พบผลลัพธ์ทั้งหมด 148 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4250/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบตามกฎหมาย: ภูมิลำเนา, การส่งทางไปรษณีย์, และการให้สัตยาบัน
โจทก์มิได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทางหนังสือพิมพ์แต่เพียงอย่างเดียว แต่โจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับก่อนแล้ว การบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับนั้น โดยส่งไปยังจำเลยที่บ้านเลขที่ 10/82 แขวงบางแคเหนือ ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามที่ปรากฏในหนังสือสัญญาจำนองที่ดินและสัญญากู้เงินที่จำเลยให้ไว้แก่โจทก์การที่จำเลยย้ายทะเบียนบ้านไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 126/59 แขวงบางขุนเทียน เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2530 นั้น จำเลยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบแต่อย่างใด ทั้งเป็นการย้ายไปภายหลังที่โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับแล้ว บ้านเลขที่ 10/82จึงเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในขณะโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองเมื่อโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ แต่พนักงานไปรษณีย์ส่งให้ไม่ได้จึงทำใบแจ้งสั่งให้จำเลยไปรับไว้ และครบกำหนดแล้วจำเลยไม่ไปรับ อันเป็นการส่งตามทางการถือว่าจำเลยได้รับคำบอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ธ.ทนายความบอกกล่าวบังคับจำนองมิได้ทำเป็นหนังสือ เมื่อ ธ. ได้บอกกล่าวบังคับจำนองไปในนามของโจทก์ และโจทก์ยอมรับเอาการบังคับจำนองดังกล่าวแล้วย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 823 วรรคหนึ่ง และถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดถือแทนเจ้าของและการเปลี่ยนลักษณะการครอบครอง: การขอ สทก.1 ไม่ถือเป็นการบอกกล่าว
จำเลยอยู่ในนาพิพาทโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ ถือว่าจำเลยยึดถือนาพิพาทแทนโจทก์ การที่จำเลยไปขอให้ทางราชการออก สทก.1หรือหนังสืออนุญาตให้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินในนาพิพาทได้ชั่วคราว ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการครอบครองต่อโจทก์ แม้จำเลยจะไปขอให้ทางราชการออกหนังสือดังกล่าวช้านานเพียงใด โจทก์ก็ย่อมเรียกร้องเอานาพิพาทคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1030/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อไม่เลิกทันทีแม้ผิดนัดชำระ หากเจ้าหนี้รับชำระล่าช้าโดยไม่ทักท้วง ต้องบอกกล่าวให้ชำระก่อน
แม้สัญญาเช่าซื้อจะระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดหรือกระทำผิดสัญญาอย่างหนึ่งอย่างใดยอมให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกันทันที โดยมิต้องมีการบอกกล่าวก่อนก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าเช่าซื้อเกินกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเกือบ 1 ปี ฝ่ายโจทก์ก็ยินยอมรับไว้โดยมิได้ทักท้วง แสดงว่าในทางปฏิบัติคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นข้อสำคัญ ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ชำระค่าเช่าซื้อตามกำหนดในสัญญา จะถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดผิดสัญญาและสัญญาเช่าซื้อเลิกกันไม่ได้ ในกรณีนี้หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาโจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดเวลาที่สมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เสียก่อน หนังสือเตือนให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้และส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ไม่เป็นหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมมีสิทธิแบ่งทรัพย์สินร่วม แม้มีวัตถุประสงค์ให้ครอบครองร่วมกัน และการครอบครองปรปักษ์ต้องมีการบอกกล่าว
เจ้าของที่ดินยกที่ดินให้แก่บุตรทั้งหกถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันโดยไม่มีวัตถุประสงค์จะให้เป็นเจ้าของรวมกันมีลักษณะเป็นการถาวรอันจะแบ่งแยกกันไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1363 วรรคแรก โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของเจ้าของรวมคนหนึ่งจึงมีสิทธิฟ้องขอให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินแปลงพิพาทได้ ที่ดินพิพาทใส่ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมทุกคนไว้โดยไม่ได้มีการตกลงแบ่งแยกกันเป็นสัดส่วนในระหว่างเจ้าของรวม การถือครองที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมเป็นการครอบครองแทนเจ้าของรวมคนอื่นที่มิได้อยู่อาศัยในที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 จะอ้างการครอบครองปรปักษ์ไม่ได้จนกว่าจะได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1381 เสียก่อน เมื่อไม่ได้แสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือแก่เจ้าของรวมคนอื่นว่าจะยึดถือครอบครองเป็นของตนจำเลยที่ 1 ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ครอบครอง โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่แบ่งส่วนกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทให้โจทก์ ปัญหามีเพียงว่า โจทก์มีสิทธิเรียกให้แบ่งส่วนของตนได้หรือไม่ ข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 ครอบครองบ้านและโรงรถอยู่จะได้ภารจำยอมในที่ดินพิพาทส่วนที่ปลูกสร้างนั้นหรือไม่ ไม่เป็นประเด็นพิพาทในคดี เพราะว่าภารจำยอมไม่ถูกกระทบกระเทือนจากการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1393,1394
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ไม่ทำให้ฟ้องไม่สมบูรณ์ สัญญาค้ำประกันมีผลผูกพันแม้ไม่บอกกล่าว
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ไม่มีกฎหมายบังคับว่าเป็นเอกสารที่จะต้องแนบมาพร้อมกับคำฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 และตราสารที่ไม่ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 ก็มีผลเพียงว่าจะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้เท่านั้น ดังนั้น แม้ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจะมิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรก็ไม่มีผลทำให้ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ ในระหว่างที่เป็นลูกจ้างโจทก์จำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติหน้าที่ก่อให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำนวนหนึ่ง ขอให้จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ เช่นนี้เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วส่วนข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายเมื่อใด และค่าเสียหายแต่ละรายการเป็นจำนวนเท่าใดนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม เหตุที่จำเลยที่ 1 ต้องทำสัญญารับผิดชดใช้ความเสียหายให้แก่โจทก์เพราะจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องในระหว่างเป็นลูกจ้างโจทก์ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันเป็นผลโดยตรงจากการปฏิบัติตามสัญญาจ้าง ซึ่งตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 เข้าผูกพันตนยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1ดังกล่าว และตามสัญญาค้ำประกันก็ไม่มีข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ไว้ว่า หากจำเลยที่ 1 ทำสัญญารับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ โจทก์จะต้องบอกกล่าวหรือได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 ก่อนแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การที่จำเลยไม่ได้ยกข้อต่อสู้เรื่องการบอกกล่าวทวงถามในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นนี้
ข้อที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์ยังไม่ได้บอกกล่าวทวงถามจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงยังไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง นั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ยกข้อนี้ขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ และปัญหาดังกล่าวมิใช่เรื่องที่เกี่ยวด้วยความสงบ เรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2792/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนลักษณะการยึดถือครอบครองที่ดินจากแทนกันเป็นเพื่อตน ต้องบอกกล่าวภายใน 1 ปี มิฉะนั้นสิทธิเรียกคืนจะเกิดขึ้น
จำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งของผู้ตายได้ยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทผู้ตายเช่นกัน หากจำเลยจะยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตน จำเลยจะต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือมาเป็นการยึดถือครอบครองเพื่อตนไปยังโจทก์ทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ก่อนจำเลยได้ยื่นคำคัดค้านการขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ทั้งสามต่อเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อเดือนสิงหาคม 2522 แต่โจทก์ทั้งสามไม่ทราบถึงการยื่นคำคัดค้านดังกล่าว ต่อมาเดือนพฤษภาคม 2529 เจ้าหน้าที่ที่ดินได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทั้งสามไปรับ น.ส.3 ก. โจทก์ทั้งสามไปรับแต่จำเลยไปคัดค้านไม่ยอมให้รับอ้างว่าที่ดินเป็นของจำเลยถือได้ว่าเดือนพฤษภาคม 2529 จำเลยได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือมาเป็นการยึดถือครอบครองเพื่อตน ซึ่งนับถึงวันที่ฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี โจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากจำเลยได้ ตามมาตรา 1375 จะนำอายุความตามมาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินไม่มีกำหนดเวลาชำระ และอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องบอกกล่าว
เมื่อการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์จำเลยตามสัญญาไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคแรก และมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระหนี้โดยไม่จำต้องบอกกล่าว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 652 ก่อนได้ จำเลยฎีกาว่า จำเลยขอถือเอาอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดที่จำเลยได้หยิบยกเอามาบรรยายไว้ในฎีกาในเบื้องต้นเป็นฎีกาส่วนหนึ่งของจำเลยปรากฏตามคำฟ้องฎีกาของจำเลยเพียงว่า จำเลยได้หยิบยกเอาข้อความที่จำเลยอุทธรณ์ขึ้นมากล่าวว่าจำเลยอุทธรณ์ว่าอย่างไรศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าอย่างไร โดยจำเลยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดข้อไหน อย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงินไม่กำหนดเวลาชำระ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้ทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าว
สัญญากู้ยืมเงินไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ โจทก์ผู้ให้กู้ย่อมจะเรียกให้จำเลยผู้กู้ชำระหนี้ได้โดยพลัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203 วรรคแรก และมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระหนี้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 652 ก่อนก็ได้ จำเลยเพียงแต่ยกเอาข้อความที่จำเลยอุทธรณ์ขึ้นมากล่าวในคำฟ้องฎีกาว่าจำเลยอุทธรณ์ว่าอย่างไร ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าอย่างไรแต่จำเลยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดข้อไหนอย่างไร เป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 520/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของทนายความต่อความเสียหายจากความบกพร่องในการจดวันนัด และการไม่จำเป็นต้องบอกกล่าว ก่อนฟ้องคดี
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 เป็นทนายความว่าต่าง จำเลยที่ 1มอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นทนายความดำเนินคดีแทน ถึงวันนัดจำเลยที่ 2 ไม่ไปศาลเพราะจดวันนัดผิด ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีดังนี้เพื่อความไม่ประมาท จำเลยที่ 2 จะต้องจดวันนัดสืบพยานจากรายงานกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ การที่จำเลยที่ 2 จำวันนัดสืบพยานผิดพลาดจึงเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 2เอง หาได้เกิดจากเหตุสุดวิสัยไม่ การฟ้องคดีนี้ไม่มีบทกฎหมายใดที่บังคับให้โจทก์ต้องบอกกล่าวแก่จำเลยก่อนฟ้อง ดังนั้น โจทก์จะบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ ก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด.