คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บัญชี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายเช็คเมื่อธนาคารจ่ายเงินเกินบัญชี และข้อยกเว้นความรับผิดของธนาคารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เช็คที่จำเลยออกให้ ส. ไม่ใช่เช็คขีดคร่อม กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 997 วรรค 3 ซึ่งบัญญัติยกเว้นความรับผิดของธนาคารไว้ เมื่อธนาคารได้จ่ายเงินตามเช็คไปโดยสุจริตและปราศจากความประมาทเลินเล่อและแม้เงินในบัญชีของจำเลยจะมีไม่พอจ่ายก็ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 991 ก็หาได้บังคับโดยเฉียบขาดมิได้ให้ธนาคารจ่ายเงินเกินบัญชีของผู้เคยค้าไม่ ดังนั้น จำเลยต้องรับผิดต่อธนาคารโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จัดการร้านสหกรณ์ต่อความเสียหายจากการปล่อยปละละเลยในการขายสินค้าและข้อผิดพลาดในการทำบัญชี
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการร้านสหกรณ์โจทก์ตามสัญญาจ้างปล่อยปละละเลยให้มีการขายบุหรี่โดยไม่ได้รับชำระราคากรณีดังนี้ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการบกพร่องอย่างร้ายแรงจนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นการประพฤติผิดสัญญาจ้าง โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับจำนองจากทรัพย์จำนองอันเป็นประกันค่าเสียหายนั้นได้
ร้านสหกรณ์โจทก์ได้จ่ายเงินค่าสินค้าไปแล้ว แต่หาได้มีการลงบัญชีรับสินค้าไว้ไม่ แสดงว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการอาจไม่ได้นำสินค้าเข้าร้านสหกรณ์ก็ได้ สินค้าบางรายการลงบัญชีจ่ายเงินซ้ำสองครั้ง เงินสดคงเหลือตามบัญชีจึงผิดไปจากความเป็นจริงร้านสหกรณ์โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายจากการจัดทำบัญชีขัดกับใบสำคัญ ซึ่งทำให้มีการจ่ายเงินไปโดยไม่มีความจำเป็นจะต้องจ่าย จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องเหล่านี้อย่างบกพร่องอันจะต้องชดใช้ค่าเสียหายด้วยดุจกันจำเลยที่ 1 จะอ้างว่าเป็นความผิดพลาดของสมุหบัญชีที่ไม่ลงบัญชีให้ถูกต้อง ซึ่งไม่ใช่ความผิดของตนนั้น ย่อมเถียงไม่ขึ้นเพราะเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องควบคุมสอดส่องการทำบัญชีของร้านสหกรณ์ให้เป็นไปตามข้อบังคับโดยใกล้ชิด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 ไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนผู้จำนองอาจตกลงกับผู้รับจำนองเป็นประการอื่นพิเศษนอกเหนือจากที่มาตรา 733 บัญญัติไว้ ก็ย่อมกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการซ่อมรถและซื้อเครื่องอะไหล่: สิทธิเรียกร้องเริ่มนับจากวันที่ปิดบัญชี
จำเลยได้เปิดบัญชีค่าซ่อมรถรวมทั้งค่าเครื่องอะไหล่รถกับโจทก์ตั้งแต่ 28 กันยายน 2509 ตลอดมาจนถึงวันที่ 10พฤศจิกายน 2510โจทก์จึงปิดบัญชีคิดเงิน สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้ดังกล่าวมีกำหนดอายุความ 2 ปี และโจทก์ชอบที่จะใช้บังคับได้ตั้งแต่วันถัดจากวันปิดบัญชีเป็นต้นไป เมื่อไม่ปรากฏว่าหลังจากนั้นจำเลยได้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องนั้น และเมื่อนับถึงวันฟ้องมีระยะเวลาเกินกว่า 2 ปีแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดและดอกเบี้ย: การคิดดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา
การที่ลูกค้าผู้เปิดบัญชีฝากเงินประเภทกระแสรายวันไว้กับธนาคารพาณิชย์และได้ทำการเดินสะพัดทางบัญชีโดยนำเงินฝากและถอนเงินไปใช้เรื่อยมาภายหลังลูกค้ามีเงินฝากเหลืออยู่ในบัญชีเพียงเล็กน้อยจึงได้ตกลงกับธนาคารนั้นขอกู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นรายเดือนตามประเพณีธนาคารแล้วได้เบิกเงินเกินบัญชีเพื่อลดหนี้บ้าง ดังนี้ หาเข้าลักษณะการกู้ยืมเงินไม่แต่เข้าลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัดซึ่งไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
คู่สัญญามิได้ตกลงกันไว้ว่า จะต้องชำระเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีเมื่อใดสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมเป็นอันสิ้นสุดเลิกกันเมื่อธนาคารทวงถามให้ชำระหนี้
เมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกันแล้ว ระยะเวลาต่อจากนั้นธนาคารจะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกหาได้ไม่ คงคิดได้เฉพาะดอกเบี้ยตามปกติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1738/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คเบิกเงินเกินบัญชี: เช็คยังใช้ได้แม้ไม่มีเงินในบัญชีหากมีสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี
จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคาร แม้ภายหลังจำเลยไม่มีเงินเหลืออยู่ในบัญชีเลยก็ตาม แต่จำเลยก็ยังออกเช็คสั่งจ่ายเงินไม่เกินสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีได้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจึงเท่ากับเงินที่จำเลยฝากไว้ในบัญชีของจำเลยนั่นเอง การที่ธนาคารไม่จ่ายเงินตามเช็คของจำเลยเพราะจำเลยสั่งห้ามธนาคารไม่ให้จ่าย กรณีจึงไม่ใช่เรื่องจำเลยออกเช็คโดยในขณะที่ออกไม่มีเงินอยู่ในบัญชี หรือออกเช็คให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในเวลาที่ออกเช็คนั้นแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกความผิดทางภาษี: ลงบัญชีไม่ครบถ้วน (มาตรา 190) กับไม่ทำบัญชีเลย (มาตรา 197) และอำนาจฟ้อง
เจ้าหน้าที่สรรพากรได้มีคำสั่งบังคับให้โจทก์เสียภาษีโภคภัณฑ์และเงินเพิ่มจนถึงกับจะยึดทรัพย์ของโจทก์เพื่อเอาชำระค่าภาษีนั้น นับว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของโจทก์แล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องศาลได้
ประมวลรัษฎากรมาตรา 190 เป็นบทความผิดสำหรับผู้ค้าโภคภัณฑ์ที่มีโภคภัณฑ์หรือเกินบัญชี ภ.ภ. 11 คือ ลงบัญชีไว้ไม่ครบถ้วน ส่วนมาตรา 197 เป็นบทความผิดผู้ที่ไม่ทำบัญชี ภ.ภ. 11 หรือทำแล้วไม่เก็บบัญชีไว้ 5 ปี ซึ่งมีโทษทั้งปรับทั้งจำ เป็นการแยกความผิดฐานลงบัญชีไม่ครบถ้วน กับการไม่ทำบัญชีเสียเลยให้มีโทษหนักเบาต่างกัน
โจทก์ได้สั่งโภคภัณฑ์เข้ามาเป็นคราว ๆ และได้ลงบัญชี ภ.ภ. 11 แล้ว แต่คราวสุดท้ายไม่ลงบัญชีเลยดังนี้ ไม่ใช่เรื่องลงบัญชีไม่ครบอันเป็นเหตุให้มีโภคภัณฑ์ขาดหรือเกินจากบัญชีตามประมวลรัษฎากรมาตรา 190 ต้องถือว่าไม่ได้ทำบัญชีตามมาตรา 197 เจ้าพนักงานจึงเรียกเก็บภาษีและเงินเพิ่มจากโจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานภาษีโภคภัณฑ์: การลงบัญชีไม่ครบถ้วนกับไม่ทำบัญชี มีความแตกต่างกันทางโทษ
เจ้าหน้าที่สรรพากรได้มีคำสั่งบังคับให้โจทก์เสียภาษีโภคภัณฑ์และเงินเพิ่มจนถึงกับจะยึดทรัพย์โจทก์เพื่อเอาชำระค่าภาษีนั้น นับว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของโจทก์แล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องศาลได้
ประมวลรัษฎากร มาตรา 190 เป็นบทความผิดสำหรับผู้ค้าโภคภัณฑ์ที่มีโภคภัณฑ์ขาดหรือเกินบัญชี ภ.ภ.11 คือลงบัญชีไว้ไม่ครบถ้วนส่วน มาตรา 197 เป็นบทความผิดผู้ที่ไม่ทำบัญชี ภ.ภ.11 หรือทำแล้วไม่เก็บบัญชีไว้ 5 ปี เป็นการแยกความผิดฐานลงบัญชีไม่ครบถ้วน กับการไม่ทำบัญชีเสียเลยให้มีโทษหนักเบาต่างกัน
โจทก์ได้สั่งโภคภัณฑ์เข้ามาเป็นคราวๆ และได้ลงบัญชีภ.ภ.11 แล้ว แต่คราวสุดท้ายไม่ลงบัญชีเลย ดังนี้ ไม่ใช่เรื่องลงบัญชีไม่ครบถ้วนอันเป็นเหตุให้มีโภคภัณฑ์ขาดหรือเกินจากบัญชี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 190 แต่ต้องถือว่าไม่ได้ทำบัญชีตาม มาตรา 197 เจ้าพนักงานจึงเรียกเก็บภาษีและเงินเพิ่มจากโจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานทุจริต ยักยอกเงิน และปลอมแปลงบัญชีรับจ่าย
คำบรรยายฟ้องคดีอาญาฐานเจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่ยักยอกเงินที่ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะได้บรรยายความถึงหน้าที่และการกระทำผิดไว้โดยละเอียดพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี
จำเลยรับราชการตำแหน่งตรวจคนเข้าเมือง มีหน้าที่รับเงินค่าล่วงเวลาในการไปตรวจควบคุม และ รอคอยพาหนะ รับเงินแล้วยักยอกเอาเป็นประโยชน์ส่วนตน เสียโดยมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ให้นำส่ง ผิดตาม ม. 131 ไม่ใช่ ม. 319 (3)
การที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีตำแหน่งที่ทำหนังสือราชการและจดทะเบียนบัญชี จำเลยบังอาจจดแจ้งข้อความลงในทะเบียน บัญชีเองอันเป็นเท็จ ผิดตาม ม.230 ไม่ใช่ ม.225, 229

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีภาษี และความผิดฐานสมรู้ร่วมคิดในคดีบัญชี การยกฟ้องจำเลยที่ 2
จำเลยผู้ทำการโรงสีไม่ได้ทำบัญชีข้าวและข้าวเปลือกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 201 อันมีโทษตาม มาตรา 208แต่ขณะพิจารณาคดีได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 บังคับแล้ว พระราชบัญญัตินี้ได้ยกเลิกและบัญญัติเรื่องการทำบัญชีข้าวและข้าวเปลือกใหม่ตาม มาตรา 40 โดยแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร มาตรา 87ทวิขึ้นใหม่และมีบทลงโทษตาม มาตรา 93 ซึ่งมีโทษเบากว่า การกระทำของจำเลยจึงต้องนำ มาตรา 87ทวิและ มาตรา 93 มาใช้บังคับและต้องนำอายุความสำหรับบทลงโทษ ตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะพิจารณาคดีซึ่งมีโทษเบากว่ามาใช้บังคับแก่คดีด้วย
หน้าที่ทำบัญชีตาม พระราชบัญญัติบัญชีนั้นเป็นหน้าที่เฉพาะบุคคลตามที่ระบุไว้ใน พระราชบัญญัติการบัญชี มาตรา 7บุคคลอื่นที่ไม่มีหน้าที่ทำบัญชีจะเรียกว่าเป็นผู้ละเว้นกระทำไม่ได้ และจะช่วยสมรู้หรือสมคบในการไม่กระทำตามหน้าที่ของคนอื่นก็ไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ผู้เดียว โจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานสมรู้กระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกาถ้าเป็นเหตุในลักษณะคดีแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาให้เป็นผลดีแก่จำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตและการมีปืนไว้นอกบัญชีของผู้ค้าอาวุธปืน
ผู้ได้รับอนุญาตให้ค้าอาวุธปืน รับซื้อปืนจากเจ้าของผู้ได้รับอนุญาตให้มีไว้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้วเมื่อชำระเงินกันเสร็จแล้วรับปืนที่ซื้อนั้นไว้ ในร้านแล้วดำเนินการทำคำร้องขออนุญาตโอนต่อนายทะเบียนแต่ถูกเจ้าพนักงานจับปืนราย+เสียก่อน ต่อมาจึงได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมตำรวจให้โอนได้ ดังนี้ย่อมถือว่าผู้รับซื้อ "มี" ปืนไว้ในความครอบครอง โดยมิได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ก่อน มีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ 2490 มาตรา 7, 72 และ+ผิดฐานมีปืนไว้นอกบัญชีตาม+กำหนดไว้ในกฎกระทรวงตามมาตรา 28, 81 ด้วย
of 8