทกฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 454/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้ค่านำจับผู้กระทำผิด แม้โจทก์มิได้อ้างบทกฎหมายโดยตรง ศาลยังคงบังคับได้
ประกาศให้บำเหน็จผู้นำจับผู้กระทำผิดค่าภาษีอากร ร.ศ.121
ค่าสินบนนำจับที่โจทก์จะขอให้ศาลบังคับให้จำเลยใช้ให้นั้นโจทก์เป็นแต่เพียงมีคำขอขึ้นมาในฟ้องเท่านั้นหาจำต้องอ้างบทกฎหมายขึ้นมาด้วยไม่
สินบนนำจับเป็นโทษหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 300/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาฐานต้มกลั่นสุราเถื่อน จำเลยต้องรับโทษเฉพาะความผิดที่ระบุในฟ้องและบทกฎหมายที่ขอลงโทษเท่านั้น
ฟ้อง บรรยายฟ้อง โจทก์ฟ้องแลบรรยายฟ้องว่าจำเลยต้มกลั่นสุราเถื่อนและจับสุราเถื่อนได้ 1 ไห ขอให้ลงโทษจำเลยฐานต้มกลั่นสุราเถื่อน ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยมีสุราเถื่อน 2 ขวดเช่นนี้ จะลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องอ้างอิงบทกฎหมายหรือหลักวิชา หากเป็นความเห็นลอยๆ ศาลไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาในข้อกฎหมายที่มิได้อ้างบทกฎหมาย หรือแบบอย่างหรือหลักวิชากฎหมายอย่างใดสนับสนุนมาด้วยเป็นเพียงแต่ความเห็นลอยๆนั้นไม่พอฟังว่าเป้นฎีกาในข้อกฎหมาย ศาลไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1087/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาต้องระบุบทกฎหมายสนับสนุน หากไม่ระบุ ศาลฎีกาไม่รับพิจารณา
จำเลยต้องคำพิพากษาให้ปรับแต่ไม่ชำระค่าปรับศาลจึงออกหมายแจ้งโทษให้จำแทนไว้ ระหว่างนั้นปรากฎว่าจำเลยมีทรัพย์พอจะยึดขายเอาเงินใช้ค่าปรับได้ดังนี้ เมื่อโจทก์ร้องขอศาลมีอำนาจสั่งปล่อยจำเลยไปและจัดการยึดทรัพย์ของจำเลยขายทอดตลาดเอาเงินใช้ค่าปรับได้ การฎีกาในข้อกฎหมายนั้นไม่ต้องอ้างตัวบทกฎหมายสนับสนุนก็เป็นฎีกาที่รับไว้พิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 614/2478

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอาญา แม้ไม่ได้อ้างมาตราที่ถูกต้อง ศาลอาจลงโทษตามบทกฎหมายอื่นที่มีความผิดประเภทเดียวกันได้
ฟ้อง บรรยายฟ้อง ตัดสิน เมื่อฟ้องโจทก์พรรณาข้อความการกระทำของจำเลยอันอาจเป็นผิดตาม ม.157 แม้โจทก์จะอ้างบทของให้ลงโทษตาม ม.158 ก็เป็นความผิดประเภทเดียวกับ ม.157 ศาลอาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 157 ได้ ฉะนั้นแม้ในชั้นไต่สวน+ฟ้องศาลก็ยังต้องให้ดำเนินคดีต่อไป จะยกฟ้องเสียทีเดียวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีเดิม: แม้จะอ้างบทกฎหมายต่างกัน ก็ไม่อาจฟ้องคดีเดิมได้ หากคดีนั้นได้สิ้นสุดเด็ดขาดแล้ว
คดีที่เสร็จเด็ดขาดไปแล้ว แม้คราวก่อนอ้าง ม.338 มาคราวหลังอ้าง ม.256 ต่างกัน แต่เป็นคดีเดียวกันฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2474

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาต้องระบุข้อหาและบทกฎหมายชัดเจน การลงโทษฐานตัวการต้องอาศัยฟ้องระบุชัดเจน
หลักวินิจฉัย ฟ้อง,ตัดสิน ฟ้องว่าจำเลยทั้ง 2 ตี เขา แต่พิจารณาปรากฏว่าจำเลยคน 1 ตี อีกคน 1 โดดเข้าแทง แต่ฟ้องโจทก์มิได้กล่าวความให้ชัดเจนแลไม่อ้างกฎหมายให้ลงโทษฐานตัวการด้วยกันดังนี้จะลงโทษจำเลยคนโดดเข้าแทงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11454/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ การเพิกถอนคำชี้ขาด และการใช้ดุลพินิจปรับบทกฎหมาย
ผู้ร้องอุทธรณ์ว่า ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการซึ่งวินิจฉัยให้ผู้ร้องชำระค่าจ้างงวดที่ 18 แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ไม่เกินขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการ และคณะอนุญาโตตุลาการมีอำนาจวินิจฉัยเกี่ยวกับจำนวนค่าภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมด รวมถึงการหักจำนวนค่าภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากค่าจ้างที่ชำระ เป็นการยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดที่เป็นการขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนนั้น เป็นการโต้แย้งการวิเคราะห์พยานหลักฐานและดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานในสำนวนของคณะอนุญาโตตุลาการ และโต้แย้งการให้เหตุผลในการวินิจฉัยตีความข้อสัญญาของคณะอนุญาโตตุลาการและศาลชั้นต้น โดยไม่ปรากฏว่ามีการวินิจฉัยผิดจากวิธีพิจารณาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด อุทธรณ์ของผู้ร้องต้องห้ามเพราะมิใช่กรณียกเว้นให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (1) (2)
ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสอง กำหนดให้คู่พิพาทยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับสำเนาคำชี้ขาด หรือถ้าเป็นกรณีมีการขอให้คณะอนุญาโตตุลาการแก้ไขคำชี้ขาด ก็นับแต่วันที่คณะอนุญาโตตุลาการได้แก้ไขคำชี้ขาดแล้ว โดยไม่ได้บัญญัติว่า จะต้องเป็นการแก้ไขคำชี้ขาดในส่วนสาระสำคัญเท่านั้น แม้จะเป็นการแก้ไขคำชี้ขาดในส่วนสาระสำคัญ หรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย คู่พิพาทก็อาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะอนุญาโตตุลาการได้แก้ไขคำชี้ขาดแล้ว คดีนี้คณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดในวันที่ 8 มีนาคม 2548 แต่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอให้ตีความหรืออธิบายข้อความในคำชี้ขาดคณะอนุญาโตตุลาการมีการแก้ไขคำชี้ขาดในข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2548 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2548 ซึ่งเมื่อนับจากวันที่คณะอนุญาโตตุลาการได้แก้ไขคำชี้ขาดข้างต้นยังไม่เกินเก้าสิบวัน ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องดังกล่าวได้
ข้อพิพาทในส่วนเงินค่าจ้างงานเพิ่มเติมนอกสัญญาและค่าวัสดุก่อสร้างงานที่เพิ่มขึ้นเป็นข้อพิพาทที่สืบเนื่องจากสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้าง คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในส่วนนี้จึงหาได้เกินขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการอันจะเป็นเหตุให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดแต่อย่างใดไม่
การระงับข้อพิพาททางอนุญาโตตุลาการเกิดจากข้อตกลงตามสัญญาระหว่างคู่พิพาท โดยการดำเนินกระบวนพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการ นอกจากจะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ซึ่งบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ยังให้สิทธิแก่คู่พิพาทที่จะตกลงวิธีพิจารณากันได้ และในกรณีที่คู่พิพาทไม่ได้ตกลงกัน หรือ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น มาตรา 25 วรรคสอง และวรรคสาม ยังให้อำนาจคณะอนุญาโตตุลาการดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ได้ตามที่เห็นสมควร รวมทั้งอาจนำ ป.วิ.พ. ว่าด้วยพยานหลักฐานมาใช้โดยอนุโลม คดีนี้ชั้นพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการมีการกำหนดประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับเบี้ยปรับว่า ผู้ร้องคดีนี้มีสิทธิเรียกค่าปรับหรือไม่ เพียงใด การที่คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ส่งมอบงานแก่ผู้ร้องล่าช้า อันเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านที่ 1 ต้องชำระเบี้ยปรับแก่ผู้ร้องตามสัญญา แต่เนื่องจากผู้ร้องไม่ได้สงวนสิทธิที่เรียกเอาเบี้ยปรับในเวลารับชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 วรรคสาม จึงหมดสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับจากผู้คัดค้านที่ 1 นั้น เป็นการที่คณะอนุญาโตตุลาการใช้ดุลพินิจในการปรับบทกฎหมายกับข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ ทั้งเป็นไปตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ แม้ผู้คัดค้านที่ 1 จะไม่ได้ยกข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ร้องไม่ได้บอกกล่าวสงวนสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำคัดค้านแก้ข้อเรียกร้องแย้ง ก็หาทำให้คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น หรือเป็นคำชี้ขาดที่เกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาท อันจะเป็นเหตุให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำชี้ขาดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5592/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กฎหมายอาญาในคดีคนต่างด้าวทำงานผิดกฎหมาย: พิจารณาบทกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะกระทำผิด
พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 มาตรา 33 บัญญัติว่า "คนต่างด้าวผู้ใดทำงานฝ่าฝืนพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" ส่วน พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 ที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2551 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "คนต่างด้าวผู้ใดทำงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" และมาตรา 57 บัญญัติว่า "ให้ออกกฎกระทรวงกำหนดงานที่คนต่างด้าวอาจทำได้ตามมาตรา 7 ให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎกระทรวงตามมาตรา 7 ให้นายทะเบียนอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานใดๆ ได้ เว้นแต่งานที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521" การกระทำของจำเลยตามฟ้องยังคงถือเป็นความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ทั้งกฎหมายทั้งสองฉบับมีระวางโทษเท่ากัน จึงต้องใช้กฎหมายในขณะที่จำเลยกระทำความผิด ดังนี้ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นคนต่างด้าวทำงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยเด็ดขาด เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2550 และมีคำขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 มาตรา 6, 33 โดยยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2551 ขณะที่ พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 มีผลใช้บังคับและศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการครอบครองและจำหน่ายยาเสพติด รวมถึงการกำหนดโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่
โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดและความผิดฐานขายโดยมีไว้เพื่อขายเมทแอมเฟตามีนอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยโดยไม่ได้ปรับบทลงโทษความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดมาด้วย จึงไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง
หลังจากจำเลยกระทำความผิดได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) กำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองตั้งแต่ 20 กรัมขึ้นไป อันต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิดมาตรา 15 วรรคสอง ที่ถือว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า โดยต้องถือว่าจำเลยมีความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 67 ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่าโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 ทวิ และต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่ในส่วนเงื่อนไขที่เป็นองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เดิมเป็นคุณมากกว่า พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 ที่แก้ไขใหม่ จึงต้องใช้กฎหมายเดิมในส่วนที่เป็นบทความผิดบังคับแก่จำเลย ในส่วนโทษปรากฏว่าโทษจำคุกตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกเท่ากัน โทษปรับตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะมีระวางโทษปรับสูงกว่า โทษปรับตามกฎหมายเดิม แต่ก็เป็นการบัญญัติให้ลงโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่กำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับเท่านั้น จึงต้องถือว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่ากฎหมายเดิมในส่วนที่เกี่ยวกับโทษซึ่งมีหลายสถานที่จะลงได้ แต่โทษปรับตามกฎหมายเดิมเป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคหนึ่ง มาปรับบทลงโทษจำเลย
ความผิดฐานขายโดยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อขายตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นความผิดตามมาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง มีโทษตามมาตรา 89 แต่ข้อหาฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 100 กรัม ไว้ในครองครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิด เป็นความผิดตามมาตรา 15 วรรคสอง มีโทษตามมาตรา 66 วรรคสอง มีโทษหนักกว่าโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 จึงต้องใช้กฎหมายขณะกระทำความผิดซึ่งเป็นคุณมากกว่า และแม้ต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจะมี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่เมทแอมเฟตามีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 100 กรัมขึ้นไป กฎหมายที่แก้ไขใหม่ตามมาตรา 66 วรรคสาม บัญญัติโทษหนักกว่าโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เดิม กรณีจึงยังคงต้องใช้ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำความผิดมาปรับบทลงโทษจำเลย ตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคหนึ่ง
เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดและความผิดฐานขายโดยมีไว้เพื่อขายเมทแอมเฟตามีนเป็นจำนวนเดียวกันและเป็นการมีไว้คราวเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียว ต้องลงโทษจำเลยฐานขายโดยมีไว้เพื่อขายเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ที่เป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความทั้งสองจะไม่ได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
of 6