คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บังคับตามสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5253/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การบังคับให้ร่วมลงลายมือชื่อถอนเงินตามสัญญา
โจทก์จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันศาลมีคำพิพากษาตามยอม โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยอมชำระเงินให้โจทก์ 14 ล้านบาท ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2531 ชำระเป็นแคชเชียร์เช็ค 7 ล้านบาท ส่วนอีก 7 ล้านบาท โจทก์และจำเลยที่ 2จะนำไปฝากประจำธนาคารภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2531 โดยโจทก์และจำเลยที่ 2 จะลงชื่อร่วมกันเป็นผู้ฝาก และการถอนต้องลงลายมือชื่อโจทก์และจำเลยที่ 2 ร่วมกัน ไม่ปรากฏว่าคู่กรณีมีความประสงค์ให้โจทก์ต้องแจ้งจุดประสงค์ในการใช้เงินให้จำเลยที่ 2 ทราบเพื่อให้จำเลยที่ 2 เข้ามาควบคุมการใช้เงินของโจทก์ จำเลยที่ 2 ปฏิเสธไม่ยอมร่วมลงลายมือชื่อกับโจทก์ในการถอนเงินจากธนาคารโดยอ้างว่าโจทก์มิได้แจ้งจุดประสงค์ในการใช้เงินให้จำเลยที่ 2 ทราบหาได้ไม่ดังนี้ ศาลมีอำนาจสั่งบังคับว่าหากจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามนั้นให้ถือเอาคำสั่งศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 2 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5253/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการถอนเงินจากบัญชีร่วม ศาลมีอำนาจสั่งให้ถือคำสั่งศาลแทนเจตนาจำเลย
ศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมและจำเลยได้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ คือได้ร่วมกับโจทก์นำเงินไปเปิดบัญชีเงินฝากที่ธนาคารให้โจทก์ 7 ล้านบาท โดยตกลงกันว่า เมื่อโจทก์ประสงค์จะถอนเงินดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ จำเลยจะต้องร่วมลงลายมือชื่อถอนเงินนั้น เมื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้มีข้อความที่แสดงว่าคู่กรณีตกลงให้จำเลยควบคุมการใช้เงินของโจทก์ ดังนี้ จำเลยจะไม่ยอมลงลายมือชื่อถอนเงินโดยอ้างว่าโจทก์มิได้แจ้งจุดประสงค์ในการใช้เงินให้จำเลยทราบตามเจตนารมณ์ของสัญญาประนีประนอมยอมความหาได้ไม่ และกรณีนี้จำเลยจะต้องชำระหนี้ด้วยการร่วมลงลายมือชื่อกับโจทก์ถอนเงินจากธนาคาร อันเป็นการทำนิติกรรมอย่างหนึ่งศาลจึงมีอำนาจสั่งบังคับว่าหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำสั่งศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยได้ ไม่เป็นการสั่งนอกเหนือไปจากสัญญาประนีประนอมยอมความหรือเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมคำพิพากษาตามยอม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3761-3765/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและการบังคับตามสัญญา แม้เจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่อาจจัดการให้เช่าต่อได้ การฟ้องขับไล่จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
สัญญาเช่าระบุว่า "เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า 12 ปี นับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป ต้องให้ผู้เช่ามีสิทธิเช่าต่อไปอีก และทำสัญญากับกรมวิสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยตรงต่อไป" ข้อสัญญานี้เป็นคำมั่นที่ผูกพันโจทก์ผู้ให้เช่าฝ่ายเดียวที่จะต้องให้จำเลยผู้เช่ามีสิทธิเช่าต่อไป เมื่อปรากฏว่าก่อนสัญญาเช่าครบกำหนด จำเลยแจ้งความประสงค์ที่จะเช่าต่อ กรณีย่อมบังคับกันได้ตามสัญญา โจทก์ต้องให้จำเลยมีสิทธิเช่าต่อไป แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่ากรรมสิทธิในตึกพิพาทเป็นของโจทก์ และโจทก์ไม่อาจจัดการให้จำเลยเช่ากับกรมวิสามัญศึกษาโดยตรงได้ โจทก์ก็คงผูกพันตามสัญญาที่จะต้องให้จำเลยมีสิทธิเช่าตึกพิพาทต่อไปตามเงื่อนไขและข้อสัญญาเดิมโดยไม่มีกำหนดเวลาเช่า เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดโจทก์กลับฟ้องขับไล่จำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3187/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงที่ดินหลังชำระค่าซื้อครบถ้วน ผู้ขายถึงแก่ความตาย ผู้ซื้อมีสิทธิฟ้องบังคับให้โอนกรรมสิทธิ์
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับผู้ตายและได้ชำระเงินให้ผู้ตาย ให้โอนที่ดินทั้งหมดให้โจทก์ ทั้งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิยึดหน่วงในที่ดินพิพาทไว้จนกว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ได้ แม้ผู้ตายจะตายเกิน 1 ปี เมื่อโจทก์ฟ้องคดีก็ไม่ห้ามโจทก์ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงจะใช้สิทธิบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189 และ 241

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1345/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้จากการซื้อขายรถยนต์และการกู้ยืมเงิน การบังคับตามสัญญากู้และการพิพากษาค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์และทำสัญญากู้ตามฟ้อง มูลหนี้จะเป็นการกู้ยืมเงินสดหรือเงินที่ค้างชำระในการซื้อขายรถยนต์ก็เป็นหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมายศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้นั้นได้ ไม่เป็นการนอกฟ้อง ดอกเบี้ยก่อนทำสัญญากู้ที่ตกลงกันให้คิดจากค่างวดที่ค้างชำระตามสัญญาซื้อขายนั้นมีลักษณะเป็นค่าเสียหาย ไม่ใช่ดอกเบี้ยจากการกู้ยืม จึงไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา การนำสืบการใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคสองนั้นหมายถึงต้นเงิน ไม่หมายความถึงดอกเบี้ย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ โจทก์มิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ ทั้งมิได้มีคำขอมาในอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ได้ เพราะการที่ศาลจะให้ฝ่ายใดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมนั้นเป็นดุลพินิจของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด และแม้คู่ความอีกฝ่ายจะมิได้ขอ ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3045/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการแบ่งที่ดินรวม: ผลผูกพันและการบังคับตามสัญญา
โจทก์กับจำเลยทั้งสามได้ทำบันทึกข้อตกลงแบ่งส่วนที่ดินของตนที่มีอยู่ในที่ดินออกจากกัน จำนวน 3 แปลง แบ่งที่ดินทางทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก แปลงที่ 1 เป็นของจำเลยที่ 2 แปลงที่ 2 ถัดจากแปลงที่ 1 มาทางทิศใต้ เป็นของโจทก์ แปลงที่ 3 เป็นของจำเลยที่ 1 แปลงคงเหลือเป็นของจำเลยที่ 3 ส่วนเนื้อที่จะแจ้งในวันไปรังวัดและยังมีเอกสารซึ่งเป็นรูปจำลองแผนที่ มีรอยขีดเส้นแบ่งที่ดินออกเป็น4 ส่วน เขียนชื่อโจทก์ในบริเวณที่ดินด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ชื่อจำเลยที่ 3 ในบริเวณที่ดินด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสามลงชื่อรับรองเอกสารและรูปแผนที่ดังกล่าวไว้ด้วย เมื่อโจทก์กับจำเลยทั้งสามมีกรรมสิทธิ์รวมกันในที่ดินพิพาทการกำหนดลงไปในเอกสารทั้งสองฉบับว่า ผู้ใดได้ที่ดินส่วนใดย่อมเป็นการระงับข้อพิพาทอันจะมีขึ้นให้เสร็จไปเพราะเป็นการตกลงเพื่อให้เป็นที่แน่นอนไม่โต้เถียงแย่งกันเอาที่ดินส่วนนั้นส่วนนี้ ทั้งตามข้อตกลงก็ระบุว่าจะนำช่างรังวัดทำการปักหลักเขตแสดงว่ามีการตกลงกันแน่นอนแล้วมิฉะนั้นก็ย่อมจะนำช่างรังวัดที่ดินเพื่อแบ่งแยกมิได้และหลังจากรังวัดแล้วจึงจะรู้เนื้อที่ของแต่ละคนเป็นที่แน่นอนเอกสารดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงฟ้องแย้งขอให้บังคับให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้
ฟ้องแย้งเป็นเรื่องจำเลยขอให้บังคับโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยด้วยกันมิได้ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 178.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2726/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงานกำหนดอายุพ้นหน้าที่ ศาลฎีกายืนตามสัญญา ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าการเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมหรือเทียบเท่า ศาลฎีกาพิพากษายืน เมื่อสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยข้อ 3 กำหนดว่าลูกจ้างจะต้องพ้นหน้าที่เมื่อมีอายุ 30 ปีบริบูรณ์ กรณีจึงต้องอยู่ในบังคับตามความในข้อ 3 ของสัญญาจ้างดังกล่าวอันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างด้วย จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2529 โจทก์มีอายุครบ 30 ปีบริบูรณ์วันที่ 23 เมษายน 2529 ในชั้นบังคับคดี ขณะนั้นโจทก์มีอายุเกิน 30 ปีแล้ว จำเลยได้มีคำสั่งที่ 08/2530 ให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2529 ถึงวันที่โจทก์มีอายุครบ 30 ปีบริบูรณ์ กับได้จ่ายค่าจ้างในช่วงเวลาดังกล่าวให้แก่โจทก์โดยนำมาวางศาลดังนี้ ถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาครบถ้วนและถูกต้องแล้ว การบังคับคดีเป็นอันสิ้นสุด ที่โจทก์จำเลยได้ทำข้อตกลงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2530 เป็นเรื่องนอกเหนือจากคำพิพากษา ไม่อาจนำมาบังคับในคดีนี้ได้.(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 397/2524)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4476/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์เป็นสัญญากู้ยืมเงิน และการฟ้องร้องบังคับตามสัญญากู้ยืม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ไปตามสัญญากู้เงินต่อมาจำเลยได้นำเงินที่ได้จากการขายหุ้น เงินปันผล และเงินสดมาชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนนับถึงวันที่ 11 กันยายน 2523 จำเลยชำระเงินต้นให้โจทก์ 831,333 บาท 67 สตางค์ กับดอกเบี้ยอีก 583,642 บาท 99 สตางค์ ซึ่งโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยให้ชำระเงินต้นส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยตามเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องซึ่งได้ระบุยอดเงินต้นที่ค้างตรงตามฟ้อง คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 พอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีและสามารถต่อสู้คดีได้แล้ว ส่วนข้อที่ว่ายอดเงินที่จำเลยชำระคืนบางส่วนเป็นเงินเท่าใด เป็นเงินอะไร และมีการชำระเงินเมื่อใดนั้น เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบต่อไป หาจำต้องบรรยายในคำฟ้องไม่ จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์และได้ชำระเงินคืนบางส่วนแล้วจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ที่เหลือให้โจทก์ จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้เงินโจทก์และไม่ได้รับเงินตามฟ้อง ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในคำพิพากษาโดยตั้งประเด็นพิพาทว่า จำเลยกู้เงินโจทก์หรือไม่และจะต้องรับผิดเพียงใดนั้น ย่อมมีความหมายทำนองเดียวกับประเด็นเดิมที่ตั้งไว้ในชั้นพิจารณาที่ว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินและรับเงินไปตามฟ้องหรือไม่ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องแต่อย่างใด และไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นหรือขยายประเด็นเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญากู้เงินตามฟ้องมีมูลหนี้มาจากการซื้อขายหลักทรัพย์ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่จากหนี้ซื้อขายหลักทรัพย์มาเป็นหนี้เงินกู้ เป็นการวินิจฉัยถึงที่มาแห่งการทำสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์จำเลย จึงไม่ถือเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องแต่อย่างใด
จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพื่อนำไปซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ฯ จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 3,500,000 บาทเศษ จำเลยจึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ ดังนี้การทำสัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นการแปลงหนี้ใหม่อันชอบด้วยกฎหมาย จึงบังคับตามสัญญากู้ยืมเงินได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินต้น 2,760,896.67 บาทกับดอกเบี้ยอีก 864,221.48 บาท ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยชำระ เฉพาะเงินต้น อันเป็นหนี้ส่วนใหญ่ที่จำเลยค้างชำระ ดังนี้ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมโดยกำหนดค่าทนายความเป็นเงิน 10,000 บาทแทนโจทก์ และศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์เป็นเงิน 6,000 บาท จึงเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อที่ไม่ใช่การฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์โดยตรง
คำฟ้องที่ขอให้โอนชื่อในทะเบียนรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยมาเป็นของโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อ เป็นการขอบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญา มิได้บังคับเอาแก่ตัวทรัพย์ หรือสิทธิหรือประโยชน์อันเกี่ยวกับทรัพย์พิพาทนั้นโดยตรง จะฟ้องต่อศาลที่ทรัพย์พิพาทนั้นตั้งอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4(1) หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการ, สัญญา, การปฏิเสธสิทธิ, การสละประโยชน์, การบังคับตามสัญญา
การเป็นหม้ายเป็นเพียงรายละเอียดข้อเท็จจริง มิใช่สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับหรือข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่ง ข้อหา แม้โจทก์จะมิได้ระบุไว้ในคำฟ้องและหนังสือมอบอำนาจ โจทก์นำสืบได้ว่าโจทก์เป็นหม้าย หาเป็นการนำสืบนอกฟ้องแต่อย่างใดไม่
ฎีกาของจำเลยที่มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สัญญามัดจำก่อสร้างมีข้อความระบุว่า ป. ทำสัญญาในฐานะที่เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย มิใช่ทำในนามของตนเอง แม้อำนาจกรรมการของบริษัทจำเลยที่จดทะเบียนไว้จะต้องมีกรรมการสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท เมื่อ ป. เป็นกรรมการและคณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้ ป. เป็นผู้จัดการบริษัทจำเลย ป. แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจ ทำสัญญาแทนจำเลย ทั้งบริษัทจำเลยก็ยอมรับเอาผลแห่งการกระทำของ ป. ตลอดมาเพื่อจะอ้างว่า ป. ไม่มีอำนาจ หลังจากที่มีการเปลี่ยนกรรมการใหม่จึงไม่มีผลลบล้างสัญญาที่ทำไว้แล้ว สัญญาดังกล่าวจึงผูกพันจำเลย
จำเลยปฏิเสธสิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่ตามสัญญาตลอดมา ตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องและเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยแล้ว จำเลยก็ยังคงให้การปฏิเสธสิทธิของโจทก์อยู่เช่นเดิม ดังนั้น ไม่ว่าตามสัญญาจะมีเงื่อนเวลาอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นประโยชน์แก่จำเลยถือได้ว่าจำเลยสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
of 11