คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บิดา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 102 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำว่า 'บิดา' ในประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337: ต้องเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 ลงวันที่ 13ธันวาคม 2515 มีความว่า 'ให้ถอนสัญชาติไทยของบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือมารดาเป็นคนต่างด้าว ฯลฯ' คำว่า 'บิดา' ดังกล่าวน่าจะหมายถึงบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งจะเห็นได้ว่า คำว่า 'บิดา'ที่ใช้ในพระราชบัญญัติสัญชาติฯ มาตรา 7,8,14,15,17,21 และ 24 ซึ่งมีความหมายถึงบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายก็ไม่ได้ระบุใช้คำว่า 'บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย' ไว้แต่อย่างใด เว้นแต่กรณีใดประสงค์จะเน้นให้แตกต่างจากบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงจะบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งเช่นในมาตรา 18 ที่ระบุว่า มารดาเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นต้น ดังนั้นคำว่าบิดาเป็นคนต่างด้าวตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวจึงหมายความถึงว่าบิดาที่เป็นคนต่างด้าวจะต้องเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของบิดาต่อการกระทำละเมิดของผู้เยาว์ และขอบเขตความรับผิดของตัวการ
แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาจะเคยห้ามปรามจำเลยที่ 1ผู้เป็นบุตรผู้เยาว์ไม่ให้เอารถยนต์ไปใช้ และเก็บลูกกุญแจรถไว้เองโดยเก็บไว้ในที่สูงก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 รู้ที่เก็บและเคยเอารถออกไปขับ ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 ขับรถหาได้ใช้ความระมัดระวังในเรื่องนี้ตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลไม่ถือว่าจำเลยที่ 2 นำสืบพิสูจน์หักล้างความรับผิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 ไม่ได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
การที่จำเลยที่ 1 ขับรถไปชนรถโจทก์ที่ 1 เพราะจะรีบไปซื้อเนื้อตามที่จำเลยที่ 3 ใช้ให้ไปซื้อและการไปซื้อเนื้อเพื่อทำเนื้อสะเต๊ะขายเป็นกิจการค้าของจำเลยที่ 3 ก็ตามการที่จำเลยที่ 1 ขับรถชนรถโจทก์ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำละเมิดในการเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 เพราะมิใช่กิจการที่ทำแทนตัวการต่อบุคคลที่สาม จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1809-1810/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดู: บิดามีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูแทนบุตรได้ แม้ไม่ได้รับมอบอำนาจ
ค่าอุปการะเลี้ยงดูที่บุตรมีต่อบิดามารดานั้น เป็นหนี้ที่จะแบ่งกันชำระมิได้ เมื่อบิดาฟ้องจำเลยที่ทำละเมิดต่อบุตรถึงตาย เรียกค่าขาดไร้อุปการะย่อมมีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ภริยาซึ่งเป็นเจ้าหนี้ด้วยแม้บิดามิได้รับมอบอำนาจจากมารดาให้ฟ้องก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1283/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบุตรใช้ชื่อสกุลมารดาได้ แม้มีบิดา โดยความยินยอมของบิดามารดา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1561 ซึ่งให้ใช้บังคับโดยพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 นั้น เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่บุตร กล่าวคือให้บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา และในกรณีที่ไม่ปรากฏว่าใครเป็นบิดา บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของมารดาได้ มิได้บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา เมื่อกฎหมายมิได้บังคับไว้ บุตรก็ชอบที่จะใช้ชื่อสกุลอื่นได้ แม้จะปรากฏว่ามีบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก็ตาม การที่ ศ. ผู้เป็นบิดาและโจทก์ผู้เป็นมารดายินยอมพร้อมใจกันให้บุตรใช้ชื่อสกุลของมารดา หาเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1561 วรรค 2 ไม่
เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจสืบพยาน สละประเด็นข้ออื่นทั้งสิ้น ขอให้ศาลวินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว พ.ศ. 2519 มาตรา 1561 บุตรจะใช้ชื่อสกุลของมารดาได้หรือไม่ เมื่อบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายยินยอมให้ใช้ชื่อสกุลของมารดา เช่นนี้ จึงไม่มีปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่าบุตรไม่ต้องการใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือต้องการใช้ชื่อสกุลของมารดาหรือไม่ อันจะนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ไม่ชอบที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยและอ้างเป็นเหตุยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1283/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบุตรใช้สกุลมารดา: การยินยอมของบิดาและมารดาเป็นสำคัญ แม้มีบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1561 ซึ่งให้ใช้บังคับโดยพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 นั้น เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่บุตร กล่าวคือให้บุตร มีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดาและในกรณีที่ไม่ปรากฏว่าใคร เป็นบิดา บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของมารดาได้ มิได้ บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดาเมื่อกฎหมายมิได้บังคับไว้ บุตรก็ชอบที่จะใช้ชื่อสกุลอื่นได้ แม้จะปรากฏว่ามีบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ ก็ตาม การที่ ศ. ผู้เป็นบิดาและโจทก์ผู้เป็นมารดายินยอมพร้อมใจกันให้บุตรใช้ชื่อสกุลของมารดา หาเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1561 วรรค 2 ไม่
เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจสืบพยาน สละประเด็นข้อ อื่นทั้งสิ้น ขอให้ศาลวินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วพ.ศ.2519 มาตรา 1561 บุตรจะใช้ชื่อสกุลของมารดาได้หรือไม่ เมื่อบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายยินยอมให้ใช้ชื่อสกุลของมารดา เช่นนี้ จึงไม่มีปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่าบุตรไม่ต้องการใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือต้องการใช้ชื่อสกุลของมารดาหรือไม่ อันจะนำไปสู่การ วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ไม่ชอบที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยและอ้างเป็นเหตุยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายต้องยื่นจดทะเบียนก่อน หากถูกปฏิเสธจึงฟ้องได้
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ถ้า) ประสงค์จะจดทะเบียนบุตรที่เกิด ก่อนสมรสให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายจะต้องไปขอจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อสำนักทะเบียนถ้าเด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านการขอจดทะเบียนบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงจะมีอำนาจนำคดีมาฟ้องศาลได้โดยฟ้องเด็กและมารดาร่วมกันเป็นจำเลย เมื่อปรากฏทั้งจากคำบรรยายฟ้องของโจทก์และทางนำสืบว่าก่อนฟ้องโจทก์ไม่เคยไปยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองเด็กชายโอภาสต่อนายทะเบียนหรือจำเลยได้คัดค้านการขอจดทะเบียนข้อโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายจึงยังไม่เกิดขึ้นแก่โจทก์โจทก์ไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาล แม้จำเลยจะมิได้ยกข้อต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ไว้ในคำให้การและไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตามศาลฎีกาก็ยกขึ้นได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยไปให้ความยินยอมจดทะเบียนว่าเด็กชาย อ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ จำเลยให้การและฟ้องแย้งขอให้โจทก์ มอบคืนเด็กชาย อ. แก่จำเลย แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลก็พิพากษาให้โจทก์มอบเด็กชาย อ. คืน ให้กับจำเลยตามฟ้องแย้งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันสิทธิผู้อื่นโดยชอบด้วยกฎหมาย: การยิงเพื่อปกป้องบิดาจากทำร้ายร่างกาย
การที่ผู้ตายซึ่งมีอายุ 30 ปี ทำร้ายบิดาจำเลยซึ่งมีอายุ 50 ปีโดยไม่มีทางสู้กันและผู้ตายกำลังจะกระทืบบิดาจำเลย ซ้ำอีกจำเลยอายุเพียง 16 ปี ใช้ปืนยิงผู้ตาย 1 นัด แล้วผู้ตายเข้าแย่งปืนจากจำเลยจนปืนลั่นอีก 1 นัด เป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของบิดาจำเลยให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงโดยพอสมควรแก่เหตุการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับรองบุตรจำกัดเฉพาะบิดา การเพิกถอนต้องมีเหตุผลตามกฎหมาย สัญญาประนีประนอมยอมความขัดต่อกฎหมาย
บิดาของเด็กเท่านั้นที่จะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1527 เมื่อจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรแล้วก็จะถอนมิได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1531 และเมื่อมีการจดทะเบียนดังกล่าวแล้วจะฟ้องขอให้ถอนการจดทะเบียนได้ก็ด้วยเหตุที่ว่าผู้ขอให้จดทะเบียนมิใช่บิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1528 เท่านั้น
จำเลยยอมให้เงินโจทก์ 20,000 บาทเป็นค่าตอบแทนให้แก่โจทก์ในการที่โจทก์ยินยอมจะไปเพิกถอนการจดทะเบียนรับรองบุตรซึ่งไม่มีข้อเท็จจริงที่ยุติว่าจำเลยมิใช่บิดาแท้จริงของเด็กนั้น สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมของศาลจึงขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1528 ซึ่งเป็นบทกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของกระบวนการฟ้องคดีโดยผู้เยาว์ร่วมกับบิดา และผลเมื่อบุตรบรรลุนิติภาวะ
บิดากับบุตรผู้เยาว์ร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยฐานละเมิดทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหายในคดีเดียวกัน ต่อมาบิดาทำหนังสือให้ความยินยอมและให้สัตยาบันการที่บุตรผู้เยาว์เป็นโจทก์ด้วยนั้น และขณะศาลฎีกาพิพากษาบุตรบรรลุนิติภาวะแล้ว ดังนี้ กระบวนพิจารณาทั้งหมดสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทโดยบุตรต่อบิดา และการเพิกถอนการให้ทรัพย์เนื่องจากเนรคุณ
หากจำเลยกล่าวขึ้นมึงกูต่อโจทก์ผู้เป็นบิดา ไม่นับถือโจทก์ว่าเป็นบิดา เปรียบโจทก์ว่าเป็นสุนัขและว่าโจทก์เป็นคนเลวไม่มีศีลธรรม จะฟ้องให้ต้องโทษถึงจำคุกจริงดังที่โจทก์บรรยายฟ้อง ย่อมทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงและเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง ซึ่งโจทก์ย่อมฟ้องเพิกถอนการให้เพราะเหตุเนรคุณได้
of 11